คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนพ กีรติยุติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 763 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องเดิม ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากไม่ตกลง
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์จึงได้ทำหนังสือยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้จะระบุว่าเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ แต่ข้อความในหนังสือระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 1 ได้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไปจากโจทก์นั้น จำเลยที่ 1ได้คืนรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ในสภาพเสียหายจึงยอมชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 16,350 บาท ให้แก่โจทก์ โดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ อันเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามข้อตกลงใหม่แห่งหนังสือดังกล่าวนั่นเองจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมจึงระงับไป และได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นตามมาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อตามมูลหนี้เดิมไม่ได้ตกลงในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วยจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อมาตรา 94(ข) ว.พ.พ.
สัญญากู้และสัญญาจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งและมาตรา 714 บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อโจทก์มีสัญญากู้และสัญญาจำนองมาแสดง จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมไปกว่าข้อความที่มีอยู่ในสัญญาทั้งสองนั้นอยู่อีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองและกู้ต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคลขัดกับข้อตกลงในสัญญา
สัญญากู้และสัญญาจำนอง ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่งและมาตรา 714 บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อโจทก์มีสัญญากู้และสัญญาจำนองมาแสดง จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมไปกว่าข้อความที่มีอยู่ในสัญญาทั้งสองนั้นอยู่อีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
ปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขี้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันค่าเสียหายจากลูกจ้าง: การผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้น หากไม่ใช่หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระแน่นอน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700การที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันจะมีผลให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นต้องเป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระณเวลาอันมีกำหนดแน่นอนแต่การที่จำเลยที่2ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์ว่าหากจำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายจำเลยที่2ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้นมิได้เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระณเวลาอันมีกำหนดแน่นอนจำเลยที่2จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: การผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้น หากเป็นการค้ำประกันค่าเสียหาย ไม่ใช่หนี้ตามกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700การที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันจะมีผลให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นต้องเป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระณเวลาอันมีกำหนดแน่นอนแต่การที่จำเลยที่2ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์ว่าหากจำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายจำเลยที่2ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้นมิได้เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระณเวลาอันมีกำหนดแน่นอนจำเลยที่2จึงไม่หลุดพ้นจากการรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันค่าเสียหาย: การผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้น หากเป็นการค้ำประกันค่าเสียหาย ไม่ใช่หนี้ที่มีกำหนดเวลา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 การที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันจะมีผลให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นต้องเป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลาอันมีกำหนดแน่นอน แต่การที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ว่าหากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้น มิได้เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลา อันมีกำหนดแน่นอนจำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระชัดเจน ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 700 การที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันจะมีผลให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นต้องเป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลาอันมีกำหนดแน่นอน แต่การที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ว่าหากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้น มิได้เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลา อันมีกำหนดแน่นอน จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อบอกเลิกและหักทอนบัญชี ดอกเบี้ยทบต้นเป็นต้นเงินไม่อยู่ในอายุความ
โจทก์และจำเลยมิได้กำหนดระยะเวลาตัดทอนบัญชีหรือกำหนดระยะเวลาของอายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไว้ ดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียก่อนเมื่อโจทก์หักทอนบัญชีในวันที่ 26 กันยายน 2526 และทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสุดสิ้นลงในวันดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นไปถึงวันนั้น ดอกเบี้ยทบต้นที่ธนาคารโจทก์คิดเอาแก่จำเลยตามข้อตกลงในระหว่างสัญญาได้กลายเป็นต้นเงินแล้วจึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 เดิม หรือ 193/33 ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, อายุความ
โจทก์และจำเลยมิได้กำหนดระยะเวลาตัดทอนบัญชีหรือกำหนดระยะเวลาของอายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไว้ ดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียก่อน เมื่อโจทก์หักทอนบัญชีในวันที่ 26 กันยายน 2526 และทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสุดสิ้นลงในวันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ถึงวันนั้น
ดอกเบี้ยทบต้นที่ธนาคารโจทก์คิดเอาแก่จำเลยตามข้อตกลงในระหว่างสัญญาได้กลายเป็นต้นเงินแล้วจึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งอันจะอยู่ในอายุความ5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม หรือ 193/33 ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อบอกเลิกและหักทอนบัญชี ดอกเบี้ยทบต้นเป็นต้นเงินไม่อยู่ในอายุความ
โจทก์และจำเลยมิได้กำหนดระยะเวลาตัดทอนบัญชีหรือกำหนดระยะเวลาของอายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไว้ดังนั้นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียก่อนเมื่อโจทก์หักทอนบัญชีในวันที่26กันยายน2526และทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสุดสิ้นลงในวันดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นไปถึงวันนั้น ดอกเบี้ยทบต้นที่ธนาคารโจทก์คิดเอาแก่จำเลยตามข้อตกลงในระหว่างสัญญาได้กลายเป็นต้นเงินแล้วจึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งอันจะอยู่ในอายุความ5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา166เดิมหรือ193/33ใหม่
of 77