คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนพ กีรติยุติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 763 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าเกินกำหนดเวลา 5 ปี และการลดอัตราเงินเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
รายจ่ายส่วนลดที่โจทก์อ้างผู้ซื้อที่ดินชำระเกินมาเนื่องจากที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญานั้นโจทก์ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินส่วนลดประกอบการลงบัญชีโดยให้ผู้รับส่วนลดเช็นต์ชื่อเป็นหลักฐานประกอบจึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายเองต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(9) รายจ่ายส่วนตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการและของบริษัทในเครือรวมทั้งหุ้นส่วนอื่นๆเป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เนื่องจากเป็นรายจ่ายของบุคคลอื่นจึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ ส่วนรายจ่ายค่ารับรองเกินสมควรและรายจ่ายค่าธรรมเนียมที่ดินของบุคคลอื่นไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์โจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวมิใช่รายจ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(3)(4)(9)(13)และ(18)ตามที่จำเลยนำสืบข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(3)(4)(9)(13)และ(18)ซึ่งโจทก์ได้นำมารวมคำนวณกำไรสุทธิโดยไม่ชอบ สำหรับรายจ่ายค่าการกุศลที่เกินกว่าร้อยละ1ของกำไรสุทธินั้นเมื่อโจทก์ยอมรับว่ารายจ่ายการกุศลเกินกว่าร้อยละ1ของกำไรสุทธิจริงข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวต้องห้ามมิให้ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(6) ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ให้ถ้อยคำไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินยอมรับว่าค่าจ้างแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ในปี2518ถึง2520นั้นโจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ณที่จ่ายไว้กับเบิกความยอมรับในชั้นศาลว่าโจทก์คงหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนของลูกจ้างประจำในปี2518ถึง2522และนำส่งให้แก่จำเลยส่วนค่าแรงงานลูกจ้างรายวันนั้นโจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาณที่จ่ายไว้ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงยอมให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายจากค่าแรงงานส่วนนี้ในอัตราร้อยละ3เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ค่าจ้างแรงงานรายวันเป็นรายบุคคลได้ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายในอัตราดังกล่าวตามความยินยอมของผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงถือได้ว่าโจทก์พอใจตามการประเมินนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนนี้อีกไม่ได้และปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรกลางพ.ศ.2528มาตรา29 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการรายรับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2520และปี2522ไว้เกินไปกว่าจำนวนที่ปรากฎในบัญชีโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในปี2520และปี2522แต่เจ้าพนักงานประเมินกลับประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับ1เท่าของจำนวนภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา89(3)เป็นเงินเบี้ยปรับ6,405บาทและเสียเงินเพิ่มตามมาตรา89ทวิเป็นเงินจำนวน128,034.73บาทจึงเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีจำนวนภาษีการค้าที่ต้องเสียเนื่องจากเหตุเสียคลาดเคลื่อนน้อยไปกว่าจำนวนที่ต้องเสียสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2522แล้วก็ย่อมจะไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้นำรายรับตามที่โจทก์ลงไว้ในสมุดเงินสดไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการค้าของเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม2522แก่จำเลยไว้แล้วแต่เจ้าพนักงานประเมินคงตรวจพบแต่เพียงว่ารายรับของโจทก์สำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน2522ตามสมุดเงินสดนั้นคลาดเคลื่อนต่อความจริงกล่าวคือรายรับบางส่วนเป็นรายรับของรอบระยะเวลาบัญชีปี2521กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องนำรายรับที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีคลาดเคลื่อนดังกล่าวไปแก้ไขปรับปรุงรายการในแบบรายการการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี2521แล้วประเมินภาษีการค้าเบี้ยปรับเงินเพิ่มของรอบระยะเวลาบัญชีปี2521หาใช่เหตุที่จะมาประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี2522ไม่ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี2522จึงไม่ถูกต้องเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายจากโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา20โจทก์จึงอาจต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ20แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา22ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติไว้กฎหมายดังกล่าวให้ดุลพินิจแก่เจ้าพนักงานประเมินที่อาจจะใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มน้อยกว่าร้อยละ20แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินกำหนดจำนวนเงินเพิ่มตามอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา29และ30ตามลำดับดังนั้นศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าอัตราเงินเพิ่มที่เจ้าพนักงานประเมินได้ใช้ดุลพินิจกำหนดไว้และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นเหมาะสมแล้วหรือหากไม่เหมาะสมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงให้แก่โจทก์ได้ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปจำนวนมากและไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายนั้นผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนโดยยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายจากค่าแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ได้ในอัตราร้อยละ3เป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบไต่สวนจึงมีเหตุสมควรลดเงินเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ10แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากรมาตรา30คงวางเกณฑ์เกี่ยวกับกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลเท่านั้นมิได้วางเกณฑ์ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลจะอ้างเหตุตามบทกฎหมายบทอื่นเพื่อชี้ว่าการประเมินภาษีการค้าสำหรับรองระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ได้ดังนั้นโจทก์จึงยกข้ออ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิ(1)ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลได้แม้จะมิได้ยกเป็นข้ออ้างในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ต้นก็ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา87ตรีเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือพยานกับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้แต่จะต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหมายเรียกไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องออกหมายเรียกภายในกำหนดเวลา5ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือภายใน10ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าทั้งมิได้กำหนดให้ทำการประเมินหลังจากออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนแล้วภายในกำหนดเวลาเท่าใดแต่มีประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิบัญญัติว่าการประเมินให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1)ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า (1)สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะได้ออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนหรือไม่การประเมินก็จะต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิบัญญัติไว้ทั้งสิ้นเมื่อปรากฎว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2517ถึงปี2521พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิ(1)และมิใช่กรณีโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าอันจะทำการประเมินได้ภายในสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าเกินกำหนด 5 ปี และการลดหย่อนเงินเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
รายจ่ายส่วนลดที่โจทก์อ้าง ผู้ซื้อที่ดินชำระเกินมาเนื่องจากที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญานั้น โจทก์ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินส่วนลดประกอบการลงบัญชีโดยให้ผู้รับส่วนลดเช็นต์ชื่อเป็นหลักฐานประกอบ จึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายเองต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายส่วนตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการ และของบริษัทในเครือรวมทั้งหุ้นส่วนอื่น ๆ เป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เนื่องจากเป็นรายจ่ายของบุคคลอื่น จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ ส่วนรายจ่ายค่ารับรองเกินสมควรและรายจ่ายค่าธรรมเนียมที่ดินของบุคคลอื่นไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์ โจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวมิใช่รายจ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)(4)(9)(13) และ (18) ตามที่จำเลยนำสืบ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า รายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3)(4)(9)(13) และ (18) ซึ่งโจทก์ได้นำมารวมคำนวณกำไรสุทธิโดยไม่ชอบ สำหรับรายจ่ายค่าการกุศลที่เกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธินั้นเมื่อโจทก์ยอมรับว่ารายจ่ายการกุศลเกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธิจริงข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวต้องห้ามมิให้ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (6) ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ให้ถ้อยคำไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินยอมรับว่าค่าจ้างแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ในปี2518 ถึง 2520 นั้น โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ กับเบิกความยอมรับในชั้นศาลว่า โจทก์คงหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนของลูกจ้างประจำในปี 2518 ถึง 2522 และนำส่งให้แก่จำเลย ส่วนค่าแรงงานลูกจ้างรายวันนั้นโจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงยอมให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากค่าแรงงานส่วนนี้ในอัตราร้อยละ 3เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ค่าจ้างแรงงานรายวันเป็นรายบุคคลได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราดังกล่าวตามความยินยอมของผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงถือได้ว่า โจทก์พอใจตามการประเมินนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนนี้อีกไม่ได้ และปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246,247 และ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรกลาง พ.