คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนพ กีรติยุติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 763 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการคืนอากรขาเข้า และการประเมินราคาตามดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ศุลกากร
กำหนดเวลา2ปีตามมาตรา10วรรค5แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469นั้นใช้กับกรณีการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไปแล้วก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา40ไม่รวมถึงกรณีการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ถูกประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมภายหลังจากนำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วตามมาตรา112,112ทวิทั้งนี้จะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา10วรรค5ดังกล่าวที่ให้นับกำหนดเวลา2ปีตั้งแต่วันนำของเข้าและมิให้รับพิจารณาการเรียกร้องขอคืนเงินอากรหลังจากที่ได้เสียอากรและของนั้นๆได้ส่งมอบแล้วเว้นแต่ในกรณีที่ผู้นำเข้าได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าวซึ่งหากเป็นกรณีตามมาตรา112,112ทวิแล้วจะไม่อาจใช้ระยะเวลา2ปีนับจากวันที่นำของเข้าและไม่อาจแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าวได้การที่โจทก์เรียกอากรขาเข้าตามที่ถูกประเมินให้ชำระเพิ่มเติมในกรณีนี้มิใช่กรณีใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากรสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกเงินอากรขาเข้านี้คืนจึงมิได้เป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนด2ปีนับจากวันที่นำของเข้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรค5แต่กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินและแจ้งให้โจทก์ชำระค่าอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีเงินได้ของสมาคมผู้จัดพนันโตแตไลเซเตอร์: ภาษีคำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่าย หรือรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย
โจทก์จัดให้มีการเล่นพนันโตแตไลเซเตอร์ สำหรับการเล่นแข่งม้าตามบัญชีข.ข้อ17แห่งพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478เงินที่โจทก์ได้รับจากการจำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา40(8)เพราะเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน(1)ถึง(7)ของมาตรา40แห่งประมวลรัษฎากรและมิใช่รายได้ตามมาตรา65ทวิ(13)แห่งประมวลรัษฎากรเพราะมิใช่เงินค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้จากสมาชิกหรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หาโจทก์ซึ่งเป็นสมาคมจึงต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ2ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆตามที่มาตรา4แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร(ฉบับที่168)พ.ศ.2529บัญญัติไว้โจทก์ได้รับเงินจากการจำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดให้แก่ผู้เล่นมาแต่ต้นจำนวนเงินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ของโจทก์ซึ่งโจทก์จะต้องนำไปเสียภาษีตามหน้าที่ที่พระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478บัญญัติไว้รวมทั้งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรและจ่ายรางวัลแก่ผู้เล่นที่แทงผลการแข่งม้าถูกตามลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไขในใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นแข่งม้าข้อ4และข้อ5ที่กำหนดไว้ซึ่งล้วนเป็นรายจ่ายของโจทก์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับจำนวนเงินดังกล่าวมาแล้วนอกจากนี้ตามมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ผู้รับอนุญาตการเล่นหมายเลข17ในบัญชีข.เสียภาษีไม่เกินกว่าร้อยละ10แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายและเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละ2.5เพื่อให้เป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาตโดยกำหนดในกฎกระทรวงดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นแข่งม้ามีหน้าที่เสียภาษีร้อยละ10แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตามข้อ12(1)(ก)ของกฎกระทรวงฉบับที่17(พ.ศ.2503)ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478จึงต้องชำระค่าภาษีดังกล่าวด้วยเงินของโจทก์จะอ้างว่าเงินค่าภาษีร้อยละ10แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายที่โจทก์ชำระไปนั้นมิใช่รายได้ของโจทก์หาได้ไม่ที่โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมาในอัตราร้อยละ2ของรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือของจำนวนเงินที่โจทก์จำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดได้ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆจึงเป็นการเสียภาษีที่ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีจากการจัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์: การจัดเก็บภาษีเงินได้และภาษีตาม พ.ร.บ.การพนัน
โจทก์จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์ สำหรับการเล่นแข่งม้า ตามบัญชี ข. ข้อ 17 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 เงินที่โจทก์ได้รับจากการจำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 40(8) เพราะเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1)ถึง (7) ของมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร และมิใช่รายได้ตามมาตรา 65 ทวิ(13) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมิใช่เงินค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิกหรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หาโจทก์ซึ่งเป็นสมาคมจึงต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามที่มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวล-รัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 168) พ.