พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง: ละเมิด-สัญญาจ้าง-ตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 4 และที่ 6 ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของนายกิตติได้ประมาทเลินเล่อต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งที่โจทก์วางไว้ ละเลยไม่ควบคุมดูแลตรวจสอบการเก็บเงิน รับเงินและส่งเงินของนายกิตติผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจนเป็นเหตุให้นายกิตติ ทุจริตเบียดบังเงินค่าน้ำประปาและค่ามาตราวัดน้ำจำนวน 815,985.08 บาทของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนตัว เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งผิดสัญญาจ้างและสัญญาตัวแทนเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ ดังนี้เป็นคำบรรยายฟ้องที่ชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับที่นายกิตติเบียดบังอย่างไร จำเลยที่ 4 และที่ 6 ประมาทเลินเล่ออย่างไร โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา
จำเลยที่ 4 และที่ 6 ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบของโจทก์ ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุจริตเบียดบังเอาเงินค่าน้ำประปาของโจทก์ไป เป็นการประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานตามหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เท่าที่โจทก์เสียหายไป
ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้กำหนดตัวผู้บังคับบัญชาที่จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาในกรณีที่มีการทุจริตทำให้เสียหายมิใช่กฎหมาย ดังนั้น จะถือว่าผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเด็ดขาดเสมอไปมิได้ การกระทำใด ๆจะเป็นละเมิดหรือไม่ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
บรรยายฟ้องว่าจำเลยประมาทเลินเล่อปล่อยให้นายกิตติยักยอกเงินของโจทก์ไป แต่นำสืบว่า นายกิตติซึ่งมีหน้าที่จ่ายใบเสร็จรับเงินให้พนักงานอื่นไปเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำประปาได้เอาใบเสร็จรับเงินไปเก็บเงินเสียเองแล้วเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนตัว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
จำเลยที่ 4 และที่ 6 ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบของโจทก์ ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุจริตเบียดบังเอาเงินค่าน้ำประปาของโจทก์ไป เป็นการประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานตามหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เท่าที่โจทก์เสียหายไป
ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้กำหนดตัวผู้บังคับบัญชาที่จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาในกรณีที่มีการทุจริตทำให้เสียหายมิใช่กฎหมาย ดังนั้น จะถือว่าผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเด็ดขาดเสมอไปมิได้ การกระทำใด ๆจะเป็นละเมิดหรือไม่ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
บรรยายฟ้องว่าจำเลยประมาทเลินเล่อปล่อยให้นายกิตติยักยอกเงินของโจทก์ไป แต่นำสืบว่า นายกิตติซึ่งมีหน้าที่จ่ายใบเสร็จรับเงินให้พนักงานอื่นไปเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำประปาได้เอาใบเสร็จรับเงินไปเก็บเงินเสียเองแล้วเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนตัว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบต้องตรงประเด็น หากจำเลยอ้างว่าไม่ใช่ลูกหนี้ แต่กลับนำสืบว่าผู้อื่นเป็นผู้ชำระหนี้ ถือเป็นการนำสืบนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อน้ำมันเครื่องจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคา จำเลยให้การว่า หนี้ตามฟ้องจำเลยได้ชำระให้โจทก์เสร็จสิ้นแล้ว ชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบว่าความจริงช.เป็นผู้ซื้อ.และช.ได้ชำระราคาน้ำมันให้โจทก์แล้วดังนี้เป็นการนำสืบนอกประเด็น
เมื่อหน้าที่นำสืบตกอยู่แก่จำเลย แต่ข้อนำสืบของจำเลยฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระราคาน้ำมันแก่โจทก์แล้ว จำเลยก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีโดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ต่อไปอีก
เมื่อหน้าที่นำสืบตกอยู่แก่จำเลย แต่ข้อนำสืบของจำเลยฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระราคาน้ำมันแก่โจทก์แล้ว จำเลยก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีโดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีหน้าที่นำสืบการชำระหนี้ตามประเด็นที่ศาลกำหนด แต่กลับนำสืบเรื่องบุคคลอื่นชำระหนี้แทน ถือเป็นการนำสืบนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อน้ำมันเครื่องจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคาจำเลยให้การว่า หนี้ตามฟ้องจำเลยได้ชำระให้โจทก์เสร็จสิ้นแล้ว ชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบว่าความจริง ช.เป็นผู้ซื้อ. และ ช. ได้ชำระราคาน้ำมันให้โจทก์แล้ว ดังนี้เป็นการนำสืบนอกประเด็น
