พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสำแดงสินค้าขาเข้าที่ไม่เป็นราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินราคาใหม่ได้
ราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาที่ผู้ขายได้ให้ส่วนลดแก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ขายจัดทำกันขึ้นเอง จะถือว่าเป็นราคาที่แท้จริงในท้องตลาดไม่ได้ถึงแม้โจทก์จะอ้างว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการของสินค้าออกไป โจทก์ได้ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนอะไรไปบ้าง จึงยังฟังไม่ได้ว่ามีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการออกไปจริง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายให้ส่วนลดพิเศษแล้วโจทก์ก็ยังขาดทุน เห็นว่า แม้โจทก์จะขายสินค้าพิพาทไปไม่มีกำไรแต่หากโจทก์ไม่ส่งเข้ามาจำหน่ายจะถูกแย่งตลาดไปแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องนำสินค้าพิพาทเข้ามาขายในราชอาณาจักรแม้จะได้กำไรน้อยหรือไม่ได้กำไรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสินค้าพิพาท: ส่วนลดพิเศษและผลกระทบต่อการประเมินราคา
ราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาที่ผู้ขายได้ให้ส่วนลดแก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ขายจัดทำกันขึ้นเอง จะถือว่าเป็นราคาที่แท้จริงในท้องตลาดไม่ได้ ถึงแม้โจทก์จะอ้างว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการของสินค้าออกไป โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนอะไรไปบ้าง จึงยังฟังไม่ได้ว่ามีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการออกไปจริง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายให้ส่วนลดพิเศษแล้วโจทก์ก็ยังขาดทุน เห็นว่า แม้โจทก์จะขายสินค้าพิพาทไปไม่มีกำไรแต่หากโจทก์ไม่ส่งเข้ามาจำหน่ายจะถูกแย่งตลาดไป แสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องนำสินค้าพิพาทเข้ามาขายในราชอาณาจักรแม้จะได้กำไรน้อยหรือไม่ได้กำไรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรและการรับผิดของผู้ชำระบัญชีต่อหนี้ภาษี
โจทก์แจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1ทราบว่าจะต้องเสียภาษีจำนวนเท่าใด ถือว่ามีจำนวนหนี้ภาษีที่โต้แย้งกันแล้วเมื่อไม่ชำระโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกให้ชำระภาษีจำนวนดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องรอให้กำหนดระยะเวลา 30 วันที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลสิ้นสุดลงเสียก่อน ส่วนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2-8 ร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยที่ 2 นำไปแบ่งให้จำเลยที่ 2-8 ในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 หาใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรหลังแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ และขอบเขตอำนาจศาลภาษีอากรในการพิจารณาความรับผิดของกรรมการ/ผู้ถือหุ้น
เมื่อกรมสรรพากรซึ่งเป็นโจทก์ ได้แจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าจะต้องเสียภาษีเท่าใด ถือว่ามีจำนวนหนี้ภาษีที่โต้แย้งกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง จำเลยให้ชำระภาษีจำนวนดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องรอให้กำหนดระยะเวลา 30 วัน ที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลสิ้นสุดลงเสียก่อน การฟ้องให้จำเลยที่ 2-8 ร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ชำระบัญชีและผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่นำเงินของจำเลยที่ 1 ไปจ่ายคืนค่าหุ้นให้แก่จำเลยที่ 2-8 หาใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษา ตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังล้มละลาย: การให้ได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่นขัดต่อกฎหมาย
การที่จำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้ผู้คัดค้านจำนวน 48,100 บาทหลังจากที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายแล้ว โดยจำเลยเป็นหนี้เจ้าหนี้อื่นอีก 5 ราย ที่ยื่นขอรับชำระหนี้ไว้ถึง 11 ล้านบาทเศษการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระให้แก่ผู้คัดค้านเพียงรายเดียว โดยเจ้าหนี้อื่นมิได้รับการแบ่งชำระด้วย จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นการมุ่งให้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่น เข้าหลักเกณฑ์ที่จะให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้ไว้โดยสุจริตหรือไม่ การเพิกถอนการชำระหนี้เป็นผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการชำระหนี้ ก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบ กรณีถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดตั้งแต่วันยื่นคำร้องผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการชำระหนี้ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและการพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกายืนโทษฐานฆ่า แต่ยกข้อหาอาวุธปืน
จำเลยคว้าเอาอาวุธ ปืนแก๊ปยาวที่ผู้ตายพิงไว้ที่ต้นไม้มายิงผู้ตายในทันทีทันใดโดยไม่มีเหตุป้องกันตน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หลังเกิดเหตุจำเลยพาอาวุธปืนเดินไปตามป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติไม่ปรากฏว่าเป็นทางที่ประชาชนใช้ในการจราจร ไม่มีหมู่บ้านเพราะเดินอ้อมภูเขา จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯพ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนจากสัมปทานปิโตรเลียม: ต่างตอบแทน vs. จ่ายเป็นระยะเวลา
