พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีที่ราคาต่ำกว่าราคาประเมิน และอำนาจฎีกาของผู้ไม่มีส่วนได้เสีย
การที่โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดีนี้หลังจากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ไปแล้ว โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดี แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุที่ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง หากการบังคับคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดกลับให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีก็ตาม ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดที่ได้ดำเนินการโดยชอบแล้วเสียไป สำหรับกรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีที่มีคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 295(3) นั้น หมายถึงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีที่จะดำเนินการต่อไป มิได้หมายความว่าการบังคับคดีที่ผ่านไปแล้วกลายเป็นการบังคับคดีที่มิชอบแต่อย่างใดไม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินพิพาทไว้ 291,000 บาทตรงกับราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดิน และประเมินราคาสิ่งปลูกสร้าง17,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ไปเพียง 125,000 บาท ต่ำกว่าราคาประเมินกว่าสองเท่าตัว แม้จะมีการประกาศขายถึง 5 ครั้ง แต่เป็นการเลื่อนการขายเพราะไม่มีผู้นำขายถึง 2 ครั้ง อีก 3 ครั้งเลื่อนเพราะมีผู้เสนอราคาต่ำ เห็นได้ว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอไปนั้นเป็นราคาที่ต่ำเกินไป หากเลื่อนการขายออกไปอาจมีผู้เสนอราคาสูงกว่านั้นได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีน่าจะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 แล้วประกาศขายทอดตลาดใหม่การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของการขายทอดตลาด เป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาด: การยกเลิกเนื่องจากราคาต่ำกว่าประเมิน และอำนาจในการคัดค้านหลังคำพิพากษาถึงที่สุด
ขณะที่คดีขอให้ศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดใหม่อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาได้พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์จึงมีคำพิพากษาในเรื่องบังคับคดีโดยให้ยกเลิกการขายทอดตลาดโจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดีหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ไปแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป ทั้งโจทก์มิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงไม่มีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องการบังคับคดีต่อไป เหตุที่ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง หากการบังคับคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดกลับให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีก็ตาม ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดที่ได้ดำเนินการโดยชอบแล้วเสียไป กรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีที่มีคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(3) นั้นหมายถึงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีที่จะดำเนินการต่อไปมิได้หมายความว่าการบังคับคดีที่ผ่านไปแล้ว กลายเป็นการบังคับคดีที่มิชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินกว่าสองเท่าตัว แม้จะมีการประกาศขายถึง 5 ครั้งแต่เป็นการเลื่อนการขายเพราะไม่มีผู้นำขายถึง 2 ครั้ง อีก 3 ครั้งเลื่อนเพราะมีผู้เสนอราคาต่ำ การขายในครั้งนี้แม้จะเป็นการขายครั้งที่ 4 ที่มีผู้เสนอราคา แต่ก็เห็นได้ว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอต่ำเกินไป หากเลื่อนการขายออกไปอีกอาจมีผู้เสนอราคาสูงกว่าก็ได้เจ้าพนักงานบังคับคดีก็น่าจะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดครั้งนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 แล้วประกาศขายทอดตลาดใหม่ การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 เป็นการไม่ชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องภาษีอากรไม่เคลือบคลุม การไม่อนุญาตเลื่อนคดีมีเหตุผลจากจำเลยมิได้สนใจดำเนินคดี
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร ฉบับลงวันที่ 30 มกราคม 2529 ข้อ 8 โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2523จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุจากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า และแบบแสดงรายการการค้าลงวันที่ 17 ธันวาคม 2524 เป็นเงิน 161,780.06 บาท เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันไว้ 10,000 บาท ภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่น แล้วปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดที่มีราคา 359,173.29บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มขึ้น แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้งจำเลยสามารถเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีได้ถูกต้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีของศาลภาษีอากรกลางเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งปกติจำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป แต่ในกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกันทำให้จำเลยไม่มีระยะเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้ จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ทั้งในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 ทำให้จำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลย และในวันนัดชี้สองสถานจำเลยทราบนัดแล้วก็ไม่มาศาล อีกทั้งนับจากวันที่จำเลยยื่นคำให้การจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นเวลาถึงสองเดือนเศษ ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอควร จำเลยควรที่จะติดตามและสอบถามถึงวันนัดที่จำเลยมีวันว่างเพื่อจะได้ขอเลื่อนคดีเสียก่อนนั้นได้ แต่ตามพฤติการณ์ของจำเลยกลับปรากฏว่า จำเลยไม่เอาใจใส่และสนใจดำเนินคดีเท่าที่ควร ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นผลมาจากความบกพร่องของจำเลยเอง จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจที่มีเหตุผลสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมและสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล กรณีศาลไม่อนุญาตเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุ จากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีอากร พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า ไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่นแล้ว ปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้ จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้ง ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี และมีคำพิพากษาไปในวันเดียวกัน ทำให้จำเลยไม่มีเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและการดำเนินคดีภาษีอากร: ความบกพร่องของจำเลยและการใช้ดุลยพินิจของศาล
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร ฉบับลงวันที่ 30 มกราคม 2529ข้อ 8