เมื่อหน้าที่นำสืบตกอยู่แก่จำเลย แต่ข้อนำสืบของจำเลยฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระราคาน้ำมันแก่โจทก์แล้ว จำเลยก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีโดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ต่อไปอีก
เมื่อหน้าที่นำสืบตกอยู่แก่จำเลย แต่ข้อนำสืบของจำเลยฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระราคาน้ำมันแก่โจทก์แล้ว จำเลยก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีโดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องสอบสวนและพิสูจน์ความผิดของลูกจ้างก่อน หากไม่ปรากฏความผิด การเลิกจ้างถือเป็นไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ตามระเบียบของจำเลย โจทก์ที่1 มีหน้าที่สอบถามผู้ที่ขอใช้กุญแจกลางว่าเป็นผู้เช่าที่มาพักจริงหรือไม่ การที่โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ว่าตนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบว่าผู้ที่ขอกุญแจกลางเป็นผู้เช่า จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54
จำเลยต่อสู้เรื่องความเสียหายต่อชื่อเสียงเป็นประเด็นไว้ในคำให้การแล้วแม้จำเลยจะนำสืบไม่ชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม เมื่อทรัพย์สินของผู้ที่มาพักในโรงแรมสูญหายไปเพราะความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโรงแรม จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดไว้ในเรื่องการสอบสวนว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกโจทก์ทั้งสองมาสอบถามและให้เขียนรายงานกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือได้ว่ามีการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเมื่อได้ความว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ 1 ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรง การที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ออกจากงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ศาลฎีกาสั่งให้รับฟ้องโจทก์ข้อที่กล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเพราะจำเลยมิได้สอบสวนตามระเบียบเมื่อได้ความว่าจำเลยได้สอบสวนตามระเบียบแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยไม่มีความผิด และเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2 และศาลแรงงานกลางมีอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยใช้แก่โจทก์ที่ 2 ได้
จำเลยต่อสู้เรื่องความเสียหายต่อชื่อเสียงเป็นประเด็นไว้ในคำให้การแล้วแม้จำเลยจะนำสืบไม่ชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม เมื่อทรัพย์สินของผู้ที่มาพักในโรงแรมสูญหายไปเพราะความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโรงแรม จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดไว้ในเรื่องการสอบสวนว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกโจทก์ทั้งสองมาสอบถามและให้เขียนรายงานกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือได้ว่ามีการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเมื่อได้ความว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ 1 ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรง การที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ออกจากงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ศาลฎีกาสั่งให้รับฟ้องโจทก์ข้อที่กล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเพราะจำเลยมิได้สอบสวนตามระเบียบเมื่อได้ความว่าจำเลยได้สอบสวนตามระเบียบแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยไม่มีความผิด และเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2 และศาลแรงงานกลางมีอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยใช้แก่โจทก์ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเลยต้องสอบสวนและพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างก่อนเลิกจ้าง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ตามระเบียบของจำเลย โจทก์ที่ 1 มีหน้าที่สอบถามผู้ที่ขอใช้กุญแจกลางว่าเป็นผู้เช่าที่มาพักจริงหรือไม่ การที่โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ว่าตนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบว่าผู้ที่ขอกุญแจกลางเป็นผู้เช่า จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54
จำเลยต่อสู้เรื่องความเสียหายต่อชื่อเสียงเป็นประเด็นไว้ในคำให้การแล้วแม้จำเลยจะนำสืบไม่ชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม เมื่อทรัพย์สินของผู้ที่มาพักในโรงแรมสูญหายไปเพราะความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโรงแรม จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดไว้ในเรื่องการสอบสวนว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกโจทก์ทั้งสองมาสอบถามและให้เขียนรายงานกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือได้ว่ามีการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเมื่อได้ความว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ 1 ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรง การที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ออกจากงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ศาลฎีกาสั่งให้รับฟ้องโจทก์ข้อที่กล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเพราะจำเลยมิได้สอบสวนตามระเบียบเมื่อได้ความว่าจำเลยได้สอบสวนตามระเบียบแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยไม่มีความผิดและเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2 และศาลแรงงานกลางมีอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยใช้แก่โจทก์ที่ 2 ได้
จำเลยต่อสู้เรื่องความเสียหายต่อชื่อเสียงเป็นประเด็นไว้ในคำให้การแล้วแม้จำเลยจะนำสืบไม่ชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม เมื่อทรัพย์สินของผู้ที่มาพักในโรงแรมสูญหายไปเพราะความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโรงแรม จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดไว้ในเรื่องการสอบสวนว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกโจทก์ทั้งสองมาสอบถามและให้เขียนรายงานกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือได้ว่ามีการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเมื่อได้ความว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ 1 ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรง การที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ออกจากงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ศาลฎีกาสั่งให้รับฟ้องโจทก์ข้อที่กล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเพราะจำเลยมิได้สอบสวนตามระเบียบเมื่อได้ความว่าจำเลยได้สอบสวนตามระเบียบแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยไม่มีความผิดและเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2 และศาลแรงงานกลางมีอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยใช้แก่โจทก์ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้ออ้างใหม่ในอุทธรณ์ จำเลยต้องยกเหตุผลในคำให้การเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 นายจ้างร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 มิใช่ลูกจ้างการที่จำเลยที่ 2 ยกขึ้นอ้างอิงในอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะผู้รับจ้างทำของโดยเอาเงินของจำเลยที่ 2 ไปหาซื้อมะพร้าวได้ค่าจ้างเป็นเปอร์เซนต์ของจำนวนมะพร้าวที่ซื้อมาได้เป็นคราว ๆจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้างย่อมไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 นั้นเป็นข้อที่ไม่ได้กล่าวไว้ในคำให้การไม่มีสิทธินำสืบแม้จำเลยที่ 2 นำสืบและศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานนอกประเด็น และการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีเช็ค
ตามคำให้การของจำเลยว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่า โจทก์จะไปขึ้นเงินตามเช็คได้ต่อเมื่อ ว. โอนกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ให้แก่จำเลย เพราะจำเลยออกเช็คเพื่อใช้หนี้แทน ป. น้องชายของจำเลย แต่จำเลยกลับนำสืบว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ พ. เจ้าหนี้คนหนึ่งของ ป. โดย พ. ได้ทราบข้อตกลงและเงื่อนไขดังกล่าว ต่อมา ว. ไม่ยอมโอนอู่ซ่อมรถยนต์ให้จำเลย จำเลยจึงแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินแล้ว พ. กลับโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลเพื่อให้โจทก์นำเช็คมาฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องจำเลยต่อสู้ว่า พ. ผู้ทรงคนก่อนโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ผู้ทรงคนปัจจุบันด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงนอกประเด็นพิพาท รับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้เรื่องเงื่อนไขเช็คและการโอนเช็คโดยฉ้อฉล ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดใช้เงินตามเช็ค
ตามคำให้การของจำเลยว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่า โจทก์จะไปขึ้นเงินตามเช็คได้ต่อเมื่อ ว. โอนกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ให้แก่จำเลย เพราะจำเลยออกเช็คเพื่อใช้หนี้แทน ป. น้องชายของจำเลย แต่จำเลยกลับนำสืบว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่พ.เจ้าหนี้คนหนึ่งของป.โดยพ. ได้ทราบข้อตกลงและเงื่อนไขดังกล่าว ต่อมา ว. ไม่ยอมโอนอู่ซ่อมรถยนต์ให้จำเลยจำเลยจึงแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินแล้ว พ. กลับโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลเพื่อให้โจทก์นำเช็คมาฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องจำเลยต่อสู้ว่าพ. ผู้ทรงคนก่อนโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ผู้ทรงคนปัจจุบันด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงนอกประเด็นพิพาท รับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418-419/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อจากการขับรถที่ดัดแปลงสูงลอดสายเคเบิลโทรศัพท์ ทำให้เสาโทรเลขล้ม
