คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพ็ง เพ็งนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยเสน่หาในทรัพย์มรดก: ผลของการส่งมอบโดยปริยายและการบอกล้างโมฆียกรรมเกินกำหนด
การที่ จ. ทายาททำหนังสือยกส่วนได้ของตนที่จะได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 2 ในฐานะทรัสตีให้แก่ ส. เป็นการโอนทรัพย์สินอันเป็นมรดกที่ตกได้แก่ตนด้วยการให้โดยเสน่หาแก่ ส.และส. ยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการให้โดยเสน่หา หาใช่เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ ในขณะที่ จ. ทำสัญญาให้นั้น ทายาททุกคนรวมทั้งทรัสตีได้ตกลงยกเลิกทรัสต์กันแล้ว โดยให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทรัสตีในขณะนั้นทำการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาททรัพย์มรดกทั้งหมดจึงมีจำเลยที่ 2ในฐานะทรัสตีและในฐานะผู้จัดการมรดกในเวลาต่อมาเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาแทนทายาททุกคน การที่ จ. ทำสัญญาให้โดยเสน่หาแล้ว ส. ทำบันทึกมอบฉันทะให้ จ. เป็นผู้รับส่วนแบ่งมรดกดังกล่าวแทน โดยจำเลยที่ 2 ลงชื่อยินยอมและรับรู้การยกให้กับการมอบฉันทะดังกล่าว เท่ากับเป็นการตกลงว่าต่อแต่นั้นไปจำเลยที่ 2จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกอันเป็นส่วนได้ของ จ. แทน ส.เป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้โดยปริยายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1379 การให้ทรัพย์สินในส่วนที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์จึงสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 สำหรับมรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ก็มีจำเลยที่ 2เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคน การโอนจึงทำได้โดย จ.ผู้โอนสั่งจำเลยที่ 2 ผู้แทนว่าต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทน ส.ผู้รับโอนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1380 วรรคสองเมื่อ จ. ไม่มีชื่อเป็นเจ้าของในหนังสือสำคัญเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน การให้โดยเสน่หาจึงไม่อาจจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ได้การรับรู้การยกให้ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็นการรับว่าต่อไปจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แทน ส. โดยไม่ต้องจดทะเบียนการยกให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 525 อีก การที่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่า จ. ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งมรดกให้แก่ ส. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2510 แต่โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า หนังสือที่ จ. ทำขึ้นดังกล่าวเป็นหนังสือยกให้ส่วนแบ่งมรดกมิใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง การให้ไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ เท่ากับโจทก์รับว่าหนังสือยกให้ได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 11ตุลาคม 2510 เพียงแต่โต้แย้งว่ามิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง โจทก์จะฎีกาว่าหนังสือยกให้ทำเมื่อปี 2521 อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วหาได้ไม่ต้องฟังว่า จ. ทำหนังสือยกให้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2510 โจทก์เพิ่งบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2527เป็นการบอกล้างเมื่อเกินสิบปี จึงบอกล้างไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143(มาตรา 181 ที่แก้ไขใหม่)สัญญาให้ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกโดยเสน่หา การบอกล้างโมฆียกรรม และผลของการครอบครองทรัพย์สิน
จ. ทายาทคนหนึ่งทำหนังสือยกทรัพย์สินส่วนของตนซึ่งมีสิทธิจะได้จากการแบ่งปันในกองมรดกให้แก่ ส.และส. ยอมรับเอาทรัพย์นั้นแล้ว หนังสือนี้เป็นสัญญาให้โดยเสน่หา หาใช่เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดก ลงชื่อยินยอมและรับรู้การยกทรัพย์สินส่วนของ จ. ให้ ส. ในหนังสือยกให้นั้นถือว่ามีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้แก่ ส. โดยปริยายแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1379 สำหรับทรัพย์มรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคนนั้น การโอนจึงทำได้โดย จ.ผู้โอนสั่งจำเลยที่ 2 ผู้แทนว่า ต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทน ส.