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2523จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุจากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า และแบบแสดงรายการการค้าลงวันที่ 17 ธันวาคม2524 เป็นเงิน 161,780.06 บาท เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันไว้10,000 บาท ภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่น แล้วปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดที่มีราคา359,173.29 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มขึ้น แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้ง จำเลยสามารถเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีได้ถูกต้องชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีของศาลภาษีอากรกลางเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งปกติจำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป แต่ในกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุอาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน ทำให้จำเลยไม่มีระยะเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและ-ภาษีบำรุงเทศบาล ทั้งในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 ทำให้จำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลย และในวันนัดชี้สองสถาน จำเลยทราบนัดแล้วก็ไม่มาศาล อีกทั้งนับจากวันที่จำเลยยื่นคำให้การจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นเวลาถึงสองเดือนเศษซึ่งเป็นระยะเวลานานพอควร จำเลยควรที่จะติดตามและสอบถามถึงวันนัดที่จำเลยมีวันว่างเพื่อจะได้ขอเลื่อนคดีเสียก่อนนั้นได้ แต่ตามพฤติการณ์ของจำเลยกลับปรากฏว่า จำเลยไม่เอาใจใส่และสนใจดำเนินคดีเท่าที่ควร ที่ศาลภาษีอากร-กลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นผลมาจากความบกพร่องของจำเลยเอง จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจที่มีเหตุผลสมควรแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2523จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุจากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า และแบบแสดงรายการการค้าลงวันที่ 17 ธันวาคม2524 เป็นเงิน 161,780.06 บาท เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันไว้10,000 บาท ภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่น แล้วปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดที่มีราคา359,173.29 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มขึ้น แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้ง จำเลยสามารถเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีได้ถูกต้องชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีของศาลภาษีอากรกลางเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งปกติจำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป แต่ในกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุอาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน ทำให้จำเลยไม่มีระยะเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและ-ภาษีบำรุงเทศบาล ทั้งในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 ทำให้จำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลย และในวันนัดชี้สองสถาน จำเลยทราบนัดแล้วก็ไม่มาศาล อีกทั้งนับจากวันที่จำเลยยื่นคำให้การจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นเวลาถึงสองเดือนเศษซึ่งเป็นระยะเวลานานพอควร จำเลยควรที่จะติดตามและสอบถามถึงวันนัดที่จำเลยมีวันว่างเพื่อจะได้ขอเลื่อนคดีเสียก่อนนั้นได้ แต่ตามพฤติการณ์ของจำเลยกลับปรากฏว่า จำเลยไม่เอาใจใส่และสนใจดำเนินคดีเท่าที่ควร ที่ศาลภาษีอากร-กลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นผลมาจากความบกพร่องของจำเลยเอง จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจที่มีเหตุผลสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาที่แท้จริงในท้องตลาดและคำนึงถึงปริมาณสินค้า
เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลคืน เมื่อราคาสินค้าที่โจทก์ซื้อและสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าของโจทก์เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการประเมินของจำเลยที่กำหนดราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจึงเป็นการไม่ชอบจำเลยต้องคืนอากรขาเข้าที่เรียกเก็บไว้เกินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในห้องแถวบนที่ดินป่าสงวน: สิทธิระหว่างเอกชนย่อมมีผลผูกพัน แม้ที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ
แม้ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้แต่ในระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันเมื่อจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างห้องแถวพิพาทบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยก็มีสิทธิยึดถือและใช้สอยห้องแถวพิพาท กับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับห้องแถวพิพาทโดยมิชอบ รวมทั้งมีสิทธิที่จะจำหน่ายห้องแถวพิพาทในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของเมื่อโจทก์ได้ซื้อห้องแถวพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ยอม รับสิทธิของโจทก์โดยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าห้องแถวพิพาท จากโจทก์ สัญญาเช่าจึงใช้บังคับได้มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกเลิก สัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ทั้งสองออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในห้องแถวบนที่ดินป่าสงวน: สิทธิระหว่างราษฎรย่อมมีผลผูกพันได้ แม้ที่ดินเป็นของรัฐ
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งมีผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัย ไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใช้ยันรัฐได้ แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลูกห้องแถวพิพาทแม้จะปลูกอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยก็มีสิทธิยึดถือและใช้สอยห้องพิพาทกับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้ใดเกี่ยวข้อง รวมทั้งมีสิทธิที่จะจำหน่ายห้องแถวพิพาทในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของเมื่อโจทก์ซื้อห้องแถวพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ยอมรับสิทธิของโจทก์โดยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากโจทก์ สัญญาเช่าจึงมีผลใช้บังคับผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าและโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่าจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในห้องแถวบนป่าสงวน: สัญญาเช่าผูกพันแม้ราษฎรยึดครองโดยมิชอบ สิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่า
แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างห้องแถวพิพาทบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยก็มีสิทธิยึดถือและใช้สอยห้องแถวพิพาท กับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับห้องแถวพิพาทโดยมิชอบ รวมทั้งมีสิทธิที่จะจำหน่ายห้องแถวพิพาทในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของ เมื่อโจทก์ได้ซื้อห้องแถวพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ยอมรับสิทธิของโจทก์โดยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์ สัญญาเช่าจึงใช้บังคับได้มีผลผูกพันจำเลยเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม – หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ชัดเจน – จำเลยไม่เข้าใจข้อหา – ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ไว้ให้แก่โจทก์ ซึ่งจำเลยซื้อสินค้าเชื่อไปจากโจทก์ 12,000 บาท ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ท้ายฟ้อง แต่หนังสือดังกล่าวมีข้อความเพียงว่า "วันหลังกลับคำพูดยอดหนี้หนึ่งหมื่นสองพันบาท ให้เรียกกันว่าหมาในที่สาธารณะชนได้ตลอดเวลาโดยไม่ถือหมิ่นประมาท" ซึ่งไม่มีตอนไหนเลยที่ระบุว่าจำเลยซื้อสินค้าไปจากโจทก์เมื่อใด มีอะไรบ้างและจำนวนเท่าไร และจำเลยจะชำระหนี้จำนวนนี้แก่โจทก์หรือไม่ จะชำระอย่างไร เมื่อใด ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม.