คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพ็ง เพ็งนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์ฟ้องผิดพลาด เมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการและดำเนินกิจการเอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าท่าเทียบเรือกับโจทก์ มีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 ต้องดำเนินกิจการต่อเนื่องและไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วง จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงเข้าดำเนินกิจการแทน และบรรยายฟ้องในตอนท้ายว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าในนามของแพปลาสินธ์ไพโรจน์ ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินกิจการท่าเทียบเรือดังกล่าวเพียงผู้เดียว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าที่ค้างชำระ ตามคำฟ้องจึงสรุปได้ว่าโจทก์ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทำสัญญากับโจทก์และจำเลยที่ 2เป็นผู้ดำเนินกิจการแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้เดิมเกิดขึ้นก่อน
จำเลยออกเช็คพิพาทแลกเงินสดจาก ว.ต่อมาว. นำเช็คดังกล่าวไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วม การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คจำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากไม่มีหนี้สินระหว่างกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดแต่ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ" ดังนั้นการออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องปรากฏในเบื้องแรกว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระก่อน แล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจาก ว. ก่อนออกเช็คจำเลยและว. หาได้มีหนี้ต่อกันไม่ การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน, ความผิดฐานปล้นทรัพย์, ตัวการร่วม, ลดโทษตามมาตรา 76/78
พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494มาตรา 8(1) กำหนดให้ศาลคดีเด็กและเยาวชนมีอำนาจเช่นเดียวกับศาลจังหวัดในคดีอาญาที่มีข้อหาว่า เด็กหรือเยาวชนกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเว้นแต่คดีอาญาที่มีข้อหาว่า เยาวชนซึ่งอายุเกินสิบหกปีบริบูรณ์กระทำความผิดในเหตุฉกรรจ์บางประเภทตามที่ระบุไว้รวมทั้งความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เมื่อจำเลยที่ 5 มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์และกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้จะกระทำความผิดในท้องที่ที่มีศาลคดีเด็กและเยาวชนเปิดดำเนินการแล้วก็ตาม เมื่อเป็นความผิดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ จำเลยที่ 5 ร่วมกับพวกอีก 4 คน พากันขึ้นไปบนรถยนต์โดยสารขณะที่พวกจำเลยทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่นั้น จำเลยที่ 5ยืนโหนบันไดรถบังไม่ให้คนอื่นเห็นการปล้นทรัพย์ที่พวกจำเลยกระทำอยู่เป็นการร่วมกระทำความผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 5จึงเป็นตัวการร่วมในความผิดฐานปล้นทรัพย์ การกำหนดโทษและการไม่ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย สำหรับความผิดที่ร่วมกันเป็นตัวการปล้นทรัพย์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นเหตุในลักษณะคดี เมื่อศาลฎีกาพิพากษาลดมาตราส่วนโทษและลดโทษให้จำเลยที่ฎีกา ย่อมมีอำนาจพิพากษาเลยไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีปล้นทรัพย์โดยเด็กวัยรุ่น ศาลฎีกาแก้ไขโทษ ลดมาตราส่วนโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์
จำเลยที่ 5 มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์ แม้ในท้องที่ของศาลชั้นต้นจะมีศาลคดีเด็กและเยาวชนเปิดดำเนินการแล้วก็ตามแต่เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 เป็นความผิดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 8(1) ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ จำเลยที่ 5 ยืนยังไม่ให้คนอื่นเห็นการชิงทรัพย์ของจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 จึงเป็นการร่วมกระทำความผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 5 เป็นตัวการร่วมในความผิดฐานปล้นทรัพย์ จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดในขณะแต่ละคนอายุไม่เกิน 20 ปีโดยมิได้ใช้กำลังประทุษร้ายมิได้ใช้อาวุธหรือพูดว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพียงแต่ใช้กิริยาท่าทีในการขู่บังคับ พฤติการณ์แห่งความผิดไม่ร้ายแรงนัก เป็นการกระทำของเด็กวัยคะนอง สมควรลงโทษสถานเบาและลดมาตราส่วนโทษให้ด้วย ปัญหาการกำหนดโทษและการไม่ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยทั้งห้า สำหรับความผิดในลักษณะนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนในคดีปล้นทรัพย์ของจำเลยอายุเกิน 16 ปี และการลดโทษในคดีอาญา
พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494มาตรา 8(1) กำหนดให้ศาลคดีเด็กและเยาวชนมีอำนาจเช่นเดียวกับศาลจังหวัดในคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเว้นแต่คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเยาวชนซึ่งอายุเกินสิบหกปีบริบูรณ์กระทำความผิดในเหตุฉกรรจ์บางประเภทตามที่ระบุไว้รวมทั้งความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340จำเลยที่ 5 มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์และกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้จะกระทำความผิดในท้องที่ที่มีศาลคดีเด็กและเยาวชนเปิดดำเนินการแล้วก็ตาม เมื่อเป็นความผิดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลอาญาธนบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ จำเลยที่ 5 ร่วมกับพวกอีก 4 คน พากันขึ้นไปบนรถยนต์โดยสารขณะที่พวกจำเลยทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่จำเลยที่ 5 ยืนโหนบันไดรถบังไม่ให้คนอื่นเห็นการปล้นทรัพย์ที่พวกจำเลยกระทำเป็นการร่วมกระทำความผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 5 จึงเป็นตัวการร่วมในความผิดฐานปล้นทรัพย์ การกำหนดโทษและการไม่ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย สำหรับความผิดที่ร่วมกันเป็นตัวการปล้นทรัพย์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาพิพากษาลดมาตราส่วนโทษและลดโทษให้จำเลยที่ฎีกา และให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: จำเป็นต้องระบุสถานะงานลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของต่างประเทศในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า บริษัท ท. เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง ซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ เป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์เรื่องเดชเซียวฮื่อยี่ ซึ่งได้นำออกโฆษณาเผยแพร่ครั้งแรกในเมืองฮ่องกง โดย มิได้บรรยายว่าภาพยนตร์ ดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงมาด้วย การบรรยายว่าได้นำออกโฆษณาเผยแพร่ครั้งแรกในเมืองฮ่องกงนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การคุ้มครองงานต่างประเทศต้องแสดงหลักฐานการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศนั้น
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าบริษัท ท. เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษเป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ตามฟ้อง ซึ่งได้นำภาพยนตร์ดังกล่าวออกโฆษณาเผยแพร่ครั้งแรกในเมืองฮ่องกง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงมาด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงินจากการเบิกความต่อศาลในคดีอื่น ย่อมใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือ
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรกนั้น อาจเกิดขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ บันทึกคำให้การพยานที่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์คดีนี้จริงและยังมิได้ชำระหนี้คืนนั้น เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน: คำให้การในคดีอาญาใช้เป็นหลักฐานได้ แม้ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคแรกนั้น อาจเกิดขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้
บันทึกคำให้การพยานที่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์คดีนี้จริงและยังมิได้ชำระหนี้คืนนั้น เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยได้
of 54