คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนพ กีรติยุติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 763 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาในคดีอาญา: ความชอบด้วย ป.วิ.อ. และการวินิจฉัยการรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐาน หาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนศาลบันทึกฟ้องดังกล่าว ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดได้ แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น
ข้อความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลได้ความว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิด ทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ และจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี หาจำต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
จำเลยมีความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องในคดีขับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน และการใช้ดุลพินิจรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา19ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่และก่อนศาลบันทึกฟ้องดังกล่าวศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆที่จำเลยกระทำความผิดได้แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้นเมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติทางหลวงพ.ศ.2535แล้วได้ความว่าเมื่อวันที่22ธันวาคม2537เวลากลางวันจำเลยขับรถยนต์บรรทุกลากจูงและรถพ่วงบรรทุกหินคลุกมีน้ำหนักยานพาหนะหรือน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษเรื่องห้ามใช้ยานพาหนะโดยที่พยานพาหนะนั้นมีน้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดเดินบนทางหลวงลงวันที่1กันยายน2535ซึ่งเป็นการระบุข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดแล้วกล่าวคือจำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิดทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้และจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีหาจำต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใดไม่คำฟ้องในข้อหานี้ของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)แล้ว โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ไม่รอการลงโทษแก่จำเลยแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องอาญาทางหลวง และการวินิจฉัยปัญหานอกประเด็น
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐาน หาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนศาลบันทึกฟ้องดังกล่าว ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดได้ แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น เมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 แล้วได้ความว่า เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2537 เวลากลางวัน จำเลยขับรถยนต์บรรทุกลากจูงและรถพ่วงบรรทุกหินคลุกมีน้ำหนักยานพาหนะหรือน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษเรื่องห้ามใช้ยานพาหนะโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดเดินบนทางหลวง ลงวันที่ 1 กันยายน 2535 ซึ่งเป็นการระบุข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดแล้ว กล่าวคือ จำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิด ทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ และจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี หาจำต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใดไม่ คำฟ้องในข้อหานี้ของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แล้ว
โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ไม่รอการลงโทษแก่จำเลยแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียว โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สถานที่ทำการที่เปลี่ยนแปลงและไม่มีหน้าที่ชำระภาษี
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีสำนักงานอยู่ที่เลขที่ 1745/11 ถนนปิ่นเกล้า - นครชัยศรี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ก็ตามแต่สำนักงานดังกล่าวมิใช่สำนักงานของจำเลยที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ทั้งปรากฏว่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่1745/11 ดังกล่าวก็ได้ถูกเพลิงไหม้ตั้งแต่ต้นปี 2536 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2536 ต่อโจทก์ และในการยื่นแบบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2536 นั้นจำเลยที่ 1 ระบุว่า อยู่บ้านเลขที่ 19/1 ถนนพญาไท แขวงพญาไท เขตพญาไทกรุงเทพมหานคร อันเป็นการที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบถึงบ้านเรือนหรือสำนักการค้าของตนที่โจทก์จะติดต่อกับจำเลยที่ 1 ได้หลังจากที่ได้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 1745/11 สำหรับสำนักงานชั่วคราวซึ่งอยู่ด้านหลังอาคารห้างสรรพสินค้า ว. พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้นำใบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไปส่งและปิดไว้นั้น ก็ได้ความว่าไม่มีป้ายชื่อแต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ให้เช่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 1745/11 และไม่ปรากฏว่ามีธุรกิจอย่างอื่นในสถานที่ดังกล่าวอีก เมื่อโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่าได้ถูกเพลิงไหม้ไปแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องมีสำนักงานไว้ณ สถานที่นั้นอีก นอกจากนั้นสำนักงานชั่วคราวที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำแบบภ.