พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุดต่อกองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้เป็นคู่ความ
หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่ศาลได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงว่า หากผิดนัดไม่ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินยอมรับผิดชดใช้เงินตามตั๋วพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีอันเป็นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะทำสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาศาลจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวถึงที่สุดแล้วกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดหนี้ดังกล่าว แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีแพ่งดังกล่าวอันจะต้องถูกผูกพันโดยผลแห่งคำพิพากษาโดยตรงก็ตาม แต่ก็ไม่มีเหตุตามกฎหมายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอ้างประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยไปลดดอกเบี้ยตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วลงเหลืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ขัดแย้งกับราคาที่ผู้ซื้อสำแดง และการอุทธรณ์ภาษีอากร
หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไป กรมศุลกากร ที่ 28/2527 เรื่องระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ที่สรุปได้ว่า การประเมินอะไหล่ยานยนต์ที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้ที่มีแหล่งกำเนิดของสินค้านอกจากโซนเอเซียให้ต่างกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาอะไหล่แท้ ซึ่งกรมศุลกากรจำเลยได้ถือเป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้าของโจทก์เพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น เป็นแนวปฏิบัติเพื่อหาราคาที่เป็นจริงของสินค้าที่นำเข้าว่ามีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดราคาใดเท่านั้นหาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคำสั่งฉบับที่กล่าวถึงทุกกรณีไปไม่ เพราะเป็นคำสั่งที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างและการปฏิบัติเช่นนี้จะประเมินราคาได้ก็ต่อเมื่อไม่มีข้อมูลหรือพฤติการณ์อื่นที่ปรากฏเมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงว่า การซื้อสินค้าชุดลูกสูบรถยนต์มีราคา 24,822.50ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีข้อสนับสนุนเป็นพยานหลักฐานยืนยันได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้า คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตั๋วแลกเงินที่โจทก์ออกให้แก่ธนาคาร โดยเฉพาะใบรับเงินของธนาคารซึ่งเป็นธนาคารผู้เปิดเครดิตของโจทก์ผู้ซื้อสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดยที่ธนาคารเป็นฝ่ายที่สามไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายโดยตรง แต่เข้ามาในฐานะธนาคารเป็นผู้รับประกันว่า จะมีการชำระราคาให้ผู้ขาย ในเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศที่ถือปฏิบัติ ล้วนแต่มีจำนวนราคาสินค้าที่เป็นจำนวนตรงกันทั้งสิ้นจึงเชื่อได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้นั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลการ พ.ศ.2469 มาตรา 2
ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้า เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล อย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ตาม ป.รัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฏิบัติทุกรายการ จะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้ จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากร แม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้า เช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน
ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้า เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล อย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ตาม ป.รัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฏิบัติทุกรายการ จะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้ จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากร แม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้า เช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร: ราคาอันแท้จริง, การโต้แย้ง, และขอบเขตอำนาจฟ้องภาษีอากร
หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไป กรมศุลกากร ที่ 28/2527เรื่อง ระเบียบปฎิบัติ เกี่ยวกับการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ที่สรุปได้ว่า การประเมินอะไหล่ยานยนต์ที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้ที่มีแหล่งกำเนิดของสินค้านอกจากโซนเอเซียให้ต่างกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาอะไหล่แท้ ซึ่งกรมศุลกากรจำเลยได้ถือเป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้าของโจทก์เพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น เป็นแนวปฎิบัติ เพื่อหาราคาที่เป็นจริงของสินค้าที่ นำเข้าว่ามีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดราคาใดเท่านั้นหาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคำสั่งฉบับที่กล่าวถึงทุกกรณีไปไม่ เพราะเป็นคำสั่งที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างและการปฎิบัติ เช่นนี้จะประเมินราคาได้ก็ต่อเมื่อไม่มีข้อมูลหรือพฤติการณ์อื่นที่ปรากฎเมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงว่า การซื้อสินค้าชุดลูกสูบรถยนต์มีราคา 24,822.50 ดอลลาร์ สหรัฐ โดยมีข้อสนับสนุนเป็นพยานหลักฐานยืนยันได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับสินค้าล่วงหน้า คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตั๋วแลกเงินที่โจทก์ออกให้แก่ธนาคาร โดยเฉพาะใบรับเงินของธนาคารซึ่งเป็นธนาคารผู้เปิดเครดิตของโจทก์ผู้ซื้อสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดยที่ธนาคารเป็นฝ่ายที่สามไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายโดยตรง แต่เข้ามาในฐานะธนาคารเป็นผู้รับประกันว่า จะมีการชำระราคาให้ผู้ขาย ในเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศที่ถือปฎิบัติล้วนแต่มีจำนวนราคาสินค้าที่เป็นจำนวนตรงกันทั้งสิ้น จึงเชื่อ ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้นั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลอย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลกฎหมายรัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฎิบัติ ทุกรายการจะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆเพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลกฎหมายรัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากรแม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้าเช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2200/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคืนภาษีอากรเมื่อผู้รับสินค้าไม่ใช่ผู้สั่งซื้อ และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้า ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคห้านั้น ใช้กับผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษี และได้ชำระเงินค่าภาษีเกินไปจากที่ต้องเสียจริงกรณีของจำเลยที่ 1 เป็นการสั่งซื้อและนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผู้ขายส่งสินค้ามาให้โดยสับสนผิดพลาด จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้สั่งซื้อและนำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ต้องรับผิดเสียอากรกรณีไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกเงินคืนได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2200/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคืนเงินภาษีอากร กรณีผู้รับของผิดพลาด ไม่ใช่ผู้สั่งซื้อหรือนำเข้า
