คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 185

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสัญญาค้ำประกันและขอบเขตความรับผิดชอบ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยลงนาม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้แก่โจทก์ สัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร หากจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วก็จะต้องรับผิดไม่เกิน 150,000 บาท ดังนี้คำให้การจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ และจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเพียงใด คำให้การจำเลยที่ 2หาได้ขัดกัน หรือไม่อาจเป็นไปได้ทั้งสองประการในคราวเดียวกันแต่อย่างใด เพราะข้อต่อสู้ตอนต้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงส่วนข้อต่อสู้ตอนหลังเป็นเรื่องปัญหาข้อกฎหมายในการแปลข้อสัญญาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด ฉะนั้น การที่ศาลไม่วินิจฉัยให้นั้นจึงไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 2ไม่ได้ให้การในรายละเอียดเจาะจงว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธินำสืบว่าลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันนั้นไม่ใช่ของจำเลยที่ 2ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นเรื่องนอกคำให้การจึงรับฟังไม่ได้ การที่จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกเอกสารหนังสือเดินทางของจำเลยที่ 3 จากกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิสูจน์ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 3 ไม่ชอบเพราะจำเลยที่ 3 ไม่ได้อยู่ในราชอาณาจักรขณะที่มีการนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งแก่จำเลยที่ 3 นั้น เห็นได้ว่า เอกสารดังกล่าวมิใช่เอกสารเกี่ยวกับประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 2จึงเป็นเอกสารที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจงดสืบพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับโบนัสของพนักงานที่ลาไปอบรม/สัมมนาที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของบริษัท
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยไม่มีสิทธิหักเงินโบนัส จำเลยให้การว่าจำเลยมีสิทธิหักเงินโบนัสของโจทก์ทั้งสองตามมติคณะรัฐมนตรีประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยมีสิทธิหักเงินโบนัสของโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิหักเงินโบนัสของโจทก์ทั้งสองตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 4.1.1 หาเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ทั้งสองลาไปประชุมสัมมนาฝึกอบรม ซึ่งไม่เกี่ยวกับกิจการของจำเลย ณ ต่างประเทศโดยไม่ถือเป็นวันลานั้น โจทก์ทั้งสองหาได้อยู่ปฏิบัติงานจริง ๆไม่ โจทก์ทั้งสองจึงเป็นพนักงานที่ปฏิบัติไม่เต็มงวดการปิดบัญชีของธนาคารที่มีการจ่ายเงินโบนัส ชอบที่จะได้รับเงินโบนัสตามส่วนแห่งระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากค่าที่ดินเป็นหนี้สัญญากู้ และผลผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญาแล้วถูกศาลสั่ง ขายทอดตลาดไป จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เงินเป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้โดยให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้โดย จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองต้องผูกพันตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เพื่อไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และรับเงินจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยในคดีอาญา แล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวของโจทก์ จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินคืนให้โจทก์ไม่ได้ และไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน การนำสืบดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องหรือต่างกับฟ้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากค่าที่ดินเป็นหนี้กู้ และการผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญาแล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดไป จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เงินเป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้โดยให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองต้องผูกพันตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เพื่อไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และรับเงินจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยในคดีอาญา แล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวของโจทก์ จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินคืนให้โจทก์ไม่ได้ และไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน การนำสืบดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องหรือต่างกับฟ้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214-1219/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกัน และการพิจารณาโทษบรรเทาตามมาตรา 78
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ กระทำผิดในเรื่องเดียวกันหกสำนวน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกันและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน การฟังพยานหลักฐานก็ต้องฟังรวมเป็นคดีเดียว กันเมื่อศาลฎีกาได้ ยกปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมสำนวนที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ขึ้นวินิจฉัยแม้ฎีกา ของจำเลยในข้ออื่นจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในสำนวนของโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ และย่อมมีอำนาจพิจารณาไปถึงข้อเท็จจริงในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ด้วย หากการกระทำของจำเลยในสำนวนใดไม่เป็นความผิดศาลฎีกาก็ย่อมยกฟ้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214-1219/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมสำนวน - อำนาจวินิจฉัยศาลฎีกา - ข้อเท็จจริง - ยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ กระทำผิดในเรื่องเดียว กันหกสำนวนซึ่ง เกี่ยวเนื่องกันและศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียว กัน การฟังพยานหลักฐานก็ต้อง ฟังรวมเป็นคดีเดียว กันเมื่อศาลฎีกาได้ ยกปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมสำนวนที่ 3 ที่ 4และที่ 6 ขึ้นวินิจฉัยแม้ฎี กาของจำเลยในข้ออื่นจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในสำนวนของโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ และย่อมมีอำนาจพิจารณาไปถึง ข้อเท็จจริงในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ซึ่ง ต้องห้าม ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ด้วย หากการกระทำของจำเลยในสำนวนใด ไม่เป็นความผิดศาลฎีกาก็ย่อมยกฟ้องได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีปรับและข้อพิรุธพยานหลักฐาน ทำให้ศาลฎีกายกฟ้องคดีต้มสุรา
