พบผลลัพธ์ทั้งหมด 763 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ภาษีและการขยายเวลา: คำสั่งไม่อนุมัติขยายเวลาอุทธรณ์เป็นการขัดขวางสิทธิ
การอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ ป.รัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติไว้ให้สิทธิแก่ผู้รับการประเมินที่จะอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว ผู้รับการประเมินก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อศาลได้อีกภายในกำหนด 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวนั้น ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 7 (1) แต่ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้เช่นว่านั้น และได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านและคำอุทธรณ์นั้นเสร็จแล้ว ดังที่มาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 บัญญัติไว้ สำหรับกรณีที่ผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาในการอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 แห่งป.รัษฎากรได้นั้น มาตรา 3 อัฏฐ ก็ได้บัญญัติว่า เมื่ออธิบดี (กรมสรรพากร)พิจารณาเห็นเป็นการสมควรจะให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้ วิธีการดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ผู้รับการประเมินจะต้องปฏิบัติโดยถูกต้องเพื่อการที่จะได้รับการพิจารณาและพิพากษาคดีจากศาลภาษีอากรกลางได้ ดังนั้น กรณีที่ผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาในการยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้หากอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาการอุทธรณ์การประเมินได้ ตามป.รัษฎากร มาตรา 30 แต่กลับสั่งไม่อนุมัติให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปแก่ผู้รับการประเมินตามความจำเป็นแก่กรณี เป็นการขัดขวางมิให้ผู้รับการประเมินได้รับสิทธิในการพิจารณาอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และสิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้ ย่อมเห็นได้ว่าคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้รับการประเมินจึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลภาษีอากรเพิกถอนคำสั่งอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวได้ เพื่อให้ศาลภาษีอากรแก้ไขคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรเสียใหม่ให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของ ป.รัษฎากรมาตรา 3 อัฏฐ ต่อไป โดยถือว่าคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร มิฉะนั้นผู้รับการประเมินย่อมไม่มีทางที่จะได้รับสิทธิตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ และมาตรา 30 บัญญัติไว้นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนเงินภาษีอากรหลังสินค้าถูกเพลิงไหม้: ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 19 ทวิ และโรงงานไม่ใช่คลังสินค้า
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยแสดงความจำนงต่อ จำเลยทั้งสองว่าจะใช้ของที่นำเข้ามานั้นในการผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุเพื่อการส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี เพื่อขอคืนเงินอากรขาเข้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 และโจทก์มิได้ชำระอากรขาเข้าเพราะได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารแทนการชำระภาษีอากรที่จะต้องเสีย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ตรี แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้ การคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือการคืนประกันโดยถือเสมือนว่าเป็นการคืนเงินค่าภาษีอากรนั้น มาตรา 19 ทวิ บัญญัติไว้เพียงกรณีเดียวคือ เมื่อได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายว่าของที่ส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศนั้น ได้ผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 19 ทวิ (ก)-(จ) ด้วยเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ส่งของที่ผลิตด้วยเส้นด้ายใยยาวสังเคราะห์ทำด้วยโปลีเอสเตอร์และผ้าทอโปลีเอสเตอร์ใยสั้นที่ได้นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีจึงไม่อาจขอคืนเงินค่าภาษีอากรที่ได้ชำระหรือขอคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามมาตรา 19 ทวิ แม้ว่าของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่ยังมีสภาพเป็นวัตถุดิบและที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วอยู่ในขั้นเตรียมการเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหมดขณะที่เก็บไว้ในโรงงานของโจทก์ก็ตาม แต่ไม่มีบทกฎหมายใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือเรียกหนังสือค้ำประกันคืนจากจำเลยในก่อนนี้ได้ ตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นบทบัญญัติในหมวด 10 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้าซึ่งบัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในอันที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของที่เก็บในคลังเก็บสินค้า หรือที่ยื่นใบขนเพื่อเก็บในคลังสินค้าหรือที่ยื่นใบขนเพื่อรับมอบไปจากคลังสินค้าแล้วเกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ ในขณะที่อยู่บนเรือหรือในเวลาย้ายถอนขนขึ้น ในเวลารับเข้าเก็บในคลังสินค้า หรือเวลาที่เก็บอยู่ในคลังสินค้า แต่โรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของที่นำเข้าดังกล่าว มิได้เป็นคลังสินค้า ฉะนั้น แม้เพลิงจะได้ไหม้ของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบที่เก็บรักษาในอาคารโรงงานของโจทก์จนเสียหายไปทั้งหมด ไม่ว่าการที่เกิดเพลิงไหม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ อธิบดีกรมศุลกากรก็ไม่มีอำนาจที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นให้แก่โจทก์ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลภาษีอากรกลางไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ว่า การที่โจทก์ไม่สามารถผลิตสินค้าและส่งสินค้าออกภายในกำหนด 1 ปี มิใช่ความผิดของโจทก์ มิใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชอบในค่าภาษีอากรตามฟ้องและสมควรได้รับอากรขาเข้าคืน ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 19 ทวิ หรือไม่เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อปรากฏว่าศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยว่า การที่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามฟ้อง ทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบซึ่งโจทก์เก็บรักษาไว้ที่โรงงานของโจทก์ถูกเพลิงไหม้เสียหายหมด ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าที่ผลิตหรือประกอบหรือผสมหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศ แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจากจำเลยทั้งสอง เป็นการวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีแม้จะมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าภาษีอากรที่ได้เสียไปแล้วคืน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนอากรขาเข้ากรณีของเสียหายจากเพลิงไหม้ และการปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งออก
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยแสดงความจำนงต่อจำเลยทั้งสองว่าจะใช้ของที่นำเข้ามานั้นในการผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุเพื่อการส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี เพื่อขอคืนเงินอากรขาเข้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 และโจทก์มิได้ชำระอากรขาเข้าเพราะได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารแทนการชำระภาษีอากรที่จะต้องเสีย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ตรี แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนี้ การคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือการคืนประกันโดยถือเสมือนว่าเป็นการคืนเงินค่าภาษีอากรนั้น มาตรา 19 ทวิบัญญัติไว้เพียงกรณีเดียว คือ เมื่อได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายว่าของที่ส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศนั้น ได้ผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 19 ทวิ (ก)- (จ) ด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ส่งของที่ผลิตด้วยเส้นด้ายใยยาวสังเคราะห์ทำด้วยโปลีเอสเตอร์และผ้าทอโปลีเอสเตอร์ใยสั้นที่ได้นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด1 ปี จึงไม่อาจขอคืนเงินค่าภาษีอากรที่ได้ชำระหรือขอคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามมาตรา 19 ทวิ
แม้ว่าของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่ยังมีสภาพเป็นวัตถุดิบและที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วอยู่ในขั้นเตรียมการเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหมดขณะที่เก็บไว้ในโรงงานของโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือเรียกหนังสือค้ำประกันคืนจากจำเลยในก่อนนี้ได้
ตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 เป็นบทบัญญัติในหมวด 10 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้า ซึ่งบัญญัติให้อำนาจอธิบดี-กรมศุลกากรในอันที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของที่เก็บในคลังสินค้า หรือที่ยื่นใบขนเพื่อเก็บในคลังสินค้าหรือที่ยื่นใบขนเพื่อรับมอบไปจากคลังสินค้าแล้วเกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ ในขณะที่อยู่บนเรือหรือในเวลาย้ายถอนขนขึ้น ในเวลารับเข้าเก็บในคลังสินค้า หรือเวลาที่เก็บอยู่ในคลังสินค้า แต่โรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของที่นำเข้าดังกล่าว มิได้เป็นคลังสินค้า ฉะนั้น แม้เพลิงจะได้ไหม้ของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบที่เก็บรักษาในอาคารโรงงานของโจทก์จนเสียหายไปทั้งหมด ไม่ว่าการที่เกิดเพลิงไหม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ อธิบดีกรมศุลกากรก็ไม่มีอำนาจที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นให้แก่โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลภาษีอากรกลางไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ว่า การที่โจทก์ไม่สามารถผลิตสินค้าและส่งสินค้าออกภายในกำหนด 1 ปี มิใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชอบในค่าภาษีอากรตามฟ้องและสมควรได้รับอากรขาเข้าคืน ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 19 ทวิ หรือไม่เป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยว่า การที่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามฟ้อง ทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบซึ่งโจทก์เก็บรักษาไว้ที่โรงงานของโจทก์ถูกเพลิงไหม้เสียหายหมด ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าที่ผลิตหรือประกอบหรือผสมหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศ แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจากจำเลยทั้งสอง เป็นการวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี แม้จะมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าภาษีอากรที่ได้เสียไปแล้วคืน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแล้ว
แม้ว่าของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่ยังมีสภาพเป็นวัตถุดิบและที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วอยู่ในขั้นเตรียมการเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหมดขณะที่เก็บไว้ในโรงงานของโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือเรียกหนังสือค้ำประกันคืนจากจำเลยในก่อนนี้ได้
ตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 เป็นบทบัญญัติในหมวด 10 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้า ซึ่งบัญญัติให้อำนาจอธิบดี-กรมศุลกากรในอันที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของที่เก็บในคลังสินค้า หรือที่ยื่นใบขนเพื่อเก็บในคลังสินค้าหรือที่ยื่นใบขนเพื่อรับมอบไปจากคลังสินค้าแล้วเกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ ในขณะที่อยู่บนเรือหรือในเวลาย้ายถอนขนขึ้น ในเวลารับเข้าเก็บในคลังสินค้า หรือเวลาที่เก็บอยู่ในคลังสินค้า แต่โรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของที่นำเข้าดังกล่าว มิได้เป็นคลังสินค้า ฉะนั้น แม้เพลิงจะได้ไหม้ของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบที่เก็บรักษาในอาคารโรงงานของโจทก์จนเสียหายไปทั้งหมด ไม่ว่าการที่เกิดเพลิงไหม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ อธิบดีกรมศุลกากรก็ไม่มีอำนาจที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นให้แก่โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลภาษีอากรกลางไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ว่า การที่โจทก์ไม่สามารถผลิตสินค้าและส่งสินค้าออกภายในกำหนด 1 ปี มิใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชอบในค่าภาษีอากรตามฟ้องและสมควรได้รับอากรขาเข้าคืน ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 19 ทวิ หรือไม่เป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยว่า การที่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามฟ้อง ทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบซึ่งโจทก์เก็บรักษาไว้ที่โรงงานของโจทก์ถูกเพลิงไหม้เสียหายหมด ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าที่ผลิตหรือประกอบหรือผสมหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศ แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจากจำเลยทั้งสอง เป็นการวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี แม้จะมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าภาษีอากรที่ได้เสียไปแล้วคืน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลมาตรา 71(1) กรณีไม่ยื่นรายการภายในกำหนด และอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
บริษัทโจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 69 และการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 23 เป็นไปโดยชอบแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 24หรือมาตรา 71(1) แล้วแต่กรณี โดยถือตามแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527ข้อ 3 แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมาย แต่ก็เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อโจทก์ไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะต้องชำระเนื่องจากขาดทุนเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา 71(1)ซึ่งได้ภาษีมากกว่าตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลมาตรา 71(1) กรณีไม่ยื่นรายการภายในกำหนด และอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
บริษัทโจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน150วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากรมาตรา69และการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา23เป็นไปโดยชอบแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา24หรือมาตรา71(1)แล้วแต่กรณีโดยถือตามแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ป.5/2527ลงวันที่20พฤศจิกายน2527ข้อ3แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายแต่ก็เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อโจทก์ไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะต้องชำระเนื่องจากขาดทุนเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา71(1)ซึ่งได้ภาษีมากกว่าตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากรายการที่ล่าช้าและการใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร
โจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งป.รัษฎากร และการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 23แห่ง ป.รัษฎากรชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร แล้วแต่กรณี โดยถือแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน2527 ข้อ 3 แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมาย แต่ก็เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเมื่อไม่ยื่นรายการภายในกำหนด และการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน150วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา69แห่งประมวลรัษฎากรและการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา23ชอบแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา24หรือมาตรา71(1)แล้วแต่กรณีโดยถือตามแนวทางปฎิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ป.5/2527ลงวันที่20พฤศจิกายน2527ข้อ3แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายแต่ก็เป็นแนวทางปฎิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา71(1)สำหรับกรณีของโจทก์ปรากฎว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี2533โจทก์ไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเนื่องจากขาดทุนเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา71(1)ซึ่งได้ภาษีมากกว่าตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: ความรับผิดของผู้ซื้อในการดำเนินการนำเข้าสินค้า
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา เข้าใจได้ว่าเจตนาของจำเลยต้องการซื้อเลื่อยโซ่ยนต์ที่เป็นของผลิตจากต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาเป็นของใหม่ซึ่งไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน โดยโจทก์จะต้องสามารถแสดงหลักฐานในเรื่องนี้จากโรงงานผู้ผลิตต่อจำเลยได้หากจำเลยสงสัยว่าไม่ใช่ของใหม่อีกทั้งในสัญญาซื้อขายยังกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอยกเว้นค่าภาษีอากรขาเข้าให้แก่โจทก์ แสดงว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยตกลงซื้อจากโจทก์จะต้องเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่โจทก์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศส่วนที่จำเลยอ้างว่าตามสัญญาซื้อขาย ไม่ปรากฏข้อความที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อมีหน้าที่เป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใดนั้นเมื่อได้ความว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย แต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการขออนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร จำเลยก็ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยตามที่อ้างจำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ ดังกล่าวข้างต้น ส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาตก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์ จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรีให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการ แต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึด จึงถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลยจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ตามฟ้องที่ถูกยึดให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: ผู้ซื้อมีหน้าที่ดำเนินการนำเข้าเมื่อมีข้อตกลงในสัญญา
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเข้าใจได้ว่าเจตนาของจำเลยต้องการซื้อเลื่อยโซ่ยนต์ที่เป็นของผลิตจากต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาเป็นของใหม่ซึ่งไม่เคยถูกใช้งานมาก่อนโดยโจทก์จะต้องสามารถแสดงหลักฐานในเรื่องนี้จากโรงงานผู้ผลิตต่อจำเลยได้หากจำเลยสงสัยว่าไม่ใช่ของใหม่อีกทั้งในสัญญาซื้อขายยังกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอยกเว้นค่าภาษีอากรขาเข้าให้แก่โจทก์แสดงว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยตกลงซื้อจากโจทก์จะต้องเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่โจทก์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศส่วนที่จำเลยอ้างว่าตามสัญญาซื้อขายไม่ปรากฏข้อความที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อมีหน้าที่เป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใดนั้นเมื่อได้ความว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทยแต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการขออนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรจำเลยก็ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยตามที่อ้างจำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ดังกล่าวข้างต้นส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาตก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรีให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการแต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึดจึงถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลยจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ตามฟ้องที่ถูกยึดให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่อการนำเข้าสินค้าขัดข้อง
เมื่อเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย แต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการอนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งจำเลยได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการ ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลย จำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาต ก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์ จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการแต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึด ถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อการส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลย จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ที่ถูกยึดให้แก่โจทก์