คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพ็ง เพ็งนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองไม่ติดตั้งป้ายแสดง รายการในที่ดินที่ทำการปลูกสร้าง มิได้ฟ้องว่าติดตั้งป้ายไม่ถูกต้อง จึงไม่มีเหตุและความจำเป็นที่จะต้องบรรยายขนาดความกว้างยาวของป้ายและรายการตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 100 ฟ้องโจทก์เพียงบรรยายว่าจำเลยทั้งสองไม่ติดตั้งป้ายในที่ดินที่ทำการปลูกสร้างก็ครบองค์ประกอบแห่งความผิดและทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม อาคารที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างติดกับซอยซึ่งเป็นทางสาธารณะมีผิวจราจรกว้าง 7 เมตร ต่อจากผิวจราจรเป็นทางเท้าด้านหน้าอาคารกว้าง 2 เมตร รวมเป็น 9 เมตรเสาอาคารที่ก่อสร้างด้านหน้าอยู่ห่างจากขอบถนนเพียง 2 เมตรเมื่อตามแบบแปลนแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตกำหนดระยะที่ตั้งของอาคารห่างจากขอบถนน 3.15 เมตร อาคารที่ก่อสร้างจึงมีระยะที่ตั้งถึงขอบเขตที่สาธารณะผิดไปจากแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตถึงร้อยละ 36.50 เกินกว่าข้อยกเว้นที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 12(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 1 จึงเป็นการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาต กฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 1(3) เป็น เรื่องการดัดแปลงอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิมจะนำมาใช้กับการก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ไม่ได้ ตามแบบแปลนแผนผังบริเวณอาคารตึกแถวแต่ละห้องที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างมีความกว้างห้องละ 4.50 เมตรเมื่อจำเลยทั้งสองก่อสร้างทางด้านหลังห้องหนึ่ง ๆ ยื่นออกไปอีก 0.90 เมตร ทำให้ห้องมีความกว้างเป็น 5.40 เมตรความกว้างของแต่ละห้องที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละยี่สิบเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละห้า จำเลยจึงไม่ได้รับยกเว้นให้ทำได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 12(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 2 จำเลยได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารซึ่งจะต้องเว้นที่ว่างด้านหลังอาคารโดยปราศจากสิ่งปกคลุม .05 ถึง 2.85 เมตรจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ แต่จำเลยทำการก่อสร้างอาคารโดยเว้นที่ว่างหลังอาคารเพียง 1.50 ถึง 2 เมตรและก่อสร้างด้านหลังอาคารออกไปปกคลุมตั้งแต่ชั้นสองขึ้นไปตลอดแนวอาคาร จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จะนำข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 75 วรรคหนึ่งมาใช้บังคับไม่ได้เพราะข้อบัญญัติดังกล่าวใช้ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างชิดเขตที่ดินต่างผู้ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีศุลกากรตามราคาขายส่งเงินสด และอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการปรับราคา
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสองและ 10 ทวิวรรคแรก ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับสินค้าที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำเข้าสำเร็จ และการคำนวณภาษีต้องถือตามสภาพของราคาของและพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทย ส่วนราคาสินค้าที่จะคำนวณภาษีก็ต้องถือตามราคาขายส่งเงินสด โดยไม่รวมค่าอากร ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้า โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะซื้อสินค้าเหล่านั้นมาตามราคาที่แจ้งในใบกำกับสินค้าก็ตาม จำเลยทั้งสองก็รับว่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองซื้อมานั้น ผู้ขายลดราคาเพื่อให้หมดไปจากสต๊อกของผู้ขายซึ่งแสดงว่าราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสองซื้อมามิใช่ราคาตามปกติ ย่อมจะถือเป็นราคาสินค้าที่นำเข้าเพื่อคำนวณภาษีหาได้ไม่ เพราะมิใช่ราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายณ เวลาและที่ที่นำของเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา นอกจากนี้สินค้าบางส่วนมีเครื่องหมายการค้าไม่ตรงกับที่จำเลยทั้งสองสำแดงไว้ในใบกำกับสินค้า เมื่อราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่ำไป เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้ ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ประเมินราคาใหม่ โดยเปรียบเทียบกับบัญชีราคาสินค้าที่ตัวแทนจำหน่ายสินค้าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยนำเข้าแจ้งราคาไว้ต่อกรมศุลกากรเมื่อปี 2523 แม้จะเป็นราคาก่อนเวลาที่จำเลยทั้งสองนำเข้า แต่เป็นบัญชีราคาสินค้าที่มีผลใช้ได้จนถึงขณะที่จำเลยทั้งสองนำสินค้าเข้าดังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นราคา ณ เวลาที่นำของเข้า ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินก็ถือเป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะจำเลยทั้งสอง การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1จึงเป็นการปฏิบัติโดยมีหลักเกณฑ์ภายในขอบอำนาจถูกต้องตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหลังการสมรส และผลกระทบต่อสิทธิในการอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดในคดีล้มละลายของคู่สมรส
การยื่นคำร้องต่อศาลคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ไม่ใช่เป็นการร้องต่อศาลเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งไม่ให้ถอนยึดทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯมาตรา 158 แต่เป็นกรณีที่ร้องต่อศาลตามมาตรา 146 ว่า คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ถอนการยึดไม่ชอบ ขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์ต่อไป เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 เดิม ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปล่อยทรัพย์ที่ยึดจำนวน 20 รายการ เป็นเครื่องปรับอากาศและเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งผู้ร้องนำมาติดตั้งและประดับบ้านของผู้ร้อง และผู้ร้องได้ให้จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยกับใช้สอยทรัพย์ 20 รายการนั้น โดยมิได้ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทั้งสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่บุตรสาวโดยมิได้แยกทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการมาเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยเฉพาะจึงฟังว่า ผู้ร้องได้ยกกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการให้บุตรสาวไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ยึดทั้ง20 รายการ ไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปล่อยทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการ นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าประเภทใดจัดอยู่ในพิกัด 85.15 ก. หรือ 92.13 พิจารณาจากระบบการทำงานและคุณสมบัติของสินค้า
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรท้ายพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ข้อที่ 5 กำหนดว่า ของซึ่งไม่อาจจัดเข้าประเภทใดในพิกัดอัตราศุลกากรนี้ได้ ก็ให้จัดเข้าในประเภทเดียวกับของซึ่งใกล้เคียงกับของชนิดนั้นมากที่สุด ดังนั้น การตีความจำต้องพิเคราะห์ถึงระบบการทำงานของสินค้าชนิดนั้น รวมทั้งคุณสมบัติอื่น ๆ ประกอบกัน สินค้ารายพิพาทคือหัวเทปบันทึกภาพโทรทัศน์เป็นชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ของเครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ที่ใช้กับเครื่องส่งโทรทัศน์เฉพาะในสถานีส่งโทรทัศน์ สามารถส่งสัญญาณเข้าเครื่องส่งโทรทัศน์และแพร่ภาพออกไปได้ มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกล้องถ่ายโทรทัศน์ จึงเป็นสินค้าตามพิกัดประเภทที่ 85.15 ก.ส่วนสินค้าตามพิกัดอากรขาเข้าประเภทที่ 92.13 คือ ส่วนประกอบและสิ่งอุปกรณ์อย่างอื่นของหีบเสียง เครื่องสั่งงานเครื่องบันทึกเสียงหรือเครื่องเปล่งเสียง จึงเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับเสียงแต่เพียงอย่างเดียว จะนำไปใช้เกี่ยวกับภาพไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุเวลาเริ่มละเมิด รายละเอียดเนื้อที่ถือเป็นเรื่องสืบพยาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นเนื้อที่ 37.14 ตารางวา ตามแผนที่หมายเลข 39เอกสารท้ายฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอม โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกไปแล้วแต่ก็เพิกเฉยเป็นการอยู่โดยละเมิดขอให้จำเลยรื้อถอนออกไปแม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทโดยละเมิดตั้งแต่เมื่อใดก็เข้าใจได้ว่าเป็นการอยู่โดยละเมิดตั้งแต่ก่อนฟ้องแล้วส่วนจำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทโดยละเมิดมีความกว้างยาวเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่คู่ความจะต้องนำสืบ คำฟ้องได้กล่าวโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้า 'MITA' บนผงหมึก: ไม่เข้าข่ายละเมิด หากไม่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์
