พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาซื้อขายที่ลดหย่อนไม่ถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาต้องเปรียบเทียบกับราคาตลาด
ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันจริงไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อกับผู้ขายอาจลดหย่อนราคาให้แก่กันก็เป็นได้ การคิดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้า จึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามกฎหมายศุลกากร ต้องพิจารณาจากราคาซื้อขายปกติ ไม่ใช่ราคาที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันเอง
คำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 2 หมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด"(ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาที่นำของเข้าหรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันนั้นอาจเป็นราคาที่ลดหย่อนให้แก่กัน ราคาที่ซื้อขายกันจริงจึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป การคิดราคาแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้าจึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะซื้อขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสำแดงสินค้าขาเข้าต้องเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด มิใช่ราคาที่ตกลงซื้อขายกันเอง
ราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าเป็นเรื่องภายในที่รู้เห็นกันเองระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่ามีการตกลงซื้อขายกันตามราคาดังกล่าวจริงเพราะอาจเป็นการสมยอมกันทำเอกสารขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรให้เสียน้อยกว่าที่ควรต้องเสียก็เป็นได้และแม้จะเป็นราคาที่ตกลงซื้อขายกันจริงก็ยังไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่าราคาที่ซื้อขายกันนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2วรรคสิบสอง เพราะคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามบทกฎหมายดังกล่าวหมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันนั้นอาจเป็นราคาที่ลดหย่อนให้แก่กัน ราคาที่ซื้อขายกันจริงจึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป จะต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรของบริษัทเงินทุน
พนักงานศาลส่งหมายนัดชี้สองสถานให้โจทก์โดยการปิดหมายวันที่ 25 กรกฎาคม 2534 และศาลภาษีอากรกลางนัดชี้สองสถานวันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์ย่อมมีเวลายื่นบัญชีระบุพยานได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8วรรคหนึ่ง แต่โจทก์กลับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดชี้สองสถาน โดยอ้างเหตุผลว่าเกิดผิดพลาดเพราะความพลั้งเผลอของโจทก์ มิได้ศึกษาข้อกำหนดและข้อกฎหมายให้ถ่องแท้มิใช่เกิดจากเจตนาหรือจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดข้อกล่าวอ้างเช่นนี้มิใช่เหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวที่ศาลจะอนุญาตตามคำร้องขอของโจทก์ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 วรรคสี่ได้ กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนซื้อ หรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นและหากโจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์มาก็ต้องจำหน่ายไปภายใน 3 ปี แสดงว่าขณะที่โจทก์รับโอนที่ดินมาเนื่องจากลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้ให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมทราบดีแล้วว่าเป็นการรับโอนมาเพื่อที่จะขายต่อให้แก่ผู้อื่นไปตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยอมรับโอนที่ดินที่ลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้ โจทก์ก็ต้องคำนวณแล้วเห็นว่าโจทก์จะได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรมากกว่าการที่จะดำเนินการบังคับชำระหนี้ต่อไปดังนั้น การที่โจทก์ยอมรับโอนที่ดินที่ลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้แล้วต่อมาโจทก์ได้ขายที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นต่อไปจึงถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีการค้า ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีลิขสิทธิ์ข้ามประเทศ: การรับรองเอกสาร, การมอบอำนาจ, และสิทธิในการได้รับค่าปรับ
แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทย แต่โจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษซึ่งใช้บังคับไปถึงเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยย่อมมีความหมายว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยแล้ว ส่วนภาพยนตร์ตามฟ้องที่อ้างว่าเป็นงานสร้างสรรค์ที่เป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายเมืองฮ่องกงกำหนดไว้นั้นเป็นกฎหมายอะไร บัญญัติขึ้นเมื่อไรและประกาศใช้เมื่อใดที่ไหนนั้น ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การไม่กล่าวไว้ในคำฟ้องถึงรายละเอียดดังกล่าวหาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม จะต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงหรือไม่จึงให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความนั้นยื่นเอกสารตามวิธีการในวรรคสาม เมื่อศาลไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัย ทั้งมิได้นำสืบปฏิเสธความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วม ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง และโจทก์ร่วมได้แนบเอกสารแสดงความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วมมาท้ายคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ร่วมมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามคำฟ้องแล้ว หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ร่วมทำขึ้นที่เมืองฮ่องกงอันเป็นเมืองที่มีกงสุลไทยประจำอยู่ แม้กงสุลไทยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 แต่โจทก์มีกรรมการบริษัทผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดี โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นได้ทำถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสามหรือไม่ ฟังได้ว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้วพระราชบัญญัติ ญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญา และไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญาแต่อย่างใดโจทก์ร่วมผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งแม้โจทก์จะมิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ การรับรองเอกสาร และการมอบอำนาจทางกฎหมาย
โจทก์กล่าวในฟ้องแล้วว่า กฎหมายของประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้บังคับครอบคลุมไปถึงเมืองฮ่องกงที่เป็นอาณานิคม ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์น ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ย่อมมีความหมายว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยแล้ว เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา47 วรรคสาม นั้นต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัย หรือคู่ความอีกฝ่ายยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารแท้จริงหรือไม่จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นเอกสาร ตามวิธีการในวรรคสามนี้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเบิกความเป็นพยานว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจตามเอกสารหมาย จ.10 และ จ.11 โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลจึงไม่มีเหตุอันควรสงสัย และเมื่อจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า เอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจแท้จริงจึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจได้ทำถูกต้องตามป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม หรือไม่ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อบรรเทาความเสียหายและเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญา และไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้องผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในฮ่องกง, เอกสารมอบอำนาจ, และสิทธิในการรับเงินค่าปรับ
แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครอบแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทย แต่โจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษซึ่งใช้บังคับไปถึงเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยย่อมมีความหมายว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุมครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยแล้ว ส่วนภาพยนตร์ตามฟ้องที่อ้างว่าเป็นงานสร้างสรรค์ที่เป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายเมืองฮ่องกงกำหนดไว้นั้นเป็นกฎหมายอะไร บัญญัติขึ้นเมื่อไร และประกาศใช้เมื่อใดที่ไหนนั้น ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การไม่กล่าวไว้ในคำฟ้องถึงรายละเอียดดังกล่าวหาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา158 (5) แล้ว
เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา47 วรรคสาม จะต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงหรือไม่ จึงให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความนั้นยื่นเอกสารตามวิธีการในวรรคสาม เมื่อศาลไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัย ทั้งมิได้นำสืบปฏิเสธความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วม ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง และโจทก์ร่วมได้แนบเอกสารแสดงความเป็นนติบุคคลของโจทก์ร่วมมาท้ายคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ร่วมมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามคำฟ้องแล้ว
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ร่วมทำขึ้นที่เมืองฮ่องกงอันเป็นเมืองที่มีกงสุลไทยประจำอยู่ แม้กงสุลไทยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 แต่โจทก์มีกรรมการบริษัทผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดี โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นได้ทำถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม หรือไม่ฟังได้ว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้ว
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญาและไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญาแต่อย่างใด โจทก์ร่วมผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งแม้โจทก์จะมิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้อง
เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา47 วรรคสาม จะต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงหรือไม่ จึงให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความนั้นยื่นเอกสารตามวิธีการในวรรคสาม เมื่อศาลไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัย ทั้งมิได้นำสืบปฏิเสธความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วม ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง และโจทก์ร่วมได้แนบเอกสารแสดงความเป็นนติบุคคลของโจทก์ร่วมมาท้ายคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ร่วมมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามคำฟ้องแล้ว
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ร่วมทำขึ้นที่เมืองฮ่องกงอันเป็นเมืองที่มีกงสุลไทยประจำอยู่ แม้กงสุลไทยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 แต่โจทก์มีกรรมการบริษัทผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดี โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นได้ทำถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม หรือไม่ฟังได้ว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้ว
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญาและไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญาแต่อย่างใด โจทก์ร่วมผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งแม้โจทก์จะมิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การคุ้มครองงานสร้างสรรค์และขอบเขตการละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อม
ในคดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 มาตรา 42 นั้น แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแต่เพียงว่าประเทศไทยและฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษต้องให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆแห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยไม่มีคำว่า "กฎหมาย" อยู่หน้าประเทศก็ตาม การกล่าวว่า ทั้งสองประเทศต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวก็มีความหมายว่ากฎหมายของทั้งสองประเทศได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นแล้ว เพราะทุกประเทศต้องปกครองโดยกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้ชอบแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าภาพยนตร์วีดีโอที่จำเลยนำออกให้เช่าเสนอให้เช่านั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดสิทธิของผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงหาเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อมตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์มาตรา 27 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอ้อม: จำเลยต้องพิสูจน์ได้ว่างานที่นำออกให้เช่าไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางตรงตามมาตรา 24 และละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อมตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 คำขออื่นให้ยกจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวความผิดตามมาตรา 24 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องตามข้อความในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 42 ว่า "ฯลฯ และกฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวฯลฯ" แต่กล่าวในฟ้องเพียงว่าทั้งประเทศไทยและฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยไม่มีคำว่า "กฎหมาย"อยู่หน้าประเทศก็ตาม การกล่าวว่าทั้งสองประเทศต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวก็มีความหมายว่ากฎหมายของทั้งสองประเทศได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นแล้ว เพราะทุกประเทศต้องปกครองโดยกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 แล้ว แต่ที่โจทก์ฟ้องว่า ในวันเวลาเกิดเหตุจำเลยโดยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนต์วีดีโอเทปตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมได้บังอาจนำเอาภาพยนต์วีดีโอเทปดังกล่าวออกให้เช่าเสนอให้เช่าแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อการค้าอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ปรากฏว่าภาพยนต์วีดีโอเทปที่จำเลยนำออกให้เช่า เสนอให้เช่านั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น จำเลยอาจนำเอางานที่ได้ทำขึ้นโดยชอบออกให้เช่า เสนอให้เช่าก็ได้อันหาใช่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27แต่อย่างไรไม่ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ระบุรายละเอียดสินค้า, โจทก์มีอำนาจฟ้องแม้ไม่มีวัตถุประสงค์, หนังสือมอบอำนาจใช้บังคับได้, และการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
แม้คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อเป็นสินค้าอะไรแต่ก็ได้กล่าวว่าเป็นสินค้าตามใบวางบิลและใบส่งของตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งได้ระบุประเภทสินค้าไว้ จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม แม้สินค้าที่โจทก์ขายให้จำเลยจะไม่ได้อยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมทำสัญญาซื้อขาย และรับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคา หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีระบุว่าให้ฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินค่าสินค้าที่ค้างชำระจากจำเลย ย่อมหมายถึงให้ฟ้องคดียังศาลที่มีเขตอำนาจโดยไม่จำต้องระบุว่าเป็นศาลใด และเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระทั้งหมดมิได้เป็นการมอบให้ฟ้องเรียกบางส่วนอันจะต้องระบุจำนวนหนี้ที่ให้ฟ้องดังนี้ หนังสือมอบอำนาจจึงมีผลใช้บังคับได้.