คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพ็ง เพ็งนิติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวทนาย, การชี้สองสถานโดยผู้พิพากษาคนเดียว และการดำเนินการตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร
คำร้องขอถอนตัวของทนายโจทก์ไม่ปรากฏว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วหรือหาตัวความไม่พบ จึงเป็นคำร้องขอถอนตนจากการตั้งแต่งให้เป็นทนายความที่ไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่ศาลต้องอนุญาตให้ทนายถอนตัว และศาลไม่มีหน้าที่คอยระวังความเสียหายให้โจทก์จากการกระทำที่ไม่ชอบของทนายความที่โจทก์เป็นผู้แต่งตั้งการสั่งคำร้องดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ที่ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำ หรือออกคำสั่งได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 16 แม้ทนายของคู่ความหรือตัวความไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ศาลก็ทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 13 โดยไม่จำต้องเลื่อนการชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรกลางนำรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์เป็นการชอบตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ที่กำหนดไว้ว่าศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามที่เห็นสมควร ในการชี้สองสถาน ศาลไม่จำต้องสอบถามคู่ความเสมอไปเกี่ยวกับข้ออ้างข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร หากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวทนาย, การชี้สองสถาน, และการดำเนินการพิจารณาคดีภาษีอากรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำร้องของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตนเองจากการเป็นทนาย มิได้กล่าวว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วหรือหาตัวความไม่พบถือได้ว่าทนายโจทก์มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุดังกล่าวตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 วรรคแรกประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 บังคับไว้ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่ศาลต้องอนุญาตให้ทนายถอนตัว การสั่งคำร้องของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตัวจากการเป็นทนายและขอเลื่อนคดี เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำหรือออกคำสั่งดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 16 ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ได้กำหนดไว้ว่า ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆก็ได้ตามที่เห็นสมควร การที่ศาลภาษีอากรกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์ก็ชอบด้วยข้อกำหนดดังกล่าว การที่ผู้พิพากษาคนเดียวทำการชี้สองสถานไม่ครบองค์คณะโจทก์มิได้คัดค้านในขณะนั้นถือว่าไม่ติดใจคัดค้านในเรื่ององค์คณะ จึงยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ไม่ได้ ศาลภาษีอากรกลางทำการชี้สองสถานโดยนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความเทียบกันดูแล้ว กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบโดยศาลมิได้สอบถามคู่ความถึงข้ออ้างข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร ถ้าเป็นกรณีที่ไม่จำต้องสอบถามเนื่องจากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้ว การชี้สองสถานนั้นก็ชอบด้วยข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญชาติและการกระทำผิดขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน กรณีบุคคลสัญชาติญวนอพยพ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ประกาศ ณ วันที่ 13ธันวาคม พุทธศักราช 2515 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเพิกถอนกับการไม่ให้สัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดก่อนและหลังประกาศใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อจำเลยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพและจำเลยเกิดในราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 2499 จำเลยจึงถูกเพิกถอนสัญชาติไทยไปแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวแล้วซึ่งจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายเสียก่อนจึงจะออกนอกเขตจังหวัดหนองคายได้ เมื่อจำเลยออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจึงย่อมมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญชาติและการจำกัดสิทธิการเดินทางออกจากจังหวัด
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคมพุทธศักราช 2515 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเพิกถอนกับการไม่ให้สัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดก่อนและหลังประกาศใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อจำเลยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพและจำเลยเกิดในราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ.2499 จำเลยจึงถูกเพิกถอนสัญชาติไทยไปแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวแล้ว ซึ่งจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายเสียก่อนจึงจะออกนอกเขตจังหวัดหนองคายได้ เมื่อจำเลยออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจึงย่อมมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญชาติและการกระทำผิดฐานหลบหนีเขตควบคุม: จำเลยถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ จึงต้องได้รับอนุญาตก่อนออกจากเขตควบคุม
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 13ธันวาคม พ.ศ. 2515 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเพิกถอนสัญชาติไทยกับการไม่ให้สัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดก่อนและหลังการประกาศใช้เมื่อจำเลยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพและจำเลยเกิดในราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 2494 จำเลยจึงถูกเพิกถอนสัญชาติไทยไปแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญชาติและการจำกัดสิทธิการเดินทางของคนญวนอพยพที่เกิดในไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ประกาศ ณ วันที่ 13ธันวาคม พุทธศักราช 2515 กำหนดหลักเกณฑ์การเพิกถอนกับการไม่ให้สัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดก่อนและหลังประกาศใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อจำเลยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพและจำเลยเกิดในราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 2494 จำเลยจึงถูกเพิกถอนสัญชาติไทยไปแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว จำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อนจึงออกนอกเขตจังหวัดได้ เมื่อจำเลยออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันแม้ไม่บอกกล่าว
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นเอกสารที่จะต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 และตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ก็มีผลเพียงว่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น แม้ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรก็ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ ในระหว่างที่เป็นลูกจ้างโจทก์จำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำนวนหนึ่ง ขอให้จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายเมื่อใด และค่าเสียหายแต่ละรายการเป็นจำนวนเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เหตุที่จำเลยที่ 1 ต้องทำสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในระหว่างเป็นลูกจ้างโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 เข้าผูกพันตนยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1ดังกล่าว และตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โจทก์จะต้องบอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ก่อนแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นเอกสารที่จะต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 และตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ดังนั้น ขณะยื่นฟ้องต่อศาล หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ก็ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 เข้าผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างของจำเลยที่ 1และตามสัญญาค้ำประกัน ก็ไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2ไว้ว่าหากจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โจทก์จะต้องบอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ก่อนดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในระหว่างเป็นลูกจ้างโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจและฟ้องเคลือบคลุม: ฟ้องไม่สมบูรณ์หากเอกสารไม่ถูกต้อง แต่ฟ้องไม่เคลือบคลุมหากรายละเอียดสืบได้ในชั้นพิจารณา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นเอกสารที่จะต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 118 และตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ก็มีผลเพียงว่า จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้น แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรก็ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ ในระหว่างที่เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย 468,730.38 บาท ขอให้จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว สำหรับข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายเมื่อใด และค่าเสียหายแต่ละรายการเป็นจำนวนเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันบุกรุกทำร้ายร่างกาย: การสมคบแบ่งหน้าที่และรอการลงโทษ
จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ปิกอัพมาจอดที่หน้าบ้าน น. แล้วจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.น้องภริยาจำเลยที่ 1 ลงจากรถวิ่งเข้าไปในบ้าน น. ไล่ตีทำร้ายผู้เสียหาย ดังนี้ แม้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 เพียงแต่ถือมีดกับปืนคอยป้องกันไม่ให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยโดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำร้ายผู้ใดก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2ร่วมไปกับจำเลยอื่นและพวกแล้วถือมีดกับปืนคอยป้องกันไม่ให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยในขณะที่จำเลยอื่นและพวกไล่ตีทำร้ายผู้เสียหาย เช่นนี้พฤติการณ์ส่อแสดงว่า จำเลยที่ 2 พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในขณะที่จำเลยอื่นและพวกกระทำผิดดังกล่าว มีลักษณะเป็นการสมคบแบ่งหน้าที่ร่วมกันกระทำ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยอื่นและพวกบุกรุกเข้าไปในเคหสถานและทำร้ายร่างกายผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295,365(1)(2) ประกอบด้วยมาตรา 364,83
of 54