พบผลลัพธ์ทั้งหมด 763 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: แม้สัญญาเดียวกัน แต่เหตุฟ้องต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อน ศาลล่างผิดพลาด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาดังกล่าวและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเมื่อสัญญาดังกล่าวยังไม่เลิกกันแม้ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจะอ้างอิงสัญญาฉบับเดียวกันแต่มูลฟ้องเกิดจากเหตุคนละคราวกันถือว่ามิใช่เรื่องเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์การประเมินภาษี: การส่งหมายแจ้งที่ไม่ถูกต้อง และสิทธิในการฟ้องบังคับให้รับอุทธรณ์
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันว่า การส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ส่งยังสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ผลตามกฎหมายก็คือโจทก์ยังไม่ได้รับแจ้งการประเมิน กำหนดเวลาให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีหรือผู้แทนผู้แทนกรมอัยการ และผู้แทนกรมมหาดไทย ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจึงยังไม่เริ่มนับเมื่อโจทก์ได้รับทราบผลการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินแล้วโจทก์ย่อมอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันที เพราะถือว่ายังไม่พ้นกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(1)(ก) บัญญัติไว้ การอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 นั้นโจทก์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมมหาดไทย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังกล่าวแล้วเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 หามีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และตามคำฟ้องโจทก์หาได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับ อุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ตีความเอาการกระทำของจำเลยที่ 1ที่แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ขยายเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์มีผลเป็นการที่จำเลยที่ 1 ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 กระทำในนามของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งมีจำเลยที่ 2เป็นประธานและตัวแทนจึงต้องรับผิดร่วมกันนั้น มีผลเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั่นเอง แม้จะเป็นดังกรณีที่โจทก์เข้าใจเอาเองดังกล่าวก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับ อุทธรณ์ของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีก เพราะหากผลการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่ากับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อศาลได้ อำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอุทธรณ์ภาษี: การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมิน
ตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดว่าในกรณีเจ้าพนักงานประเมินผู้ทำการประเมินมีสำนักงานอยู่ในเขตจังหวัดพระนครให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กรมสรรพากรไม่มีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และตามฟ้องโจทก์มิได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและเนื่องจากเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์การประเมินภาษี: สิทธิในการอุทธรณ์และการฟ้องร้องบังคับรับอุทธรณ์
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันว่า การส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ส่งยังสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ผลตามกฎหมายก็คือโจทก์ยังไม่ได้รับแจ้งการประเมิน กำหนดเวลาให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีหรือผู้แทน ผู้แทนกรมอัยการ และผู้แทนกรมมหาดไทย ภายในสามสิบวัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจึงยังไม่เริ่มนับเมื่อโจทก์ได้ทราบผลการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว โจทก์ย่อมอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันที เพราะถือว่ายังไม่พ้นกำหนดเวลาที่ ป.รัษฎากร มาตรา 30 (1) (ก) บัญญัติไว้
การอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 นั้น โจทก์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทนผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมมหาดไทย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังกล่าวแล้วเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ กรมสรรพากรจำเลยที่ 1หามีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และตามคำฟ้องโจทก์หาได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ตีความเอาการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ขยายเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์มีผลเป็นการที่จำเลยที่ 1 ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 กระทำในนามของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานและตัวแทนจึงต้องรับผิดร่วมกันนั้น มีผลเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั่นเอง แม้จะเป็นดังกรณีที่โจทก์เข้าใจเอาเองดังกล่าวก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีก เพราะหากผลการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่ากับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อศาลได้ อำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
การอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 นั้น โจทก์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทนผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมมหาดไทย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังกล่าวแล้วเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ กรมสรรพากรจำเลยที่ 1หามีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และตามคำฟ้องโจทก์หาได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ตีความเอาการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ขยายเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์มีผลเป็นการที่จำเลยที่ 1 ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 กระทำในนามของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานและตัวแทนจึงต้องรับผิดร่วมกันนั้น มีผลเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั่นเอง แม้จะเป็นดังกรณีที่โจทก์เข้าใจเอาเองดังกล่าวก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีก เพราะหากผลการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่ากับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อศาลได้ อำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำส่งหมายนัดชี้สองสถาน, การทิ้งฟ้อง, และผลกระทบต่อค่าธรรมเนียมศาล