ร.ด.8 (ใบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน) ไปปิดประกาศไว้นั้นเป็นสำนักงานของห้างสรรพสินค้า ว.ผู้เช่าซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยที่ 1จึงฟังไม่ได้ว่า สำนักงานชั่วคราวที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำใบแจ้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไปปิดไว้ เป็นบ้านเรือนหรือสำนักการค้าของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินไปให้จำเลยที่ 1 ผู้รับประเมินทรัพย์สินได้ทราบโดยชอบ ตามมาตรา 24 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจำเลยทั้งสี่จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินตามประเมินและค่าเพิ่มแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำเลยที่ 2 ถูกจำกัดสิทธิในการฎีกา เนื่องจากประเด็นใหม่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและสัญญาเช่าซื้อไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงินตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่2พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่2เพียงแต่กล่าวมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางโดยมิได้อุทธรณ์ขึ้นมาประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่จำเลยที่2ฎีกาข้อแรกว่าโจทก์ฟ้องเรื่องเช่าซื้ออันไม่เป็นความจริงความจริงโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ฟ้องจำเลยผิดข้อหาหรือฐานความผิดจำเลยไม่ควรรับผิดตามฟ้องของโจทก์และจำเลยที่1กู้ยืมเงินโจทก์มาเป็นเงิน250,000บาทเมื่อจำเลยที่1ชำระให้โจทก์ไปแล้วเป็นเงิน125,489บาทคงเหลืออีก124,511บาทเท่าที่จำเลยที่1จะต้องชำระให้แก่โจทก์ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นโจทก์คิดจากจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ต้องชำระให้แก่โจทก์นั้นล้วนเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งและไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – ประเด็นใหม่ไม่อุทธรณ์ – สัญญาเช่าซื้อ/กู้ยืม
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและสัญญาเช่าซื้อไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงินตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 เพียงแต่กล่าวมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพราง โดยมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาข้อแรกว่า โจทก์ฟ้องเรื่องเช่าซื้ออันไม่เป็นความจริง ความจริงโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงิน โจทก์ฟ้องจำเลยผิดข้อหาหรือฐานความผิดจำเลยไม่ควรต้องรับผิดตามฟ้องของโจทก์ และจำเลยที่ 1กู้ยืมเงินโจทก์มาเป็นเงิน 250,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ไปแล้วเป็นเงิน 125,489 บาท คงเหลืออีก 124,511 บาท เท่าที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นโจทก์คิดจากจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ต้องชำระให้แก่โจทก์นั้น ล้วนเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางสาธารณะโดยการอุทิศและอายุความ การรุกล้ำทางสาธารณะ และอำนาจฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ
เจ้าของเดิมได้อุทิศที่ดินบางส่วนให้เป็นทางสาธารณะโดยประชาชนได้ใช้ทางพิพาทนั้นตลอดมาเป็นเวลา20ปีแล้วไม่ปรากฎว่าผู้รับโอนต่อๆมาได้หวงห้ามทางพิพาทจึงเป็นทางสาธารณะ โจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นเจ้าของที่ดินและมีบ้านในที่ดินซึ่งต้องใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ถนนเป็นประจำไม่มีทางเลือกอื่นหากปิดกั้นทางพิพาทโจทก์ทั้งสิบเอ็ดย่อมได้รับความเสียหายโดยตรงการที่จำเลยและบริวารรุกล้ำทางสาธารณะพิพาททำให้โจทก์ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้เหมือนเดิมโจทก์ทั้งสิบเอ็ดย่อมจะเป็นผู้ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการกระทำของจำเลยโจทก์ทั้งสิบเอ็ดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้รุกล้ำทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสิบเอ็ดขอคิดค่าเสียหายโดยใช้วิธีประเมินเอาจึงมิใช่ความเสียหายตามความเป็นจริงแต่เป็นค่าเสียหายที่ศาลต้องวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ไม่รับฟ้อง: คดีเพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดิน & คดีสัญญาจะซื้อขาย, การเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร
สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380วรรคสองบังคับให้ต้องมีมาแสดงตรงตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94โจทก์คงมีเพียงเอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่าจำเลยที่5เป็นผู้ค้ำประกันและผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันค่าเช่าซื้อให้แก่ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้ตามสัญญาหรือผู้เช่าซื้อตายหรือล้มละลายหรือหนี้เหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้เช่าต้องเสียหายผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ตลอดจนค่าเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งสิ้นซึ่งเป็นสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อมาแสดงต่อศาลเท่านั้นหาใช่สัญญาค้ำประกันมูลหนี้การซื้อขายตามฟ้องมาแสดงต่อศาลไม่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่5ทำสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาเอกสารจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา94(ข)จึงต้องฟังว่าโจทก์ไม่มีเอกสารสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องมาแสดงต่อศาลโจทก์จึงฟ้องร้องให้จำเลยที่5รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่1ไม่ได้ ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดินซึ่งจำเลยที่2ถึงที่6รับโอนเกินส่วนไปคืนแก่จำเลยที่1หากจำเลยทั้งหกไม่ดำเนินการก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนนั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอีกเรื่องหนึ่งดังนี้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของโจทก์ในคำฟ้องส่วนนี้นั้นเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18และมาตรา228(3)ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหากเสร็จไปแต่ประเด็นบางข้อโจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้เมื่อศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้วตามบทบัญญัติวรรคสามของมาตรา228แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ในนามของตนเองให้จำเลยที่2ถึงที่6โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วคืนให้แก่จำเลยที่1โดยปลอดจำนองเพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายและหากจำเลยทั้งหกไม่ยอมปฏิบัติตามก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนหาได้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำฟ้องในคดีก่อนซึ่งโจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาไม่ยอมโอนสิทธิการครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่1โอนสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วแก่โจทก์คำฟ้องคดีนี้จึงไม่ซ้ำเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ตรงกับมูลหนี้ และการฟ้องซ้ำ: การยกฟ้องและสิทธิอุทธรณ์
สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารที่ ป.พ.พ.มาตรา 680 วรรคสองบังคับให้ต้องมีมาแสดงตรงตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 94 โจทก์คงมีเพียงเอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันและผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันค่าเช่าซื้อให้แก่... ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้ตามสัญญาหรือผู้เช่าซื้อตาย หรือล้มละลาย หรือหนี้... เหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้เช่าต้องเสียหายผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้... ตลอดจนค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น...ซึ่งเป็นสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อมาแสดงต่อศาลเท่านั้น หาใช่สัญญาค้ำประกันมูลหนี้การซื้อขายตามฟ้องมาแสดงต่อศาลไม่ การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่ 5ทำสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาเอกสารจึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 94 (ข) จึงต้องฟังว่าโจทก์ไม่มีเอกสารสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องมาแสดงต่อศาล โจทก์จึงฟ้องร้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้
ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2ถึงที่ 6 รับโอนเกินส่วนไปคืนแก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งหกไม่ดำเนินการก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนนั้น ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอีกเรื่องหนึ่ง ดังนี้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของโจทก์ในคำฟ้องส่วนนี้นั้นเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 18 และมาตรา 228 (3) ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหากเสร็จไปแต่ประเด็นบางข้อ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้เมื่อศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้วตามบทบัญญัติวรรคสามของมาตรา 228 แห่ง ป.วิ.พ.
คำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ในนามของตนเองให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โดยปลอดจำนองเพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายและหากจำเลยทั้งหกไม่ยอมปฏิบัติตามก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน หาได้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำฟ้องในคดีก่อน ซึ่งโจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมโอนสิทธิการครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วแก่โจทก์ คำฟ้องคดีนี้จึงไม่ซ้ำเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ: ศาลอุทธรณ์โต้แย้งอุทธรณ์โจทก์โดยอ้อมได้ ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกเหตุผลในการตัดสินมาหักล้างกับเหตุผลที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์นั้นตรง ๆ แต่ศาลอุทธรณ์ได้แสดงเหตุผลในการตัดสินโต้แย้งอุทธรณ์ของโจทก์ไว้โดยอ้อมแล้วว่า ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น อันหมายถึงว่าเหตุผลตามอุทธรณ์ของโจทก์นั้นสู้เหตุผลที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยไม่ได้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยดังนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้แสดงเหตุผลในการตัดสินใจในปัญหาข้อเท็จจริงไว้แล้วจึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6)ประกอบมาตรา 215
of 77