คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 185

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการท้าพิสูจน์ลายมือชื่อและการยอมแพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้จะเป็นฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยาน และจำเลยมิได้โต้แย้งไว้. แต่โดยที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและพิพากษาในวันเดียวกัน. ไม่มีโอกาสที่จำเลยจะโต้แย้งได้ก่อน. จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้.
ถ้ามีปัญหาข้อใดในคดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย. หากคู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ. ย่อมเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท และคู่ความย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบในข้อเท็จจริงตามประเด็นข้อพิพาทนั้นได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183,184,185และ 85. แต่ถ้าปัญหาข้อใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งรับแล้ว. ย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท. เพราะเป็นอันฟังได้ตามที่รับกันนั้นโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานใดๆ ในปัญหาข้อนั้นอีก. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84.
การที่คู่ความท้ากันในคดี ถือได้ว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 84 นั้นเอง. แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน. ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นสมความประสงค์ของคู่ความฝ่ายใดตามที่ท้ากัน อีกฝ่ายหนึ่งก็ยอมรับตามข้ออ้างของฝ่ายที่สมประสงค์นั้นทั้งหมด.
คู่ความท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ.2 เปรียบเทียบกับลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ในที่ต่างๆ. หากผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ว่าลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ.2น่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2. จำเลยทั้ง4 คนยอมแพ้ ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 โจทก์ยอมแพ้. ผลจึงเป็นดังที่กล่าวข้างต้น กล่าวคือ โจทก์จำเลยต่างจะยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้าง. ถ้าผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งสมความประสงค์ของฝ่ายใด.ฉะนั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์แล้วและมีความเห็นว่า ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.2 กับลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ในใบแต่งทนาย ใบรับหมายและตัวอย่างที่เขียนต่อหน้าศาลน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน.ซึ่งหมายความว่า ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.2น่าจะเป็นลายมือชื่อจำเลยที่ 2 นั้นเอง. จึงเป็นการสมความประสงค์ของโจทก์และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าตรงตามคำท้าแล้ว ก็มีผลตามความเห็นนั้นว่า. จำเลยยอมรับตามข้ออ้างของโจทก์ทั้งหมดและยอมแพ้คดี คู่ความจึงไม่มีภาระการพิสูจน์ตามข้ออ้างนั้นอีก. เมื่อเป็นดังนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานของทั้งสองฝ่าย จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอย่างใด.
ข้อที่ฎีกาว่า ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญไม่ตรงตามคำท้า.ในรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งจะแปลความหมายแห่งถ้อยคำในรายงานกระบวนพิจารณา. จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย.
ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ก็ด้วยการแสดงความเห็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130จะยืนยันข้อเท็จจริงไม่ได้. เพราะไม่ได้เห็น ได้ยินหรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรง.
