คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3556/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจหน้าที่นายทะเบียนแรงงานสัมพันธ์ และการแสดงความเห็นที่มิใช่คำสั่ง
จำเลยที่2เป็นนายทะเบียนตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งมีหน้าที่พิจารณาการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานสหพันธ์นายจ้างหรือสหพันธ์แรงงานกับสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้างตลอดจนหน้าที่อื่นๆอันเป็นการรับจดทะเบียนเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยร้องเรียนต่อจำเลยที่2ว่าการประชุมใหญ่ของสภาองค์การลูกจ้างฯเป็นโมฆะและจำเลยที่2ได้มีหนังสือถึงโจทก์แสดงข้อเท็จจริงและความเห็นที่จำเลยที่2ตรวจสอบจากหลักฐานต่างๆโดยมิได้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำเช่นนั้นจึงมิใช่คำสั่งเรื่องการโมฆะมิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งนายทะเบียนแรงงาน: หนังสือแจ้งผลสอบข้อเท็จจริงไม่ใช่คำสั่งโต้แย้งสิทธิ
จำเลยที่2เป็นนายทะเบียนตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งมีหน้าที่พิจารณาการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานสหพันธ์นายจ้างหรือสหพันธ์แรงงานกับสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้างตลอดจนหน้าที่อื่นๆอันเป็นการรับจดทะเบียนเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยร้องเรียนต่อจำเลยที่2ว่าการประชุมใหญ่ของสภาองค์การลูกจ้างฯเป็นโมฆะและจำเลยที่2ได้มีหนังสือถึงโจทก์แสดงข้อเท็จจริงและความเห็นที่จำเลยที่2ตรวจสอบจากหลักฐานต่างๆโดยมิได้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำเช่นนั้นจึงมิใช่คำสั่งเรื่องการเป็นโมฆะมิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังข้อเรียกร้องค่าจ้าง และผลของข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างได้ทำความตกลงกันทำขึ้นมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ จึงมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่ที่ตกลงกัน
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้างแล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเมื่อมีพฤติการณ์ฟังได้ว่า นายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121(1)อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 40,41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังการยื่นข้อเรียกร้อง - การบังคับใช้ข้อตกลงสภาพการจ้างและการคุ้มครองลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยกับสภาพการจ้างที่ผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างได้ทำความตกลงกันทำขึ้น มิได้กำหนดระยะเวลาไว้ จึงมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่ที่ตกลงกัน
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้าง แล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้างจึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และเมื่อมีพฤติการณืฟังได้ว่านายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121 (1) อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 40, 41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์