พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการต่อละเมิดของตัวแทนในกิจการขนส่งที่ใช้ชื่อตัวการ
จำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 3 เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกไปแล้ว แต่เป็นการให้เช่าซื้อไปเพื่อให้จำเลยที่ 3 นำไปประกอบกิจการขนส่งในนามของจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 เป็นผู้นำรถไปตรวจสภาพต่อทะเบียนรถและต่อใบอนุญาตประกอบการขนส่งทุกปี จำเลยที่ 3ไม่ได้เช่าซื้อรถไปเพื่อประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 3 เองเพราะจำเลยที่ 3 มิได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลจึงต้องใช้ชื่อของจำเลยที่ 4 ในการประกอบกิจการดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 4 ให้เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกไปแล้วเป็นผู้ขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลให้จำเลยที่ 3 นำไปประกอบการขนส่งในชื่อของจำเลยที่ 4 ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ในกิจการขนส่งดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3ขับรถคันดังกล่าวไปกระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตัวแทนได้กระทำไปนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425,427,820 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีหนี้แยกชำระเกินอำนาจศาลอุทธรณ์ ห้ามฎีกาข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน 71,852 บาท และดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จโดยโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์คันที่ถูกชนเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์กับค่าที่รถยนต์เสื่อมราคาและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 40,378 บาท และโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์ที่ 2 เรียกร้องเงินที่ได้ชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมรถและค่าลากจูงรถยนต์ที่ถูกชนไปทำการซ่อมและดอกเบี้ยเป็นเงิน 31,474 บาท เป็นการฟ้องเรียกหนี้ที่อาจแบ่งแยกกันชำระได้จึงไม่ใช่หนี้ร่วม ค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนฟ้องเรียกต้องแยกออกจากกันจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค่าเสียหายจากการชนรถยนต์: ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้าม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน 71,852 บาท และดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จโดยโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์คันที่ถูกชนเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์กับค่าที่รถยนต์เสื่อมราคาและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 40,378 บาท และโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้รับประกันภัยเรียกร้องเงินที่ได้ชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมรถและค่าลากจูงรถยนต์ที่ถูกชนไปทำการซ่อมและดอกเบี้ยเป็นเงิน 31,474 บาทเป็นการฟ้องเรียกหนี้ที่อาจแบ่งแยกกันชำระได้ จึงไม่ใช้หนี้ร่วมค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนฟ้องเรียกต้องแยกออกจากกัน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิผู้ซื้อจากการบังคับคดี vs. การเพิกถอนการขายที่ยังไม่มีคำสั่ง
การร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดย อ้างว่าได้ดำเนินการโดย ฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง นั้นหากศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการขาย ย่อมมีผลทำให้เสมือนไม่มีการขายแม้จะมีการโอนทรัพย์ให้ผู้ซื้อไปแล้ว ก็จะต้องเพิกถอนการโอนนั้นหรือหากผู้ซื้อได้โอนให้แก่บุคคลอื่นก่อนแล้วไม่ว่าจะโอนไปกี่ทอดและไม่ว่าผู้รับโอนจะสุจริตหรือเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ก็จะต้องเพิกถอนการโอนหมดเพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แต่ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เพิกถอนการขาย ตราบนั้นก็ยังต้องถือว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยชอบ ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิรับโอนทรัพย์นั้นมาและโอนต่อ ๆ ไปได้ โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินอ้างว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยมิชอบศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่ขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ดังนั้น เมื่อศาลยังไม่มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดย่อมมีสิทธิรับโอนที่ดินแปลงนี้ตามคำสั่งศาล และมีสิทธิโอนต่อให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิรับโอนย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ ทั้งจำเลยที่ 1 ยังมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการโอนทรัพย์จากการขายทอดตลาดและการไม่มีอำนาจฟ้องหากยังไม่มีคำสั่งเพิกถอน
คดีร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยอ้างว่าได้ดำเนินการโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง นั้น หากศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยมิชอบก็จะมีคำสั่งให้เพิกถอนการขาย ซึ่งมีผลทำให้เสมือนไม่มีการขาย แม้จะมีการโอนทรัพย์ให้ผู้ซื้อไปแล้ว ก็จะต้องเพิกถอนการโอนนั้นหรือหากผู้ซื้อได้โอนให้แก่บุคคลอื่นก่อนแล้วไม่ว่าจะโอนไปกี่ทอดและไม่ว่าผู้รับโอนจะสุจริตหรือเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ก็จะต้องเพิกถอนการโอนหมดเพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายตราบนั้นก็ยังต้องถือว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยชอบผู้ซื้อย่อมมีสิทธิรับโอนทรัพย์มาได้และมีสิทธิโอนต่อ ๆ ไปได้ ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ยื่นคำร้องในคดีหมายเลขแดงที่ 265/2528ของศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินรายนี้อ้างว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยมิชอบ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้ เมื่อศาลยังไม่มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดย่อมมีสิทธิรับโอนที่ดินแปลงนี้ตามคำสั่งศาลและมีสิทธิโอนต่อให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิรับโอนก็ย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แต่อย่างไรและจำเลยที่ 1 ก็ยังมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ในการที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อและผลกระทบต่อการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล
การขายทอดตลาดฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองนั้นถ้าศาลสั่งเพิกถอนการขาย มีผลเสมือนไม่มีการขาย แม้มีการโอนทรัพย์นั้นให้ผู้ซื้อ แล้วก็จะต้องเพิกถอนการโอนไม่ว่าผู้รับโอนจะสุจริตหรือเสียค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการเพิกถอนการขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีสิทธิรับโอนทั้งมีสิทธิโอนให้ผู้อื่นโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ยังไม่ได้การรับโอนและการโอนไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องผู้ซื้อและผู้รับโอนต่อ ๆ มาซึ่งทรัพย์นั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดชอบของจำเลยในคดีรับของโจร: การคืนหรือใช้ราคาเฉพาะทรัพย์ที่ได้รับไป
กล้องถ่ายรูปและแว่นตากันแดด ของผู้เสียหายถูกคนร้ายลักไปแต่ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่รับสารภาพฐานรับของโจรฟังได้ว่าจำเลยรับเอากล้องถ่ายรูปไม่ได้รับเอาแว่นตากันแดด ไว้จึงไม่ชอบที่ศาลจะสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแว่นตากันแดด แก่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินสาธารณประโยชน์: การครอบครองและประโยชน์ใช้สอยที่ดินของแผ่นดิน
โจทก์ที่ 1 อ้างว่าได้ที่ดินพิพาทมาโดยซื้อมาจาก ล. และที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินมือเปล่า ซึ่ง ล. ได้แจ้งการครอบครองไว้ตาม ส.ค.1 แต่ปรากฏว่าตาม ส.ค.1 (เอกสารหมาย จ.2) ดังกล่าวระบุเนื้อที่ดินและทิศข้างเคียงไม่ตรงกับสัญญาซื้อขาย นอกจากนี้โจทก์ที่ 1 ไม่มีเจ้าของที่ดินข้างเคียงกับที่ดินพิพาทมาเบิกความสนับสนุน ส่วนโจทก์ที่ 4 อ้างว่าได้ที่ดินพิพาทโดยรับมรดกจากบิดามารดา ตาม ส.ค.1 (เอกสารหมาย จ.4) ซึ่ง ปัจจุบันที่ดินทางด้านทิศตะวันออก จดที่ดินของ บ. แต่โจทก์ที่ 4 ก็ไม่ได้นำบ. มาเบิกความยืนยันคงมีแต่น้องเขย บุตรสาว และบุตรเขยของโจทก์ที่ 4 เบิกความสนับสนุนเท่านั้น จึงอาจเบิกความเข้าข้างกันได้ สำหรับโจทก์ที่ 5 อ้างว่า ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส. นั้นก็ไม่มีหลักฐานการซื้อขายมาแสดง และไม่มีเจ้าของที่ดินข้างเคียงมาเบิกความสนับสนุนเช่นเดียวกัน ส่วนจำเลยนอกจากจำเลยที่ 1 ที่ 4ที่ 13 ที่ 14 และที่ 15 เบิกความเป็นพยานแล้ว ยังมีชาวบ้านอีกหลายคนซึ่งอยู่ตำบลเดียวกับที่ดินพิพาทและเจ้าพนักงานที่ดินเบิกความประกอบได้เจือสมตรงกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะสำหรับประชาชนใช้เป็นที่เลี้ยงโค กระบือ มาช้านานแล้ว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเกษตรกรประมาณ 40 คน ซึ่งมีโจทก์ที่ 4 รวมอยู่ด้วยได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินพิพาทปลูกพืชอยู่ 3 ปี ต่อมาผู้ใดจะเข้าไปทำประโยชน์ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่บ้านเป็นครั้งคราว และสภาตำบลลงมติให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสนามบินเก่าให้สร้างโรงเรียนบ้านน้ำอ้อม พยานจำเลยดังกล่าวมีกำนัน, อดีต ผู้ใหญ่บ้านและอดีต ครูใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำอ้อม ซึ่งต่างมีอายุมากและอยู่ในตำบลที่ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ตลอดมา โดยไม่ปรากฏว่ามีเรื่องโกรธเคืองกับโจทก์ที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ย่อมเชื่อได้ว่าพยานเบิกความตามความจริง ดังนี้ พยานหลักฐานของจำเลยจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ไม่มีสิทธิครอบครอง และการที่จำเลยเข้าไปปรับปรุงที่ดินพิพาทก็เพื่อใช้เป็นที่สร้างโรงเรียน โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ไม่สามารถทำนาในที่ดินพิพาทหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: สิทธิครอบครองและค่าเสียหายจากการปรับปรุงเพื่อสร้างโรงเรียน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสิบห้าบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งหน้าดิน กับไถดินปิดกั้นทางเกวียน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบห้าและให้จำเลยทั้งสิบห้าร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย แต่ทางพิจารณาข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง และการที่จำเลยเข้าไปปรับปรุงที่ดินพิพาทก็เพื่อใช้เป็นที่สร้างโรงเรียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ไม่สามารถเข้าทำนาในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2057/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น โดยการยุยงส่งเสริม และความรับผิดฐานผู้สนับสนุน
จำเลยตะโกนว่า พ่อมันมาแล้ว เอามันเลย แล้ว ส. ได้ใช้อาวุธปืนลูกซองยาวยิงผู้ตาย ดังนี้จำเลยต้องมีความผิดฐานยุยงส่งเสริมให้นาย ส. ฆ่าผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 84 ประกอบด้วยมาตรา 288 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำผิด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ใช้แตกต่างจากฟ้อง จึงลงโทษในความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำผิดไม่ได้ แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการสนับสนุนการกระทำผิดเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ด้วย ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยได้.