คู่ความท้ากันในรายงานกระบวนพิจารณาว่า หากผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ.2 น่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แล้ว. จำเลยทั้งสี่คนยอมแพ้คดี. แต่ถ้าไม่ใช่โจทก์ยอมแพ้คดี. การท้ากันในคดีนี้จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าเป็นการท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นหาใช่ให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันข้อเท็จจริงไม่. ฉะนั้น แม้ผู้เชี่ยวชาญจะแสดงเหตุผลในการแสดงความเห็นอย่างใดก็ตามแต่ในที่สุดเห็นว่าลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.2 น่าจะเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แล้ว.ก็ย่อมเป็นการแสดงความเห็นที่สมประสงค์ของโจทก์ตรงตามคำท้าจำเลยจึงต้องแพ้คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับข้อเท็จจริงโดยการท้าพิสูจน์และการงดสืบพยานเมื่อผลการพิสูจน์เป็นไปตามที่ตกลง
แม้จะเป็นฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยาน และจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ แต่โดยที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและพิพากษาในวันเดียวกัน ไม่มีโอกาสที่จำเลยจะโต้แย้งได้ก่อน จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
ถ้ามีปัญหาข้อใดในคดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย หากคู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ ย่อมเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท และคู่ความย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบในข้อเท็จจริงตามประเด็นข้อพิพาทนั้นได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183,184,185และ 85 แต่ถ้าปัญหาข้อใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งรับแล้ว ย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท เพราะเป็นอันฟังได้ตามที่รับกันนั้นโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานใดๆ ในปัญหาข้อนั้นอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
การที่คู่ความท้ากันในคดี ถือได้ว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 84 นั้นเอง แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นสมความประสงค์ของคู่ความฝ่ายใดตามที่ท้ากัน อีกฝ่ายหนึ่งก็ยอมรับตามข้ออ้างของฝ่ายที่สมประสงค์นั้นทั้งหมด
คู่ความท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ.2 เปรียบเทียบกับลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ในที่ต่างๆ หากผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ว่าลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ.2น่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้ง 4 คนยอมแพ้ ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 โจทก์ยอมแพ้ ผลจึงเป็นดังที่กล่าวข้างต้น กล่าวคือ โจทก์จำเลยต่างจะยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้าง ถ้าผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งสมความประสงค์ของฝ่ายใดฉะนั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์แล้วและมีความเห็นว่า ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.2 กับลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ในใบแต่งทนาย ใบรับหมายและตัวอย่างที่เขียนต่อหน้าศาลน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ซึ่งหมายความว่า ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.2น่าจะเป็นลายมือชื่อจำเลยที่ 2 นั้นเอง จึงเป็นการสมความประสงค์ของโจทก์และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าตรงตามคำท้าแล้ว ก็มีผลตามความเห็นนั้นว่า จำเลยยอมรับตามข้ออ้างของโจทก์ทั้งหมดและยอมแพ้คดี คู่ความจึงไม่มีภาระการพิสูจน์ตามข้ออ้างนั้นอีก เมื่อเป็นดังนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานของทั้งสองฝ่าย จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอย่างใด
ข้อที่ฎีกาว่า ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญไม่ตรงตามคำท้าในรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งจะแปลความหมายแห่งถ้อยคำในรายงานกระบวนพิจารณา จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ก็ด้วยการแสดงความเห็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 จะยืนยันข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะไม่ได้เห็น ได้ยินหรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรง
คู่ความท้ากันในรายงานกระบวนพิจารณาว่า หากผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ.2 น่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยทั้งสี่คนยอมแพ้คดี แต่ถ้าไม่ใช่โจทก์ยอมแพ้คดี การท้ากันในคดีนี้จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าเป็นการท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นหาใช่ให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันข้อเท็จจริงไม่ ฉะนั้น แม้ผู้เชี่ยวชาญจะแสดงเหตุผลในการแสดงความเห็นอย่างใดก็ตามแต่ในที่สุดเห็นว่าลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.2 น่าจะเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แล้วก็ย่อมเป็นการแสดงความเห็นที่สมประสงค์ของโจทก์ตรงตามคำท้าจำเลยจึงต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370-371/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดตึกที่สร้างบนที่ดินเช่า: สิทธิของเจ้าของที่ดิน เจ้าของตึก และลูกหนี้
ผู้ร้องทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึกแถวที่โจทก์นำยึด มีกำหนด 15 ปีโดยจดทะเบียนการเช่า. มีข้อสัญญาว่า หากผู้เช่าผิดสัญญา.ไม่ชำระค่าเช่า 3 ครั้งติดๆ กัน.ยอมยกสิ่งปลูกสร้างให้เป็นกรรมสิทธิ์. ดังนี้ ก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีนำยึดตึกแถวพิพาทจำเลยยังไม่ผิดนัดชำระค่าเช่า. จำเลยยังไม่ผิดสัญญา. ตึกพิพาทยังเป็นของผู้ร้องผู้ให้เช่าอยู่.ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย. หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี.