ผู้รับโอนก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1380 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 2รับรู้การยกให้ดังกล่าวเป็นการยอมรับว่าต่อไปจำเลยที่ 2จะถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แทน ส. โดยไม่ต้องจดทะเบียนการยกให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 อีก สัญญาให้จึงสมบูรณ์ โจทก์โต้แย้งเพียงว่าหนังสือยกให้นั้นมิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง แต่รับการให้โดยเสน่หา เท่ากับโจทก์รับว่าหนังสือยกให้ทำเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2510 จริง เพียงแต่โต้แย้งว่ามิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังที่จำเลยกล่าวอ้างเท่านั้นโจทก์จะฎีกาว่าหนังสือยกให้นี้ทำเมื่อปี 2521 อันเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วหาได้ไม่ แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยในปัญหานี้ให้ก็เป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยในทรัพย์มรดก: สิทธิของบุตรและผลกระทบต่อสิทธิของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของอ.ที่เคยให้จำเลยอยู่อาศัยจำเลยให้การต่อสู้ว่าตึกพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับสามี ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าตึกพิพาทเป็นของอ.หรือของจำเลย ที่ศาลยกเอาสิทธิอาศัยของบุตรจำเลยที่ได้มาโดยพินัยกรรมตามที่พิจารณาได้ความมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น อย่างไรก็ดี ข้อที่ว่า อ.ยกตึกพิพาทให้บุตรจำเลยอยู่อาศัยและการที่จำเลยได้อยู่ร่วมด้วยกับบุตรเป็นความสุขในครอบครัว เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ไว้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247ว่าจำเลยมีสิทธิอาศัยในตึกพิพาทโดยอาศัยสิทธิของบุตรจำเลยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ พิจารณาจากข้อเท็จจริงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์วีดีโอเทป12 เรื่องตามฟ้อง โดยโจทก์ได้โฆษณาเผยแพร่ภาพยนตร์วีดีโอเทปทั้ง12 เรื่อง ครั้งแรกที่เมืองฮ่องกงแล้ว ประเทศไทยและประเทศอังกฤษต่างเป็นภาคีในอนุสัญญากรุงเบอร์น ค.ศ. 1886 ประเทศอังกฤษได้นำเอาฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมเข้าผูกพันกับอนุสัญญาดังกล่าวประเทศไทยและฮ่องกงจึงมีความผูกพันกับอนุสัญญาดังกล่าว ทั้งสองประเทศต่างให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ภาพยนตร์วีดีโอเทปอันเป็นงานมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวภาพยนตร์วีดีโอเทปทั้ง 12 เรื่อง จึงได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526 แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องตามข้อความในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 42 ว่า กฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่กล่าวในฟ้องเพียงว่า ทั้งประเทศไทยและฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยไม่มีคำว่า กฎหมายอยู่หน้าประเทศก็ตาม การกล่าวว่าทั้งสองประเทศต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวก็มีความหมายว่ากฎหมายของประเทศทั้งสองได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์แล้ว เพราะทุกประเทศต้องปกครองโดยกฎหมาย ฟ้องของโจทก์มีข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยถูกต้องพอสมควรตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 42 เท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรไม่เลี้ยงดูผู้ให้ แม้ผู้ให้ไม่ยากไร้และบุตรมีภาระอื่น
โจทก์ชราภาพมากแล้ว มีค่าใช้จ่ายน้อย มีบุตรหลายคนช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูไม่เดือดร้อน ตามสถานภาพของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคนยากไร้ ทั้งจำเลยเองก็เป็นลูกจ้างอยู่ที่กรุงเทพมหานครได้เงินเดือนเพียง 600 บาท มีบุตร 1 คน ต้องเลี้ยงดู ที่ดินที่ได้รับการยกให้จำเลยก็มอบให้ ก. ทำกิน โดย ก. นำข้าวที่ได้แบ่งไปเลี้ยงดูโจทก์ด้วย แม้จำเลยจะเป็นบุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์แต่มิได้อยู่เลี้ยงดูโดยไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ปล่อยให้พี่น้องคนอื่นเลี้ยงดูแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณอันจะเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรไม่เลี้ยงดูบิดามารดา แม้มีฐานะยากจน แต่ได้รับการอุปการะจากผู้อื่น ศาลไม่ถือว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ
โจทก์อายุ 82 ปี ชราภาพมากแล้ว มีค่าใช้จ่ายน้อยโดยเป็นค่าอาหารเพียงเดือนละ 100 บาท ค่าเสื้อผ่าปีละ 200 บาท โจทก์มีบุตรหลายคนช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูไม่เดือดร้อน ตามสถานภาพของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคนยากไร้ ทั้งจำเลยเองก็เป็นลูกจ้างได้เงินเดือนเพียง 600 บาท มีบุตร 1 คน ต้องเลี้ยงดู ที่ดินที่ได้รับการยกให้จำเลยก็มอบให้ ก. น้องชายจำเลยทำกิน โดยก.ได้นำข้าวที่ได้แบ่งไปเลี้ยงดูโจทก์ด้วย แม้จำเลยจะเป็นบุตร มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ แต่มิได้อยู่เลี้ยงดูโดยไปทำงานต่างจังหวัดปล่อยให้พี่น้องคนอื่นเลี้ยงดูแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณอันจะเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3556/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์เกิน 10 ปี แม้มีโฉนด
