คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนพ กีรติยุติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 763 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยเยาวชน: การสอบถามความประสงค์เรื่องทนายก่อนพิจารณาคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา173วรรคสองเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเมื่อปรากฎว่าก่อนเริ่มพิจารณาคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาลศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฎิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเห็นว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบในการดำเนินคดีศาลฎีกาจึงเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเบิกความเท็จในคดีหย่ามีผลต่อความรับผิดทางอาญา มาตรา 177
ในกรณี หย่าโดยคำพิพากษาของศาลประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1520วรรคสองกำหนดให้ศาลซึ่งพิจารณาคดี ฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใดทั้งนี้ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญคำเบิกความของจำเลยที่มีใจความว่าโจทก์ไม่เคยให้อะไรจำเลยตลอดชีวิตสมรสเพื่อบ่งชี้ว่าโจทก์เป็นคนนิสัยตระหนี่ไม่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อกับคำเบิกความที่มีใจความว่าขณะบุตรทั้งสองอยู่ที่บ้านมารดาโจทก์ในประเทศ สหรัฐอเมริกา โจทก์ไม่สนใจใยดีต่อบุตรทั้งสองปล่อยให้บุตรทั้งสองหาอาหารรับประทานเองและโจทก์ยังได้ทำโทษบุตรทั้งสองโดยให้นอนที่ระเบียงบ้านนอกห้องนอนทำให้หนาวเย็นจนเกิดความกลัวเพื่อบ่งชี้ว่าโจทก์ไม่มีความรักความห่วงใยในตัวบุตรทั้งสองและโจทก์เป็นคนมีจิตใจโหดร้ายต่อบุตรทั้งสองไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองได้จึงเป็นข้อสำคัญในคดีที่จำเลยฟ้องขอหย่าและขอให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยหรือโจทก์ฝ่ายใดสมควรจะเป็น ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร เพราะหากศาลเชื่อตามคำเบิกความของจำเลยศาลอาจชี้ขาดให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองและแม้ว่าศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้บุตรทั้งสองอยู่ในความปกครองของจำเลยตามความต้องการของบุตรทั้งสองเป็นประการสำคัญโดยมิได้ยกเอาคำเบิกความของจำเลยขึ้นวินิจฉัยแต่ข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องนำมาคำนึงถึงว่าจำเลยหรือโจทก์ฝ่ายใดควรจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองแล้วจะทำให้บุตรทั้งสองได้รับความผาสุกและประโยชน์ดีที่สุดเป็นสำคัญนั้นมีอยู่หลายประการหาใช่มีแต่เพียงเหตุเดียวเฉพาะที่ศาลชั้นต้นยกมาอ้างอิงเอาไว้โดยเด่นชัดเท่านั้นไม่ดังนั้นข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของจำเลยดังกล่าวจึงเป็น ข้อสำคัญในคดีมาแต่ต้นหากเป็นความเท็จการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเท็จในการเบิกความเกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตรและการฟ้องหย่า ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ในคดีที่จำเลยฟ้องขอหย่าและให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยหรือโจทก์ฝ่ายใดสมควรจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรนั้นข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องนำมาคำนึงถึงว่าฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแล้วบุตรจะได้รับความผาสุกและประโยชน์ดีที่สุดมีอยู่หลายประการ นิสัยและจิตใจของผู้ที่จะใช้อำนาจปกครองตลอดจนความสมัครใจของบุตรว่าจะอยู่กับฝ่ายใดล้วนเป็นเหตุที่ศาลจะนำมาพิจารณาชี้ขาดในประเด็นข้อนี้ได้ทั้งสิ้นมิใช่มีอยู่เพียงเหตุเดียวเฉพาะที่ศาลชั้นต้นยกมาอ้างอิงเท่านั้นดังนั้นคำเบิกความของจำเลยเกี่ยวกับเหตุเหล่านั้นจึงเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวมาแต่ต้นแม้ศาลจะได้ยกเอามาวินิจฉัย แต่ขณะจำเลยเบิกความข้อเท็จจริงนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี หากเป็นความเท็จ ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ฟ้องซ้ำ: การพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ละเมิดกฎหมาย และข้อพิพาทไม่ซ้ำกับคดีอื่น
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามยอมแล้วการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นเพราะเป็นมูลคดีพิพาทเดียวกันอันเกิดจากการรับซื้อทรัพย์พิพาททั้งสองคดีเหมือนกันและคดีดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ก่อนคดีนี้และขณะฟ้องคดีนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนอกจากนี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลอายาธนบุรีเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่813/2536ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน360,000บาทแก่โจทก์คดีนี้ด้วยและศาลอาญาธนบุรีอนุญาตให้โจทก์คดีนี้ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในที่สุดศาลอาญาธนบุรีได้พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงถือได้ว่าศาลอาญาธนบุรีได้มีคำพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีในส่วนแพ่งสิ้นสุดเด็ดขาดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำนั้นเป็นการอุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนกับคดีอื่นอันเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลชั้นต้นละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138(2)ซึ่งจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมยี่ห้อจูกิ12เครื่องจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้ 