คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงต้องมีการได้ไปซึ่งทรัพย์สิน การบริการจอดรถไม่ใช่ทรัพย์สิน
โจทก์ขับรถยนต์ของโจทก์ลงจากอาคารจอดรถของจำเลยแล้วแสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งทำหน้าที่เก็บค่าบริการจอดรถ โจทก์จึงไม่เสียค่าจอดรถแก่จำเลย โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีข้อห้ามมิให้พนักงานนำรถขึ้นไปจอดบนอาคารจอดรถ และโจทก์ทราบอยู่แล้วว่าวันเกิดเหตุมีการนำรถขึ้นไปจอดโดยไม่มีสิทธิและไม่ได้รับการยกเว้นและโจทก์ควรจะแจ้งความจริงดังกล่าวให้ น. ทราบขณะยื่นบัตรจอดรถนั้นมิใช่กรณีที่ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ตอนแรก กรณีจะต้องได้ความว่าผู้กระทำผิดได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง โจทก์แสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. เพื่อจอดรถโดยไม่ต้องเสียค่าจอดรถเท่านั้น โจทก์ได้รับผลเพียงการบริการจอดรถจากจำเลยโจทก์หาได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากจำเลยไม่ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกง และมิได้เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลทางวินัยร้ายแรง: การอาศัยตำแหน่งหน้าที่เรียกรับผลประโยชน์และปลอมแปลงเอกสาร
โจทก์อาศัยโอกาสที่โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยหลอกลวงเรียกรับผลประโยชน์จากผู้อื่นเพื่อให้ผู้นั้นได้รับการบรรจุเป็นพนักงานของจำเลยทั้งได้ติดต่อทำเอกสารปลอมเพื่อใช้ในการสมัครงานของผู้อื่นด้วยเป็นการประพฤติชั่วประพฤติตนเป็นภัยต่อสังคมหรือจำเลยไม่รักษาเกียรติชื่อเสียง และกระทำผิดกฎหมาย เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งที่ไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้าง: แม้ลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ทำงานอยู่แผนกจัดส่ง มีหน้าที่รับส่งและบรรจุน้ำมันลงถังการที่ ว. หัวหน้าแผนกซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์สั่งให้โจทก์ไปตักน้ำมัน และไขน้ำมันจากท่อน้ำรวมในโรงงานซึ่งมีน้ำสกปรกไหลผ่าน เป็นการสั่งให้ทำงานนอกหน้าที่ของโจทก์ โดย ว. ไม่เคยใช้ผู้อื่นทำมาก่อน และคำสั่งของ ว. เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ คำสั่งของ ว. ดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม แม้โจทก์จะฝ่าฝืนคำสั่งจำเลยก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056-1057/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีแรงงาน
โจทก์อุทธรณ์ว่า การกู้ยืมเงินเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ห้ามพนักงานปล่อยเงินกู้ โดยถือเป็นความผิดในกรณีร้ายแรง เป็นการออกระเบียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อุทธรณ์ข้อนี้ โจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องและจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่เคยปล่อยเงินกู้ แต่ภริยาของโจทก์ปล่อยเงินกู้จะถือเอาการกระทำของภริยาโจทก์เป็นความผิดของโจทก์ไม่ได้นั้น ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ปล่อยเงินกู้ให้พนักงานของจำเลยโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เบิกความต่อศาลว่า เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์แต่เป็นการกู้ยืมกันก่อนที่จำเลยจะออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเรื่องห้ามพนักงานปล่อยเงินกู้ โจทก์จึงมิได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยคดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า หลังจากจำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว โจทก์จึงให้พนักงานของจำเลยกู้เงิน อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
แม้การที่โจทก์ให้พนักงานของจำเลยกู้เงินจะไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือแต่การที่โจทก์ให้พนักงานของจำเลยกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 15 ต่อ15 วัน หรือร้อยละ 30 ต่อเดือน เห็นได้ว่าเป็นการเอาเปรียบและสร้างความเดือดร้อนแก่เพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นผู้ใช้แรงงาน การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยในกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นค่าเช่าบ้านและเบี้ยเลี้ยงเนื่องจากโจทก์ไปปฏิบัติงานที่จังหวัดชลบุรีและไม่มีบ้านพักเป็นของตนเอง ต้องนำใบเสร็จมาแสดงและเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องอาหาร ค่าเดินทางกลับบ้าน และค่าซ่อมรถ ทั้งต้องจ่ายจริงมีลักษณะจ่ายเป็นสวัสดิการ ไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515
จำเลยมีระเบียบห้ามพนักงานขายประกัน และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดให้ลูกจ้างจำเลยต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และในการประชุมระดับผู้บังคับบัญชา กรรมการใหญ่ประธานในที่ประชุมได้พูดห้ามพนักงานขายประกัน คำสั่งห้ามของกรรมการใหญ่ถือเป็นระเบียบข้อบังคับการทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เมื่อโจทก์กระทำผิดข้อบังคับและจำเลยเคยมีบันทึกภายในเตือนโจทก์มิให้แสวงหาประโยชน์ส่วนตัวด้วยการหาประกันด้วยแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์อนุญาตให้ อ. ขายประกัน แต่นำค่านายหน้ามาเป็นสวัสดิการของพนักงานและไม่ปรากฏว่า อ. นำผู้ที่ประสงค์จะทำสัญญาประกันจากสำนักงานสาขาจำเลยไปผ่านตัวแทนหรือนายหน้าที่จำเลยแต่งตั้ง จึงเป็นเพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยเท่านั้น ไม่เป็นความผิดวินัยที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46(3)
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานกำหนดว่าสมาชิกจะไม่ได้รับเงินสมทบรวมทั้งประโยชน์ของเงินสมทบทั้งจำนวนหากสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพด้วยสาเหตุฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จำต้องตักเตือนเมื่อโจทก์มิได้กระทำผิดระเบียบหรือคำสั่งกรณีร้ายแรงโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินสมทบรวมทั้งประโยชน์ของเงินสมทบทั้งจำนวน
จำเลยมีข้อตกลงจ่ายค่าทดแทนแก่ตัวแทนนายหน้าที่จำเลยแต่งตั้งให้ขายประกันการที่โจทก์อนุญาตให้ อ. ขายประกันโดยผ่านตัวแทนนายหน้าที่จำเลยแต่งตั้งการได้ค่าตอบแทนมาจึงเป็นไปตามข้อตกลงของจำเลยมิได้เป็นการกระทำผิดกฎหมาย เพียงแต่ผิดระเบียบข้อบังคับการทำงาน การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้าง จึงไม่มีความรับผิดต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4042/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างต้องมีเหตุอันสมควรตามสัญญาจ้าง การลืมเก็บเงินไม่ถือเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต
ตามสัญญาจ้างผู้จัดการร้านฉบับพิพาทกำหนดเหตุที่นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาว่า ผู้จัดการร้านละเลยงานที่ได้รับมอบหมายโดยเจตนาหรือกระทำการใด ๆ โดยเจตนาไม่สุจริตเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดและการจัดการลูกจ้าง ดังนั้น ผู้จัดการร้านจะมีความผิดตามสัญญาจ้างดังกล่าวฐานละเลยงานที่ได้รับมอบหมายก็ดี หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสำคัญ ๆเช่น การดูแลเงินสดก็ดี ผู้จัดการร้านจะต้องกระทำโดยมีเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการร้านลืมนำเงินทอนที่แลกเป็นฉบับย่อยเข้าเก็บในตู้นิรภัยให้ครบ มิใช่เป็นการละเลยโดยเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริตการกระทำของโจทก์จึงมิได้ฝ่าฝืนสัญญาจ้างและไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6963/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดระเบียบบริษัทจากการรับแทงพนันในที่ทำงาน แม้เจ้ามืออยู่นอกสถานที่
