พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในความผิดอาญา: การกระทำของพวกต้องรับผิดชอบร่วมกัน แม้ผู้กระทำหลักไม่ได้เจตนา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านว่าไม่ได้ร่วมกระทำผิด คงมีโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามฟ้องข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฉะนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 297 จำเลยจะฎีกาว่า ไม่ได้เป็นตัวการร่วมกระทำผิด ขอให้ยกฟ้องหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จำเลยร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย แม้ในการร่วมกระทำผิด จำเลยมีเจตนาเพียงชกผู้เสียหายครั้งเดียวที่โหนกแก้ม มิได้มีเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส แต่เมื่อพวกของจำเลยคนหนึ่งได้ใช้มีดฟันข้อมือผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ไม่ว่าจำเลยจะทราบว่าพวกของตนมีมีดหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำนั้นด้วย จะถือเป็นเรื่องต่างคนต่างทำไม่ได้ ถือได้ว่าเป็นผลจากการกระทำของผู้ร่วมกระทำผิดทุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้ร่วมกระทำผิด กรณีพวกกระทำผิดร้ายแรงกว่า แม้ผู้กระทำผิดเองไม่มีเจตนา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 295 โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ว่าไม่ได้ร่วมกระทำผิด คงมีโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามฟ้อง ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 จำเลยจะฎีกาว่าไม่ได้เป็นตัวการร่วมกระทำผิดหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 ในการร่วมกระทำผิดแม้จำเลยมีเจตนาเพียงชกผู้เสียหายครั้งเดียวมิได้มีเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส แต่เมื่อพวกของจำเลยคนหนึ่งได้ใช้มีดฟันข้อมือผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ไม่ว่าจำเลยจะทราบว่าพวกของตนมีมีดหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำนั้นด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการร่วมในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของพวก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ผู้เสียหายถูกพวกของจำเลยใช้มีดฟันข้อมือได้รับอันตรายสาหัส แต่จำเลยเพียงชกต่อยผู้เสียหายเท่านั้นจึงลงโทษเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 295 จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ คงมีโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามฟ้อง ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัส ตาม ป.อ. มาตรา 297จำเลยจะฎีกาว่าไม่ได้เป็นตัวการร่วมกระทำผิด ขอให้ยกฟ้องหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์
ในการร่วมกระทำผิดแม้จำเลยมีเจตนาเพียงชกผู้เสียหายครั้งเดียวที่โหนกแก้มมิได้มีเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส แต่เมื่อพวกของจำเลยคนหนึ่งได้ใช้มีดฟันข้อมือผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัส ไม่ว่าจำเลยจะทราบว่าพวกของตนมีมีดหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำนั้นด้วย จะถือเป็นเรื่องต่างคนต่างทำไม่ได้ เพราะเป็นผลจากการกระทำของผู้ร่วมกระทำผิดทุกคน
ในการร่วมกระทำผิดแม้จำเลยมีเจตนาเพียงชกผู้เสียหายครั้งเดียวที่โหนกแก้มมิได้มีเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส แต่เมื่อพวกของจำเลยคนหนึ่งได้ใช้มีดฟันข้อมือผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัส ไม่ว่าจำเลยจะทราบว่าพวกของตนมีมีดหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำนั้นด้วย จะถือเป็นเรื่องต่างคนต่างทำไม่ได้ เพราะเป็นผลจากการกระทำของผู้ร่วมกระทำผิดทุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดและการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม: การมอบอำนาจที่ไม่ชัดเจนและการโต้แย้งสิทธิ
การฟ้องคดีเรื่องจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินกับเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยนำบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกให้เช่าเป็นคนละเรื่องมิได้เกี่ยวเนื่องกันเมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ย. ดำเนินคดีเฉพาะเรื่องจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดิน ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์จะเบิกความว่าได้ให้ ย. ดำเนินคดีเกี่ยวกับละเมิดและเรียกค่าเสียหายด้วยก็จะฟังคำเบิกความดังกล่าวเป็นการให้สัตยาบันตามกฎหมายหาได้ไม่ คำฟ้องเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหายจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีก่อนศาลวินิจฉัยเพียงว่า ตามคำฟ้องโจทก์ยังไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ มิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ขอแบ่งสัดส่วนในที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยโดยขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกให้ เป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งจำเลยในฐานะผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมจะต้องดำเนินการทางทะเบียนด้วย เมื่อจำเลยไม่ยอมดำเนินการดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: นับจากวันเผยแพร่จริง ไม่ใช่วันลงในราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ และที่มาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91 ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่า "วันโฆษณา"ตามมาตรา 91 นั้น หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาจึงต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา แต่ราชกิจจานุเบกษาพิมพ์เสร็จและนำออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2532 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน อันเป็นวันโฆษณา คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามความหมายในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 หาใช่วันที่ในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นการลงล่วงหน้าไม่ เพราะวันดังกล่าวยังไม่มีการพิมพ์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: นับจากวันเผยแพร่จริง ไม่ใช่วันลงวันที่ในราชกิจจานุเบกษา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 28 ซึ่งกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับและมาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่า "วันโฆษณา" ตามมาตรา 91นั้น หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คดีนี้มีการโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษาหลังจากโฆษณาคำสั่งในหนังสือพิมพ์รายวัน การนับวันโฆษณาจึงต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา แต่ราชกิจจานุเบกษาตอนนี้เพิ่งพิมพ์เสร็จและนำออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2532 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน อันเป็นวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามความหมายในมาตรา 91 หาใช่วันที่ในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นการลงล่วงหน้าไม่ เพราะวันดังกล่าวยังไม่มีการพิมพ์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2533 จึงยังไม่เกินกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษี และดอกเบี้ยเงินฝากสมทบทุนที่ไม่เป็นเงินได้ของนิติบุคคล
มีการติดตามหาตัวลูกหนี้และทวงหนี้แล้วหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับชำระถือว่าได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วจึงจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) โดยไม่จำต้องฟ้องร้องบังคับคดีจนถึงที่สุดเสียก่อน โจทก์หักเงินเดือนของพนักงานที่เป็นสมาชิกทุกเดือน ตามข้อบังคับว่าด้วยเงินทุนสะสมแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีสมทบทุนที่เปิดไว้ในชื่อของสมาชิกเป็นรายบุคคล โจทก์จะจ่ายยอดเงินทั้งสิ้นในบัญชีสมทบทุนของสมาชิกให้แก่สมาชิกเมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลงโดยมีกรรมการผู้จัดการและพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นผู้ควบคุมในการถอนเงินจากธนาคาร โจทก์มิได้ครอบครองตัวเงินไว้เองและไม่มีสิทธิได้รับเงินในบัญชีสมทบทุนดังกล่าว ดังนั้น ดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้แก่เงินฝากตามบัญชีสมทบทุนจึงไม่ใช่เงินได้ของโจทก์ไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การจำหน่ายหนี้สูญ, การรับรู้รายได้, ค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควร, และการพิสูจน์หลักฐานการจ่ายเงิน
โจทก์ตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีโดยวิธีตัดราคาลงตามกฎเกณฑ์ของโจทก์ แต่สินค้าประเภท ชนิดคุณภาพและสภาพเดียวกันกับของโจทก์มิได้มีการซื้อขายกันในท้องตลาดตามราคาที่โจทก์ได้ตีไว้ หรือโจทก์ได้ขายสินค้าในวันตีราคาหรือหลังวันดังกล่าวไปตามราคาที่โจทก์ได้ตีไว้ ราคาสินค้าคงเหลือที่โจทก์ได้ตีไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นราคาตลาด การที่โจทก์นำราคาดังกล่าวซึ่งต่ำกว่าราคาทุนมาเป็นราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(6)เป็นเหตุให้การคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์แต่ละรอบระยะเวลาบัญชีคลาดเคลื่อนไป การที่เจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงกำไรสุทธิและภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ใหม่ โดยคำนวณราคาสินค้าคงเหลือของโจทก์ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามราคาทุนจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์อ้างว่าโจทก์จ่ายค่านายหน้าตามเอกสารที่มีลายมือชื่อและที่อยู่ของนายหน้า แต่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินไม่เชื่อถือเอกสารดังกล่าว ไม่ยอมให้โจทก์ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และต่อศาล