พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากความผิดร้ายแรง: การกระด้างกระเดื่องและทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชา
ธ. และโจทก์ต่างเป็นลูกจ้างจำเลยโดย ธ. เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้รับใบลาของโจทก์ ธ. ย่อมมีอำนาจที่จะสอบถามถึงการป่วยของโจทก์ได้แต่เมื่อถูกถามโจทก์กลับท้าทายให้ธ. ออกไปต่อสู้กับโจทก์นอกที่ทำการบริษัทจำเลยจึงเป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาโจทก์คว้าคอเสื้อ ธ. ในขณะที่อีกมือหนึ่งถือไม้หน้าสามเพื่อจะตีทำร้ายแม้จะเป็นการกระทำนอกบริษัทจำเลยแต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปจากภายในบริษัทจำเลยถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกันเป็นการกระทำโดยจงใจทำให้บริษัทจำเลยได้รับความเสียหายเป็นความผิดวินัยร้ายแรงจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-542/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้นายจ้างส่งลูกจ้างไปทำงานนอกกิจการของตนเองไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างจึงไม่เป็นธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา575,583และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีหน้าที่ทำงานให้แก่นายจ้างโดยทำงานตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างดังนั้นคำสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างจักต้องปฏิบัติตามก็จะต้องเป็นคำสั่งที่ให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานในกิจการของนายจ้างนั้น จำเลยมีปัญหาในการผลิตเนื่องจากเกิดการผละงานในบริษัท อ.ที่จำเลยเป็นลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์พื้นยางรองเท้ามาผลิตเป็นรองเท้าจำเลยได้ชี้แจงให้ลูกจ้างทราบความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างจำเลยไปทำงานที่บริษัท อ. โจทก์ทั้งเจ็ดและลูกจ้างอื่นก็ไปทำงานให้ตามประสงค์ชอบด้วยกฎหมายและการแรงงานสัมพันธ์ที่ดีแต่ที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานที่บริษัท อ. หลังจากที่โจทก์ทั้งเจ็ดกลับไปที่บริษัทจำเลยและสั่งเช่นเดียวกันซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากได้ลงโทษโจทก์ทั้งเจ็ดที่ไม่ปฏิบัติคำสั่งครั้งแรกนั้นเมื่อบริษัทอ. มิได้เป็นกิจการของจำเลยทั้งงานที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำที่บริษัท อ. ก็มิใช่งานตามหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานนอกหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานของบุคคลอื่นเช่นนี้ย่อมมิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายการที่โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ไปทำงานดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดขัดหรือฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่1ที่2ที่4ถึงที่7จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งจำเลยจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่โจทก์ดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33-34/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้าง: การจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ กำหนดให้พนักงานพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุ 60 ปี บริบูรณ์นั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกับจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะจำเลยหาได้ถูกผูกพันที่จะต้องจ้าง โจทก์จนกว่าจะมีอายุ 60 ปี บริบูรณ์จำเลยอาจเลิกจ้างเมื่อโจทก์ขาดคุณสมบัติอื่นที่กำหนดไว้หรือโจทก์สมัครใจลาออกจากตำแหน่งก่อน การที่โจทก์รับทราบข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานจำเลยถือไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง ส่วนที่บทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและพ้นจากตำแหน่งนั้นการกำหนดคุณสมบัติทั่ว ๆ ไปเท่านั้น กรณีจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งตามประกาศดังกล่าวได้ให้ความหมายการเลิกจ้างไว้ โดยหมายถึงการที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด ดังนี้การที่โจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ จึงเป็นการเลิกจ้างแล้ว ส่วนที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้บัญญัติให้การเกษียณอายุรวมอยู่ในความหมายคำว่าเลิกจ้าง ก็เนื่องจากเห็นว่าความหมายครอบคลุมถึงการที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุอยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเมื่อลูกจ้างไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลา แม้ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงาน
นายจ้างได้รับอนุญาตให้ใช้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดโดยอธิบดีกรมแรงงานได้อนุญาตตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 11 วรรคสามที่แก้ไขแล้ว โดยมีเงื่อนไขว่าให้ใช้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดตามความจำเป็นแห่งงานด้วยความสมัครใจของลูกจ้าง เช่นนี้ การที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือในวันหยุดได้จึงต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างไม่สมัครใจมาทำงานเกินเวลาทำงานตามปกติตามคำสั่งของนายจ้างจึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานป่วย เหตุผลการป่วยไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยการลา กำหนดให้พนักงานที่ลาป่วยครบกำหนดโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนแล้ว จำเป็นต้องรักษาตัวต่อไปมีสิทธิลาต่อได้ไม่เกิน 120 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือนแต่หากยังลาต่อไปอีกจำเลยปลดออกจากงานได้ดังนี้เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานจำเลยได้ลาป่วยโดยได้รับเงินเดือนจนครบกำหนดแล้ว และหยุดงานเกินกว่า 120 วันต่อมาอีก จำเลยให้โจทก์ออกจากงาน ระบุว่าโจทก์ป่วยเป็นโรคประสาทเรื้อรัง จึงไม่ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กรณีไม่ใช่ให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากขาดงานเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันที่ศาลแรงงานกลางอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดงานดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำสั่งเลิกจ้างทั้งการที่โจทก์ไม่ยื่นใบลาหลังครบกำหนดลาป่วยแล้วก็มิใช่กรณีที่โจทก์ทำผิด อันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
โจทก์ลาป่วยครั้งสุดท้ายแล้วไม่ได้ยื่นใบลาป่วยต่อจำเลยอีกและโจทก์ไม่ได้มาทำงานอีกเลย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์การไม่มาทำงานเป็นเวลานานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ลาป่วยครั้งสุดท้ายแล้วไม่ได้ยื่นใบลาป่วยต่อจำเลยอีกและโจทก์ไม่ได้มาทำงานอีกเลย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์การไม่มาทำงานเป็นเวลานานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากลาป่วยเกินกำหนด และการจ่ายค่าชดเชย กรณีเจ็บป่วยเรื้อรัง
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยการลากำหนดให้พนักงานที่ลาป่วยครบกำหนดโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนแล้วจำเป็นต้องรักษาตัวต่อไปมีสิทธิลาต่อได้ไม่เกิน120วันโดยไม่ได้รับเงินเดือนแต่หากยังลาต่อไปอีกจำเลยปลดออกจากงานได้ดังนี้เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานจำเลยได้ลาป่วยโดยได้รับเงินเดือนจนครบกำหนดแล้วและหยุดงานเกินกว่า120วันต่อมาอีกจำเลยให้โจทก์ออกจากงานระบุว่าโจทก์ป่วยเป็นโรคประสาทเรื้อรังจึงไม่ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีไม่ใช่ให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากขาดงานเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันที่ศาลแรงงานกลางอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดงานดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำสั่งเลิกจ้างทั้งการที่โจทก์ไม่ยื่นใบลาหลังครบกำหนดลาป่วยแล้วก็มิใช่กรณีที่โจทก์ทำผิดอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โจทก์ลาป่วยครั้งสุดท้ายแล้วไม่ได้ยื่นใบลาป่วยต่อจำเลยอีกและโจทก์ไม่ได้มาทำงานอีกเลยจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์การไม่มาทำงานเป็นเวลานานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: โจทก์มีหน้าที่นำสืบ, ศาลมีดุลยพินิจเรียกจำเลยร่วม, การทำงานบกพร่องไม่เป็นเหตุยกเว้นค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่นำสืบในคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และสิทธิการได้รับค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยให้การว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้วดังนี้โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(3)(ก)นั้นศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นข้อเท็จจริงอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54 การที่โจทก์ทำงานบกพร่องขาดความสามารถหรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่นเป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978-3979/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เหตุจากพฤติกรรมนอกสถานที่ทำงานและข้อจำกัดการอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสองมีกัญชาไว้ในความครอบครองและสูบกัญชานั้นโดยผิดกฎหมายยังไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้กระทำโดยจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยส่วนข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่ากรณีดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรงซึ่งจำเลยไม่จำต้องมีข้อบังคับระบุลงโทษไว้นั้นจำเลยให้การต่อสู้คดีเพียงว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างอันเป็นกรณีร้ายแรงมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การด้วยว่าเป็นกรณีไม่จำต้องมีข้อบังคับระบุลงโทษจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้ลูกจ้างจัดหาเครื่องมือทำงานเองต้องมีระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษร ประเพณีไม่อาจบังคับใช้ได้
ลูกจ้างจะต้องจัดหาเครื่องมือในการทำงานมาเองหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องกำหนดโดยระเบียบข้อบังคับหรือความตกลงระหว่างคู่กรณีเมื่อจำเลยไม่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือช่างไม้มาทำงานเองดังนั้นแม้หากจะมีประเพณีให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือมาเองดังที่จำเลยกล่าวอ้างก็หาอาจนำประเพณีนั้นมาบังคับแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างได้ไม่คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์นำเครื่องมือช่างไม้มาทำงานเองจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยไม่ได้ ประเพณีที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ทำให้คำสั่งของจำเลยกลับเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำสืบพยานว่ามีประเพณีนั้นหรือไม่.