จำเลยปลูกสร้างตึกพิพาทลงในที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 15 ปีจึงจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน. เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ครบอายุ. ตึกพิพาทยังไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370-371/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดตึกที่สร้างบนที่ดินเช่า: สิทธิในทรัพย์สินระหว่างสัญญาเช่ายังไม่ครบอายุ
ผู้ร้องทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึกแถวที่โจทก์นำยึดมีกำหนด 15 ปีโดยจดทะเบียนการเช่ามีข้อสัญญาว่า หากผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า 3 ครั้งติดๆ กันยอมยกสิ่งปลูกสร้างให้เป็นกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีนำยึดตึกแถวพิพาทจำเลยยังไม่ผิดนัดชำระค่าเช่าจำเลยยังไม่ผิดสัญญาตึกพิพาทยังเป็นของผู้ร้องผู้ให้เช่าอยู่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมายหรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
จำเลยปลูกสร้างตึกพิพาทลงในที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 15 ปีจึงจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินเมื่อสัญญาเช่ายังไม่ครบอายุตึกพิพาทยังไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370-371/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ตึกเช่าระหว่างสัญญาเช่า: การยึดทรัพย์สินลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึกแถวที่โจทก์นำยึด มีกำหนด 15 ปี โดยจดทะเบียนการเช่า มีข้อสัญญาว่า หากผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า 3 ครั้งติด ๆ กัน ยอมยกสิ่งปลูกสร้างให้เป็นกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีนำยึดตึกแถวพิพาท จำเลยยังไม่ผิดนัดชำระค่าเช่า จำเลยยังไม่ผิดสัญญา ตึกพิพาทยังเป็นของผู้ร้องผู้ให้เช่าอยู่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
จำเลยปลูกสร้างตึกพิพาทลงในที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 15 ปีจึงจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ครบอายุ ตึกพิพาทยังไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนขายฝากภายในกำหนด: กรรมสิทธิ์กลับคืนผู้ขายฝาก, ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องขอขับไล่จำเลยออกจากเรือนซึ่งโจทก์รับซื้อฝากจากจำเลยและพ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว จำเลยต่อสู้ว่าได้ติดต่อขอไถ่คืนภายในกำหนดแล้ว แต่โจทก์เบี่ยงบ่ายจนพ้นกำหนดอายุขายฝาก ทั้งเมื่อพ้นกำหนดแล้วจำเลยขอไถ่โจทก์ก็ยินยอมและรับเงินสินไถ่บางส่วนไปแล้ว ดังนี้ ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังข้อต่อสู้ของจำเลย กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทก็จะต้องกลับคืนไปเป็นของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 492 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยต่อไป จะงดสืบพยานเสียมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนขายฝากภายในกำหนด: กรรมสิทธิ์กลับคืนสู่ผู้ขายฝาก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องาขอให้ขับไล่จำเลยออกจากเรือนซึ่งโจทก์รับซื้อฝากจากจำเลยและพ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว จำเลยต่อสู้ว่าได้ติดต่อขอไถ่คืนภายในกำหนดแล้ว แต่โจทก์เบี่ยงบ่ายจนพ้นกำหนดอายุขายฝากทั้งเมื่อพ้นกำหนดแล้วจำเลยขอไถ่ โจทก์ก็ยินยอมและรับเงินสินไถ่บางส่วนไปแล้ว ดังนี้ ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังข้อต่อสู้ของจำเลย กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทก็จะต้องกลับคืนไปเป็นของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 492 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยต่อไป จะงดสืบพยานเสียมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมรดก การแบ่งสินสมรส และอายุความคดีครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของ ด. ด. ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ผู้เป็นภริยาและบุตรของ ด.ขอให้แบ่งตามส่วน จำเลยให้การต่อสู้ว่ายายจำเลยยกที่พิพาทให้ด. ต่อมาด.ยกให้จำเลย (ผู้เป็นบุตรของ ด.เกิดแต่ภรรยาอีกคนหนึ่ง) ตั้งแต่ด.ยังมีชีวิตอยู่ ศาลกะประเด็นนำสืบว่า ที่พิพาทนี้ ด. ได้ยกให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่จริงหรือไม่ ดังนี้ ศาลก็ชอบที่จะสืบพยานตามประเด็นข้อพิพาท และพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปตามนั้น ที่จะไปฟังตามคำพยานจำเลยว่ายายจำเลยมิได้เจตนายกที่ให้ด. ด. ปกครองที่พิพาทโดยมิได้เจตนาปกครองเป็นเจ้าของ แต่เป็นการปกครองแทนจำเลยนั้น ย่อมเป็นการขัดแย้งกับคำของจำเลย และเป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์เป็นภริยาของผู้ตายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 กับมีสิทธิได้ส่วนแบ่งจากส่วนที่เป็นมรดกของผู้ตายด้วย รวมเป็นเนื้อที่ 13 ไร่เศษ แต่โจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทมาเพียง11 ไร่ นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครอง ที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเกินกว่า 1 ปี ที่มรดกนอกจากที่โจทก์ได้ครอบครองมาย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและสินสมรสหลังการเสียชีวิตของสามี โดยมีประเด็นเรื่องการครอบครองและการต่อสู้เรื่องการยกทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของ ค. ค.ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่ โจทก์ผู้เป็นภริยาและบุตรของ ค. ขอให้แบ่งตามส่วน จำเลยให้การต่อสู้ว่ายายจำเลยยกที่พิพาทให้ ค. ต่อมา ค. ยกให้จำเลย (ผู้เป็นบุตรของ ค. เกิดแต่ภรรยาอีกคนหนึ่ง) ตั้งแต่ ค. ยังมีชีวิตอยู่ ศาลกะประเด็นนำสืบว่า ที่พิพาทนี้ ค. ได้ยกให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่จริงหรือไม่ ดังนี้ ศาลก็ชอบที่จะสืบพยานตามประเด็นข้อพิพาท และพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปตามนั้น ที่จะไปฟังตามคำพยานจำเลยว่ายายจำเลยมิได้เจตนายกที่ให้ ค. ค.ปกครองที่พิพาทโดยมิได้เจตนาหกครองเป็นเจ้าของ แต่เป็นการปกครองแทนจำเลยนั้น ย่อมเป็นการขัดแย้งกับคำของจำเลย และเป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์เป็นภริยาของผู้ตายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 กับมีสิทธิได้ส่วนแบ่งจากส่วนที่เป้นมรดกของผู้ตายด้วย รวมเป็นเนื้อที่ 13 ไร่เศษ แต่โจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทมาเพียง 11 ไร่ นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครอง ที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเกินกว่า 1 ปี ที่มรดกนอกจากที่โจทก์ได้ครอบครองมาย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทดอกเบี้ยกู้ สัญญาไม่ชัดเจน ศาลต้องให้คู่ความสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยและเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยให้การต่อสู้ว่า ในสัญญากู้คิดดอกเบี้ยตามกฎหมายแต่โจทก์กลับคิดร้อยละ 15 ต่อไป สำเนาสัญญากู้ไม่ถูกต้อง ย่อมเห็นได้ชัดว่า จำเลยให้การปฏิเสธว่าสัญญากู้ไม่มีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ดังที่โจทก์ฟ้องอ้างสำเนาสัญญากู้มีข้อความว่า คิดดอกเบี้ยตามกฎหมายร้อยละ 15 ต่อปี ติดมาท้ายคำฟ้อง ทั้งต้นฉบับสัญญากู้ก็ยังไม่มีปรากฏในสำนวน ดังนี้ถือว่า ข้อเท็จจริงเรื่องดอกเบี้ยยังไม่ยุติ คู่ความต้องนำสืบความข้อนี้กันต่อไป
of 10