การที่จำเลยที่ 1 พนักงานบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 3เป็นกรรมการผู้จัดการได้นำสินค้าผงหมึกพิพาทไปเสนอจำหน่ายต่อทางราชการ โดยระบุในใบเสนอราคาว่า เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITAรุ่น DC - 313 Z เป็นการเสนอราคาสินค้าตรงตามความประสงค์ของทางราชการซึ่งมิได้ระบุว่าต้องการผงหมึกเฉพาะที่มีเครื่องหมายการค้า MITA เท่านั้น กล่องสินค้าของจำเลยทั้งสามมีข้อความระบุชัดว่าเป็นสินค้าผงหมึก (TONER)ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA (FOR USE IN MITA) รุ่น DC - 211 RE313 Z และ 313 ZD แม้ที่กล่องสินค้าดังกล่าวจะมีคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าเครื่องถ่าย-เอกสาร แต่จำเลยทั้งสามก็มิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า กล่าวคือมิได้ระบุว่าผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุไว้ และจำเลย-ทั้งสามมิได้เขียนคำว่า "MITA" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า "mita" เช่นเดียวกับของโจทก์ร่วม แต่เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า "MITA" และคำว่า "TONER" ซึ่งหมายถึงผงหมึก ที่กล่องสินค้าของจำเลยที่สามก็เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันรวมทั้งคำว่า "FOR USE IN" ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจนประกอบกับที่กล่องสินค้าดังกล่าวปรากฎป้ายชื่อบริษัทและที่อยู่ของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ร่วมที่กล่องสินค้าดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนกล่องสินค้าของโจทก์ร่วมปรากฎว่า คำว่า "TONER" เขียนตัวอักษร "T" ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เพียงตัวเดียวตัวอักษรนอกนั้นเป็นตัวพิมพ์เล็ก โดยเขียนว่า "Toner" มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"mita" เขียนเรียงกันตามแนวนอน 6 แถว แถวละ 8 คำ และมีชื่อบริษัทโจทก์ร่วมอยู่ด้วย แต่ไม่มีคำว่า"FOR USE IN" กล่องสินค้าผงหมึกของจำเลยทั้งสามกับของโจทก์ร่วมจึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง การที่จำเลยทั้งสามนำคำว่า "MITA"ซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้ระบุที่หีบห่อบรรจุสินค้าของจำเลยทั้งสามในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสามเสนอจำหน่ายแก่ทางราชการ กับราคาสินค้าของโจทก์ร่วมก็แตกต่างกันมาก จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้เสนอจำหน่ายสินค้าซึ่งมีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหรือทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วย มาตรา 272 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้า 'MITA' บนสินค้าผงหมึก ไม่เข้าข่ายทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์
แม้ที่กล่องสินค้าของจำเลยทั้งสามจะมีคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าเครื่องถ่ายเอกสาร แต่เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า และมิได้เขียนคำว่า "MITA"ในลักษณะเดียวกับของโจทก์ร่วม ประกอบกับที่กล่องสินค้าของจำเลยทั้งสามปรากฏป้ายชื่อบริษัทและที่อยู่ของจำเลยที่ 2 มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ร่วม ทั้งเมื่อกล่องสินค้าของจำเลยทั้งสามกับของโจทก์ร่วมแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง และราคาสินค้าของจำเลยทั้งสามและของโจทก์ร่วมยังแตกต่างกันมาก จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้เสนอจำหน่ายสินค้าซึ่งมีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 272(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อการค้า 'MITA' บนผลิตภัณฑ์ผงหมึก ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 เนื่องจากไม่มีเจตนาทำให้เข้าใจผิด
