คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพ็ง เพ็งนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตหน้าที่ภาษีจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ: กรณีตัวแทนจำหน่าย vs. ผู้ทำการแทน
บริษัทในต่างประเทศทำสัญญาตั้งโจทก์ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทต่างประเทศดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าในประเทศไทยด้วยตนเองมิได้เป็นลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้บริษัทผู้ขายในต่าง-ประเทศ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษี-เงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ทำสัญญาตั้งผู้แทนจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ทำการแทนหรือทำการติดต่อให้บริษัทดังกล่าว โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎกร มาตรา 76 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้าโดยผู้แทนจำหน่ายต่างประเทศ: หน้าที่ในการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล
บริษัทในต่างประเทศทำสัญญาตั้งโจทก์ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทต่างประเทศดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าในประเทศไทยด้วยตนเองมิได้เป็นลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้บริษัทผู้ขายในต่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีหน้าทีและความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ทำสัญญาตั้งผู้แทนจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ทำการแทนหรือทำการติดต่อให้บริษัทดังกล่าว โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ ศาลฎีกาวินิจฉัยการซื้อขายสินค้าตามสัญญาตัวแทนกับวิธีส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยตรงมีลักษณะต่างกัน
การซื้อขายสินค้าของโจทก์มี 2 วิธี วิธีที่ 1 โจทก์สั่งซื้อสินค้าเข้ามาในสต็อกของโจทก์เพื่อขายให้ลูกค้า ส่วนวิธีที่ 2ในกรณีสินค้ามีมูลค่าสูงหรือเสื่อมสภาพง่าย โจทก์จะไม่สั่งซื้อเข้ามาในสต็อก แต่เมื่อมีลูกค้ามาสั่งซื้อ โจทก์ก็จะทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้า แล้วโจทก์จะสั่งซื้อจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศที่มีสัญญาตั้งโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่าย (DistributorshipAgreement) เป็นหนังสือโดยให้บริษัทดังกล่าวส่งสินค้าให้กับลูกค้าและลูกค้าชำระราคาให้กับผู้ขายในต่างประเทศโดยตรงแต่โจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้กับลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่องโจทก์ต้องรับผิดต่อลูกค้าโจทก์ดำเนินธุรกิจซื้อขายด้วยทุนของตนเอง หากมีการขาดทุนหรือมีกำไรก็ตกเป็นของโจทก์ นอกจากนี้ใบกำกับสินค้าในการซื้อขายตามวิธีที่ 2 นี้ก็ยังออกในนามของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าในประเทศไทยด้วยตนเอง มิได้เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้ากรณีจำเลยเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก และการคิดดอกเบี้ยเงินภาษีที่ได้รับคืน
โจทก์เป็นผู้ผลิตขายน้ำตาลทรายดิบให้องค์การคลังสินค้าภายในประเทศ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เสียภาษีการค้า และตาม พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 บัญชีท้าย พระราชกฤษฎีกาบัญชีที่ 1 หมวด 1(7) แต่เนื่องจากได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18) เรื่องกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อนละ 7 ของรายรับ ดังนั้น แม้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ เมื่อจำเลยได้ประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้าให้โจทก์ ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรกำหนดให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133(พ.ศ. 2516)ข้อ 1(2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรเป็นต้นไป และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศ วรรคแรกกำหนดไว้จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ใน อัตราตามที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีการค้าจากการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษี และดอกเบี้ยที่ได้รับ