ศ.2529 บัญญัติไว้ โจทก์ได้รับเงินจากการจำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดให้แก่ผู้เล่นมาแต่ต้น จำนวนเงินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ของโจทก์ ซึ่งโจทก์จะต้องนำไปเสียภาษีตามหน้าที่ที่พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ.2478 บัญญัติไว้ รวมทั้งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร และจ่ายรางวัลแก่ผู้เล่นที่แทงผลการแข่งม้าถูก ตามลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไขในใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นแข่งม้า ข้อ 4 และข้อ 5 ที่กำหนดไว้ ซึ่งล้วนเป็นรายจ่ายโจทก์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับจำนวนเงินดังกล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ ตามมาตรา16 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. เสียภาษีไม่เกินกว่าร้อยละ 10 แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย และเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละ 2.5 เพื่อให้เป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาตโดยกำหนดในกฎกระทรวงดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นแข่งม้ามีหน้าที่เสียภาษีร้อยละ 10 แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตามข้อ 12 (1)(ก) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 จึงต้องชำระค่าภาษีดังกล่าวด้วยเงินของโจทก์ จะอ้างว่าเงินค่าภาษีร้อยละ 10 แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายที่โจทก์ชำระไปนั้นมิใช่รายได้ของโจทก์หาได้ไม่ ที่โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมาในอัตราร้อยละ 2 ของรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือของจำนวนเงินที่โจทก์จำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดได้ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆจึงเป็นการเสียภาษีที่ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) และการปรับใช้กับนิติบุคคล แม้พระราชกฤษฎีกาฯ จะกำหนดเฉพาะบุคคลธรรมดา
กรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 80 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากกิจการดังกล่าวแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้นก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้น ปรากฏว่ารายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ ซึ่งหมายความว่า หากผู้มีเงินได้พิสูจน์โดยมีหลักฐานแสดงว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าร้อยละ 80 ก็หักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้มากกว่าร้อยละ 80 ได้ แต่ถ้าหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดงนั้นบ่งชี้ว่าผู้มีเงินได้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าร้อยละ 80 ก็ต้องหักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้น้อยกว่าร้อยละ 80 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถแสดงหลักฐานและพิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายเท่าใดแน่จึงต้องหักค่าใช้จ่ายให้ร้อยละ 80 แม้ตามบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 จะใช้บังคับแก่บุคคลธรรมดา แต่ก็สามารถนำมาปรับใช้แก่กรณีของนิติบุคคลเช่นกรณีของโจทก์ได้โดยไม่ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งบัญญัติว่าเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้ คือ กำไรสุทธิ ฯลฯ แต่อย่างใด เนื่องจากการประกอบกิจการของโจทก์เป็นการประกอบกิจการค้าประเภทซื้อมาขายไปโจทก์มิได้เป็นผู้ผลิตซึ่งตามปกติแล้วต้องมีต้นทุนซื้อมาและจะต้องหักต้นทุนซื้อให้ การที่จำเลยทั้งสี่นำรายรับทั้งหมดมาถือเป็นรายได้จึงไม่ถูกต้อง
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริง จำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขาย จำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับเมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการค้าซื้อมาขายไป การหักต้นทุนสินค้า และการใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด
กรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง ป.รัษฎากรซึ่งตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (25) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 80 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากกิจการดังกล่าวแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้นก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้น ปรากฏว่ารายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ ซึ่งหมายความว่า หากผู้มีเงินได้พิสูจน์โดยมีหลักฐานแสดงว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าร้อยละ 80 ก็หักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้มากกว่าร้อยละ 80 ได้ แต่ถ้าหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดงนั้นบ่งชี้ว่าผู้มีเงินได้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าร้อยละ 80 ก็ต้องหักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้น้อยกว่าร้อยละ 80 ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถแสดงหลักฐานและพิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายเท่าใดแน่จึงต้องหักค่าใช้จ่ายให้ร้อยละ 80 แม้ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ฎ.(ฉบับที่ 11)พ.ศ.2502 จะใช้บังคับแก่บุคคลธรรมดา แต่ก็สามารถนำมาปรับใช้แก่กรณีของนิติบุคคลเช่นกรณีของโจทก์ได้โดยไม่ขัดต่อ ป.รัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งบัญญัติว่าเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้ คือ กำไรสุทธิ ฯลฯ แต่อย่างใด เนื่องจากการประกอบกิจการของโจทก์เป็นการประกอบกิจการค้าประเภทซื้อมาขายไปโจทก์มิได้เป็นผู้ผลิตซึ่งตามปกติแล้วต้องมีต้นทุนซื้อมาและจะต้องหักต้นทุนซื้อให้การที่จำเลยทั้งสี่นำรายรับทั้งหมดมาถือเป็นรายได้จึงไม่ถูกต้อง
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริงจำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขายจำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับ เมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาได้ แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ และการวินิจฉัยความเสียหายไม่เกินคำขอ
สำเนาเอกสารสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่โจทก์อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารที่จำเลยนำมามอบให้แก่โจทก์ร่วมศาลรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้แม้เอกสารดังกล่าวจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา118ก็ตามจะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะคดีแพ่งเท่านั้นไม่รวมถึงคดีอาญาด้วย โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมว่าโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายป.ส.ช.ล.ผู้อื่นและประชาชนโดยไม่ได้บรรยายว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมเพราะโจทก์ร่วมอาจจะฟ้องร้องให้ผู้มีชื่อเป็นผู้จะขายที่ดินโอนที่ดินให้โจทก์ร่วมนั้นมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญาซื้อขายไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้ การพิพากษาเกินคำขอ
สำเนาเอกสารสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่โจทก์อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารที่จำเลยนำมามอบให้แก่โจทก์ร่วม ศาลรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ แม้เอกสารดังกล่าวจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามป.รัษฎากร มาตรา 118 ก็ตาม จะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะคดีแพ่งเท่านั้นไม่รวมถึงคดีอาญาด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมว่า โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ป. ส. ช. ล.ผู้อื่น และประชาชน โดยไม่ได้บรรยายว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมเพราะโจทก์ร่วมอาจจะฟ้องร้องให้ผู้มีชื่อเป็นผู้จะขายที่ดินโอนที่ดินให้โจทก์ร่วมนั้น มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9070/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเมื่อทำสัญญาประกันภัยหลายฉบับ
ตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยผู้รับประกันภัยได้จำกัดความรับผิดในกรณีอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ไว้ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อ 1 คน และในกรณีถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกายไว้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อ 1 คน ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะเอาประกันภัยไว้เป็นจำนวนเงินหรือมีทุนประกันเท่าใด ดังนั้น แม้ผู้เอาประกันภัยจะใช้สิทธิเลือกซื้อสัญญาประกันภัยเช่นนี้ไว้กี่ครั้งก็ตาม หากเป็นผู้เอาประกันภัยรายเดียวกันแล้ว ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว คดีนี้ ล. ทำสัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้ต่อจำเลย 2 ครั้ง ครั้งแรก จำนวนเงินเอาประกันภัย 300,000 บาทระบุให้ ม. และ ศ. เป็นผู้รับประโยชน์ ครั้งที่สองจำนวนเงินเอาประกันภัย 500,000 บาท ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ดังนั้น จำเลยผู้รับประกันภัยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว กล่าวคือ ต้องนำจำนวนเงินเอาประกันภัยหรือทุนประกันตามสัญญาทั้งสองฉบับมารวมกันถือเป็นจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยไว้ทั้งสิ้น เมื่อรวมแล้วเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยเกินกว่า500,000 บาท จำเลยจึงคงต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับประโยชน์ทั้งสองสัญญารวมกันเพียง 500,000 บาทเมื่อทั้งสองสัญญามีจำนวนเงินเอาประกันภัยจำนวน 300,000 บาทและ 500,000 บาท จึงต้องเฉลี่ยการได้รับค่าสินไหมทดแทนกันตามอัตราส่วนดังกล่าว ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงจำนวน 312,500 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9029/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท-การนับโทษ-ความผิดฐานมีและเสพยาเสพติด
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ความผิดของจำเลยฐานมีเฮโรอีนและฐานเสพเฮโรอีนเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทและศาลชั้นต้นนับโทษจำเลยไม่ถูกต้องนั้น แม้ฎีกาข้อนี้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นข้อที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดเจนว่าจำเลยได้เสพกัญชาผสมเฮโรอีน และจำเลยได้ร่วมกันมีเฮโรอีนซึ่งเหลือจากการเสพจำนวน 1 หลอดน้ำหนัก 0.03 กรัม ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพย่อมเป็นการยอมรับข้อกล่าวหาของโจทก์ว่า จำเลยเสพเฮโรอีนและมีเฮโรอีนที่เหลือจากการเสพไว้ในครอบครองจริง ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่แยกกันได้เป็น 2 กระทง เพราะข้อหาฐานมีเฮโรอีนนั้นโจทก์มุ่งถึงเฮโรอีนซึ่งจำเลยมีเหลืออยู่หลังจากได้เสพไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8731/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นเอกสารประกอบคำฟ้องและการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจรับฟังเอกสารที่ยื่นพร้อมคำฟ้อง แม้ไม่ได้ส่งซ้ำ
การที่ ป.วิ.พ.มาตรา 90 กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่นล่วงหน้าก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานนั้น นอกจากเพื่อประโยชน์ในการที่ศาลจะได้สอบถามคู่ความเกี่ยวกับเอกสารนั้นในวันชี้สองสถานแล้ว ยังมีความประสงค์จะให้ศาลและคู่ความได้ทราบล่วงหน้าก่อนสืบพยานว่า พยานเอกสารที่คู่ความแต่ละฝ่ายอ้างเกี่ยวกับคดีอย่างไร เอกสารมีความน่าเชื่อถือในเบื้องต้นอย่างไรหรือไม่ และให้คู่ความฝ่ายที่ถูกยันด้วยเอกสารนั้นได้มีโอกาสตรวจสอบในเบื้องต้นว่าเอกสารที่อ้างอิงมีความถูกต้องแท้จริงเพียงใด หรือสำเนาที่ยื่นไว้ตรงกับต้นฉบับเอกสารหรือไม่ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี สำเนาหนังสือมอบอำนาจให้ทำนิติกรรม หนังสือสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน ซึ่งโจทก์ส่งศาลในวันพิจารณามีข้อความอย่างเดียวกันกับสำเนาเอกสารที่แนบมาท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสามได้รับสำเนาคำฟ้องพร้อมกับสำเนาเอกสารท้ายฟ้องแล้ว ก็เป็นการถูกต้องตามความประสงค์ของบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้โจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสามอีก ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นนั้นได้ในเมื่อเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87
of 77