การที่จำเลยที่ 1 พนักงานบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้จัดการได้นำสินค้าผงหมึกพิพาทไปเสนอจำหน่าย ต่อทางราชการ โดยระบุในใบเสนอราคาว่า เป็นอุปกรณ์สำหรับ ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA รุ่น DC-313Z เป็นการเสนอราคา สินค้าตรงตามความประสงค์ของทางราชการซึ่งมิได้ระบุว่าต้องการ ผงหมึกเฉพาะที่มีเครื่องหมายการค้า MITA เท่านั้น กล่องสินค้า ของจำเลยทั้งสามมีข้อความระบุชัดว่าเป็นสินค้าผงหมึก (TONER) ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA(FORUSEINMITA) รุ่น DC-211 RE313Z และ 313Z แม้ที่กล่องสินค้าดังกล่าว จะมีคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าเครื่องถ่ายเอกสาร แต่จำเลยทั้งสามก็มิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า กล่าวคือ มิได้ระบุว่าผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่มี เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมผงหมึกของจำเลยทั้งสาม เป็นผงหมึกที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุไว้ และจำเลยทั้งสาม มิได้เขียนคำว่า "MITA" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า "mita" เช่นเดียวกับของโจทก์ร่วม แต่เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า "MITA" และคำว่า "TONER" ซึ่งหมายถึงผงหมึก ที่กล่องสินค้าของจำเลย ทั้ง สามก็เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันรวมทั้งคำว่า "FORUSEIN" ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจนประกอบกับที่ กล่องสินค้าดังกล่าวปรากฏป้ายชื่อบริษัทและที่อยู่ของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ร่วมที่กล่องสินค้าดังกล่าวแต่ อย่างใด ส่วนกลางสินค้าของโจทก์ร่วมปรากฏว่า คำว่า "TONER" เขียนตัวอักษร "T" ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เพียงตัวเดียวตัวอักษรนอกนั้น เป็นตัวพิมพ์เล็ก โดยเขียนว่า "TONER" มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "mita" เขียนเรียงกันตามแนวนอน 6 แถว แถวละ 8 คำ และมีชื่อ บริษัทโจทก์ร่วมอยู่ด้วย แต่ไม่มีคำว่า "FORUSEIN" กล่องสินค้า ผงหมึกของจำเลยทั้งสามกับของโจทก์ร่วมจึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง การที่จำเลยทั้งสามนำคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้ระบุที่หีบห่อบรรจุสินค้า ของจำเลยทั้งสามในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับราคาสินค้าที่จำเลย ทั้งสาม เสนอ จำหน่ายแก่ทางราชการ กับราคาสินค้าของโจทก์ร่วม ก็แตกต่างกันมาก จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้เสนอจำหน่าย สินค้าซึ่งมีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม เพื่อให้ประชาชนหรือทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วย มาตรา 272(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนความผิดฐานมีไม้แปรรูปโดยการขนส่ง แม้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการครอบครองไม้โดยตรง
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันรับจ้างขนไม้สักแปรรูปของกลางบรรทุกรถยนต์ให้แก่ผู้ว่าจ้างนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ทำการแปรรูปไม้และมีไม้ที่ยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครอง แต่เป็นการกระทำความผิดฐานทำไม้โดยการนำไม้ออกจากป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และแม้ไม้สักแปรรูปของกลางจะอยู่ในความครอบครองของผู้ว่าจ้างโดยจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองเลยก็ตาม ก็เป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้ว่าจ้างแล้ว จำเลยทั้งสามจึงเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย: การสุจริตของบุคคลภายนอกเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยเห็นว่า ตามคำฟ้องและคำให้การข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยาน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ที่ดินและตึกพิพาทเป็นสินสมรสของบิดามารดาโจทก์บิดาโจทก์ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินและตึกพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่จำเลยเป็นเลขานุการและเป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์ และมีผู้ปลอมลายมือชื่อของมารดาโจทก์ลงในหนังสือให้ความยินยอม นิติกรรมการซื้อขายจึงไม่สมบูรณ์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่าได้รับโอนมาไม่สุจริต ที่บรรยายว่าจำเลยเป็นเลขานุการและภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์นั้น หาใช่ว่าจำเลยจะได้กระทำโดยไม่สุจริตไม่ และที่บรรยายว่าลายมือชื่อของมารดาโจทก์ปลอมนั้นก็มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมหรือร่วมรู้เห็นในการปลอมด้วย ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินและตึกพิพาทมาโดยสุจริต ตามคำฟ้องและคำให้การจึงฟังเป็นยุติได้แล้วว่าขณะที่ทำนิติกรรมการซื้อขายนั้นจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไป
of 54