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า บัญญัติว่า"สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้า ฯลฯ" บทบัญญัติดังกล่าวใช้กับผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีและได้ชำระเงินค่าภาษีเกินไปจากที่ต้องเสียจริง อาจเรียกเงินอากรคืนได้ภายใน2 ปี นับแต่วันที่นำของเข้า แต่กรณีของจำเลยที่ 1 เป็นการสั่งซื้อและนำของเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผู้ขายส่งสินค้าพิพาทมาให้โดยสับสนผิดพลาด จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้สั่งซื้อและนำของพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 ไม่ต้องมีหน้าที่รับผิดเสียอากรแก่โจทก์ที่ 1 กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ฟ้องแย้งเรียกคืนเงินค่าภาษีอากรของจำเลยทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 1มีสิทธิเรียกเอาเงินดังกล่าวคืนได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้นำของพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรและไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์ทั้งสอง แม้ของพิพาทเป็นสินค้าบางส่วนที่ตรงกับที่จำเลยทั้งสองประสงค์จะสั่งซื้อและนำเข้าก็ตาม โจทก์ต้องคืนเงินค่าภาษีอากรทั้งหมดแก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจนำมาใช้เป็นผลร้ายต่อลูกหนี้
ข้อเท็จจริงที่ว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดในคดีนี้แล้ว มีเจ้าหนี้อื่นอีกสองรายได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยนั้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่เกิดจากทางนำสืบของคู่ความก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจใช้เป็นเหตุผลร้ายต่อจำเลยได้
ข้อเท็จจริงที่ว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ทั้งสองเด็ดขาดในคดีนี้แล้ว มีเจ้าหนี้อื่นอีกสองรายได้ยื่นขอรับ ชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยนั้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่ เกิดจากทางนำสืบของคู่ความก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความพยาน, เช็คไม่มีวันที่, และขอบเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
การเป็นพยานในศาลจะต้องสาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อนเบิกความ และในการเบิกความศาลมีอำนาจที่จะซักถามพยานและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถามค้านพยานได้ แม้พยานจะพูดภาษาไทยไม่ได้ก็สามารถใช้ล่ามแปลได้ การที่ตัวโจทก์เป็นชาวจีนฮ่องกงก็ไม่เป็นข้อขัดข้องที่จะมาเป็นพยาน ดังนั้นการที่ตัวโจทก์ไม่มาเป็นพยานในศาลจึงทำให้พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักน้อยและเป็นข้อพิรุธ
จำเลยที่ 2 ออกเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย ย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด แม้ต่อมาจะมีการประทับตรายางวันที่ตามข้อตกลงอันมีต่อกันระหว่างคู่กรณีก็ตาม ก็มีผลเพียงให้เช็คพิพาทนั้นสมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 แม้จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกา จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาด้วยก็ตาม แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยที่ 2 ออกเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย ย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด แม้ต่อมาจะมีการประทับตรายางวันที่ตามข้อตกลงอันมีต่อกันระหว่างคู่กรณีก็ตาม ก็มีผลเพียงให้เช็คพิพาทนั้นสมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 แม้จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกา จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาด้วยก็ตาม แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีวันที่ออก: ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค, ศาลรับฟังพยานหลักฐานฝ่ายจำเลย
การเป็นพยานในศาลจะต้องสาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่า จะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อนเบิกความ และในการเบิกความศาล มีอำนาจที่จะซักถามพยานและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถาม ค้านพยานได้ แม้พยานจะพูดภาษาไทยไม่ได้ก็สามารถใช้ล่ามแปลได้ การที่ตัวโจทก์เป็นชาวจีนฮ่องกง ก็ไม่เป็นข้อขัดข้อง ที่จะมาเป็นพยาน ดังนั้นการที่ตัวโจทก์ไม่มาเป็นพยานในศาล จึงทำให้พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักน้อยและเป็นข้อพิรุธ จำเลยที่ 2 ออกเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย ย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด แม้ต่อมาจะมีการประทับตรายางวันที่ตามข้อตกลงอันมีต่อกันระหว่างคู่กรณี ก็ตาม ก็มีผลเพียงให้เช็คพิพาทนั้นสมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ในทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 แม้จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกา จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาด้วยก็ตาม แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม, และความชัดเจนของคำฟ้องในคดีแพ่ง
แม้โจทก์ได้ยื่นเอกสารต่อศาลชั้นต้นโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้อันเป็นการมิชอบด้วยกระบวนพิจารณาความก็ตาม แต่ต่อมาโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอ้างเอกสารดังกล่าวก่อนที่จะสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จ โจทก์จึงมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสอง กฎหมายหาได้ห้ามการยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารที่ส่งต่อศาลก่อนแล้วแต่อย่างใดไม่ โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอเพิ่มเติมเป็นการอธิบายว่า โจทก์ได้พิมพ์ตัวเลข พ.ศ. ที่จำเลยที่ 1 ขอกู้เพิ่มเติมในสัญญาผิดไปเป็นการบรรยายฟ้องให้ชัดขึ้นเท่านั้นจึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมเมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและโจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานโจทก์จึงมีสิทธิขอแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 แม้จะเป็นข้อที่จำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อสู้ไว้เป็นประเด็นสำคัญก็ตาม โจทก์ได้แก้ไขคำฟ้องแล้วว่าโจทก์พิมพ์ พ.ศ. ในสัญญากู้เพิ่มเติมผิดไปเป็นการอธิบายถึงที่มาของปีที่มีการทำสัญญากู้เพิ่มเติมว่าพิมพ์ พ.ศ. ผิด จึงเป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งไม่เคลือบคลุม