โจทก์เป็นผู้ผลิตขายน้ำตาลทรายดิบให้องค์การคลังสินค้าภายในประเทศ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เสียภาษีการค้า และตาม พ.ร.ก. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ.2517 บัญชีท้าย พ.ร.ก. บัญชีที่ 1 หมวด 1 (7) แต่เนื่องจากได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18) เรื่องกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ดังนั้น แม้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ เมื่อจำเลยได้ประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้าให้โจทก์
ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรกำหนดให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ0.625 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133 (พ.ศ.2516) ข้อ 1 (2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรเป็นต้นไป และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศ วรรคแรกกำหนดไว้ จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ในอัตราตามที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายดอกเบี้ยกู้จากบริษัทในเครือ ถือเป็นรายจ่ายคำนวณกำไรสุทธิได้ และนำเงินภาษีที่ชำระแล้วมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้
โจทก์กู้เงินจากบริษัทในเครือของโจทก์เพื่อนำเงินมาประกอบกิจการโดยต้องเสียดอกเบี้ยให้บริษัทในเครือจริง จึงเป็นรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ มิใช่รายจ่ายซึ่งโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (9) การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีบางส่วนให้แก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้นำเงินภาษีบางส่วนที่โจทก์ชำระแล้วมาหักออกจากเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้จากบริษัทในเครือถือเป็นรายจ่ายที่นำมาหักคำนวณกำไรสุทธิได้ และการหักเงินภาษีที่ชำระแล้ว
โจทก์กู้เงินจากบริษัทในเครือของโจทก์เพื่อนำเงินมาประกอบกิจการโดยต้องเสียดอกเบี้ยให้บริษัทในเครือจริง จึงเป็นรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ มิใช่รายจ่ายซึ่งโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงตามประมวลรัษฏากร มาตรา 65 ทวิ (9)
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีบางส่วนให้แก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้นำเงินภาษีบางส่วนที่โจทก์ชำระแล้วมาหักออกจากเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ต้องอ้างอิงราคาตลาดจริงและบทวิเคราะห์ใน พ.ร.บ.ศุลกากร ไม่ใช่แค่ระเบียบภายใน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ได้บัญญัติให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจออกข้อบังคับสำหรับกรมตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อดำเนินการให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและบังคับการให้เป็นไปตามนั้น นั้น ตามบทบัญญัติมาตรานี้ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรออกข้อบังคับเพื่อควบคุมบรรดาพนักงานทั้งหลายในกรมศุลกากรในฐานะอธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้บังคับบัญชาเท่านั้น มิได้ให้อำนาจออกระเบียบปฏิบัติกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินราคาของโดยไม่คำนึงถึงบทกฎหมายมาตราอื่น ดังนั้น คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527 จึงจะนำมาเป็นข้อกำหนดในการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์เพียงลำพังไม่ได้ จะต้องปฏิบัติตามบทวิเคราะห์ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นหลัก และที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2464มาตรา 13 ได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรมศุลกากรเป็นผู้ทำการตีราคาของเพื่อประเมินภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตีราคาก็จะต้องนำหลักเกณฑ์ตามบทวิเคราะห์ในมาตรา2 วรรคสิบสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปฏิบัติ จะตีราคาตามอำเภอใจไม่ได้ ส่วนคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ที่ 47/2531 คำสั่งกองประเมินอากร ที่ 12/2519 คำสั่งร่วมกองพิธีการและประเมินอากรและกองวิเคราะห์ราคา ที่ 1/2527 และที่ 2/2527 และรายงานการประชุมคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาเกี่ยวกับราคาก็เป็นระเบียบปฏิบัติภายในของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจะนำมาเป็นหลักเกณฑ์ว่าราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ตีหรือประเมินไปนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำราคาอะไหล่ยานยนต์ประเภทและชนิดเดียวกัน ณ เวลาและสถานที่ที่นำของเข้ามาจากที่เดียวกันมาเทียบเคียงแล้ว ก็ย่อมไม่อาจหักล้างได้ว่าราคาสินค้าตามที่โจทก์ที่ 