ศ. 2528 มาตรา 29 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการรายรับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 และปี 2522 ไว้เกินไปกว่าจำนวนที่ปรากฎในบัญชีโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในปี 2520 และปี 2522แต่เจ้าพนักงานประเมินกลับประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) เป็นเงินเบี้ยปรับ 6,405 บาท และเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิเป็นเงินจำนวน 128,034.73 บาท จึงเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีจำนวนภาษีการค้าที่ต้องเสียเนื่องจากเหตุเสียคลาดเคลื่อนน้อยไปกว่าจำนวนที่ต้องเสีย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522แล้ว ก็ย่อมจะไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้นำรายรับตามที่โจทก์ลงไว้ในสมุดเงินสดไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการค้าของเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2522 แก่จำเลยไว้แล้ว แต่เจ้าพนักงานประเมินคงตรวจพบแต่เพียงว่า รายรับของโจทก์สำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2522 ตามสมุดเงินสดนั้น คลาดเคลื่อนต่อความจริงกล่าวคือรายรับบางส่วนเป็นรายรับของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องนำรายรับที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีคลาดเคลื่อนดังกล่าวไปแก้ไขปรับปรุงรายการในแบบรายการการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 แล้วประเมินภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่มของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 หาใช่เหตุที่จะมาประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 จึงไม่ถูกต้องเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 โจทก์จึงอาจต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติไว้ กฎหมายดังกล่าวให้ดุลพินิจแก่เจ้าพนักงานประเมินที่อาจจะใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มน้อยกว่าร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินกำหนดจำนวนเงินเพิ่มตามอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 29 และ 30 ตามลำดับ ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าอัตราเงินเพิ่มที่เจ้าพนักงานประเมินได้ใช้ดุลพินิจกำหนดไว้และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นเหมาะสมแล้ว หรือหากไม่เหมาะสมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงให้แก่โจทก์ได้ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปจำนวนมากและไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายนั้น ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนโดยยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากค่าแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ได้ในอัตราร้อยละ 3 เป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบไต่สวนจึงมีเหตุสมควรลดเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 คงวางเกณฑ์เกี่ยวกับกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลเท่านั้นมิได้วางเกณฑ์ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลจะอ้างเหตุตามบทกฎหมายบทอื่นเพื่อชี้ว่าการประเมินภาษีการค้าสำหรับรองระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ได้ ดังนั้นโจทก์จึงยกข้ออ้างตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ(1) ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลได้ แม้จะมิได้ยกเป็นข้ออ้างในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ต้นก็ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ตรี เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือพยานกับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้ แต่จะต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหมายเรียกไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องออกหมายเรียกภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้ หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ทั้งมิได้กำหนดให้ทำการประเมินหลังจากออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนแล้วภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่มีประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิบัญญัติว่า การประเมินให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1) ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า (1) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะได้ออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนหรือไม่ การประเมินก็จะต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ บัญญัติไว้ทั้งสิ้น เมื่อปรากฎว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2517 ถึงปี 2521พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ (1) และมิใช่กรณีโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า อันจะทำการประเมินได้ภายในสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าโรงแรมและที่ดิน: การประเมินรายรับจากบริการโทรศัพท์และธุรกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างบริษัทแม่และบริษัทย่อย
