พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายในการประเมินภาษีนิติบุคคลตามอัตราที่กำหนดใน พร.ก. แม้ใช้กับบุคคลธรรมดา แต่ต้องใช้กับนิติบุคคลด้วย
แม้พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502จะใช้บังคับแก่กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยนำพระราชกฤษฎีกา ฉบับดังกล่าวมาใช้เป็นเกณฑ์หักค่าใช้จ่ายเพื่อประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยก็ต้องหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้แก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากธุรกิจขนส่ง ต้องใช้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้เป็นกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502มาตรา 8 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ประเภทการขนส่งหรือรับจ้างด้วยยานพาหนะให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 80โจทก์เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แม้ พระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ใช้บังคับแก่กรณีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่เมื่อจำเลยนำมาใช้เป็นเกณฑ์หักค่าใช้จ่ายเพื่อประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ต้องหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 80 จะหักเป็นการเหมาร้อยละ 70 โดยอ้างมติ กพอ. ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ยังขอรับชำระได้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ร่วม
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น หาได้-หมายความว่าหนี้ดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ระงับแล้วไม่ เมื่อหนี้ดอกเบี้ยภายหลังนั้นยังมีอยู่ ลูกหนี้ไม่ว่าจะในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยหรือในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมก็ยังต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าว ลูกหนี้หาอาจยกข้อต่อสู้ตามบทบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งปวงและแก่ลูกหนี้ในคดีล้มละลายนั้นโดยเฉพาะขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีนี้หาได้ไม่ เพราะมิฉะนั้นหากเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยภายในกำหนดเวลา2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาด ทำให้เจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลย ก็จะทำให้เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามเหตุผลเดียวกันได้ แต่กรณีหาเป็นเช่นนั้นไม่ กล่าวคือหากเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยภายในกำหนด ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไว้เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชอบดอกเบี้ยค้างชำระ แม้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยก่อน แม้มีข้อจำกัดตาม พรบ.ล้มละลาย
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น หาได้หมายความว่าหนี้ดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ระงับแล้วไม่ เมื่อหนี้ดอกเบี้ยภายหลังนั้นยังมีอยู่ลูกหนี้ไม่ว่าจะในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยหรือในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมก็ยังต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวลูกหนี้หาอาจยกข้อต่อสู้ตามบทบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งปวงและแก่ลูกหนี้ในคดีล้มละลายนั้นโดยเฉพาะขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีนี้หาได้ไม่เพราะมิฉะนั้นหากเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาด ทำให้เจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลย ก็จะทำให้เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามเหตุผลเดียวกันได้ แต่กรณีหาเป็นเช่นนั้นไม่ กล่าวคือหากเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยภายในกำหนด ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไว้เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินบุคคลภายนอกต้องมีคำสั่งศาลก่อน เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 311
การอายัดให้บุคคลภายนอกชำระเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 เสียก่อน กล่าวคือ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดให้ เมื่อเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินให้โดยมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าวดังนั้น เมื่อบุคคลภายนอกไม่ยอมชำระเงินตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขอให้ศาลออกหมายอายัดให้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ขอให้ออกหมายอายัด ศาลจึงไม่อนุญาตให้ออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินบุคคลภายนอกต้องมีคำสั่งศาลก่อน เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่อำนาจออกคำสั่งอายัดเอง
การอายัดให้บุคคลภายนอกชำระเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311เสียก่อน กล่าวคือ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดให้ เมื่อเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินให้โดยมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น เมื่อบุคคลภายนอกไม่ยอมชำระเงินตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขอให้ศาลออกหมายอายัดให้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ขอให้ออกหมายอายัด ศาลจึงไม่อนุญาตให้ออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินจากบุคคลภายนอกต้องมีคำสั่งศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้อำนาจสั่งอายัดเองไม่ได้
