คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนพ กีรติยุติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 763 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อากรแสตมป์สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: การเพิ่มวงเงินกู้และการคำนวณอากร
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2525 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ขอกู้เงินตามวิธีและธรรมเนียมประเพณีการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จำนวน 2,000,000 บาทกำหนดชำระหนี้ให้หมดสิ้นภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2526 ได้ทำสัญญากันไว้ และปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ในตราสารดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นได้ทำบันทึกต่ออายุสัญญากันอีก 4 ครั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2526 วันที่ 18 มกราคม 2527 วันที่ 8 มีนาคม2528 และวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ตามลำดับ ให้เบิกเงินเกินบัญชีได้ถึงวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2530 และในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ได้ทำบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยตกลงเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมขึ้นอีก 1,000,000 บาท รวมเป็นจำนวน3,000,000 บาท ข้อตกลงอื่นคงให้เป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิม ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์ตกลงให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ได้ในวงเงิน 2,000,000 บาท ได้ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2530 ดังนั้นในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2529 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ยังมีข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ได้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิมได้อยู่จำนวน 2,000,000 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวหาได้ถูกยกเลิกไปแล้วไม่ ฉะนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 1,000,000 บาท ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์2529 จึงเป็นการที่โจทก์ตกลงให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมในยอดเงินเพียง 1,000,000 บาท ส่วนอีกจำนวน 2,000,000 บาท ยังคงเป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิมซึ่งโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์ไว้บริบูรณ์แล้ว หาใช่ยอดเงินทั้งจำนวน3,000,000 บาท เป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมไม่เมื่อยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมมีจำนวนเพียง1,000,000 บาท โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์ในตราสารดังกล่าวในยอดเงิน1,000,000 บาท คิดเป็นค่าอากรแสตมป์จำนวน 500 บาท ตามบทบัญญัติแห่งป.รัษฎากร มาตรา 104 ประกอบลักษณะแห่งตราสาร 5 แห่งบัญชีอัตราอากร-แสตมป์ท้ายหมวด 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้สัญญาซื้อขาย และสิทธิเลิกสัญญา
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยที่ 1 พร้อมชำระหนี้และรับชำระหนี้ แต่โจทก์มิได้ชำระหนี้และรับชำระหนี้ตามกำหนด โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง แม้สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อสัญญาให้จำเลยบอกเลิกสัญญาได้ แต่จำเลยก็ให้โอกาสโจทก์ชำระหนี้และรับชำระหนี้ถึงสองครั้งโดยให้โจทก์เป็นผู้กำหนดวันนัดภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วครั้งแรกโจทก์อ้างเหตุขัดข้องเรื่องเนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินและหมุดหลักเขตไม่แน่นอน ครั้งหลังโจทก์รับทราบและพ้นเวลาที่จำเลยกำหนดแล้วโจทก์ยังเพิกเฉยกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมหลุดพ้นจากข้อผูกพันที่ให้โอกาสโจทก์ชำระหนี้และรับชำระหนี้ และสิทธิในการเลิกสัญญาโดยข้อสัญญายังคงมีอยู่หาได้ระงับสิ้นไปไม่ เมื่อจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์โดยชอบแล้ว จำเลยย่อมสิ้นความผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและมีสิทธิไม่คืนเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมด ดังนั้น การที่จำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้องย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อโจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะรับชำระหนี้หรือชำระหนี้ตอบแทนฝ่ายจำเลยทั้งสามได้ ย่อมถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่คืนเงินมัดจำ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยที่1พร้อมชำระหนี้และรับชำระหนี้แต่โจทก์มิได้ชำระหนี้และรับชำระหนี้ตามกำหนดโจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา204วรรคสองแม้สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อสัญญาให้จำเลยบอกเลิกสัญญาได้แต่จำเลยก็ให้โอกาสชำระหนี้และรับชำระหนี้ถึงสองครั้งโดยให้โจทก์เป็นผู้กำหนดวันนัดภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วครั้งแรกโจทก์อ้างเหตุขัดข้องเรื่องเนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินและหมุดหลักเขตไม่แน่นอนครั้งหลังโจทก์รับทราบและพ้นเวลาที่จำเลยกำหนดแล้วโจทก์ยังเพิกเฉยกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมหลุดพ้นจากข้อผูกพันที่ให้โอกาสโจทก์ชำระหนี้และรับชำระหนี้และสิทธิในการเลิกสัญญาโดยข้อสัญญายังคงมีอยู่หาได้ระงับสิ้นไปไม่เมื่อจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์โดยชอบแล้วจำเลยย่อมสิ้นความผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและมีสิทธิไม่คืนเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมดดังนั้นการที่จำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้องย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาและเมื่อโจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะรับชำระหนี้หรือชำระหนี้ตอบแทนฝ่ายจำเลยทั้งสามได้ย่อมถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การกล่าวหาเท็จและเสียดสีศาลในคำร้องคดีอาญา
ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องซึ่งมีมูลบางข้อหายกฟ้องบางข้อหาให้โจทก์และจำเลยทั้งสองฟังโจทก์และจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาแล้วจำเลยที่2ออกไปยื่นหลักทรัพย์ประกันตัวศาลตรวจพบว่ามิได้กำหนดวันนัดสอบคำให้การจำเลยและนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาจึงเรียกโจทก์และจำเลยทั้งสองกลับเข้าห้องพิจารณาแล้วแจ้งเหตุดังกล่าวให้ทราบและทำรายงานกระบวนพิจารณาฉบับใหม่ขึ้นพร้อมทั้งแจ้งขอทำลายรายงานกระบวนพิจารณาฉบับแรกด้วยโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านดังนั้นการที่จำเลยที่2กล่าวหาศาลด้วยข้อความที่ไม่เป็นความจริงว่าศาลสั่งยกฟ้องทุกข้อหาสั่งขังจำเลยทั้งสองไม่ได้และโจทก์จำเลยทั้งสองไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับแรกอันเป็นการดูหมิ่นศาลและกล่าวเสียดสีศาลว่าหากให้พิจารณาคดีต่อไปเกรงว่าจะทำลายเอกสารที่มีความสำคัญถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นการละเมิดอำนาจศาลศาลมีอำนาจลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลโดยไม่ต้องฟ้องจึงไม่มีกรณีที่จะเป็นฟ้องเคลือบคลุมหรือต้องเปิดโอกาสให้จำเลยที่2แก้ข้อกล่าวหาหรือให้โอกาสตั้งทนายถามค้าน คำสั่งศาลเรื่องละเมิดอำนาจศาลกฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบของคำสั่งไว้เมื่อคำสั่งศาลดังกล่าวต่อเนื่องกับการไต่สวนตามรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งมีชื่อศาลลงวันที่30มีนาคม2537จึงเป็นคำสั่งที่มีชื่อศาลและวันเดือนปีชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา186(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การกล่าวหาเท็จ ดูหมิ่น เสียดสีศาลในคำร้องคดีอาญา
จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นกล่าวหาศาลด้วยข้อความที่ไม่เป็นจริงว่าศาลสั่งยกฟ้องทุกข้อหาจึงสั่งขังจำเลยทั้งสองไม่ได้ โจทก์จำเลยทั้งสองไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับแรกที่ศาลทำลายไปและว่าหากให้พิจารณาคดีต่อไปเกรงจะทำลายเอกสารที่มีความสำคัญ ถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลมีอำนาจลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลแก่บุคคลที่กระทำกระละเมิดอำนาจศาลได้โดยไม่ต้องฟ้องจึงไม่มีกรณีที่จะเป็นฟ้องเคลือบคลุม หรือต้องเปิดโอกาสให้บุคคลนั้นแก้ข้อกล่าวหาหรือให้โอกาสตั้งทนายถามค้านและคำสั่งของศาลไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พลุส่องแสง M49A1 ไม่เป็น 'เครื่องกระสุนปืน' ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แม้มีคุณสมบัติทำลายได้
"เครื่องกระสุนปืน"ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิดดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ.2490มิได้บัญญัติให้หมายรวมถึง พลุสดุดส่องแสงแบบเอ็ม.49เอ1ด้วยหรือหาได้ให้มี ความหมายรวมถึงวัตถุที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องกระสุนปืนไม่ดังนั้นพลุสดุดส่องแสงแบบเอ็ม.49เอ1จึง ไม่เป็น เครื่องกระสุนปืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พลุส่องแสงไม่ใช่เครื่องกระสุนปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แม้มีคุณสมบัติคล้ายคลึง
