พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติม: ศาลรับฟังพยานหลักฐานแม้ไม่ได้แสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการอุทธรณ์ได้
การที่โจทก์ถูกประเมินภาษีการค้าแล้ว มิได้นำพยานหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมิน หรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังสามารถนำมาแสดงในชั้นศาลได้ภายใต้ ป.วิ.พ. และกฎหมายอื่นที่ว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานเนื่องจากไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติตัดสิทธิได้ แม้เอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเป็นเพียงสำเนาที่ไม่มีพยานเบิกความรับรองก็ตาม แต่ต้นฉบับเอกสารดังกล่าวก็อยู่ในความครอบครองของจำเลยและจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องของสำเนาเอกสาร ศาลรับฟังเป็นพยานได้ เมื่อตามพยานหลักฐานฟังได้ว่า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยประเมินเพิ่มเติมนั้นเป็นการประเมินในดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ย่อมเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ เนื่องจากโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าในรายรับดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3258/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้
ในคดีที่ผู้ร้องร้องคัดค้านต่อศาลปฏิเสธหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่ในฐานเป็นคู่ความมาแต่แรก หาใช่ผู้เริ่มต้นฟ้องคดีตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 145(4) กำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ก่อนไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจฟ้องฎีกาโดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3207/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยในคดีล้มละลาย: การสอบสวนหนี้สินต้องให้ความเป็นธรรมและตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์1,578,355.08 บาท โดยเป็นเงินต้น 785,056.68 บาท ดอกเบี้ย793,298.40 บาท ยอดดอกเบี้ยเป็นการคำนวณนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้ ต. จะให้การเป็นพยานเจ้าหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนว่าในส่วนของดอกเบี้ยเป็นการขอรับชำระนับแต่วันชำระครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏเหตุที่เจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยก่อนหน้านั้น การสอบสวนในเรื่องหนี้สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 105 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และทำความจริงในเรื่องหนี้สินให้ปรากฏ เมื่อ ต.ให้การถึงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าว แต่เมื่อคำนวณแล้วปรากฏว่าต่างกับจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระมาก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องสอบสวนต่อไปว่าเหตุใดเจ้าหนี้จึงยื่นขอรับชำระเกินเพื่อให้ ต.อธิบาย ต. คำนวณแล้วก็จะทราบว่าที่ให้การไปนั้นผิดหลง ความจริงเป็นการขอรับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นมา มิใช่ถือโอกาสจากความผิดพลาดของพยานดังกล่าวมาเป็นเหตุอ้างมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในส่วนนั้นเป็นการไม่ให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ หนี้ค่าดอกเบี้ยจำนวน 286,366.85 บาท ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อ้างว่าเจ้าหนี้ขอเกินมาเป็นหนี้ค่าดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจนถึงวันที่มีการชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามที่ยื่นขอมาเต็มจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และการพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตในพื้นที่ห่างไกล
จำเลย คว้า เอา อาวุธ ปืนแก๊ป ยาว ที่ ผู้ตาย พิง ไว้ ที่ ต้น ไม้ มา ยิง ผู้ตาย ใน ทันที ทันใด โดย ไม่มี เหตุ ป้องกัน ตน การกระทำ ของ จำเลย จึง เป็น ความผิด ฐาน ฆ่า ผู้อื่น โดย เจตนา ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ที่เกิดเหตุ อยู่ ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติ หลัง เกิดเหตุ จำเลย พา อาวุธปืน เดิน ไป ตาม ป่า ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ปรากฏ ว่า เป็น ทาง ที่ ประชาชน ใช้ ใน การจราจร ไม่มี หมู่บ้าน เพราะ เดิน อ้อม ภูเขา จึง ไม่อาจ ถือได้ว่า จำเลย พา อาวุธปืน ไป ใน หมู่บ้าน หรือ ทางสาธารณะ โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต การกระทำ ของ จำเลย ไม่เป็น ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและการพกพาอาวุธปืนในพื้นที่ป่าสงวน
จำเลยคว้าเอาอาวุธปืนแก๊ปยาวที่ผู้ตายพิงไว้ที่ต้นไม้มายิงผู้ตายในทันทีทันใดโดยไม่มีเหตุป้องกันตน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป.อ.มาตรา 288
