พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4960/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากราคาปุ๋ยที่ขายให้เกษตรกร โดยไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ซื้อในใบเสร็จ
โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นเกษตรกรมิใช่ออกให้แก่ผู้ซื้อซึ่งทำการค้าสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าที่ขายนั้นจึงไม่จำต้องแสดงชื่อหรือยี่ห้อและที่อยู่ของผู้ซื้อไว้ในใบเสร็จรับเงินที่ตองออกทุกคราวที่ได้รับชำระเงินหรือชำระราคาตามมาตรา105ทวิแห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4960/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบเสร็จรับเงินสำหรับเกษตรกร: ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อ
โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นเกษตรกร มิใช่ออกให้แก่ผู้ซื้อซึ่งทำการค้าสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าที่ขายนั้น จึงไม่จำต้องแสดงชื่อหรือยี่ห้อและที่อยู่ของผู้ซื้อไว้ในใบเสร็จรับเงินที่ต้องออกทุกคราวที่ได้รับชำระเงินหรือชำระราคาตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากสินค้าขาดบัญชีและการสูญเสียในขั้นตอนการผลิต
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน ภาษีเงินได้นิติบุคคลและ ภาษีการค้าแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีทั้งสองประเภทโดยในปัญหาสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้านั้นโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้ไปทำการตรวจสอบสินค้าและบัญชีคุมสินค้าที่สำนักงานของโจทก์เพียงแต่ตรวจบัญชีของบริษัทและพบว่ามีสินค้าขาดไปโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะทำให้บัญชีไม่ตรงเช่นนั้นการอุทธรณ์เช่นนี้แม้จะขาดเหตุผลในรายละเอียดของสินค้าขาดบัญชีและผู้อุทธรณ์ขอให้ ลดเบี้ยปรับเท่านั้นก็ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้วโจทก์จึงชอบที่จะ ฟ้องคดีโดยอ้างเหตุผลคัดค้านการประเมินเพิ่มเติมจากที่ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ดอกเบี้ยค้างจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526แม้โจทก์จะได้รับแจ้งให้ชำระในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527โจทก์ก็ต้องนำมาคำนวณหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526การที่โจทก์นำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527จึงต้องห้ามตามมาตรา65ตรี(9)แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่ให้ถือว่าสินค้าขาดจาก บัญชีคุมสินค้าเป็น การขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็น รายวันตามมาตรา70ทวิ(6)แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ ภาษีการค้า หามีบทบัญญัติให้นำไปใช้ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ถือว่าสินค้าที่ขาดจาก บัญชีคุมสินค้าเป็นการขายเพื่อถือเป็นเงินได้ในการ คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสินค้าที่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่มีสินค้าคงเหลือปลายงวด
ประมวลรัษฎากรมาตรา65ให้จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี"รายได้"จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำสำหรับการขายสินค้าไปเพียงใดในราคาเท่าใดสามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไปกล่าวคือตรวจสอบจากปริมาณสินค้าคงเหลือต้นงวดบวกด้วยปริมาณสินค้าที่ซื้อมาในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อให้ได้ปริมาณสินค้าที่มีเพื่อขายทั้งสิ้นแล้วหักด้วยปริมาณสินค้าที่เหลือปลายงวดรวมทั้งบิลขายและบัญชีขายก็จะทราบถึงปริมาณและราคาของสินค้าที่ขายไปแต่การที่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การถือเป็นรายได้จากการไม่มีบัญชีคุมสินค้าและสินค้าคงเหลือ
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะจัดเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี"รายได้"จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำสำหรับการขายสินค้าไปเพียงใดในราคาเท่าใดสามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไปการที่เพียงแต่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ถือเอากรณีดังกล่าวเป็นการขายสินค้าสำหรับบทบัญญัติตามมาตรา79ทวิ(6)ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่บัญญัติว่าถ้าผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า1และประเภทการค้า2แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้ามีสินค้าเกินจากบัญชีคุมสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้าหรือมีสินค้าโดยไม่ทำหรือลงบัญชีคุมสินค้าให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับนั้นก็เป็นกรณีที่เกี่ยวกับภาษีการค้าจะนำมาเทียบเคียงใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินค้าที่ไม่ได้ลงบัญชี ไม่ถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะจัดเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี "รายได้" จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ สำหรับการขายสินค้าไปเพียงใด ในราคาเท่าใด สามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไป การที่เพียงแต่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้า และไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี จะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ถือเอากรณีดังกล่าวเป็นการขายสินค้า สำหรับบทบัญญัติตามมาตรา 79 ทวิ (6) ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่บัญญัติว่า ถ้าผู้ประกอบการค้า ตามประเภทการค้า 1 และประเภทการค้า 2 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีสินค้าเกินจากบัญชีคุมสินค้า ขาดจากบัญชีคุมสินค้า หรือมีสินค้าโดยไม่ทำหรือลงบัญชีคุมสินค้า ให้ถือว่าเป็นการขายสินค้า และให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับนั้น ก็เป็นกรณีที่เกี่ยวกับภาษีการค้า จะนำมาเทียบเคียงใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าจากสินค้าขาดบัญชีและการหักอัตราความสูญเสียในการผลิต