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 182 จะบัญญัติให้ศาลกำหนดวันชี้สองสถานโดยแจ้งให้คู่ความทราบก็ตาม แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายและได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งท้ายคำร้องโจทก์มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ศาลไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบอีก ทั้งตามมาตรา 70 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่งหมายนัดได้ ดังนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดนัดทำการชี้สองสถานไว้แล้วแต่จำเลยทั้งหกยังไม่ทราบวันนัดชี้สองสถาน เพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานให้แก่จำเลยทั้งหกตามคำสั่งศาล ศาลจึงไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดดังกล่าวได้ ย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป และการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว และกรณีทิ้งฟ้องนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้อง หรือถอนฟ้อง หรือยอมความกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้วเช่นกัน
การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดนัดทำการชี้สองสถานไว้แล้วแต่จำเลยทั้งหกยังไม่ทราบวันนัดชี้สองสถาน เพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานให้แก่จำเลยทั้งหกตามคำสั่งศาล ศาลจึงไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดดังกล่าวได้ ย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป และการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว และกรณีทิ้งฟ้องนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้อง หรือถอนฟ้อง หรือยอมความกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้วเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งหมายนัดชี้สองสถาน
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา182จะให้ศาลกำหนดวันชี้สองสถานโดยแจ้งให้คู่ความทราบแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายนัดโดยสั่งในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่งว่าจำเลยที่1ขาดนัดยื่นคำให้การประกอบกับมาตรา70ก็ให้อำนาจศาลที่จะสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายนัดได้จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วศาลไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบอีก จำเลยทั้งหกไม่ทราบวันนัดชี้สองสถานเพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานตามคำสั่งศาลย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไปโดยศาลไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดนั้นได้การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลดังกล่าวโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา174(2) การทิ้งฟ้องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลเหมือนกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องหรือถอนฟ้องหรือยอมความกันตามมาตรา151การที่ศาลไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3590/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีและการบังคับตามฟ้องแย้ง ความชอบด้วยกฎหมายของการจดทะเบียนเช่าช่วง
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา112เดิมจึงไม่เป็นนิติกรรมที่โจทก์ที่2ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฟ้องคดีต่อศาลแทนโจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา1574เสียก่อน เมื่อโจทก์แพ้คดีตามคำท้าจำเลยที่1ย่อมบังคับตามฟ้องแย้งได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าหรือไม่เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้าและไม่ถือว่าอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538แต่เมื่อจำเลยที่1เป็นผู้ฟ้องแย้งและจำเลยที่2เป็นเพียงผู้อาศัยการพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่จำเลยที่2เป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำขอตามฟ้องแย้งจึงไม่ชอบและปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีไม่ใช่การผูกนิติสัมพันธ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 112 ไม่ต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 1574
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะ มิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 112 จึงไม่เป็นนิติกรรมที่อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน
เมื่อคู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะโดยให้ดูผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ในเอกสารหนังสือยินยอมให้เช่าในอีกคดีหนึ่ง และปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า จำเลยที่ 1 ย่อมจะบังคับตามฟ้องแย้งแก่โจทก์ได้โดยไม่ต้องพิจารณาอีกว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้า โจทก์ทั้งสองจึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าแก่จำเลยที่ 1 และกรณีไม่ถือว่าอยู่ในบังคับ ป.พ.พ.มาตรา 538
เมื่อคู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะโดยให้ดูผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ในเอกสารหนังสือยินยอมให้เช่าในอีกคดีหนึ่ง และปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า จำเลยที่ 1 ย่อมจะบังคับตามฟ้องแย้งแก่โจทก์ได้โดยไม่ต้องพิจารณาอีกว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้า โจทก์ทั้งสองจึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าแก่จำเลยที่ 1 และกรณีไม่ถือว่าอยู่ในบังคับ ป.พ.พ.มาตรา 538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีและการบังคับตามฟ้องแย้ง กรณีผลตรวจลายมือชื่อเป็นผลผูกพัน และการจดทะเบียนเช่า
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา112จึงไม่เป็นนิติกรรมที่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574ที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อคู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะโดยให้ดูผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของโจทก์ที่2ในเอกสารหนังสือยินยอมให้เช่าอีกคดีหนึ่งและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้าจำเลยที่1ย่อมจะบังคับตามฟ้องแย้งแก่โจทก์ได้โดยไม่ต้องพิจารณาอีกว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าหรือไม่เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้าโจทก์ทั้งสองจึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าแก่จำเลยที่1และกรณีไม่ถือว่าอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการขับรถประมาท ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และความผิดฐานไม่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
การกระทำอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา160วรรคสองนั้นต้องเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา78จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตายแต่ตามคำฟ้องได้ความแต่เพียงว่าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อลากจูงรถพ่วงไปตามถนนด้วยความประมาทชนถูกรถจักรยานยนต์ที่ ง. ขับอยู่ล้มลงเป็นเหตุให้ ง. และ ป. ถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีโดยมิได้ให้การช่วยเหลือตามสมควรและไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีจำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา160วรรคแรกเท่านั้นและปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามป.วิ.อ.มาตรา195วรรคสองประกอบมาตรา225