คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพ็ง เพ็งนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้เสนอราคาสูงกว่าย่อมมีสิทธิคัดค้านได้หากการขายไม่ชอบ
ปัญหาว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีนี้หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีไม่มีประเด็นพิพาทในปัญหาดังกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกปัญหาขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทน ถือว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 146 หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคาะไม้ขายทอดตลาดให้แก่ผู้เข้าสู้ราคาในราคา 25,300,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ผู้ร้องเสนอราคาเป็น25,400,000 บาท และได้เคาะไม้โดยไม่นับ 1 ถึง 3 ก่อน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์นั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคำร้องภายใน 14 วัน
ปัญหาว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีไม่มีประเด็นพิพาทในปัญหาดังกล่าวในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควร ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกปัญหาข้อกฎหมายนั้นขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5) ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่ดินของบริษัทค.ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้ล้มละลาย ผู้ร้องได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายและระเบียบของกรมบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เข้าสู้ราคาในราคาต่ำกว่าที่ผู้ร้องเสนอ และเคาะไม้ตกลงขายโดยไม่นับ 1 ถึง 3 ก่อนดังนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทนถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้าง ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 14 วัน นับแต่วันได้รับทราบการกระทำนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4180/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฐานโกงเจ้าหนี้ไม่ชอบ หากไม่ระบุผู้รับโอนทรัพย์สิน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา แต่กล่าวถึงเรื่องการยักย้ายทรัพย์เพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ เพียงว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 ร่วมกันโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1และที่ 2 โดยมิได้กล่าวว่าได้โอนขายที่ดินพิพาทไปให้แก่ผู้ใดไม่อาจทราบได้ว่าใครเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาท จึงเป็นคำฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4180/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายอาญา มาตรา 158(5) เหตุขาดรายละเอียดผู้รับโอนทรัพย์ ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อกล่าวหา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา แต่กล่าวถึงเรื่องการยักย้ายทรัพย์เพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ร่วมกันโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยมิได้กล่าวว่าได้โอนขายไปให้แก่ผู้ใด เอกสารท้ายฟ้องก็ไม่มีไม่อาจทราบได้ว่าใครเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาท จึงเป็นคำฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และแม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกาถึงจำเลยที่ 1 แต่ปัญหาคำฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นี้ เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และผลต่อการฟ้องคดีภาษีอากรภายในกำหนด
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ กระทำโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนกระทำได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก ซึ่งไปรษณีย์ภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ ในการนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่า เวรรักษาการณ์ของสำนักงานเป็นผู้แทนผู้รับ กรณีที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่ายตามไปรษณีย์นิเทศพ.ศ. 2524 ข้อ 350 ข้อ 351 และข้อ 353 น. ผู้ที่รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากบุรุษไปรษณีย์ไว้ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม2528 นั้นเป็นยามที่บริษัท จ. จัดมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้แก่ทรัพย์สินภายในบริเวณโรงงานและสำนักงานของโจทก์ตามสัญญาที่โจทก์เป็นผู้จ้าง การที่ น. ทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่ที่ตู้ยามบริเวณหน้าทางเข้าโรงงานและสำนักงานของโจทก์จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเองหาใช่เป็นยามหรือเวรรักษาการณ์ของบริษัท จ. ไม่ จึงถือได้ว่าน. เป็นผู้แทนโจทก์ และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2528 แล้ว เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันอังคาร ที่ 7 มกราคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ขัดต่อ ป.รัษฎากร มาตรา 30(2) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษีอากร: การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล, ค่าใช้จ่ายต้องห้าม, เงินเพิ่ม, และการพิสูจน์หลักฐานทางบัญชี
ในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นชอบด้วยนั้น อาจถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรที่กล่าวมาแล้วก็จะไร้ผล คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล และคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลซึ่งยังไม่ถึงที่สุด กรมสรรพากรจำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ที่กำหนดให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี ในการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบภายในกำหนดเวลาเท่าใด และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ดังนั้น แม้จะแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบเกิน 5 ปี นับแต่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินก็ไม่ทำให้การประเมินที่ผ่านมาแล้วเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ในการจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ได้แบ่งจ่ายให้แก่ผู้อื่นตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอก ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าผู้มีเงินได้ค่าลิขสิทธิ์จริงคือผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนผู้ที่มารับเงินเพียงแต่เป็นบุคคลที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอกให้โจทก์จ่ายจึงถือได้ว่าเป็นเงินได้ที่โจทก์จ่ายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว โจทก์ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายเหมือนเช่นจ่ายเงินได้ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว ไม่ชอบที่โจทก์จะคำนวณหักภาษีณ ที่จ่ายหลังจากแบ่งค่าลิขสิทธิ์ให้แก่บุคคลต่าง ๆ ที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอกให้โจทก์จ่ายแล้วซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งไม่ครบถ้วน ทั้งนี้เพราะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นถ้ามีเงินได้มากขึ้นก็จะต้องเสียภาษีในอัตราเพิ่มมากขึ้น แม้โจทก์จะไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากการหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่กฎหมายกำหนดให้โจทก์ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีณ ที่จ่าย และนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อโจทก์หักและนำส่งไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์ก็ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ขาดตามมาตรา 54 ค่าซื้อเครื่องถ่ายเอกสารตามหลักฐานปรากฏว่าโรงพิมพ์ ก.