โจทก์มีโทรศัพท์ไว้บริการแขกผู้มาพักการใช้โทรศัพท์ผู้มาพักสามารถใช้โดยผ่านพนักงานโรงแรมของโจทก์ช่วยต่อให้หรือผู้มาพักต่อสายด้วยตนเองโดยผ่านตู้แยกสายที่โจทก์จัดไว้ให้และผู้มาพักสามารถติดต่อภายในกรุงเทพมหานครต่างจังหวัดและต่างประเทศได้และสามารถโทรออกจากห้องพักหรือโทรจากนอกห้องพักก็ได้ดังนี้เมื่อโทรศัพท์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้จัดหาไว้ให้ผู้มาพักได้ใช้ทั้งภายในและภายนอกห้องพักจึงเป็นบริการที่โจทก์จัดให้แก่ผู้มาพักควบคู่กันไปกับการจัดห้องพักดังนั้นค่าตอบแทนที่ได้จากการนั้นจึงถือเป็นรายรับอันเนื่องมาจากการจัดสถานที่และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้เข้ามาพักในโรงแรมของโจทก์เป็นรายรับที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจโรงแรมซึ่งต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า7(ข)โรงแรมหาใช่ประเภทการค้า10ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าไม่และตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78ได้บัญญัติให้ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีภาษีการค้าซึ่งหมายความว่าเป็นรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆจึงไม่มีค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีการค้าโจทก์จึงหามีสิทธิจะนำค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้แก่องค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทย มาหักออกแล้วนำเฉพาะส่วนที่โจทก์เรียกเก็บเพิ่มจากผู้เข้ามาพักเสียภาษีการค้าเท่านั้นไม่ โจทก์มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินโจทก์ที่ซื้อที่ดินทั้งห้าโฉนดมาแล้วปลูกสร้างอาคารโรงแรมที่โอนขายนั้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจโรงแรมตามวัตถุประสงค์ของโจทก์บริษัทท. เป็นบริษัทย่อยของโจทก์โจทก์ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ99.99และถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นผู้ซื้อและรับโอนที่ดินกับอาคารดังกล่าวจากโจทก์มีคณะกรรมการชุดเดียวกันกับคณะกรรมการบริษัทโจทก์เงินค่าที่ดินและอาคารที่บริษัทดังกล่าวจ่ายให้แก่โจทก์คือเงินจำนวนเดียวกันกับที่โจทก์จ่ายค่าหุ้นให้เงินที่โจทก์ให้กู้ยืมและเงินที่วางประกันการที่โจทก์เช่าที่ดินและอาคารจากบริษัทดังกล่าวการชำระเงินกระทำกันโดยการโอนตัวเลขทางบัญชีระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวประโยชน์ที่โจทก์ได้รับก็คือสามารถลบตัวเลขทางบัญชีของโจทก์ที่ขาดทุนตลอดมาตั้งแต่ปี2526ทำให้มีกำไรเพื่อที่โจทก์จะมีคุณสมบัติสามารถเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จึงเห็นได้ว่าโจทก์มิได้มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินและทำการปลูกสร้างอาคารไว้เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญมาแต่เดิมที่โจทก์ต้องตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาแล้วทำสัญญาโอนขายที่ดินและอาคารให้ก็เพราะโจทก์ประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดตั้งแต่ปี2526จำเป็นจะต้องกระทำการดังกล่าวเพื่อทำให้มีกำไรแม้โจทก์จะตั้งราคาขายสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมากเพื่อให้เห็นว่าโจทก์มีกำไรสามารถเข้าจะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ก็เป็นไปตามปกติของการประกอบกิจการค้าและราคาที่ดินที่สูงขึ้นหาใช่มีลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรจากการซื้อที่ดินมาแล้วขายไปไม่จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินและอาคารดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าโรงแรมและซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การประเมินถูกต้องหรือไม่
โจทก์มีโทรศัพท์ไว้บริการแขกผู้มาพัก การใช้โทรศัพท์ผู้มาพักสามารถใช้โดยผ่านพนักงานโรงแรมของโจทก์ช่วยต่อให้หรือผู้มาพักต่อสายด้วยตนเองโดยผ่านตู้แยกสายที่โจทก์จัดไว้ให้และผู้มาพักสามารถติดต่อภายในกรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัดและต่างประเทศได้ และสามารถโทรออกจากห้องพักหรือโทรจากนอกห้องพักก็ได้ ดังนี้ เมื่อโทรศัพท์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้จัดหาไว้ให้ผู้มาพักได้ใช้ทั้งภายในและภายนอกห้องพักจึงเป็นบริการที่โจทก์จัดให้แก่ผู้มาพักควบคู่กันไปกับการจัดห้องพักดังนั้น ค่าตอบแทนที่ได้จากการนั้นจึงถือเป็นรายรับ อันเนื่องมาจากการจัดสถานที่และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้เข้ามาพักในโรงแรมของโจทก์เป็นรายรับที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 7(ข)โรงแรม หาใช่ประเภทการค้า 10 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าไม่และตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ได้บัญญัติให้ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีภาษีการค้า ซึ่งหมายความว่าเป็นรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จึงไม่มีค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีการค้าโจทก์จึงหามีสิทธิจะนำค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้แก่องค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทย มาหักออกแล้วนำเฉพาะส่วนที่โจทก์เรียกเก็บเพิ่มจากผู้เข้ามาพักเสียภาษีการค้าเท่านั้นไม่ โจทก์มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินโจทก์ที่ซื้อที่ดินทั้งห้าโฉนดมาแล้วปลูกสร้างอาคารโรงแรมที่โอนขายนั้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจโรงแรมตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ บริษัทท. เป็นบริษัทย่อยของโจทก์ โจทก์ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ 99.99 และถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นผู้ซื้อและรับโอนที่ดินกับอาคารดังกล่าวจากโจทก์ มีคณะกรรมการชุดเดียวกันกับคณะกรรมการบริษัทโจทก์ เงินค่าที่ดินและอาคารที่บริษัทดังกล่าวจ่ายให้แก่โจทก์คือเงินจำนวนเดียวกันกับที่โจทก์จ่ายค่าหุ้นให้ เงินที่โจทก์ให้กู้ยืมและเงินที่วางประกันการที่โจทก์เช่าที่ดินและอาคารจากบริษัทดังกล่าว การชำระเงินกระทำกันโดยการโอนตัวเลขทางบัญชีระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าว ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับก็คือสามารถลบตัวเลขทางบัญชีของโจทก์ที่ขาดทุนตลอดมาตั้งแต่ปี 2526 ทำให้มีกำไร เพื่อที่โจทก์จะมีคุณสมบัติสามารถเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ จึงเห็นได้ว่า โจทก์มิได้มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินและทำการปลูกสร้างอาคารไว้เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญมาแต่เดิม ที่โจทก์ต้องตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาแล้วทำสัญญาโอนขายที่ดินและอาคารให้ก็เพราะโจทก์ประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2526 จำเป็นจะต้องกระทำการดังกล่าวเพื่อทำให้มีกำไร แม้โจทก์จะตั้งราคาขายสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เห็นว่าโจทก์มีกำไรสามารถเข้าจะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ก็เป็นไปตามปกติของการประกอบกิจการค้าและราคาที่ดินที่สูงขึ้นหาใช่มีลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรจากการซื้อที่ดินมาแล้วขายไปไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินและอาคารดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าโรงแรมและที่ดิน: การจัดบริการโทรศัพท์และธุรกรรมเพื่อการจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์
โจทก์มีโทรศัพท์ไว้บริการแขกผู้มาพัก การใช้โทรศัพท์ผู้มาพักสามารถใช้โดยผ่านพนักงานโรงแรมของโจทก์ช่วยต่อให้หรือผู้มาพักต่อสายด้วยตนเองโดยผ่านตู้แยกสายที่โจทก์จัดไว้ให้และผู้มาพักสามารถติดต่อภายในกรุงเทพ-มหานคร ต่างจังหวัด และต่างประเทศได้ และสามารถโทรออกจากห้องพักหรือโทรจากนอกห้องพักก็ได้ ดังนี้ เมื่อโทรศัพท์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้จัดหาไว้ให้ผู้มาพักได้ใช้ทั้งภายในและภายนอกห้องพัก จึงเป็นบริการที่โจทก์จัดให้แก่ผู้มาพักควบคู่กันไปกับการจัดห้องพัก ดังนั้น ค่าตอบแทนที่ได้จากการนั้นจึงถือเป็นรายรับ อันเนื่องมาจากการจัดสถานที่และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้เข้ามาพักในโรงแรมของโจทก์เป็นรายรับที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรม หาใช่ประเภทการค้า 10 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าไม่ และตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 ได้บัญญัติให้ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีภาษีการค้า ซึ่งหมายความว่าเป็นรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จึงไม่มีค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีการค้า โจทก์จึงหามีสิทธิจะนำค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้แก่องค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทยมาหักออกแล้วนำเฉพาะส่วนที่โจทก์เรียกเก็บเพิ่มจากผู้เข้ามาพักเสียภาษีการค้าเท่านั้นไม่
โจทก์มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดิน โจทก์ซื้อที่ดินทั้งห้าโฉนดมาแล้วปลูกสร้างอาคารโรงแรมที่โอนขายนั้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจโรงแรมตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ บริษัท ท.เป็นบริษัทย่อยของโจทก์ โจทก์ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ 99.99 และถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นผู้ซื้อและรับโอนที่ดินกับอาคารดังกล่าวจากโจทก์ มีคณะกรรมการชุดเดียวกันกับคณะกรรมการบริษัทโจทก์เงินค่าที่ดินและอาคารที่บริษัทดังกล่าวจ่ายให้แก่โจทก์คือเงินจำนวนเดียวกันกับที่โจทก์จ่ายค่าหุ้นให้ เงินที่โจทก์ให้กู้ยืมและเงินที่วางประกันการที่โจทก์เช่าที่ดินและอาคารจากบริษัทดังกล่าว การชำระเงินกระทำกันโดยการโอนตัวเลขทางบัญชีระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าว ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับก็คือสามารถลบตัวเลขทางบัญชีของโจทก์ที่ขาดทุนตลอดมาตั้งแต่ปี 2526 ทำให้มีกำไร เพื่อที่โจทก์จะมีคุณสมบัติสามารถเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จึงเห็นได้ว่า โจทก์มิได้มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินและทำการปลูกสร้างอาคารไว้เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญมาแต่เดิม ที่โจทก์ต้องตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาแล้วทำสัญญาโอนขายที่ดินและอาคารให้ก็เพราะโจทก์ประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2526 จำเป็นจะต้องกระทำการดังกล่าวเพื่อทำให้มีกำไร แม้โจทก์จะตั้งราคาขายสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เห็นว่าโจทก์มีกำไรสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ก็เป็นไปตามปกติของการประกอบกิจการค้าและราคาที่ดินที่สูงขึ้นหาใช่มีลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรจากการซื้อที่ดินมาแล้วขายไปไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินและอาคารดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร ต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ไม่สามารถอ้างอิงราคาสูงสุดภายใน 3 เดือนได้
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้ากรณีที่โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเอง แต่ในคดีนี้ที่โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินเพิ่มในภายหลังอันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักของจำเลยตามที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112ได้บัญญัติไว้ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 10 วรรคห้า การที่โจทก์ชำระอากรเพิ่มให้จำเลยตามที่เรียกเก็บเช่นนี้แม้โจทก์จะทราบดีอยู่ก่อนยื่นใบขนสินค้าแล้วว่าอาจต้องถูกประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและต้องชำระอากรเพิ่มขึ้นและมิได้โต้แย้งหรือได้แย้งหรือได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เมื่อการขอคืนอากรของโจทก์ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายหลังแม้จะมิได้ฟ้องขอคืนภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และตามพระราชบัญญัติศุลกากรดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 เดิม และมาตรา 193/30 ใหม่ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าของโจทก์โดยอาศัยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกันโดยใช้ราคาสูงสุดที่มีผู้นำเข้าก่อนรายของโจทก์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนั้น แม้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่ 8/2530 และ 47/2531 แต่หลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวก็เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้นหาเป็นเกณฑ์ตายตัวว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามนั้นไป ในระยะเวลา 3 เดือนดังกล่าวราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลงก็ได้ แต่จำเลยกลับถือเอาราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ประเมิน ราคาที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบและประเมินตามคำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามความหมายแห่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด มิใช่ราคาสูงสุดในช่วงเวลาที่กำหนด
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้ากรณีที่โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเองแต่ในคดีนี้ที่โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้นส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มโจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินเพิ่มในภายหลังอันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักของจำเลยตามที่พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112ได้บัญญัติไว้ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้วจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าการที่โจทก์ชำระอากรเพิ่มให้จำเลยตามที่เรียกเก็บเช่นนี้แม้โจทก์จะทราบดีอยู่ก่อนยื่นใบขนสินค้าแล้วว่าอาจต้องถูกประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและต้องชำระอากรเพิ่มขึ้นและมิได้โต้แย้งหรือได้แย้งหรือได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เมื่อการขอคืนอากรของโจทก์ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าโจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายหลังแม้จะมิได้ฟ้องขอคืนภายในกำหนด2ปีนับจากวันที่นำของเข้าและตามพระราชบัญญัติศุลกากรดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามมาตรา164เดิมและมาตรา193/30ใหม่แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าของโจทก์โดยอาศัยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกันโดยใช้ราคาสูงสุดที่มีผู้นำเข้าก่อนรายของโจทก์ภายในระยะเวลาไม่เกิน3เดือนนั้นแม้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่8/2530และ47/2531แต่หลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวก็เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้นหาเป็นเกณฑ์ตายตัวว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามนั้นไป ในระยะเวลา3เดือนดังกล่าวราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลงก็ได้แต่จำเลยกลับถือเอาราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ประเมินราคาที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบและประเมินตามคำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายแห่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนอากรหลังชำระเพิ่ม-การประเมินราคาศุลกากรไม่ชอบด้วยกฎหมาย-อายุความ 10 ปี
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้ากรณีที่โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเอง แต่ในคดีนี้ที่โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินเพิ่มในภายหลัง อันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักของจำเลยตามที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ได้บัญญัติไว้ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคห้า การที่โจทก์ชำระอากรเพิ่มให้จำเลยตามที่เรียกเก็บเช่นนี้แม้โจทก์จะทราบดีอยู่ก่อนยื่นใบขนสินค้าแล้วว่าอาจต้องถูกประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและต้องชำระอากรเพิ่มขึ้นและมิได้โต้แย้งหรือได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อการขอคืนอากรของโจทก์ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายหลังแม้จะมิได้ฟ้องขอคืนภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และตาม พ.ร.บ.ศุลกากรดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม และมาตรา 193/30 ใหม่ แห่ง ป.พ.พ.