1 สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ทั้งนี้ ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1ได้สำแดงราคาในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าดังกล่าวตรงกับราคาที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า และราคาดังกล่าวเป็นราคาเดียวกันกับราคาที่โจทก์ที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งตรงกับราคาสินค้าในสัญญาซื้อขายและตรงกับราคาสินค้าตามบัญชีราคาสินค้าที่บริษัทผู้ขายส่งมาให้ ทั้งไม่ปรากฏว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ได้มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด ราคาที่โจทก์ที่ 1 สำแดงจึงถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีจากการขายที่ดินที่ได้มาโดยเสน่หา ไม่ใช่การค้าหากำไร
ที่พิพาทเป็นของมารดาโจทก์ แต่ใส่ชื่อ ก.พี่ชายโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมายกให้โจทก์โดยเสน่หาด้วยการจดทะเบียนโอนเป็นซื้อขายอำพรางนิติกรรมการให้เพื่อหลบเลี่ยงเจ้าหนี้ของผู้โอน อันมิใช่เป็นการทำโดยมุ่งค้าหากำไร การที่โจทก์นำไปจำนองหรือได้เสนอขายหน่วยราชการต่าง ๆ ก่อนขายให้การเคหะแห่งชาติ ล้วนเป็นการกระทำภายหลังจากได้ที่พิพาทแล้วจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อได้มาโดยมุ่งค้าหากำไร เมื่อโจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และการที่โจทก์ขายที่พิพาทให้การเคหะแห่งชาติเป็นการขายทั้งแปลงเพราะต้องการขายทั้งหมดก็มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
การนำสืบพยานบุคคลในเรื่องการจดทะเบียนซื้อที่พิพาทว่าเป็นการถือกรรมสิทธิ์แทน และการจดทะเบียนซื้อขายเป็นการให้โดยเสน่หา ทั้งสองกรณีเป็นเรื่องที่นำสืบว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร จึงรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง
อุทธรณ์จำเลยที่ว่า โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีเงินได้เพราะโจทก์นำเงินได้จากการขายที่ดินไปหาส่วนเฉลี่ยแล้วนำไปขอยกเว้นเป็นรายบุคคล ซึ่งตามประมวลรัษฎากรจะต้องนำเงินได้ทั้งหมดไปขอยกเว้นโดยไม่แบ่งเฉลี่ย เป็นข้อที่จำเลยมิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว เพราะจำเลยให้การต่อสู้ในศาลชั้นต้นเพียงว่า เงินได้ของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น อันหมายถึงว่าไม่ได้รับยกเว้นเพราะโจทก์ได้ทรัพย์สินมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าโจทก์มิได้ยื่นขอยกเว้นโดยถูกต้อง จึงไม่ได้รับยกเว้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยอำพรางนิติกรรมและข้อยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายที่ดินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร
ที่พิพาทเป็นของมารดาโจทก์ แต่ใส่ชื่อ ก. พี่ชายโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมายกให้โจทก์โดยเสน่หาด้วยการจดทะเบียนโอนเป็นซื้อขายอำพรางนิติกรรมการให้เพื่อหลบเลี่ยงเจ้าหนี้ของผู้โอน อันมิใช่เป็นการทำโดยมุ่งค้าหากำไร การที่โจทก์นำไปจำนองหรือได้เสนอขายหน่วยราชการต่าง ๆ ก่อนขายให้การเคหะแห่งชาติล้วนเป็นการกระทำภายหลังจากได้ที่พิพาทแล้วจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อได้มาโดยมุ่งค้าหากำไร เมื่อโจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42(9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และการที่โจทก์ขายที่พิพาทให้การเคหะแห่งชาติเป็นการขายทั้งแปลงเพราะต้องการขายทั้งหมดก็มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 การนำสืบพยานบุคคลในเรื่องการจดทะเบียนซื้อที่พิพาทว่าเป็นการถือกรรมสิทธิแทน และการจดทะเบียนซื้อขายเป็นการให้โดยเสน่หา ทั้งสองกรณีเป็นเรื่องที่นำสืบว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารจึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง อุทธรณ์จำเลยที่ว่า โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีเงินได้เพราะโจทก์นำเงินได้จากการขายที่ดินไปหาส่วนเฉลี่ยแล้วนำไปขอยกเว้นเป็นรายบุคคล ซึ่งตามประมวลรัษฎากรจะต้องนำเงินได้ทั้งหมดไปขอยกเว้นโดยไม่แบ่งเฉลี่ย เป็นข้อที่จำเลยมิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว เพราะจำเลยให้การต่อสู้ในศาลชั้นต้นเพียงว่า เงินได้ของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น อันหมายถึงว่าไม่ได้รับยกเว้นเพราะโจทก์ได้ทรัพย์สินมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าโจทก์มิได้ยื่นขอยกเว้นโดยถูกต้อง จึงไม่ได้รับยกเว้นด้วย
of 54