เมื่อความผิดฐานมีสุรากลั่นไว้ในครอบครอง ฐานมีสุราแช่ไว้ในครอบครองและฐานทำสุราแช่โดยไม่ได้รับอนุญาตต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบกับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าว แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าว แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยข้อหาความผิดฐานมีภาชนะเครื่องต้มกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองและฐานทำสุรากลั่นโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งจำเลยมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้แล้วเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิด ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานมีสุรากลั่นไว้ในครอบครอง ฐานมีสุราแช่ไว้ในครอบครอง และฐานทำสุราแช่โดยไม่ได้รับอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเกี่ยวพันกัน.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง ต้องพิจารณาจากการกระทำและเจตนา ไม่ใช่แค่การจ่ายเงินเดือน
คดีมีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ ที่โจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัท ข.เป็นผู้รักษาทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวเนื่องจากจำเลยนำยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้และจำเลยได้จ่ายเงินเดือนให้โจทก์เป็นค่ารักษาทรัพย์นั้น เป็นการแถลงรับกันในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เพียงพอจะวินิจฉัยได้แล้วว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ แม้โจทก์จะมีพยานมาสืบข้อเท็จจริงอย่างใดก็หาอาจรับฟังนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันไม่ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจึงชอบแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคม 2528 จำเลยฟ้องบริษัท ข. ให้ชำระหนี้กรรมการผู้จัดการหลบหนี และบริษัท ข. หยุดกิจการ จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้ ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบริษัท ข. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2529 เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์อีก ดังนี้จำเลยเพียงแต่ตกลงให้โจทก์รับหน้าที่เฉพาะอย่าง คือ การดูแลทรัพย์สินของบริษัท ข.มิให้สูญหายหรือเสียหาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่งานของจำเลยโดยตรง ทั้งโจทก์มิได้อยู่ในการบังคับบัญชาของจำเลย เมื่อมีการยึดทรัพย์สินของบริษัท ข. ขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์ก็เป็นการมอบตามอำนาจและหน้าที่แม้จำเลยจะให้เงินเดือนแก่โจทก์จำนวนเดิมก็ตาม ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานฝ่ายเดียวโดยไม่เปิดโอกาสให้จำเลยโต้แย้ง และการกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ฟังพยานทั้งสองฝ่าย
พยานเอกสารที่โจทก์ส่งต่อศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมเป็นหนังสือของบุคคลอื่น มิใช่ของจำเลย และจำเลยมิได้รับรองความถูกต้องของหนังสือดังกล่าวศาลจะนำมารับฟังเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่ เพราะเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียว โดยจำเลยยังไม่ได้มีโอกาสนำสืบหักล้างความถูกต้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายวันละ 1,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่า โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ค่าเสียหายสูงเกินจริงและเคลือบคลุมจึงฟังเป็นที่ยุติไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นรีบด่วนกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองใช้แก่โจทก์วันละ 600 บาท จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องฟังข้อนำสืบของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความตามคำฟ้องและคำให้การแล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดีว่าโจทก์เสียหายหรือไม่ หากเสียหายค่าเสียหายควรจะมีจำนวนเท่าใดโดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ได้ต่อสู้คัดค้าน และการกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
พยานเอกสารที่โจทก์ส่งต่อศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมเป็นหนังสือของบุคคลอื่น มิใช่ของจำเลย และจำเลยมิได้รับรองความถูกต้อง ของหนังสือดังกล่าว ศาลจะนำมารับฟังเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่เพราะเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ฝ่ายเดียว โดยจำเลยยังไม่ได้มีโอกาสนำสืบหักล้างความถูกต้อง โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายวันละ 1,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ค่าเสียหายสูงเกินจริงและเคลือบคลุมจึงฟังเป็นที่ยุติไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นรีบด่วนกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองใช้แก่โจทก์วันละ 600 บาท จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องฟังข้อนำสืบของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความตามคำฟ้องและคำให้การแล้ววินิจฉัยชี้ขาดคดี ว่าโจทก์เสียหายหรือไม่ หากเสียหาย ค่าเสียหายควรจะมีจำนวนเท่าใดโดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
of 10