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์เป็นผู้ซื้อ จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (13) ค่ากระเช้าดอกไม้ ค่าช่วยงานแต่งงาน ค่าช่วยงานบวชนาค และค่าช่วยงานศพ ล้วนมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หา และเป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ในทางการงานหรือสังคมของตนเอง และมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจการค้าของโจทก์โดยตรงจึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) รายจ่ายค่าซ่อมรถซึ่งโจทก์ไม่มีหลักฐานว่าเป็นค่าซ่อมรถของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (13) ค่ารับรองและค่าพาหนะซึ่งล้วนแต่เป็นรายจ่ายที่เป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินยิ่งกว่าประโยชน์ทางการค้าของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (3) ค่าขนส่ง ค่านายหน้า และค่าจ้างทำของ และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (18) ค่าซ่อมแซมพื้นห้องที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าโจทก์ได้ซ่อมแซมพื้นห้องของโจทก์จริง จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (13) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์หลีกเลี่ยงภาษีและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ผ่อนผันลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์แล้ว คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมายจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะงดเงินเพิ่มให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง การวางประกัน และสิทธิในการขอคืนเงินภาษีอากรเมื่อส่งออกคืน
โจทก์นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานจำนวน 7,197,397 ลิตรจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ไม่สามารถทำใบขนที่สมบูรณ์และปฏิบัติการเสียภาษีได้ทันที จึงทำเรื่องขอผ่อนผันนำน้ำมันออกไปก่อนและเสียภาษีอากรภายหลัง จำเลยอนุญาตโดยให้โจทก์วางเงินสดจำนวนหนึ่งไว้เพื่อเป็นประกันภาษีและอากรขาเข้าต่อมาปรากฏว่าน้ำมันที่โจทก์นำเข้ามีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่ได้สูบถ่ายน้ำมันจากเรือที่นำเข้าขึ้นไปเก็บในถังบนบก และโจทก์ได้รับอนุมัติจากจำเลยให้ส่งน้ำมันดังกล่าวคืนไปยังผู้ขายที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้นำน้ำมันเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จตั้งแต่ขณะที่เรือนำน้ำมันดังกล่าวเข้ามาในเขตท่าที่จะสูบถ่ายน้ำมันจากเรือไปเก็บในถังบนบก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้จำเลย แต่เงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยดังกล่าวมิใช่เงินค่าภาษีอากรขาเข้า จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 ทั้งมาตรา 112 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดว่าในการวางเงินประกันเช่นนี้ พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้โจทก์ผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อนดังนั้น โจทก์จึงไม่ต้องขอคืนเงินภาษีอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งของนั้นกลับออกไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้มาตรฐาน การวางประกันภาษี และสิทธิในการขอคืนเงินภาษีอากร
โจทก์นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน จำนวน 7,197,397 ลิตรจากประเทศสิงค์โปร์เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ไม่สามารถทำใบขนที่สมบูรณ์และปฏิบัติการเสียภาษีได้ทันที จึงทำเรื่องขอผ่อนผันนำน้ำมันออกไปก่อนและเสียภาษีอากรภายหลัง จำเลยอนุญาตโดยให้โจทก์วางเงินสดจำนวนหนึ่งไว้เพื่อเป็นประกันภาษีและอากรขาเข้าต่อมาปรากฏว่าน้ำมันที่โจทก์นำเข้ามีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่ได้สูบถ่ายน้ำมันจากเรือที่นำเข้าขึ้นไปเก็บในถังบนบก และโจทก์ได้รับอนุญาติจากจำเลยให้ส่งน้ำมันคืนไปยังผู้ขายที่ประเทศสิงค์โปร์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้นำน้ำมันเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จตั้งแต่ขณะที่เรือนำน้ำมันเข้ามาในเขตท่าที่จะสูบถ่ายน้ำมันจากเรือไปเก็บในถังบนบก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้จำเลย แต่เงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยมิใช่เงินค่าภาษีอากรขาเข้า จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 ทั้งมาตรา 112 ทวิแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดว่าในการวางเงินประกันเช่นนี้ พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้โจทก์ผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องขอคืนเงินภาษีอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งของนั้นกลับออกไปตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันภาษีอากรและการคืนเงินเมื่อส่งของออกนอกราชอาณาจักร โดยไม่ได้ทำใบขนให้สมบูรณ์
การที่โจทก์นำน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานเข้าเป็นอันสำเร็จตั้งแต่ขณะที่เรือนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาในเขตท่าที่จะสูบถ่ายน้ำมันจากเรือไปเก็บในถังบนบก เมื่อโจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จ โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยแล้ว โจทก์ไม่สามารถทำใบขนที่สมบูรณ์และปฏิบัติตามพิธีการเสียภาษีได้ทันที น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานจึงยังคงเก็บอยู่ในเรือและอยู่ในอารักขาของศุลกากร โจทก์ขอวางเงินไว้เป็นประกันและจำเลยอนุญาตแล้ว เงินประกันดังกล่าวจึงมิใช่เงินค่าภาษีอากรขาเข้าและไม่อยู่ในเงื่อนไขของมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 และมาตรา 112 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 กำหนดว่า ในการวางเงินเป็นประกันเช่นนี้พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้โจทก์ผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน ดังนั้น โจทก์จึงไม่ต้องขอคืนเงินภาษีอากรภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไป และเมื่อกรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของมาตรา 19 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามประกาศกรมศุลกากรที่ 26/2528 ข้อ 9 และ ประกาศกรมศุลกากรที่ 27/2523เรื่องการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาซื้อขายที่ลดหย่อนไม่ถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาต้องเปรียบเทียบกับราคาตลาด
ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันจริงไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อกับผู้ขายอาจลดหย่อนราคาให้แก่กันก็เป็นได้ การคิดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้า จึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
of 54