4เครื่องและเครื่องตัดผ้าอุตสาหกรรม2เครื่องของโจทก์ที่ลูกจ้างของโจทก์นำไปขายให้แก่จำเลยซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ยึดคืนมาจากจำเลยส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้าของโจทก์อีก2เครื่องที่พนักงานสอบสวนยึดได้จากจำเลยเป็นของกลางแต่จำเลยได้ติดต่อขอรับคืนไปจากพนักงานสอบสวนในคดีอายาหมายเลขแดงที่4052/2536ภายหลังจากศาลอาญาธนบุรีพิพากษายกฟ้องแล้วจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า ในคดีนี้กับจักรพ้งอุตสาหกรรมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นเป็นทรัพย์ต่างรายกันประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไม่ใช่ประเด็นเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ขึ้นใหม่ภายหลังจากที่ศาลอาญาธนบุรีพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่4052/2536แล้วโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 2เครื่องในคดีนี้ที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางนั้นเป็นของโจทก์แต่จำเลยยังติดต่อขอรับเอาจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวไปจากพนักงานสอบสวนเป็นการกระทำต่างคราวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่4052/2536ของศาลอาญาธนบุรีในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ฟ้องซ้ำ: การฟ้องบังคับคดีทรัพย์ที่ถูกยึดหลังคดีอาญาถึงที่สุด ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลพิพากษาไปตามยอมจำเลยย่อมอุทธรณ์ได้ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนกับคดีอื่นเพราะเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามยอมละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรคสอง(2) เดิมโจทก์ได้ฟ้องจำเลยขอให้คืนทรัพย์ที่ลูกจ้างของโจทก์นำไปขายให้แก่จำเลยซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ยึดคืนมาจากจำเลยส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งที่พนักงานสอบสวนยึดมาจากจำเลยเป็นของกลางแต่จำเลยติดต่อขอรับคืนไปจากพนักงานสอบสวนหลังจากที่ศาลในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องว่าลักทรัพย์หรือรับของโจทก์ได้พิพากษายกฟ้องทรัพย์ที่โจทก์ขอให้คืนในคดีนี้กับคดีก่อนต่างรายกันและประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไม่ใช่ประเด็นเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ขึ้นใหม่หลังศาลในคดีอาญาพิพากษาแล้วโดยจำเลยรู้อยู่ว่าทรัพย์ในคดีนี้ที่พนักงานสอบสวนยึดไว้เป็นของโจทก์แต่ก็ยังติดต่อขอรับไปจากพนักงานสอบสวนเป็นการกระทำต่างคราวกับที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน/ฟ้องซ้ำ: ข้อพิพาทต่างคราวกัน แม้ทรัพย์สินบางส่วนเป็นของเดิม ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามยอมแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้นเพราะเป็นมูลคดีพิพาทเดียวกันอันเกิดจากการรับซื้อทรัพย์พิพาททั้งสองคดีเหมือนกัน และคดีดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ก่อนคดีนี้ และขณะฟ้องคดีนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนอกจากนี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาธนบุรีเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 813/2536 ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน 360,000 บาท แก่โจทก์คดีนี้ด้วย และศาลอาญาธนบุรีอนุญาตให้โจทก์คดีนี้ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ในที่สุดศาลอาญาธนบุรีได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงถือได้ว่าศาลอาญาธนบุรีได้มีคำพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีในส่วนแพ่งสิ้นสุดเด็ดขาดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำนั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนกับคดีอื่น อันเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลชั้นต้นละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 (2) ซึ่งจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมยี่ห้อจูกิ 12 เครื่อง จักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 4 เครื่อง และเครื่องตัดผ้าอุตสาหกรรม 2 เครื่อง ของโจทก์ที่ลูกจ้างของโจทก์นำไปขายให้แก่จำเลย ซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ยึดคืนมาจากจำเลยส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้าของโจทก์อีก2 เครื่อง ที่พนักงานสอบสวนยึดได้จากจำเลยเป็นของกลาง แต่จำเลยได้ติดต่อขอรับคืนไปจากพนักงานสอบสวน ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 ภายหลังจากศาลอาญาธนบุรีพิพากษายกฟ้องแล้ว จักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า ในคดีนี้กับจักรพ้งอุตสาหกรรมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น เป็นทรัพย์ต่างรายกัน ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ขึ้นใหม่ภายหลังจากที่ศาลอาญาธนบุรีพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 แล้วโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 2 เครื่อง ในคดีนี้ที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางนั้นเป็นของโจทก์ แต่จำเลยยังติดต่อขอรับเอาจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวไปจากพนักงานสอบสวน เป็นการกระทำต่างคราวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 ของศาลอาญาธนบุรี ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีของตัวการ: หลักการคำนวณกำไรสุทธิและการประเมินภาษีที่ถูกต้อง