โจทก์รับแทงสลากกินรวบจากเพื่อนร่วมงานในสถานที่ทำงาน ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการให้มีการเล่นพนันสลากกินรวบอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ. 2478 มาตรา 12 แม้เจ้ามือผู้รับแทงซึ่งภริยาโจทก์นำโพยสลากกินรวบจากโจทก์ไปส่งจะอยู่นอกบริเวณโรงงานจำเลยก็ตาม การกระทำความผิดของโจทก์ก็เกิดขึ้น ณ สถานที่ทำงานดังกล่าว ดังนั้น การที่โจทก์รับแทงสลากกินรวบจากเพื่อนร่วมงานในสถานที่ทำงานจึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย เงินรางวัลประจำปีและค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554-4555/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การปิดบังข้อมูลการทำงานของเพื่อนร่วมงานไม่ใช่ความผิดร้ายแรงเพียงพอที่จะไม่ออกค่าชดเชย
แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เรื่อง วินัยและโทษทางวินัย ระบุว่าการทุจริต ฉ้อโกง ยักยอก ปลอมแปลงเอกสารหรือกระทำความผิดโดยเจตนาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ที่บริษัทมอบหมาย ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น ปิดบัง อำพราง การกระทำผิดของตนเอง หรือเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม ก็หามีผลว่าการกระทำเช่นนั้นจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทุกกรณีไปไม่ การกระทำใดจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่จักต้องพิจารณาพฤติการณ์ความเป็นจริงเป็นกรณีไป
โจทก์ที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ตรวจเช็คผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกจ้างจำเลยทำขึ้นดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะทราบว่าลูกจ้างจำเลยรับงานซึ่งมีลักษณะ ประเภท และชนิดเดียวกับงานที่จำเลยผลิตจากบุคคลภายนอกไปทำทั้งที่โรงงานและที่บ้าน แต่โจทก์ทั้งสองไม่แจ้งให้จำเลยทราบ ซึ่งเป็นการปิดบังอำพรางการกระทำผิดของเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับที่ไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงทั้งไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554-4555/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การปิดบังข้อมูลเพื่อนร่วมงานไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เรื่อง วินัยและโทษทางวินัย ระบุว่าการทุจริต ฉ้อโกง ยักยอก ปลอมแปลงเอกสารหรือกระทำความผิดโดยเจตนาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ที่บริษัทมอบหมาย ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น ปิดบัง อำพราง การกระทำผิดของตนเอง หรือเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ตาม ก็หามีผลว่าการกระทำเช่นนั้นจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทุกกรณีไปไม่ การกระทำใดจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่จักต้องพิจารณาพฤติการณ์ความเป็นจริงเป็นกรณีไป
โจทก์ที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ตรวจเช็คผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกจ้างจำเลยทำขึ้นดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะทราบว่าลูกจ้างจำเลยรับงานซึ่งมีลักษณะ ประเภท และชนิดเดียวกับงานที่จำเลยผลิตจากบุคคลภายนอกไปทำทั้งที่โรงงานและที่บ้าน แต่โจทก์ทั้งสองไม่แจ้งให้จำเลยทราบ ซึ่งเป็นการปิดบังอำพรางการกระทำผิดของเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับที่ไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงทั้งไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ถ่ายสำเนาเอกสารสำคัญและแจ้งหน่วยงานเกี่ยวข้อง การประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหาย
เมื่อปรากฎว่าหนังสือการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินเป็นเอกสารที่โจทก์มีหน้าที่ต้องถ่ายสำเนาแพร่ให้สำนักงานการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบการที่โจทก์ไม่กระทำตามหน้าที่จนมีการจ่ายเงินผิดพลาดถือว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อบกพร่องต่อหน้าที่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่โจทก์และให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้
of 15