ผู้ร้องได้ที่พิพาทโดยการยกให้และได้เข้าไปปลูกผลไม้และปลูกบ้านอยู่อาศัยตลอดมาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว ถือว่าผู้ร้องได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดที่พิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสม หากราคาต่ำกว่าควรเลื่อนการขายเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ขาย
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามคำสั่งศาลนั้นกฎหมายมีเจตนารมณ์ ว่าจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขาย แล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอราคาสูงสุดซึ่งสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม แต่ราคาดังกล่าวหาใช่เป็นการประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริงไม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจคำนวณราคาท้องตลาดได้โดยอาศัยวงเงินที่โจทก์รับจำนองประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะ รับจำนองในวงเงินที่ต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง ทั้งกรณีเป็นการประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปี ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก เจ้าพนักงานบังคับคดีพอจะเห็นได้ว่า ราคาซึ่งโจทก์เสนอสูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอโดยต่ำกว่าวงเงินที่โจทก์รับจำนอง ฉะนั้น หากถอนทรัพย์จากการขายทอดตลาดในครั้งนี้แล้วประกาศขายทอดตลาดใหม่ อาจได้ราคาสูงกว่าที่โจทก์เสนอ ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายทรัพย์แก่โจทก์จึงเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 513ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 308.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้ราคาสูงสุด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาที่สมควร
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งของศาล กฎหมายมีเจตนารมณ์ว่า จะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายแก่ผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงสุด ซึ่งต่ำกว่าวงเงินที่ธนาคารเคยรับจำนองเมื่อ 5 ปีก่อน แม้ราคาประมูลสูงสุดนั้นจะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึดเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เป็นการประมาณราคาแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง และการขายทอดตลาดนั้น ผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาท้องตลาดโดยอาศัยวงเงินที่ธนาคารรับจำนอง ประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนองในวงเงินต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง อีกทั้งการขายทอดตลาดคดีนี้ก็กระทำภายหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปี ทรัพย์ที่ขาย-ทอดตลาดเป็นอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินอยู่ในย่านทำเลการค้า ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก และเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก ผู้ทอดตลาดพอจะเห็นได้ว่าราคาซึ่งผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ หากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ ดังนั้น การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 513 ประกอบป.วิ.พ. มาตรา 308 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาที่สมเหตุสมผล
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งของศาล กฎหมายมีเจตนารมณ์ว่า จะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นต่ำไปเป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายแก่ผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงสุด ซึ่งต่ำกว่าวงเงินที่ธนาคารเคยรับจำนองเมื่อ 5 ปีก่อนแม้ราคาประมูลสูงสุดนั้นจะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึดเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่เป็นการประมาณราคาแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง และการขายทอดตลาดนั้น ผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาท้องตลาดโดยอาศัยวงเงินที่ธนาคารรับจำนอง ประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนองในวงเงินต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง อีกทั้งการขายทอดตลาดคดีนี้ก็กระทำภายหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปีทรัพย์ที่ขายทอดตลาดเป็นอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินอยู่ในย่าน ทำเลการค้า ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก และเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก ผู้ทอดตลาดพอจะเห็นได้ว่าราคาซึ่งผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ หากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ ดังนั้น การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ได้
of 54