ไม่ว่า พ.ตัวแทนของโจทก์จะมีสิทธิยื่นเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสองประกอบมาตรา 71 (1) หรือไม่ก็ตาม แต่สำหรับโจทก์ซึ่งเป็นตัวการที่ต้องรับผิดในการเสียภาษีโดยตรงนั้นต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 66 และมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ ต้องเสียภาษีในกำไรสุทธิตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ หากจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสอง ประกอบมาตรา 71 (1) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ ที่โจทก์อ้างว่าบัญชีงบดุล บัญชีกำไรขาดทุน และหลักฐานทางบัญชีต่าง ๆ ของโจทก์ได้จัดทำกันที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยไม่อาจทราบรายการต่าง ๆ ตามสมุดบัญชีงบดุล และงบกำไรขาดทุนของโจทก์โดยถูกต้องได้ และโจทก์ยังให้บริการแก่บริษัทต่าง ๆ ในต่างประเทศอีกหลายประเทศนั้น ไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ ฉะนั้น การที่ พ.ตัวแทนของโจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีดังกล่าวแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 66 และมาตรา 67 เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้กล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะหักรายจ่ายแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน เนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ชอบเพราะการคำนวณกำไรสุทธิไม่ถูกต้อง เนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่อีก แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้นำมาหักออกให้ จึงเป็นข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษี-อากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การคำนวณกำไรสุทธิและอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงาน
ไม่ว่าพ. ตัวแทนของโจทก์จะมีสิทธิยื่นเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิวรรคสองประกอบมาตรา71(1)หรือไม่ก็ตามแต่สำหรับโจทก์ซึ่งเป็นตัวการที่ต้องรับผิดในการเสียภาษีโดยตรงนั้นต้องอยู่ในบังคับของมาตรา66และมาตรา67แห่งประมวลรัษฎากรกล่าวคือต้องเสียภาษีในกำไรสุทธิตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้หากจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆตามประมวลรัษฎากรมาตรา66วรรคสองประกอบมาตรา71(1)ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ที่โจทก์อ้างว่าบัญชีงบดุลบัญชีกำไรขาดทุนและหลักฐานทางบัญชีต่างๆของโจทก์ได้จัดทำกันที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในประเทศสวิซเซอร์แลนด์ ลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยไม่อาจทราบรายการต่างๆตามสมุดบัญชีงบดุลและงบกำไรขาดทุนของโจทก์โดยถูกต้องได้และโจทก์ยังให้บริการแก่บริษัทต่างๆในต่างประเทศอีกหลายประเทศนั้นไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ฉะนั้นการที่พ. ตัวแทนของโจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีดังกล่าวแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา66และมาตรา67เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องได้ โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะหักรายจ่ายแก่โจทก์ไม่ครบถ้วนเนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ชอบเพราะการคำนวณกำไรสุทธิไม่ถูกต้องเนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่อีกแต่เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้นำมาหักออกให้จึงเป็นข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ: การหักรายจ่าย, การคำนวณกำไรสุทธิ, และการลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเมื่อประกอบกิจการซึ่งถือได้ว่าประกอบกิจการในประเทศไทยก็มีหน้าที่ต้องยื่นรายการและเสียภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณจากฐานกำไรสุทธิซึ่งได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในประเทศไทยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65ทวิมาตรา65ตรีและคิดตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา66และมาตรา67หากจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆตามมาตรา66วรรคสองประกอบมาตรา71(1)ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อโจทก์ยังสามารถที่จะคำนวณกำไรสุทธิเพื่อยื่นรายการและเสียภาษีได้แต่โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆจึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา66และมาตรา67เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องได้ การที่บัญชีงบดุลบัญชีกำไรขาดทุนและหลักฐานการทำบัญชีต่างๆของโจทก์ได้จัดทำกันที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในต่างประเทศลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยไม่อาจทราบรายการต่างๆตามสมุดบัญชีงบดุลและงบกำไรขาดทุนของโจทก์โดยถูกต้องได้และโจทก์ยังให้บริการแก่บริษัทต่างๆในต่างประเทศอีกหลายประเทศนั้นยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะหักรายจ่ายไม่ครบถ้วนเนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่ดังนั้นการที่โจทก์ยกข้อความดังกล่าวขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เชื่อว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีจึงลดเบี้ยปรับลงเหลือร้อยละ50เป็นดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตอกเสาเข็มที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนข้างเคียง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้างตอกเสาเข็มจากจำเลยที่ 1แม้จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ก่อสร้างอาคารได้แต่การตอกเสาเข็มก่อให้เกิดความเสียหายแก้บ้านโจทก์จะแก้ตัวให้พ้นผิดไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2ตอกเสาเข็มเพื่อสร้างอาคารสูง 30 ชั้น โดยจำเลยที่ 1เลือกจำเลยที่ 2 ให้ลงเสาเข็มโดยวิธีใช้ปั้นจั่นยกแท่งเหล็กตอกทั้ง ๆ ที่ตระหนักดีว่าจะทำให้ที่ดินข้างเคียงถูกกระทบกระเทือน อย่างแรงอันเป็นเหตุให้บ้านโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ส่วนจำเลยที่ 2เป็นผู้ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามมาตรา 420
of 77