จำเลยที่ 1 ขับรถที่มีความสูงกว่าปกติออกจากปั๊มน้ำมัน ลอดสายเคเบิลโทรศัพท์ที่ขึงพาดอยู่บนเสาโทรเลขตามแนวถนนหน้าปั๊มน้ำมันด้วยการเร่งเครื่องยนต์ ทำให้รถพุ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็ว ล้อรถปีนขึ้นบนคานคอนกรีตหน้าปั๊มน้ำมันอันทำกันไว้มิให้เป็นทางรถเข้าออกท้ายรถซึ่งสูงกว่าปกติจึงกระดอนสูง จนเหล็กประกับรูปตัวยู (U) ที่ติดอยู่บนโครงไม้ท้ายรถอันเป็นส่วนที่สูงที่สุดของรถเกี่ยวเอาสายเคเบิลโทรศัพท์ของโจทก์ที่ 2 ดึงลากไปเป็นเหตุให้เสาโทรเลขของโจทก์ที่ 1 ที่พาดอยู่หักและล้ม ดังนี้ ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ขับรถที่ต่อโครงไม้สูงขึ้นไปมากกว่าปกติลอดผ่านเคเบิลโทรศัพท์โดยประมาทไม่ดูแลเสียก่อน การที่โจทก์นำสืบถึงความประมาทเพราะจำเลยที่ 1 ขับรถปีนคานคอนกรีตด้วยเป็นการนำสืบในประเด็นเรื่องความประมาทเลินเล่อในการขับรถของจำเลยที่ 1 หาเป็นการสืบนอกฟ้องไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ขับรถที่ต่อโครงไม้สูงขึ้นไปมากกว่าปกติลอดผ่านเคเบิลโทรศัพท์โดยประมาทไม่ดูแลเสียก่อน การที่โจทก์นำสืบถึงความประมาทเพราะจำเลยที่ 1 ขับรถปีนคานคอนกรีตด้วยเป็นการนำสืบในประเด็นเรื่องความประมาทเลินเล่อในการขับรถของจำเลยที่ 1 หาเป็นการสืบนอกฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงจากการท้าทายให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ และผลผูกพันตามกฎหมาย
แม้จะเป็นฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยาน และจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ แต่โดยที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและพิพากษาในวันเดียวกัน ไม่มีโอกาสที่จำเลยจะโต้แย้งได้ก่อน จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
ถ้ามีปัญหาข้อใดในคดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย หากคู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ ย่อมเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท และคู่ความย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบในข้อเท็จจริงตามประเด็นข้อพิพาทนั้นได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183, 184, 185 และ 85 แต่ถ้าปัญหาข้อใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งรับแล้ว ย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท เพราะเป็นอันฟังได้ตามที่รับกันนั้นโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานใดๆ ในปัญหาข้อนั้นอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 84
การที่คู่ความท้ากันในคดี ถือได้ว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 84 นั้นเอง แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นสมความประสงค์ของคู่ความฝ่ายใดตามที่ท้ากัน อีกฝ่ายหนึ่งก็ยอมรับตามข้ออ้างที่สมประสงค์นั้นทั้งหมด
คู่ความท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ.2 เปรียบเทียบกับลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ในที่ต่างๆ หากผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ว่าลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ. 2 น่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้ง 4 คนย่อมแพ้ ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 โจทก์ยอมแพ้ ผลจึงเป็นดังที่กล่าวข้างต้น กล่าวคือ โจทก์จำเลยต่างจะยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้าง ถ้าผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งสมความประสงค์ของฝ่ายใด ฉะนั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์แล้วและมีความเห็นว่า ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ. 2 กับลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ในใบแต่งทนาย ใบรับหมายและตัวอย่างที่เขียนต่อหน้าศาลน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ซึ่งหมายความว่า ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ. 2 น่าจะเป็นลายมือชื่อจำเลยที่ 2 นั่นเอง จึงเป็นการสมความประสงค์ของโจทก์และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าตรงตามคำท้าแล้ว ก็มีผลตามความเห็นว่า จำเลยยอมรับตามข้ออ้างของโจทก์ทั้งหมดและยอมแพ้คดี คู่ความจึงไม่มีภาระการพิสูจน์ตามข้ออ้างนั้นอีก เมื่อเป็นดังนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานของทั้งสองฝ่าย จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอย่างใด
ข้อที่ฎีกาว่า ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญไม่ตรงตามคำท้าในรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งจะแปลความหมายแห่งถ้อยคำในรายงานกระบวนพิจารณา จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ก็ด้วยการแสดงความเห็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 จะยืนยันข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะไม่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรง
คู่ความท้ากันในรายงานกระบวนพิจารณาว่า หากผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ. 2 น่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยทั้งสี่คนยอมแพ้คดี แต่ถ้าไม่ใช่ โจทก์ยอมแพ้คดีการท้ากันในคดีนี้จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าเป็นการท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความหาใช่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันข้อเท็จจริงไม่ ฉะนั้น แม้ผู้เชี่ยวชาญจะแสดงเหตุผลในการแสดงความเห็นอย่างใดก็ตาม แต่ในที่สุดเห็นว่าลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.2 น่าจะเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แล้ว ก็ย่อมเป็นการแสดงความเห็นที่สมประสงค์ของโจทก์ตรงตามคำท้าจำเลยจึงต้องแพ้คดี
ถ้ามีปัญหาข้อใดในคดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย หากคู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ ย่อมเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท และคู่ความย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบในข้อเท็จจริงตามประเด็นข้อพิพาทนั้นได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183, 184, 185 และ 85 แต่ถ้าปัญหาข้อใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งรับแล้ว ย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท เพราะเป็นอันฟังได้ตามที่รับกันนั้นโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานใดๆ ในปัญหาข้อนั้นอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 84
การที่คู่ความท้ากันในคดี ถือได้ว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 84 นั้นเอง แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นสมความประสงค์ของคู่ความฝ่ายใดตามที่ท้ากัน อีกฝ่ายหนึ่งก็ยอมรับตามข้ออ้างที่สมประสงค์นั้นทั้งหมด
คู่ความท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ.2 เปรียบเทียบกับลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ในที่ต่างๆ หากผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ว่าลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ. 2 น่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้ง 4 คนย่อมแพ้ ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 โจทก์ยอมแพ้ ผลจึงเป็นดังที่กล่าวข้างต้น กล่าวคือ โจทก์จำเลยต่างจะยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้าง ถ้าผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งสมความประสงค์ของฝ่ายใด ฉะนั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์แล้วและมีความเห็นว่า ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ. 2 กับลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ในใบแต่งทนาย ใบรับหมายและตัวอย่างที่เขียนต่อหน้าศาลน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ซึ่งหมายความว่า ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ. 2 น่าจะเป็นลายมือชื่อจำเลยที่ 2 นั่นเอง จึงเป็นการสมความประสงค์ของโจทก์และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าตรงตามคำท้าแล้ว ก็มีผลตามความเห็นว่า จำเลยยอมรับตามข้ออ้างของโจทก์ทั้งหมดและยอมแพ้คดี คู่ความจึงไม่มีภาระการพิสูจน์ตามข้ออ้างนั้นอีก เมื่อเป็นดังนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานของทั้งสองฝ่าย จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอย่างใด
ข้อที่ฎีกาว่า ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญไม่ตรงตามคำท้าในรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งจะแปลความหมายแห่งถ้อยคำในรายงานกระบวนพิจารณา จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ก็ด้วยการแสดงความเห็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 จะยืนยันข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะไม่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรง
คู่ความท้ากันในรายงานกระบวนพิจารณาว่า หากผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ. 2 น่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยทั้งสี่คนยอมแพ้คดี แต่ถ้าไม่ใช่ โจทก์ยอมแพ้คดีการท้ากันในคดีนี้จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าเป็นการท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความหาใช่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันข้อเท็จจริงไม่ ฉะนั้น แม้ผู้เชี่ยวชาญจะแสดงเหตุผลในการแสดงความเห็นอย่างใดก็ตาม แต่ในที่สุดเห็นว่าลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.2 น่าจะเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แล้ว ก็ย่อมเป็นการแสดงความเห็นที่สมประสงค์ของโจทก์ตรงตามคำท้าจำเลยจึงต้องแพ้คดี