สัมปทานปิโตรเลียมที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยเป็นการอนุญาตให้จำเลยมีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการสำรวจการปิโตรเลียมภายในขอบเขตที่กำหนดซึ่งจำเลยจะต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์แต่การจ่ายเงินผลประโยชน์มีจำนวนมากหลายรายการเพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้แก่จำเลย จึงได้แบ่งชำระเป็นงวด เงื่อนไขดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์พึงได้รับประโยชน์จากการที่ยอมให้สัมปทานแก่จำเลย แม้เงินผลประโยชน์พิเศษงวดที่ 3 ใช้คำว่า"กับทุกปีหลังจากนั้นเป็นเวลาต่อเนื่องกันอีกสองปี" ก็ตาม ก็มิใช่เป็นเงินอื่น ๆ ที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 เดิม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินผลประโยชน์พิเศษให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะโจทก์เตือนแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก นับตั้งแต่วันผิดนัด แต่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 เดิม ดอกเบี้ยที่ค้างส่งเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัมปทานปิโตรเลียม: สัญญาต่างตอบแทนใช้ อายุความ 10 ปี, ดอกเบี้ยค้างชำระ 5 ปี
สัมปทานปิโตรเลียมที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยกับพวกเป็นการอนุญาตให้จำเลยกับพวกมีสิทธิแต่ผู้เดียวในกิจการสำรวจการปิโตรเลียมภายในขอบเขตที่กำหนดซึ่งจำเลยกับพวกจะต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ แต่การจ่ายเงินผลประโยชน์มีจำนวนมากหลายรายการเพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้แก่จำเลย จึงได้กำหนดในสัมปทานให้แบ่งชำระเป็นงวด เงื่อนไขดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์พึงได้รับประโยชน์จากการที่ยอมให้สัมปทานแก่จำเลย มิใช่เป็นเงินอื่น ๆ ที่กำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินผลประโยชน์พิเศษให้แก่โจทก์แต่จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะโจทก์เตือนแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันผิดนัดให้แก่โจทก์ แต่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาต่างตอบแทนและดอกเบี้ยค้างชำระ
สัมปทานปิโตรเลียมที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยเป็นการอนุญาตให้จำเลยมีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการสำรวจการปิโตรเลียมภายในขอบเขตที่กำหนดซึ่งจำเลยจะต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์ แต่การจ่ายเงินผลประโยชน์มีจำนวนมากหลายรายการเพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้แก่จำเลย จึงได้แบ่งชำระเป็นงวด เงื่อนไขดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์พึงได้รับประโยชน์จากการที่ยอมให้สัมปทานแก่จำเลย แม้เงินผลประโยชน์พิเศษงวดที่ 3 ใช้คำว่า"กับทุกปีหลังจากนั้นเป็นเวลาต่อเนื่องกันอีกสองปี" ก็ตาม ก็มิใช่เป็นเงินอื่น ๆ ที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินผลประโยชน์พิเศษให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะโจทก์เตือนแล้ว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรกนับตั้งแต่วันผิดนัด แต่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งที่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม ดอกเบี้ยที่ค้างส่งเกินกว่า 5 ปีจึงขาดอายุความ
โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินผลประโยชน์พิเศษให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะโจทก์เตือนแล้ว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรกนับตั้งแต่วันผิดนัด แต่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งที่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม ดอกเบี้ยที่ค้างส่งเกินกว่า 5 ปีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนภาษีอากรต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด และมีอายุความตามที่บัญญัติ
การที่เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้รับมอบหมายให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแทนกรมสรรพากร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรก็มิได้รับมอบหมายและไม่อาจรับมอบหมายให้เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรประเมินอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์ได้แต่โต้แย้งการประเมินไว้ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้าเพื่อสงวนสิทธิในการเรียกร้องขอคืนอากร ตามมาตรา 10 วรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469เท่านั้น แต่ไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติไว้ จึงไม่เป็นการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและที่ศาลภาษีอากรกลางรับวินิจฉัยเรื่องการเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลว่าเป็นการถูกต้องหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ การเรียกเงินอากรขาเข้าที่เกินคืนตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่นำเข้า ปรากฏว่าระหว่างปี 2525 ถึง 2527 โจทก์นำเข้า 10 ครั้งครั้งสุดท้ายนำเข้าเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2532 เกินกว่า 2 ปี คดีโจทก์ส่วนนี้จึงขาดอายุความเมื่อมีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่ และเมื่อการฟ้องเรียกเงินอากรขาเข้าอันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความแล้วสิทธิเรียกร้องในเรื่องดอกเบี้ยอันเป็นส่วนอุปกรณ์ก็ย่อมขาดอายุความไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 190 ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฟ้อง