ที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หลังเกิดเหตุจำเลยพาอาวุธปืนเดินไปตามป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ปรากฏว่าเป็นทางที่ประชาชนใช้ในการจราจร ไม่มีหมู่บ้าน เพราะเดินอ้อมภูเขา จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิวรรคหนึ่ง
ที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หลังเกิดเหตุจำเลยพาอาวุธปืนเดินไปตามป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ปรากฏว่าเป็นทางที่ประชาชนใช้ในการจราจร ไม่มีหมู่บ้าน เพราะเดินอ้อมภูเขา จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิวรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกระทำความผิดทำร้ายร่างกาย: การแบ่งหน้าที่ชัดเจนบ่งชี้เจตนา
การที่จำเลยเดินเข้าไปในที่เกิดเหตุพร้อมกับ ก. และ ฉ.ซึ่งเคยมีเรื่องชกต่อยกับผู้เสียหายเมื่อ 2 วันก่อน ซึ่งจำเลยรู้เรื่องดีอยู่แล้ว ก. ชกต่อยผู้เสียหายและจับตัวผู้เสียหายให้ฉ. ใช้มีดฟันผู้เสียหายที่ศีรษะ จนได้รับอันตรายสาหัส ส่วนจำเลยเข้าไปยืนชิดตัว ช.เพื่อนผู้เสียหายไม่เปิดโอกาสให้ช.เข้าช่วยเหลือผู้เสียหาย หลังเกิดเหตุแล้ว ก. ฉ. และจำเลยเดินกลับไปด้วยกัน เช่นนี้แสดงให้เห็นว่า จำเลยร่วมกระทำความผิดกับ ก. และ ฉ. โดยแบ่งแยกหน้าที่กันทำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกระทำความผิด แบ่งแยกหน้าที่: การรู้เห็นเป็นใจและกีดขวางการช่วยเหลือ
การที่จำเลยเดินเข้าไปในที่เกิดเหตุพร้อมกับ ก.และ ฉ.ซึ่งเคยมีเรื่องชกต่อยกับผู้เสียหายเมื่อ 2 วันก่อน ซึ่งจำเลยรู้เรื่องดีอยู่แล้ว ก.ชกต่อยผู้เสียหายและจับตัวผู้เสียหายให้ ฉ.ใช้มีดฟันผู้เสียหายที่ศีรษะ จนได้รับอันตรายสาหัสส่วนจำเลยเข้าไปยืนชิดตัว ช.เพื่อนผู้เสียหาย ไม่เปิดโอกาสให้ ช.เข้าช่วยเหลือผู้เสียหาย หลังเกิดเหตุแล้ว ก.ฉ.และจำเลยเดินกลับไปด้วยกัน เช่นนี้แสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดกับ ก.และ ฉ.โดยแบ่งแยกหน้าที่กันทำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีโต้แย้งสิทธิในที่ดิน: จำเลย (นายอำเภอ) ไม่ต้องรับผิดเมื่อมีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี
ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์มีข้อโต้แย้งกับ ฮ. หรือผู้จัดการมรดกของ ฮ.ที่ไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ครอบครองตามหนังสือสัญญาเลิกหุ้นส่วนโจทก์ต้องว่ากล่าวดำเนินคดีทางศาลแก่ ฮ.หรือผู้จัดการมรดกของ ฮ.ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71ประกอบด้วยมาตรา 72 หมายถึง ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจะต้องมีสิทธิในอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยชอบและคู่กรณีนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่หนังสือแสดงสิทธิเป็นของผู้อื่นและยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่เช่นกรณีของโจทก์ไม่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่สามารถที่จะจดทะเบียนสิทธิครอบครองให้ได้ขอให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบไม่เป็นละเมิดและไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: การพิจารณาจากแนวเขตแผนที่ แม้ไม่ได้ระบุชื่อตำบลโดยตรง
แม้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าพนมดงรัก ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2521 มาตรา 3 จะกำหนดให้บริเวณ ที่ดินป่าพนมดงรักเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉพาะในท้องที่ตำบลโนนสูงตำบลบักดอกอำเภอขุนหาญ และตำบลละลา ตำบลบึงมะลูอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมิได้ระบุชื่อตำบลรุงอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษไว้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในแนวเขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ต้องถือว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินแผ้วถางทำลายต้นไม้พฤกษชาติอื่นและปลูกกระท่อมพักอาศัยโดยจำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดตามโจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การบุกรุกพื้นที่ป่า และความผิดตามกฎหมาย
แม้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่านพมดงรักฯ ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตรว์ป่า พ.ศ.2521 มาตรา 3 จะกำหนดให้บริเวณที่ดินป่าพนมดงรักเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉพาะในท้องที่ตำบลโนนสูง ตำบลบักดอก อำเภอขุนหาญ และตำบลละลายตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมิได้ระบุชื่อตำบลรุง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษไว้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในแนวเขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ต้องถือว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินแผ้วถางทำลายต้นไม้พฤกษชาติอื่นและปลูกกระท่อมพักอาศัยโดยจำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดตามโจทก์ฟ้อง