คำว่า "เครื่องกระสุนปืน" ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มิได้บัญญัติให้มีความหมายรวมถึงพลุสดุดส่องแสงแบบเอ็ม.49เอ 1 ด้วย และมิได้ให้มีความหมายรวมถึงวัตถุที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องกระสุนปืน ดังนั้นพลุสดุดส่องแสงแบบเอ็ม.49เอ 1 จึงไม่เป็นเครื่องกระสุนปืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนอากร-ดอกเบี้ย-ภาษีอื่น และประเด็นศาลต้องชี้ขาดทุกประเด็นข้อพิพาท
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้าให้สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันนำของเข้า เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันนำของเข้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้ก่อนนั้นต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 2 ปี ก็ขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 และขอคืนเงินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตาม ป.รัษฎากร พ.ร.บ.รายได้เทศบาล พ.ศ.2497 และ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ตามลำดับจำเลยยกอายุความเฉพาะตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้าขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ดังนั้น แม้คดีของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า แล้วศาลภาษีอากรกลางก็ยังต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องคืนเงินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมค่าเสียหายให้แก่โจทก์อีกหรือไม่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนเงินอากร, ภาษี, ค่าธรรมเนียมพิเศษ และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้นจะต้องฟ้องภายใน 2 ปี นับแต่วันนำของเข้าตามมาตรา10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 2 ปี แต่นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันนำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันสิ้นไปหรือขาดอายุความ ส่วนภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และค่าธรรมเนียมพิเศษนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และศาลวินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องคืนอากรขาเข้าขาดอายุความเพียงอย่างเดียว จำเลยจึงต้องคืนภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี พอถือได้ว่าโจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเป็นการเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัดชำระหนี้เงินคืน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ส่วนค่าธรรมเนียมพิเศษเป็นการเรียกดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดระเบียบการเรียกเก็บและวิธีการชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรลงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 โดยจำเลยต้องคืนค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนนับแต่วันที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน คดีนี้จำเลยไม่ได้ยกอายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่วินิจฉัยประเด็นว่าจำเลยต้องคืนเงินภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามฟ้องอีกหรือไม่เพียงใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา17ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำจากการบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน: เป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายภาษี
โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ อ.โดย อ.วางมัดจำไว้ในวันทำสัญญา 9,000,000 บาท แต่ อ.ไม่มารับโอนที่ดินในวันนัด โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิรับเงินมัดจำดังกล่าวตามสัญญา ดังนี้ แม้ อ.จะฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนก็เป็นการฟ้องหลังจากที่โจทก์ได้ริบเงินมัดจำแล้ว หาใช่ว่าโจทก์ยังมิได้ริบเงินมัดจำหรือเป็นกรณีที่โจทก์จะมีสิทธิริบเงินมัดจำหรือไม่ยังไม่ทราบ อันจะถือว่าเงินมัดจำเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะได้รับมาในภายหน้าไม่ เงินมัดจำดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจาก อ.ซึ่งเป็นคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญา จึงเป็นเงินได้จากการอื่น ๆ ตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 39
of 77