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าของโจทก์โดยอาศัยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกัน โดยใช้ราคาสูงสุดที่มีผู้นำเข้าก่อนรายของโจทก์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนั้น แม้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่ 8/2530 และ 47/2531 แต่หลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวก็เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้นหาเป็นเกณฑ์ตายตัวว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามนั้นไม่ ในระยะเวลา 3 เดือนดังกล่าวราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลงก็ได้ แต่จำเลยกลับถือเอาราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ประเมิน ราคาที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบและประเมินตามคำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามความหมายแห่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ภาษีและการขยายเวลา: คำสั่งไม่อนุมัติขยายเวลาอุทธรณ์เป็นการขัดขวางสิทธิ
การอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ ป.รัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติไว้ให้สิทธิแก่ผู้รับการประเมินที่จะอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว ผู้รับการประเมินก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อศาลได้อีกภายในกำหนด 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวนั้น ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 7 (1) แต่ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้เช่นว่านั้น และได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านและคำอุทธรณ์นั้นเสร็จแล้ว ดังที่มาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 บัญญัติไว้ สำหรับกรณีที่ผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาในการอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 แห่งป.รัษฎากรได้นั้น มาตรา 3 อัฏฐ ก็ได้บัญญัติว่า เมื่ออธิบดี (กรมสรรพากร)พิจารณาเห็นเป็นการสมควรจะให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้ วิธีการดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ผู้รับการประเมินจะต้องปฏิบัติโดยถูกต้องเพื่อการที่จะได้รับการพิจารณาและพิพากษาคดีจากศาลภาษีอากรกลางได้ ดังนั้น กรณีที่ผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาในการยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้หากอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาการอุทธรณ์การประเมินได้ ตามป.รัษฎากร มาตรา 30 แต่กลับสั่งไม่อนุมัติให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปแก่ผู้รับการประเมินตามความจำเป็นแก่กรณี เป็นการขัดขวางมิให้ผู้รับการประเมินได้รับสิทธิในการพิจารณาอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และสิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้ ย่อมเห็นได้ว่าคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้รับการประเมินจึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลภาษีอากรเพิกถอนคำสั่งอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวได้ เพื่อให้ศาลภาษีอากรแก้ไขคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรเสียใหม่ให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของ ป.รัษฎากรมาตรา 3 อัฏฐ ต่อไป โดยถือว่าคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร มิฉะนั้นผู้รับการประเมินย่อมไม่มีทางที่จะได้รับสิทธิตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ และมาตรา 30 บัญญัติไว้นั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์ภาษี: เหตุจำเป็น, คำสั่งไม่อนุมัติ, สิทธิในการอุทธรณ์, ศาลภาษีอากรกลาง
กรณีที่ผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาในการยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้หากอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาการอุทธรณ์การประเมินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา30แต่กลับสั่งไม่อนุมัติให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปแก่ผู้รับการประเมินตามความจำเป็นแก่กรณีเป็นการขัดขวางมิให้ผู้รับการประเมินได้รับสิทธิในการพิจารณาอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และสิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้รับการประเมินมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลภาษีอากรกลางเพิกถอนคำสั่งอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวได้เพื่อให้ศาลภาษีอากรกลางแก้ไขคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรเสียใหม่ให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของประมวลรัษฎากรมาตรา3อัฏฐต่อไปโดยถือว่าคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรมิฉะนั้นผู้รับการประเมินย่อมไม่มีโอกาสที่จะได้รับสิทธิตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา3อัฎฐและมาตรา30บัญญัติไว้นั้นได้
of 77