พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงราคาซื้อขายที่ดินต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นโมฆะ สิทธิค่าใช้จ่ายในการโอนเป็นไปตามกฎหมาย
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การและคำรับของคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดสืบพยาน โดยคู่ความมิได้โต้แย้ง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้แถลงคัดค้านข้อเท็จจริงที่จำเลยแถลงยอมรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์และจำเลยตกลงกันในเรื่องการชำระค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ว่าจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามทุนทรัพย์ในราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดิน มาวินิจฉัย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวทำให้ราคาซื้อขายที่ดินเป็นราคาที่ต่ำกว่าเป็นจริง จึงเป็นโมฆะ เป็นผลเท่ากับไม่มีข้อตกลงให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมการโอนทั้งสิ้น จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 457 คือพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่าย โจทก์จะอ้างว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยฝ่ายเดียวตามหนังสือสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8172/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้เงิน - การสะดุดหยุดของอายุความจากการชำระดอกเบี้ย - การฟ้องข้ามอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินรวม 4 ฉบับ จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญากู้ตามฟ้องไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันทำสัญญากู้แต่ละฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ดังนี้ ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ย่อมเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี ภาระการพิสูจน์ในประเด็นข้อนี้ตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธินำสืบถึงเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้หาถือว่าเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
เมื่อสัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
เมื่อสัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่ได้มาขณะอยู่กินฉันสามีภริยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทตามฟ้องหรือไม่ ในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวศาลต้องพิจารณาคำฟ้องและคำให้การด้วยว่า ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของรวมนั้นอ้างโดยอาศัยเหตุอะไรและจำเลยยอมรับหรือไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยซึ่งข้ออ้างดังกล่าวจำเลยให้การปฏิเสธ ดังนั้น ในการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงต้องวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์ก่อนว่ารับฟังได้ดังที่กล่าวในฟ้องหรือไม่ ประเด็นที่ว่าโจทก์ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยหรือเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่จึงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้และเป็นประเด็นสำคัญที่นำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นเรื่องการเป็นเจ้าของรวมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินและผลกระทบต่อการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินสาธารณะ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียน ป. อันเป็นสถานศึกษาในสังกัดของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแล้วโดยการครอบครองเกินกว่า 10 ปี ฉะนั้น การที่โจทก์นำสืบว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของใครและโจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาโดยเจ้าของเดิมยกให้เพื่อใช้ใน กิจการของโจทก์นั้น เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุซึ่งได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของตน พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของการยกให้ ไม่ใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
ทรัพย์สินของแผ่นดินมี 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาซึ่งเป็นของรัฐ กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ว่าใช้เพื่อสาธาณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทรัพย์สิน ของแผ่นดินที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินพิพาทซึ่ง ช. ยกให้โจทก์ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียน ป. และเนื่องจากโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 เมื่อประเด็นในคดีมีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามข้อต่อสู้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งกฎหมายห้ามมิให้จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม มาตรา 1382 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ทรัพย์สินของแผ่นดินมี 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาซึ่งเป็นของรัฐ กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ว่าใช้เพื่อสาธาณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทรัพย์สิน ของแผ่นดินที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินพิพาทซึ่ง ช. ยกให้โจทก์ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียน ป. และเนื่องจากโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 เมื่อประเด็นในคดีมีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามข้อต่อสู้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งกฎหมายห้ามมิให้จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม มาตรา 1382 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายเพื่อวินิจฉัยสิทธิครอบครองก่อนพิจารณาสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญามัดจำซื้อที่ดินพิพาท โดยจำเลยที่ 1 และป.ผู้จะขายให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินไว้ก่อน และกำหนดนัดโอนเมื่อจำเลยที่ 1 และ ป. ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากเจ้าพนักงานแล้ว ต่อมา ป. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 และ น.ซึ่งเป็นบุตรของ ป. มาแจ้งว่าไม่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากเจ้าพนักงานและตกลงให้ที่ดินเป็นของโจทก์ไม่ขอเกี่ยวข้องอีกต่อไปต่อมาจำเลยที่ 1 มีเจตนาทุจริตมาขอจัดการมรดกของ ป. แล้วขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ไป จึงขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของโจทก์ เป็นการฟ้องในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งได้สิทธิโดยการครอบครองหาใช่โดยอาศัยสิทธิเรียกร้องตามสัญญามัดจำไม่เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ชอบที่ศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ การที่ศาลล่างสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโดยยกสัญญามัดจำขึ้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3ที่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนการพิจารณาใหม่แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายเพื่อวินิจฉัยสิทธิก่อน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญา มัดจำซื้อ ที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่1และ ป.