แต่โจทก์มิได้นำนายหน้ามาให้การหรือเบิกความ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จ่ายเงินด้วยเช็คระบุชื่อผู้รับเพื่อให้เป็นหลักฐานว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่นายหน้าไปจริง ส่วนใหญ่ก็เป็นรายการขายสินค้าให้แก่ทางราชการซึ่งปกติไม่จำเป็นต้องมีค่านายหน้า ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่านายหน้าให้แก่ผู้รับตามเอกสารที่โจทก์อ้างจึงเป็นกรณีที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี(18) โจทก์จึงนำรายจ่ายดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ใบเสร็จรับเงินค่าซื้อสินค้าที่ไม่ได้ระบุทะเบียนการค้าและสถานการค้าของผู้รับเงินไว้ และเลขบ้านที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงินก็ไม่มีอยู่จริงบ้าง เป็นเลขบ้านในสลัมซึ่งมิได้ประกอบการค้าบ้างเป็นเลขบ้านที่บุคคลในบ้านมีชื่อไม่ตรงกับผู้รับเงินและประกอบการค้าต่างชนิดกับสินค้าตามใบเสร็จรับเงินบ้าง ทั้งโจทก์มิได้นำผู้ขายมายืนยันว่าได้ขายสินค้าและรับเงินจากโจทก์ตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์อ้าง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จ่ายเงินด้วยเช็คระบุชื่อผู้ขายทั้ง ๆ ที่สินค้าบางรายการมีราคาถึง 100,000 บาท พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือ ไม่พอที่จะฟังว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้รับตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์อ้าง ถือได้ว่ารายจ่ายค่าซื้อสินค้าดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ กรรมการบริษัทโจทก์ใช้ดุลพินิจในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้หลังจากที่ให้พนักงานฝ่ายขายติดตามหาลูกหนี้และทวงถามหลายครั้ง และในรายที่จำนวนหนี้สูงก็ให้ทนายความมีหนังสือทวงถาม แต่ไม่ได้รับชำระ ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จึงเป็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้โดยชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) ที่ใช้บังคับอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาท หาจำต้องฟ้องร้องบังคับจนถึงที่สุดก่อน เพราะกฎหมายบัญญัติให้ปฏิบัติการโดยสมควรเท่านั้น ดอกเบี้ยเงินกองทุนในส่วนที่เกิดจากเงินที่พนักงานโจทก์แต่ละคนจ่ายสะสมเข้ากองทุน ไม่ถือเป็นเงินได้ของโจทก์ที่จะต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเงินสะสมดังกล่าวฝากธนาคารในชื่อของพนักงานเป็นรายบุคคล มีกรรมการผู้จัดการสมุห์บัญชีและผู้จัดการงานบุคคลของโจทก์เป็นผู้ควบคุมในการถอนเงิน โจทก์หาได้ครอบครองตัวเงินไว้เองหรือมีสิทธิได้รับเงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง กรณีรื้อถอนอาคารและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
ตามสัญญาซื้อขายอาคารเพื่อรื้อถอนไป จำเลยที่ 1ยินยอมรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่เทศบาลเมืองสระบุรีผู้ขายและบุคคลภายนอกอันเนื่องจากการรื้อถอนอาคารและเก็บขนวัสดุที่รื้อถอนของจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อทั้งสิ้นและเมื่อรื้อถอนตึกแถวแล้ว ตึกพังลงทับสายโทรศัพท์โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ก็ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสระบุรีไว้เป็นหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 ได้จ้างจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 4 คน ให้ช่วยกันรื้อถอนตึกแถวตลาดเทศบาลเมืองสระบุรี การทำงานของจำเลยที่ 2 อยู่ในความควบคุมและสั่งการของจำเลยที่ 1 อย่างใกล้ชิด แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำการรื้อตึกแถวด้วยตนเองเพียงแต่ จ้างแรงงานของจำเลยที่ 2 กับพวก เพราะหากจำเลยที่ 1 ไม่มีความประสงค์จะรื้อถอนด้วยตนเอง ก็ไม่มีเหตุที่จะยอม ทำสัญญายอมรับผิดชอบเรื่องความเสียหายไว้ล่วงหน้า อีกทั้งโจทก์เคยเจรจาเรื่องค่าเสียหายกับจำเลยที่ 1 แต่ตกลงกันไม่ได้ โดยไม่ปรากฏรายละเอียดว่าจำเลยที่ 1 ได้อ้างเหตุผลที่ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และกระทำการ ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีของกลางก็ฟังได้จากคำรับสารภาพ
จำเลยพาอาวุธปืนพกเข้าไปร่วมชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย การพาอาวุธปืนของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนด้วยแม้เจ้าพนักงานตำรวจจะไม่ได้อาวุธปืนนั้นมาเป็นของกลางเพื่อยืนยันว่าเป็นอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับอยู่หรือไม่ก็ตาม แต่ในชั้นสอบสวน จำเลยก็ให้การรับสารภาพในความผิดข้อหานี้คดีจึงฟังได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อไม่ปรากฏว่าอาวุธปืนที่จำเลยนำไปกระทำผิดเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายแล้วหรือไม่จึงต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยว่าเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายแล้ว