คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิประโยชน์: การพิจารณาความผิดทางวินัยและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินคนละประเภทและกำหนดขึ้นโดยกฎหมายต่างกัน การวินิจฉัยเงินประเภทหนึ่งหามีผลกระทบถึงเงินอีกประเภทหนึ่งไม่ เพราะหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง กับการจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างดังกล่าวตามกฎหมาย. อาจกำหนดแตกต่างกันได้ การกระทำของลูกจ้างกรณีเดียวกันจึงอาจเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และในคราวเดียวกันอาจไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ได้.ซึ่งจะทำให้สิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าวแตกต่างกันได้ฉะนั้นเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าการที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเพราะเหตุที่ถูกควบคุมตัวนั้นไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร.โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับจำเลยซึ่งจำเลยมีสิทธิปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จและจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงและเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตา583 หรือไม่แล้วจึงเป็นการวินิจฉัยไม่ครบถ้วนทุกประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลย จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเหล่านี้ต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21-23/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ไม่มีผลบังคับใช้ และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานโดยกำหนดว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้และโจทก์จะไม่เรียกร้องอย่างใดๆเอากับจำเลยนั้นเป็นเพียงข้อสัญญาซึ่งให้สิทธิจำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้นมิได้หมายความว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องเงินซึ่งพึงจะได้รับตามกฎหมาย ค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46บังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างซึ่งประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับอย่างกฎหมายโจทก์กับจำเลยจะตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานโดยมีข้อตกลงใดๆอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศฉบับดังกล่าวหาได้ไม่การที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันโดยกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยย่อมเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46ไม่มีผลใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง การใช้เหตุในการเลิกจ้างต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จำเลยอ้างในการต่อสู้คดี
จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กับพวกร่วมกันทุจริต ลักรถยนต์ของจำเลย โดยมอบกุญแจรถยนต์และชุดโอนทะเบียนให้ บุคคลอื่นไปโดยมิได้ทำหนังสือรับรถยนต์ไว้จงใจทำให้จำเลยได้รับ ความเสียหายแล้วยังให้การต่อไปด้วยว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนต่อ ข้อบังคับคำสั่งและระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงในตอนต้นว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งในการจำหน่ายและส่งมอบรถยนต์ให้แก่บุคคลอื่นนั่นเอง ซึ่งตามข้อเท็จจริงนั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็เพราะ โจทก์กระทำการดังกล่าวแต่ประการเดียว หามีเหตุการณ์อื่นที่จำเลย อาศัยเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่การที่จำเลยใช้ถ้อยคำในคำสั่งเลิกจ้าง ว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่และทำให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น ก็เกิดจากการกระทำของโจทก์ดังกล่าวการกระทำที่เป็นการบกพร่องนั้น อาจเกิดจากการกระทำโดยเจตนาที่จะฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่ง ของจำเลยหรือไม่ก็ได้ และย่อมหมายถึงไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มตามหน้าที่ ที่ตนพึงต้องปฏิบัติโดยมีเจตนาทุจริตหรือไม่ก็ได้เช่นเดียวกัน สาเหตุแห่งการเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นสาเหตุอันเดียวกันกับที่จำเลยได้ ให้การต่อสู้คดีแล้วนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากข้อบังคับทำงานที่ไม่ชัดเจนและการไม่ลงชื่อรับทราบผลงาน