การอายัดให้บุคคลภายนอกชำระเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 เสียก่อน คดีนี้เจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินให้โดยมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอายัด ดังนั้นเมื่อบริษัทช. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ยอมชำระเงินตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องขอให้ศาลออกหมายอายัดให้จึงจะชอบ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ดำเนินการให้ศาลออกหมายอายัดดังกล่าว และจำเลยได้รับเงินจากบริษัท ช. ไปแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงจะรายงานศาลให้ออกหมายบังคับคดีแก่บริษัท ช. หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนพิเศษจากรถยนต์ใช้ในการประกอบการค้า ถือเป็นเงินได้พึงประเมินและรายรับเพื่อเสียภาษี
โจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โดยรับฝากขายสินค้าผงชูรสและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ต่าง ๆจากการผลิตผงชูรสให้แก่บริษัท อ.โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน ซึ่งเรียกว่า"ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น" หรือ คอนซายน์เมนท์ฟี (consignmentfee) เป็นรายเดือนตามอัตราแน่นอนที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่คำนึงถึงยอดขายสินค้าว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นกรณีพิเศษแตกต่างไปจากการเป็นตัวแทนนายหน้าตามธรรมดา และการที่โจทก์รับสินค้าฝากขายดังกล่าวนี้โจทก์ได้รับเปอร์เซ็นต์การขายเป็นค่าตอบแทน แสดงว่า ตามปกติธรรมดาค่าตอบแทนย่อมคิดตามผลของงาน กล่าวคือ ค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่จำหน่ายไป ถ้าจำหน่ายได้มากค่าตอบแทนย่อมสูงขึ้น แต่หากโจทก์จำหน่ายสินค้าที่รับฝากจากบริษัท อ.มากขึ้นไม่ว่าจำนวนเท่าใด โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนมากขึ้น ซึ่งเหตุที่มีการกำหนดค่าตอบแทนแน่นอนตายตัวก็เนื่องจากบริษัท อ.ได้มอบรถยนต์ของตนจำนวน 60 - 70 คันต่อเดือนให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้าโดยไม่เสียค่าตอบแทนนั่นเอง อันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า หากบริษัท อ.ไม่ได้ให้รถยนต์โจทก์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนแล้ว โจทก์จะต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะในการประกอบกิจการ และย่อมเป็นการแน่นอนว่าการกำหนดค่าบริการหรือค่าตอบแทนอันเป็นรายรับหรือเงินได้ของโจทก์จะต้องสูงขึ้น เพราะต้องคิดคำนวณต้นทุนในเรื่องยานพาหนะเพิ่มขึ้นและคงไม่กำหนดค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอนตายตัวเช่นนี้ ดังนั้นการที่บริษัท อ.ได้ให้โจทก์ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนนั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่บริษัท อ.ให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากค่าตอบแทนที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินตายตัวตามสัญญา ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามป.รัษฎากร มาตรา 39และเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่โจทก์กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งจะต้องนำมาคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65แห่ง ป.รัษฎากร
สำหรับภาษีการค้า แม้ผลประโยชน์เนื่องจากการประกอบการค้าที่เป็นรายรับจากการประกอบกิจการประเภทนายหน้าและตัวแทนหรือรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 10 คือ ค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ตามค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดเป็นตัวเงินนั้นเป็นผลประโยชน์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่า หากโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือนายหน้ารับจัดธุรกิจฝากขายสินค้าให้ตัวการไม่ได้รถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนจากตัวการแล้ว ค่าตอบแทนหรือค่าบริการจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้ หรือสูงกว่ากรณีที่ได้รับรถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนทำให้ผลประโยชน์ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินต่ำลง แทนที่จะสูงขึ้นหากโจทก์ใช้รถยนต์ที่ตนเองหามา ประโยชน์จากการที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้า ถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ซึ่งจะเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่ง ป.รัษฎากร
สำหรับภาษีการค้า แม้ผลประโยชน์เนื่องจากการประกอบการค้าที่เป็นรายรับจากการประกอบกิจการประเภทนายหน้าและตัวแทนหรือรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 10 คือ ค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ตามค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดเป็นตัวเงินนั้นเป็นผลประโยชน์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่า หากโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือนายหน้ารับจัดธุรกิจฝากขายสินค้าให้ตัวการไม่ได้รถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนจากตัวการแล้ว ค่าตอบแทนหรือค่าบริการจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้ หรือสูงกว่ากรณีที่ได้รับรถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนทำให้ผลประโยชน์ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินต่ำลง แทนที่จะสูงขึ้นหากโจทก์ใช้รถยนต์ที่ตนเองหามา ประโยชน์จากการที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้า ถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ซึ่งจะเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของบริษัทในการประกอบธุรกิจ ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี
โจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โดยรับฝากขายสินค้าผงชูรสและผงชูรสและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ต่าง ๆ จากการผลิตผงชูรสให้แก่บริษัท อ. โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน ซึ่งเรียกว่า"ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น" หรือคอนซายน์เมนท์พี (consignmentfee) เป็นรายเดือนตามอัตราแน่นอนที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่คำนึงถึงยอดขายสินค้าว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นกรณีพิเศษแตกต่างไปจากการเป็นตัวแทนนายหน้าตามธรรมดา และการที่โจทก์ รับสินค้าฝากขายดังกล่าวนี้โจทก์ได้รับเปอร์เซนต์ การขาย เป็นค่าตอบแทน แสดงว่า ตามปกติธรรมดาค่าตอบแทนย่อมคิดตามผลของงาน กล่าวคือ ค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่จำหน่ายไป ถ้าจำหน่ายได้มากค่าตอบแทนย่อมสูงขึ้นแต่หากโจทก์จำหน่ายสินค้าที่รับฝากจากบริษัท อ. มาก ขึ้นไม่ว่าจำนวนเท่าใด โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนมากขึ้นซึ่งเหตุที่มีการกำหนดค่าตอบแทนแน่นอนตายตัวก็เนื่องจากบริษัทอ. ได้มอบรถยนต์ของตนจำนวน 60-70 คันต่อเดือนให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้า โดย ไม่เสียค่าตอบแทนนั่นเอง อันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า หากบริษัท อ. ไม่ได้ให้รถยนต์โจทก์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนแล้ว โจทก์จะต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะในการประกอบกิจการ และ ย่อมเป็นการแน่นอนว่าการกำหนดค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอันเป็นรายรับหรือเงินได้ของโจทก์ จะต้องสูงขึ้น เพราะต้องคิดคำนวณต้นทุนในเรื่องยานพาหนะ เพิ่มขึ้นและคงไม่กำหนดค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอนตายตัว เช่นนี้ ดังนั้นการที่บริษัท อ. ได้ให้โจทก์ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนนั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทน หรือค่าบริการที่บริษัท อ. ให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากค่าตอบแทนที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินตายตัวตามสัญญา ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้ เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 และเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่โจทก์กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งจะต้องนำมาคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีการค้า แม้ผลประโยชน์เนื่องจากการประกอบการค้าที่เป็นรายรับจากการประกอบกิจการประเภทนายหน้าและตัวแทนหรือรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 10 คือ ค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ตาม ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดเป็นตัวเงินนั้นเป็นประโยชน์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่าหากโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือนายหน้ารับจัดธุรกิจฝากขายสินค้าให้ตัวการไม่ได้รถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนจากตัวการแล้วค่าตอบแทนหรือค่าบริการจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้ หรือสูงกว่ากรณีที่ได้รับรถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทน ดั้งนั้น การที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนทำให้ผลประโยชน์ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินต่ำลง แทนที่จะสูงขึ้นหากโจทก์ใช้รถยนต์ที่ตนเองหามา ประโยชน์จากการที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์ โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้าถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ซึ่งจะเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของบริษัทถือเป็นเงินได้พึงประเมินและรายรับที่ต้องเสียภาษี
โจทก์รับฝากขายสินค้าผงชูรสและผลิตภัณฑ์พลอยได้จากผงชูรสให้แก่บริษัท อ. โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินที่เรียกว่า"ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น" หรือ "คอนซายน์เมนท์ฟี"เป็นรายเดือนตามอัตราแน่นอนที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่คำนึงถึงยอดขายสินค้าว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด เหตุที่มีการกำหนดค่าตอบแทนแน่นอนตายตัวก็เนื่องจากบริษัท อ. ได้มอบรถยนต์ของตนจำนวน60-70 คัน ต่อเดือนให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้าโดยไม่เสียค่าตอบแทน ซึ่งหากบริษัท อ. ไม่ได้ให้รถยนต์โจทก์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนแล้ว โจทก์จะต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะในการประกอบกิจการและย่อมเป็นการแน่นอนว่าการกำหนดค่าบริการหรือค่าตอบแทนอันเป็นรายรับหรือเงินได้ของโจทก์จะต้องสูงขึ้นเพราะต้องคิดคำนวณต้นทุนในเรื่องยานพาหนะเพิ่มขึ้นและคงไม่กำหนดค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอนตายตัว การที่บริษัท อ. ได้ให้โจทก์ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่บริษัท อ. ให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากค่าตอบแทนที่กำหนดไว้เป็นจำนวนตายตัวในสัญญา ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่โจทก์กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งจะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ทั้งเป็นประโยชน์อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้าอันถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ที่จะต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 ด้วย