ผู้จะขายให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินไว้ก่อนและกำหนดนัดโอนเมื่อจำเลยที่1และ ป. ได้รับ หนังสือรับรองการทำประโยชน์จากเจ้าพนักงานแล้วต่อมา ป. ถึงแก่ความตายจำเลยที่1และ น.ซึ่งเป็นบุตรของ ป. มาแจ้งว่าไม่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากเจ้าพนักงานและตกลงให้ที่ดินเป็นของโจทก์ไม่ขอเกี่ยวข้องอีกต่อไปต่อมาจำเลยที่1มีเจตนาทุจริตมาขอจัดการมรดกของ ป. แล้วขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่2ไปจึงขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของโจทก์เป็นการฟ้องในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งได้สิทธิโดยการครอบครองหาใช่โดยอาศัยสิทธิเรียกร้องตามสัญญามัดจำไม่เมื่อจำเลยที่1ให้การว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ชอบที่ศาลจะต้องฟัง พยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่การที่ศาลล่างสั่งให้ งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโดยยกสัญญามัดจำขึ้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงไม่ชอบ จำเลยที่1ฎีกาขอให้ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3ที่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนการพิจารณาใหม่แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2801/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานนอกประเด็นในคดีซื้อขายที่ดินและการพิพากษาค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำ สัญญาจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยจำเลยจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จแล้วโอนขายให้โจทก์จำเลยให้การว่าได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้วแต่โจทก์ไม่พร้อมที่จะรับโอนประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้วหรือไม่การที่จำเลยนำสืบว่าเมื่อมีการฉาบปูนเดินท่อประปาเดินสายไฟทาสีติดบานประตูหน้าต่างแล้วถือว่าจำเลยก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จตามข้อตกลงในสัญญาเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำให้การจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้อง, การนำสืบที่มาของหนี้, และการพิพากษาเกินคำขอ
แม้โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 90 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี อันเป็นอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา87 (2) จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์นำสืบถึงการแปลงหนี้ค่าข้าวเปลือกเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบถึงที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน แม้โจทก์จะมิได้บรรยายคำฟ้องว่าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่แปลงมาจากหนี้ค่าข้าวเปลือกก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธินำสืบถึงที่มาและเหตุที่ทำสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน93,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 26 กรกฎาคม2530 จนกว่าจะชำระเสร็จ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่เมื่อคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้เป็นจำนวนเงิน 42,002.88 บาท ซึ่งเกินกว่าดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 27,900 บาท ตามคำขอของโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์นำสืบถึงการแปลงหนี้ค่าข้าวเปลือกเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบถึงที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน แม้โจทก์จะมิได้บรรยายคำฟ้องว่าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่แปลงมาจากหนี้ค่าข้าวเปลือกก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธินำสืบถึงที่มาและเหตุที่ทำสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน93,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 26 กรกฎาคม2530 จนกว่าจะชำระเสร็จ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่เมื่อคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้เป็นจำนวนเงิน 42,002.88 บาท ซึ่งเกินกว่าดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 27,900 บาท ตามคำขอของโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานนอกคำฟ้อง, การพิพากษาเกินคำขอ, และข้อยกเว้นการฎีกา
แม้โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็น ข้อสำคัญในคดี อันเป็นอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์นำสืบถึงการแปลงหนี้ค่าข้าวเปลือกเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบถึงที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินแม้โจทก์จะมิได้บรรยายคำฟ้องว่าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่แปลงมาจากหนี้ค่าข้าเปลือกก็ตามแต่โจทก์ก็มีสิทธินำสืบถึงที่มาและเหตุที่ทำสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน93,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่26 กรกฎาคม 2530 จนกว่าจะชำระเสร็จ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่เมื่อคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้เป็นจำนวนเงิน42,002.88 บาท ซึ่งเกินกว่าดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 27,900 บาท ตามคำขอของโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประพฤติเนรคุณและการหมิ่นประมาท: การพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ในการฟ้องร้อง
การที่โจทก์นำสืบว่านอกจากจำเลยพูดกับโจทก์ว่า "เป็นลูกหมา"แล้วยังพูดด้วยว่าโจทก์ "พูดจากลับกลอก" และ "พูดหมา ๆ" ด้วยนั้นแม้โจทก์จะนำสืบถ้อยคำที่พูดของจำเลยแตกต่างไปจากคำฟ้องบ้างแต่ถ้อยคำนั้นก็เป็นการกล่าวต่อเนื่องกับถ้อยคำที่จำเลยพูดว่าโจทก์ตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง กรณีจึงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น แม้จำเลยจะกล่าววาจาหยาบคายไม่น่าฟังต่อหน้าโจทก์ซึ่งเป็นมารดา แต่ก็หาได้กล่าวดูหมิ่น หมิ่นประมาทว่าโจทก์เป็นหมาโดยตรงทั้งตามพฤติการณ์ที่โจทก์เคยตกลงจะแบ่งที่ดินปลูกบ้านให้จำเลยแล้วภายหลังกลับใจไม่ยกให้ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยเกิดโทสะพลุ่งพล่านผสมกับความน้อยใจ จึงได้กล่าววาจาประชดประชันด้วยอารมณ์หาใช่เจตนาทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง กรณียังไม่ถึงขนาดที่จะฟังได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ผู้ให้ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531