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างไม่พึงทำงานต่ำกว่า เกณฑ์ทำงานขั้นต่ำแต่ละวัน หากลูกจ้างคนใดทำงานต่ำกว่าเกณฑ์จำเลยมีสิทธิตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและมีสิทธิให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบผลงานและรับทราบการตักเตือนซึ่งอาจเป็นการตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงาน หรือตักเตือนเพื่อเป็นการลงโทษแล้วแต่กรณีเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดดังกล่าวอยู่ในวิสัยของลูกจ้างทั่วไปกระทำได้เพราะไม่ปรากฏว่ามีลูกจ้างอื่นทำไม่ได้ นอกจากโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป้าหมายของเกณฑ์ขั้นต่ำหรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่จะให้ลูกจ้างทำงานไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัยไม่เป็นการขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานทั้งการว่ากล่าวตักเตือนลูกจ้างการให้ลงชื่อรับทราบผลงานเป็นสิทธิทั่วไปที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้ไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้การที่ โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบสรุปผลงานตามข้อบังคับ ของจำเลยเมื่อ ปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวกำหนดไว้ว่า 'นายจ้าง ต้องเรียกลูกจ้างมาเพื่อทำการตักเตือนการทำงานพร้อมกับให้เซ็นชื่อ รับทราบผลงานของตนไว้ด้วย'นั้น เป็นข้อบังคับที่กล่าวถึงด้านนายจ้าง แต่ฝ่ายเดียวไม่ได้กล่าวถึงด้านลูกจ้างด้วยไม่อาจแปลได้ว่าเป็นการบังคับ ลูกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แม้จำเลยจะตักเตือนโจทก์ทั้งสิบเอ็ดแล้วก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ด ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานต้องมีเหตุร้ายแรงและตักเตือนก่อน หากไม่มีเหตุร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารจำเลย ทำงานธุรการ ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การที่โจทก์ฉวยโอกาสละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งคราว และการที่มีเจ้าหนี้หลายรายมาทวงหนี้จำเลยที่สำนักงาน ยังถือไม่ได้ว่าพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างเหตุขัดคำสั่งและเหตุสมัครใจออกจากงาน ประเด็นการต่อสู้คดีและค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดจำเลยให้การว่าโจทก์ออกจากงานด้วยความสมัครใจเอง มิได้ต่อสู้ว่าเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดคดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์กระทำผิดอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และปัญหาข้อนี้มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำผิดทางอาญาของลูกจ้าง แม้ไม่ใช่ตัวการ ถือเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การกระทำความผิดอาญาแก่นายจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(1) นั้น แม้มิใช่ตัวการแต่หากเป็นการสนับสนุนการกระทำผิด ก็เป็นการกระทำความผิดอาญาตามความหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานโดยมีขั้นตอนการตักเตือนครบถ้วน ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เดิมจำเลยได้มีประกาศเรื่องพนักงานหลับในเวลาปฏิบัติ หน้าที่ว่าต้องพิจารณาโทษใช้เป็นระเบียบปฏิบัติอยู่แล้วต่อมาจำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามพนักงานหลับนอนในขณะปฏิบัติหน้าที่โดยกำหนดโทษว่าตักเตือนก่อน 3 ครั้ง ครั้งที่ 4 ปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ดังนี้ แม้พนักงานจำเลยจะนอนหลับระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก่อนออกระเบียบ 2 ครั้ง และภายหลังออกระเบียบ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องกันและจำเลยได้ตักเตือนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับแล้ว จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างพนักงานผู้นั้นได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617-3618/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: อำนาจเลิกจ้างแม้การสอบสวนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หากพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างกระทำผิดวินัย
เมื่อโจทก์อ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นจำเลยมิได้ทำการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้ความว่ามีกฎหมายและข้อบังคับตามที่โจทก์อ้างโจทก์จะถือเอาความควรหรือไม่ควรโดยให้อนุโลมเอากฎหมายหรือข้อบังคับอื่นซึ่งมิได้ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์มาใช้หาได้ไม่ส่วนการสอบสวนทางวินัยและการลงโทษทางวินัยก็มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างไปจากการสอบสวนและลงโทษในคดีอาญา ดังนั้นเมื่อสอบสวนได้ความว่าโจทก์กระทำผิดวินัย แม้จะมิใช่ด้วยมูลโดยตรงที่ตั้งกรรมการสอบสวนก็ตาม จำเลยก็มีอำนาจลงโทษเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง การกู้ยืมเงินลูกค้า และการพิจารณาความร้ายแรงของวินัย
จำเลยประกอบกิจการธนาคาร ได้มีหนังสือเวียนแจ้งให้พนักงานทราบว่าการกู้ยืมเงินลูกค้าถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพนักงาน และหากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษ โจทก์กู้ยืมเงินจากลูกค้าของจำเลยจำนวน 3,000 บาท และใช้คืนแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งบีบบังคับลูกค้าเพื่อให้ยอมให้กู้ยืมเงินแต่อย่างใด การกระทำของโจทก์จึงมิใช่เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย และฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เมื่อเลิกจ้าง
of 15