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีทั้งสองประเภทโดยในปัญหาสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้านั้นโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้ไปทำการตรวจสอบสินค้าและบัญชีคุมสินค้าที่สำนักงานของโจทก์เพียงแต่ตรวจบัญชีของบริษัทและพบว่ามีสินค้าขาดไปโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะทำให้บัญชีไม่ตรงเช่นนั้นการอุทธรณ์เช่นนี้แม้จะขาดเหตุผลในรายละเอียดของสินค้าขาดบัญชีและผู้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเท่านั้นก็ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้วโจทก์จึงชอบที่จะฟ้องคดีโดยอ้างเหตุผลคัดค้านการประเมินเพิ่มเติมจากที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ดอกเบี้ยค้างจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526แม้โจทก์จะได้รับแจ้งให้ชำระในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527โจทก์ก็ต้องนำมาคำนวณหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526การที่โจทก์นำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527จึงต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(9) กรณีที่ให้ถือว่าสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้าเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา79ทวิ(6)นั้นเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ภาษีการค้าไม่มีบทบัญญัติให้นำไปใช้ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ถือว่าสินค้าที่ขาดจากบัญชีคุมสินค้าเป็นการขายเพื่อถือเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: หลักฐานใบขนสินค้าขาออกของศุลกากรฮ่องกงมีน้ำหนักเพียงพอ แม้เป็นสำเนา
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 หาใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ แต่เป็นระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นนั้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้นแต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม การที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ออกหมายเรียกจำเลยมาไต่สวนหรือหมายเรียกพยานหรือให้จำเลยหรือพยานนำบัญชีพยานหลักฐานมาแสดง ภายในกำหนด 5 ปี ก็หาทำให้การประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เอกสารสำเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผู้ส่งออกยื่นต่อศุลกากรเมืองฮ่องกงเป็นสำเนาเอกสารที่ถ่ายจากต้นฉบับ เป็นเอกสารของทางราชการเมืองฮ่องกงซึ่งผู้ส่งสินค้าออกยื่นเอกสารดังกล่าวแจ้งการส่งออกต่อทางราชการเมืองฮ่องกง ว. รองกงสุลใหญ่ฝ่ายศุลกากรประจำเมืองฮ่องกงเป็นผู้ติดต่อขอรับเอกสารมาจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง ส่งมาให้กองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ซึ่งต้นฉบับอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกงแม้จะเป็นเอกสารลับของทางราชการเมืองฮ่องกงก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟัง ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นและเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวประกอบพยานบุคคลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5430/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้มีคดีอาญาที่เกี่ยวข้องแต่ไม่กระทบการวินิจฉัย
เกี่ยวกับมูลเหตุคดีนี้จำเลยถูกโจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีอาญาข้อหาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและสำแดงราคาสินค้าอันเป็นเท็จ แต่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลย แต่คดีนี้มิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เฉพาะอย่างยิ่งคดีส่วนอาญาก็มิได้มีการฟ้องคดีต่อศาล จึงไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ การวินิจฉัยพยานหลักฐานคดีนี้ย่อมเป็นไปตามที่คู่ความนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5427/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และอายุความในการเรียกร้องค่าภาษี
โจทก์ฟ้องโดยบรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาสรุปได้ว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทนาฬิกาเข้ามาในราชอาณาจักร และจำเลยได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยสำแดงราคาสินค้าที่นำเข้า อากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลไว้ในเอกสารดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องโดยได้ระบุถึงประเภทของสินค้าที่นำเข้าและจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระด้วยแล้ว ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาแท้จริงของสินค้าที่จำเลยซื้อมาและต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาด เป็นเหตุให้การชำระภาษีอากรไม่ครบถ้วนจึงประเมินราคาสินค้าใหม่และให้จำเลยเสียภาษีอากรเพิ่มเติมแต่จำเลยไม่ชำระ จึงฟ้องคดีขอให้บังคับจำเลยชำระภาษีอากรดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วจึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ส่วนโจทก์ที่ 1 ทราบราคาสินค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อมาได้อย่างไร และในท้องตลาดที่ใด ราคาเท่าใดเปรียบเทียบราคาดังกล่าวจากเอกสารอะไรนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ต้นฉบับเอกสารอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง เป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ได้ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม(มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)