พบผลลัพธ์ทั้งหมด 763 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและการเลิกสัญญาโดยปริยาย
ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท จำเลยผู้จะขายแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เรื่องควบคุมการจัดสรรที่ดินข้อ 10 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการโดยโจทก์ผู้จะซื้อมิได้ร่วมรู้ในวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องจึงหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นโมฆะ
เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อ ๆ มา จึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา 205 ไม่ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืน จำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป กลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว พร้อมดอกเบี้ย เมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง จึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคสอง และมาตรา 7
เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อ ๆ มา จึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา 205 ไม่ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืน จำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป กลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว พร้อมดอกเบี้ย เมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง จึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคสอง และมาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: โมฆะหรือไม่, เลิกสัญญาโดยปริยาย, และดอกเบี้ย
จำเลยฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินขณะทำ สัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ร่วมรู้ด้วยวัตถุประสงค์ของสัญญาหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่จึงไม่เป็นโมฆะแต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่รู้ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตซึ่งขณะนั้นจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขายให้ได้ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดชอบการที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ยอมชำระเงินงวดต่อๆมาอีกจึงหาเป็นผู้ผิดนัดไม่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้แต่เมื่อต่อมาโจทก์ทั้งสี่ได้ บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจำเลยก็มิได้โต้แย้งกลับบอกปัดว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ทั้งสี่แล้วถือว่าคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายและต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะเนื่องจากผู้ขายทราบว่ายังไม่ได้รับอนุญาตจัดสรร และการเลิกสัญญโดยปริยาย
ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยผู้จะขายแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286เรื่องควบคุมการจัดสรรที่ดินข้อ10ที่ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการโดยโจทก์ผู้จะซื้อมิได้ร่วมรู้ในวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการดังนี้วัตถุประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องจึงหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบดังนั้นการที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อๆมาจึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา205ไม่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปกลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายโจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยเมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งจึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคสองและมาตรา7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ใบไต่สวนไม่ใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ การครอบครองเกิน 1 ปีได้สิทธิเด็ดขาด
ใบไต่สวนเป็นหนังสือซึ่งเจ้าพนักงานออกให้เพื่อแสดงว่าเจ้าของที่ดินได้นำรังวัดเพื่อออกโฉนด ไม่ใช่เอกสารสำคัญที่แสดงว่าผู้มีชื่อในใบไต่สวนเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินซึ่งมีใบไต่สวนโดยเจตนายึดถือเพื่อตนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองจากเจ้าของเดิมโดยเด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินจากใบไต่สวนและการฟ้องซ้ำ
ใบไต่สวนตามประมวลกฎหมายที่ดินไม่ใช่เอกสารสำคัญที่แสดงว่าผู้มีชื่อในใบไต่สวนเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น แต่เป็นหนังสือซึ่งเจ้าพนักงานออกให้เพื่อแสดงว่าเจ้าของที่ดินได้นำรังวัดเพื่อออกโฉนด เมื่อโจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีใบไต่สวนโดยเจตนายึดถือเพื่อตนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองจากเจ้าของเดิมโดยเด็ดขาดแล้ว
แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แต่ก็ได้วินิจฉัยในข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งหรือไม่ด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งหมดนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แต่ก็ได้วินิจฉัยในข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งหรือไม่ด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งหมดนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินจากการครอบครองเกิน 1 ปี แม้มีใบไต่สวน แต่ไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์
ใบไต่สวนเป็นหนังสือซึ่งเจ้าพนักงานออกให้เพื่อแสดงว่าเจ้าของที่ดินได้นำรังวัดเพื่อออกโฉนดไม่ใช่ เอกสารสำคัญที่แสดงว่าผู้มีชื่อในใบไต่สวนเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อโจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งมีใบไต่สวนโดยเจตนายึดถือเพื่อตนเป็นเวลาเกินกว่า1ปีโจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองจากเจ้าของเดิมโดยเด็ดขาดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาคดีทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์ แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานของจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หลังจากมีคำสั่ง 3 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นจึงมีคำพิพากษา จำเลยมีโอกาสและสามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งได้ แต่จำเลยมิได้โต้แย้ง จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว ปัญหานี้แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1ได้รับวินิจฉัยไว้ก็ตาม ก็ยังคงเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วก็ไม่อาจยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานของจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหลังจากมีคำสั่ง3เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงมีคำพิพากษาจำเลยมีโอกาสและสามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งได้แต่จำเลยมิได้โต้แย้งจึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวปัญหานี้แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ได้รับวินิจฉัยไว้ก็ตามก็ยังคงเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสินค้าที่สำแดงตาม CIF เชื่อถือได้หากมีหลักฐานประกอบ และการประเมินราคาต้องอ้างอิงราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
กรณีของโจทก์เป็นเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงจึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางเงินประกันค่าอากรอีกส่วนหนึ่งได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้วต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินการชำระค่าอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับสินค้าแล้วจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าดังนั้นการที่โจทก์ได้ชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แม้โจทก์จะมิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องจำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ0.625ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112จัตวาวรรคท้ายดังนั้นคดีนี้โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้เดิมพร้อมดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันชำระอากรขาเข้าโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีนี้โจทก์ได้ชำระเงินอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มดังกล่าวเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้วกรณีจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าดังนั้นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุใดที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าเช่นกันเพราะขณะที่โจทก์รับมอบสินค้าจากกรมศุลกากรนั้นโจทก์ยังมิได้เสียอากรตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนแต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยปฏิบัติพิธีการศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112และมาตรา112ทวิกล่าวคือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยและตัวแทนของโจทก์จึงตกลงให้ชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง29ฉบับและให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินอากรเพิ่มภายหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้วประมาณ1เดือนซึ่งกรณีดังกล่าวพระราชบัญญัติศุลกากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องใช้อายุความตามบทบัญญัติทั่วไปมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30(มาตรา164เดิม) หลักเกณฑ์การประเมินตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่8/2530ข้อ2.3ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดต่อรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3เดือนกับคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่47/2531ข้อ1.5ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน3เดือนและตามคำสั่งกค0614(ก)/8024ลงวันที่25กรกฎาคม2532ที่กำหนดให้สินค้าก๊าซเอทธีลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็วประกอบคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่8/2530ข้อ2.2ที่ระบุว่าของที่ราคาเคลื่อนไหวเร็วซึ่งกองพิธีการและประเมินอากรร่วมกับกองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณากำหนดชนิดของนั้นๆไว้ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาระยะเวลาไม่เกิน1เดือนเป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรนั้นเป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นดังนั้นการที่จำเลยนำสืบแสดงหลักฐานว่าราคาที่โจทก์สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าประเภทชนิดเดียวกันจากแหล่งประเทศกำเนิดเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่โจทก์เคยนำเข้าโดยให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3เดือนหรือ1เดือนเป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรเมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าสินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวเร็วมีการเปลี่ยนแปลงราคาเดือนละ3ถึง4ครั้งจึงเป็นการไม่แน่นอนว่าราคาสินค้าที่เคยนำเข้าสูงสุดย้อนหลังไม่เกิน3เดือนหรือ1เดือนที่จำเลยใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2ส่วนโจทก์นำสืบแสดงว่าราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวขึ้นลงเร็วก่อนโจทก์สั่งซื้อจะต้องสอบถามราคาจากผู้ผลิตและข่าวสารทั่วโลกแหล่งข่าวสารที่โจทก์ติดตามประจำคือไอ.ซี.ไอ.เอส.(IndenpendentChemicalInformationService)ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวทั่วโลกราคาของก๊าซเอทธิลีนเหลวมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์ของตลาดเฉลี่ยเดือนละ3ครั้งราคาที่โจทก์จัดซื้อเมื่อเทียบเคียงราคาจากข่าวสารจะใกล้เคียงระดับเดียวกันการซื้อโจทก์ชำระราคาโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมีใบกำกับสินค้าแสดงราคาสินค้าสัญญาซื้อขายพร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินของธนาคารเป็นหลักฐานจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สำแดงราคาสินค้าตามที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าและใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง29ฉบับที่โจทก์ซื้อมาและชำระราคาไปแล้วนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรฉะนั้นราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทุกฉบับจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และสิทธิในการเรียกร้องเงินค่าอากรที่ชำระเกิน
กรณีของโจทก์เป็นเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดง จึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางเงินประกันค่าอากรอีกส่วนหนึ่ง ได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้วต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแจ้งการประเมิน การชำระค่าอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคห้า ดังนั้น การที่โจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้โจทก์จะมิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืน ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องจำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากร ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคท้ายดังนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้เดิมพร้อมดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสีย นับแต่วันชำระอากรขาเข้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้โจทก์ได้ชำระเงินอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มดังกล่าวเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า เช่นกัน เพราะขณะที่โจทก์รับมอบสินค้าจากกรมศุลกากรนั้นโจทก์ยังมิได้เสียอากรตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกคืน แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยปฏิบัติพิธีการศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 และมาตรา 112 ทวิ กล่าวคือ เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยและตัวแทนของโจทก์จึงตกลงให้ชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ และให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินอากรเพิ่มภายหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งกรณีดังกล่าวพ.ร.บ.ศุลกากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความตามบทบัญญัติทั่วไปมีกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 (มาตรา 164 เดิม)
หลักเกณฑ์การประเมินตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530ข้อ 2.3 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดต่อรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3 เดือน กับคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ข้อ 1.5 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 3 เดือน และตามคำสั่ง กค 0614(ก)/8024 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2532 ที่กำหนดให้สินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ประกอบคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530 ข้อ 2.2 ที่ระบุว่าของที่ราคาเคลื่อนไหวเร็วซึ่งกองพิธีการและประเมินอากรร่วมกับกองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณากำหนดชนิดของนั้น ๆ ไว้ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบแสดงหลักฐานว่าราคาที่โจทก์สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าประเภทชนิดเดียวกันจากแหล่งประเทศกำเนิดเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่โจทก์เคยนำเข้าโดยให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรเมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าสินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวเร็วมีการเปลี่ยนแปลงราคาเดือนละ 3 ถึง 4 ครั้ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าราคาสินค้าที่เคยนำเข้าสูงสุดย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน ที่จำเลยใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 2 ส่วนโจทก์นำสืบแสดงว่าราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวขึ้นลงเร็ว ก่อนโจทก์สั่งซื้อจะต้องสอบถามราคาจากผู้ผลิตและข่าวสารทั่วโลกแหล่งข่าวสารที่โจทก์ติดตามประจำคือ ไอ.ซี.ไอ.เอส. (Indenpendent Chemical InformationService) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวทั่วโลก ราคาของก๊าซเอทธิลีนเหลวมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์ของตลาดเฉลี่ยเดือนละ 3 ครั้ง ราคาที่โจทก์จัดซื้อเมื่อเทียบเคียงราคาจากข่าวสารจะใกล้เคียงระดับเดียวกัน การซื้อโจทก์ชำระราคาโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมีใบกำกับสินค้าแสดงราคาสินค้าสัญญาซื้อขาย พร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินของธนาคารเป็นหลักฐาน จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สำแดงราคาสินค้าตามที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าและใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ ที่โจทก์ซื้อมาและชำระราคาไปแล้วนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ฉะนั้นราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทุกฉบับจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องจำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากร ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคท้ายดังนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้เดิมพร้อมดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสีย นับแต่วันชำระอากรขาเข้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้โจทก์ได้ชำระเงินอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มดังกล่าวเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า เช่นกัน เพราะขณะที่โจทก์รับมอบสินค้าจากกรมศุลกากรนั้นโจทก์ยังมิได้เสียอากรตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกคืน แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยปฏิบัติพิธีการศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 และมาตรา 112 ทวิ กล่าวคือ เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยและตัวแทนของโจทก์จึงตกลงให้ชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ และให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินอากรเพิ่มภายหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งกรณีดังกล่าวพ.ร.บ.ศุลกากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความตามบทบัญญัติทั่วไปมีกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 (มาตรา 164 เดิม)
หลักเกณฑ์การประเมินตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530ข้อ 2.3 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดต่อรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3 เดือน กับคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ข้อ 1.5 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 3 เดือน และตามคำสั่ง กค 0614(ก)/8024 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2532 ที่กำหนดให้สินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ประกอบคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530 ข้อ 2.2 ที่ระบุว่าของที่ราคาเคลื่อนไหวเร็วซึ่งกองพิธีการและประเมินอากรร่วมกับกองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณากำหนดชนิดของนั้น ๆ ไว้ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบแสดงหลักฐานว่าราคาที่โจทก์สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าประเภทชนิดเดียวกันจากแหล่งประเทศกำเนิดเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่โจทก์เคยนำเข้าโดยให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรเมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าสินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวเร็วมีการเปลี่ยนแปลงราคาเดือนละ 3 ถึง 4 ครั้ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าราคาสินค้าที่เคยนำเข้าสูงสุดย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน ที่จำเลยใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 2 ส่วนโจทก์นำสืบแสดงว่าราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวขึ้นลงเร็ว ก่อนโจทก์สั่งซื้อจะต้องสอบถามราคาจากผู้ผลิตและข่าวสารทั่วโลกแหล่งข่าวสารที่โจทก์ติดตามประจำคือ ไอ.ซี.ไอ.เอส. (Indenpendent Chemical InformationService) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวทั่วโลก ราคาของก๊าซเอทธิลีนเหลวมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์ของตลาดเฉลี่ยเดือนละ 3 ครั้ง ราคาที่โจทก์จัดซื้อเมื่อเทียบเคียงราคาจากข่าวสารจะใกล้เคียงระดับเดียวกัน การซื้อโจทก์ชำระราคาโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมีใบกำกับสินค้าแสดงราคาสินค้าสัญญาซื้อขาย พร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินของธนาคารเป็นหลักฐาน จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สำแดงราคาสินค้าตามที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าและใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ ที่โจทก์ซื้อมาและชำระราคาไปแล้วนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ฉะนั้นราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทุกฉบับจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด