พบผลลัพธ์ทั้งหมด 763 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและการจำหน่ายหนี้สูญ: ข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจเจ้าพนักงานประเมินและการยกข้ออุทธรณ์ใหม่ในชั้นฎีกา
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานกองตรวจสอบภาษีอากรของจำเลย ทบทวนประเด็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของโจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาษีอากรเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนของทางราชการ จำเลยจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์นั้นอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทบทวนประเด็นภาษีโดยไม่ได้รับอนุมัติ ทำให้การประเมินภาษีเป็นโมฆะ – ข้ออุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลภาษีอากรกลาง
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานกองตรวจสอบภาษีอากรของจำเลย ทบทวนประเด็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของโจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาษีอากรเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนของทางราชการ จำเลยจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์นั้นอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินบังคับคดีของเจ้าของรวมสินสมรส: แม้ไม่มีการขายทอดตลาด ก็มีสิทธิเรียกร้องเงินคืนได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน4,473,237.18บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จำเลยทั้งสามไม่ชำระโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่2ออกขายทอดตลาดป. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่2ซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยที่2โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่โจทก์นำยึดให้แก่ป. และรับเงินจำนวน5,789,303.39บาทตามสัญญาจะซื้อขายได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยที่2และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินแปลงดังกล่าวเมื่อที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่2กับผู้ร้องผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอกันส่วนในเงินที่ป. นำมาวางแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมสิทธิขอกันส่วนของผู้ร้องมิใช่มีแต่กรณีบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่2เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินจากการบังคับคดีของสินสมรส: เจ้าของรวมมีสิทธิร้องขอกันส่วนได้
เมื่อที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นสินสมรสอันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่2และผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันดังนั้นจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดถือไว้แทนราคาที่ดินแปลงดังกล่าวผู้ร้องจึงมีส่วนอยู่ด้วยกึ่งหนึ่งฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะนำเงินดังกล่าวในส่วนที่เหลือจากการหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีแล้วชำระหนี้แก่โจทก์ย่อมไม่อาจกระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินอันได้แก่เงินจำนวนดังกล่าวนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอกันส่วนในเงินจากการบังคับคดีทรัพย์สินสมรสระหว่างเจ้าหนี้และเจ้าของรวม
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน4,473,237.18 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามไม่ชำระ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาด ป.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โอนกรรมสิทธิที่ดินแปลงที่โจทก์นำยึดให้แก่ ป.และรับเงินจำนวน 5,789.303.39 บาท ตามสัญญาจะซื้อขาย ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยที่ 2 และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินแปลงดังกล่าว เมื่อที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอกันส่วนในเงินที่ ป.นำมาวางแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของรวม สิทธิขอกันส่วนของผู้ร้องมิใช่มีแต่กรณีบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการรับผิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่ตัวการจะมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่ตัวแทนกระทำไปต้องเป็นกรณีที่ตัวแทนได้กระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน แต่จำเลยที่ 6 โดยจำเลยที่ 7 ตัวแทนกระทำการโดยทุจริตต่อหน้าที่โดยการปลอมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีอากรขาเข้า และใช้ใบเสร็จรับเงินปลอมอันเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าวของตัวแทน
โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่ 1 นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร โดยจำเลยที่ 1 ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 รับใบขนสินค้า ได้ตรวจสอบรับรองเอกสาร กับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่ถูกต้องแล้ว จึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่13 สิงหาคม 2523 กรณีจึงมิใช่จำเลยที่ 1 หลีกเลี่ยง ซ่อนเร้นการเสียภาษี หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษี อันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27 และ 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมนั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ดังนั้นคดีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 167เดิม (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้า และจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ และโดยที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วยจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้เช่นกัน
โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่ 1 นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร โดยจำเลยที่ 1 ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 รับใบขนสินค้า ได้ตรวจสอบรับรองเอกสาร กับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่ถูกต้องแล้ว จึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่13 สิงหาคม 2523 กรณีจึงมิใช่จำเลยที่ 1 หลีกเลี่ยง ซ่อนเร้นการเสียภาษี หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษี อันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27 และ 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมนั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ดังนั้นคดีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 167เดิม (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้า และจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ และโดยที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วยจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าภาษี, การกระทำของตัวแทน, และผลกระทบต่อหุ้นส่วนในคดีภาษีอากร
จำเลยที่1เป็นผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่1พอใจราคาตามที่จำเลยที่1สำแดงและเห็นว่าใบเสร็จรับเงินในการเสียภาษีอากรขาเข้าจำนวนเงินตรงกับหลักฐานการนำเข้าจึงตรวจปล่อยสินค้าไปต่อมาโจทก์ที่1ตรวจพบว่าใบเสร็จรับเงินในการเสียภาษีอากรขาเข้าเป็นเอกสารปลอมโดยจำเลยที่6ซึ่งมีจำเลยที่7เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ทำปลอมขึ้นและใช้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่1ทำให้สำคัญผิดว่าจำเลยที่1ชำระภาษีอากรขาเข้าถูกต้องแล้วจึงตรวจปล่อยสินค้าไปกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่รัฐใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่1ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้องพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่1รับใบขนสินค้ารับรองเอกสารกับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่1เป็นที่ถูกต้องแล้วจึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่1รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่1กรณีจึงมิใช่จำเลยที่1หลีกเลี่ยงซ่อนเร้นการเสียภาษีหรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษีอันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27และ99แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากรพ.ศ.2469ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่1ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่2ถึงที่5ดังนั้นคดีนี้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา167เดิม(มาตรา193/31ที่แก้ไขใหม่) แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยที่1ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์แต่จำเลยที่1และที่3ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วจำเลยที่1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้าและจำเลยที่3หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้และการที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้การที่จำเลยที่1และที่3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)ให้ถือว่าทำแทนซึ่งกันและกันจำเลยที่2ที่4และที่5ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นบังคับคดี: ศาลมีดุลพินิจให้ฝ่ายผิดนัดชำระรับผิดชอบได้
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีซึ่งรวมทั้งค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคหนึ่ง แต่ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือแต่บางส่วนก็ได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นบังคับคดี: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ฝ่ายผิดนัดชำระเงินรับผิดชอบได้
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีซึ่งรวมทั้งค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคหนึ่งแต่ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงหรือแต่บางส่วนก็ได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องด้วยวาจาในคดีอาญา: ความชอบด้วย ป.วิ.อ. และการวินิจฉัยการรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐาน หาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนศาลบันทึกฟ้องดังกล่าว ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดได้ แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น
ข้อความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลได้ความว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิด ทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ และจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี หาจำต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
จำเลยมีความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียว
ข้อความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลได้ความว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิด ทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ และจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี หาจำต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
จำเลยมีความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียว