พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดงานและการเลิกจ้าง: การใช้ดุลพินิจของนายจ้าง, การละทิ้งหน้าที่, และสิทธิลูกจ้าง
โจทก์ยื่นใบลากิจขอลาหยุด 2 วัน แต่หัวหน้าหน่วยอนุญาตให้ลาได้เพียง 1 วันนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ลามิใช่เป็นการสั่งให้โจทก์กระทำการหรือมิให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามหน้าที่ของลูกจ้าง ฉะนั้นการที่โจทก์หยุดงานเกินกว่าที่ได้รับอนุญาตให้ลาจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง
การที่ลูกจ้างแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างนั้นจะต้องเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
การที่ลูกจ้างแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างนั้นจะต้องเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ แม้ไม่ถึงขั้นมึนเมา ถือเป็นความผิดร้ายแรง ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลย มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยนายสถานี ได้ร่วมดื่มสุรากับบุคคลภายนอกในห้องนายสถานีในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับการเดินรถ แม้จะไม่ถึงขั้นมึนเมา ก็ถือว่าการกระทำของโจทก์อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยและประชาชนอย่างร้ายแรงได้ จำเลยจึงชอบที่จะลงโทษโจทก์ไล่ออกตามกฎข้อบังคับและระเบียบการเดินรถและประมวลการลงโทษผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ กรณีมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปลดออกจากงานเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับจำเลย ศาลตัดสินไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ
เดิมจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งยุบตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่ ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและส่งมอบงานก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ส่งมอบงานภายในกำหนดอันเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จำเลยมีสิทธิแก้ไขคำสั่งเดิมเป็นให้ปลดโจทก์ออกจากงานเพราะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงได้ ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบและละเลยหน้าที่
แม้ผู้ที่จะกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ต้องมีกรรมการ 2คนลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลย แต่วันเดียวกับที่ว. กรรมการของจำเลยลงชื่อในคำให้การ แต่ผู้เดียวโดยมิได้มีตราสำคัญประทับนั้น จำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้พ. เป็นผู้มาชี้แจงให้ถ้อยคำและต่อสู้คดีแทนจำเลยด้วยเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องอำนาจผู้ยื่นคำให้การได้
การสืบพยานในศาลแรงงานนั้น ศาลแรงงานจะเป็นผู้ซักถามพยานเองตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ดำเนินการซักถามพยานโจทก์จำเลยโดยตลอด และไม่ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าศาลแรงงานกลางได้ยกเอาคำซักถามพยานของพ. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิได้เป็นทนายความตอนใดขึ้นมาเป็นเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นอย่างอื่น
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โดยเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ของจำเลยทั้งละเลยการปฏิบัติหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงจำเลยย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์
การสืบพยานในศาลแรงงานนั้น ศาลแรงงานจะเป็นผู้ซักถามพยานเองตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ดำเนินการซักถามพยานโจทก์จำเลยโดยตลอด และไม่ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าศาลแรงงานกลางได้ยกเอาคำซักถามพยานของพ. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิได้เป็นทนายความตอนใดขึ้นมาเป็นเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นอย่างอื่น
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โดยเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ของจำเลยทั้งละเลยการปฏิบัติหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงจำเลยย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2849/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาความร้ายแรงของความผิดและประวัติลูกจ้าง การหลับยามครั้งแรกไม่ใช่เหตุเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยหลับยาม แต่เป็นการกระทำผิดครั้งแรกและมิได้ทำให้ทรัพย์สินของนายจ้างเสียหายยามคนอื่นที่หลับยามเช่นเดียวกันก็ถูกลงโทษเพียงตัดค่าแรงงานและมีหนังสือตักเตือนเท่านั้น การหลับยามจึงไม่เป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
แม้ลูกจ้างเคยกระทำผิดวินัยตามระเบียบของนายจ้างและถูกตักเตือนเป็นหนังสือมาครั้งหนึ่งแล้วมากระทำผิดวินัยข้อเดียวกันนั้นอีก แต่มิใช่เรื่องเดียวกันกล่าวคือความผิดครั้งก่อนเป็นเรื่องปล่อยให้บุคคลนำอาหารเข้าไปรับประทานในโรงงานครั้งนี้เป็นเรื่องหลับยามดังนี้นายจ้างยังหามีสิทธิเลิกจ้างได้ทันทีไม่
แม้ลูกจ้างเคยกระทำผิดวินัยตามระเบียบของนายจ้างและถูกตักเตือนเป็นหนังสือมาครั้งหนึ่งแล้วมากระทำผิดวินัยข้อเดียวกันนั้นอีก แต่มิใช่เรื่องเดียวกันกล่าวคือความผิดครั้งก่อนเป็นเรื่องปล่อยให้บุคคลนำอาหารเข้าไปรับประทานในโรงงานครั้งนี้เป็นเรื่องหลับยามดังนี้นายจ้างยังหามีสิทธิเลิกจ้างได้ทันทีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยลูกจ้าง: เหตุเลิกจ้างต้องพิจารณาขณะเลิกจ้าง นายจ้างอ้างเหตุภายหลังไม่ได้
ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ต้องพิจารณาเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะเลิกจ้างว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดในกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ หรือไม่ หากขณะเลิกจ้าง ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดดังกล่าว นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะอ้างเหตุต่าง ๆ ขึ้นภายหลังเพื่อเป็นการปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
แม้ข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจะกำหนดว่า ลูกจ้างที่มีข้อผูกพันจะต้องชดใช้ให้แก่จำเลย ให้จำเลยมีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างได้ก็ตามการที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ทำละเมิดได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และพนักงานอัยการกำลังพิจารณาอยู่ ได้ความเพียงเท่านี้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีข้อผูกพันที่จะต้องชดใช้เงินแก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะหักเงินบำเหน็จของโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลย
แม้ข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจะกำหนดว่า ลูกจ้างที่มีข้อผูกพันจะต้องชดใช้ให้แก่จำเลย ให้จำเลยมีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างได้ก็ตามการที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ทำละเมิดได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และพนักงานอัยการกำลังพิจารณาอยู่ ได้ความเพียงเท่านี้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีข้อผูกพันที่จะต้องชดใช้เงินแก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะหักเงินบำเหน็จของโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยและหย่อนความสามารถ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
ลูกจ้างป่วยมีอาการคล้ายโรคอัมพาต ลุกเดินนั่งและหยิบจับสิ่งของไม่สะดวกมาประมาณ 2 ปีและไม่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำได้ ถือได้ว่าลูกจ้างหย่อนความสามารถ แม้นายจ้างจะมีสิทธิตามสัญญาและตามระเบียบข้อบังคับที่จะถอดถอนลูกจ้างออกจากตำแหน่งได้แต่การที่นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างออกจากตำแหน่งในกรณีนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 47(3) นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
กรณีดังกล่าว การที่นายจ้างให้โอกาสแก่ลูกจ้างที่จะพักรักษาตัว ได้ และลูกจ้างได้ลาพักรักษาตัวเป็นเวลาถึง2 ปี ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างประสงค์ให้ลูกจ้างหายเป็นปกติเพื่อจะได้ทำงานต่อไป มิใช่เป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 45 มิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้ลูกจ้างต้องแจ้งความจำนงขอหยุดพักผ่อนประจำปีก่อนแต่อย่างใดเมื่อลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้าง
กรณีดังกล่าว การที่นายจ้างให้โอกาสแก่ลูกจ้างที่จะพักรักษาตัว ได้ และลูกจ้างได้ลาพักรักษาตัวเป็นเวลาถึง2 ปี ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างประสงค์ให้ลูกจ้างหายเป็นปกติเพื่อจะได้ทำงานต่อไป มิใช่เป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 45 มิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้ลูกจ้างต้องแจ้งความจำนงขอหยุดพักผ่อนประจำปีก่อนแต่อย่างใดเมื่อลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของลูกจ้างในการตรวจสอบหลักทรัพย์ประกัน ทำให้จำเลยเสียหาย มีเหตุเลิกจ้างได้
โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อไม่นำแฟ้มเรื่องไปด้วยเป็นการขัดกับเหตุผลและข้อเท็จจริงเมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเพราะเหตุอื่น อุทธรณ์โจทก์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงโดยบิดเบือนคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์หรือโจทก์มีพฤติการณ์ไม่สุจริตอันเป็นการวินิจฉัยโดยปราศจากหลักฐานอ้างอิง เมื่อศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยดังที่โจทก์อุทธรณ์ อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
น. ขอกู้เงินจำนวน 320,000 บาทจากธนาคารจำเลยโดยจำนองที่ดินเป็นประกัน จำเลยให้ ว.ส.และธ. พนักงานของจำเลยไปตรวจสอบที่ดิน พนักงานดังกล่าวไปตรวจสอบแล้วทำรายงานว่าที่ดินที่จะจำนองประกันหนี้เงินกู้ติดซอยสาธารณะจำเลยจึงให้ น. กู้เงินไปตามที่ขอกู้ ต่อมา น. ขอกู้เงินเพิ่มอีก 200,000 บาท อ้างว่าได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินแล้ว จำเลยจึงให้ ว.ศ. และโจทก์เป็นผู้ไปตรวจสอบ โจทก์กับพวกไปตรวจสอบแล้วร่วมกันทำรายงานว่ามีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์จริง จำเลยจึงให้ น.กู้เงินเพิ่มอีก ในที่สุดปรากฏว่าที่ดินของ น. ไม่ติดซอยสาธารณะ ไม่มีทางเข้าออก และไม่มีสิ่งปลูกสร้างดังนี้ แม้ครั้งแรกโจทก์จะไม่ได้ร่วมไปตรวจสอบด้วยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้โจทก์ไปตรวจสอบว่ามีอาคารพาณิชย์ปลูกอยู่ในที่ดินของ น. จริงหรือไม่ โจทก์ก็ย่อมจะต้องตรวจเรื่องเดิมว่าที่ดินของ น. อยู่ตรงจุดใด เพื่อที่จะทราบโดยแน่ชัดว่ามีอาคารปลูกอยู่จริงหรือไม่ แต่โจทก์ไม่สนใจตรวจดูเรื่องเดิม กลับเชื่อตามที่ ว. ชี้ว่าที่ดินของผู้อื่นซึ่งมีสิ่งปลูกสร้างอยู่เป็นของ น. จึงถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
การที่โจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยหลงเชื่อว่ามีหลักทรัพย์อันเป็นประกันคืออาคารพาณิชย์ปลูกในที่ดินที่จำนองไว้เดิมจริงตามที่ น. อ้าง จำเลยจึงให้ น. กู้เงินไปอีก 200,000 บาท เพียงเท่านี้ถือได้แล้วว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าเมื่อจำเลยบังคับจำนองแล้วจะได้รับการชำระคุ้มกับหนี้หรือไม่ การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยจะพึงเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์หรือโจทก์มีพฤติการณ์ไม่สุจริตอันเป็นการวินิจฉัยโดยปราศจากหลักฐานอ้างอิง เมื่อศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยดังที่โจทก์อุทธรณ์ อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
น. ขอกู้เงินจำนวน 320,000 บาทจากธนาคารจำเลยโดยจำนองที่ดินเป็นประกัน จำเลยให้ ว.ส.และธ. พนักงานของจำเลยไปตรวจสอบที่ดิน พนักงานดังกล่าวไปตรวจสอบแล้วทำรายงานว่าที่ดินที่จะจำนองประกันหนี้เงินกู้ติดซอยสาธารณะจำเลยจึงให้ น. กู้เงินไปตามที่ขอกู้ ต่อมา น. ขอกู้เงินเพิ่มอีก 200,000 บาท อ้างว่าได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินแล้ว จำเลยจึงให้ ว.ศ. และโจทก์เป็นผู้ไปตรวจสอบ โจทก์กับพวกไปตรวจสอบแล้วร่วมกันทำรายงานว่ามีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์จริง จำเลยจึงให้ น.กู้เงินเพิ่มอีก ในที่สุดปรากฏว่าที่ดินของ น. ไม่ติดซอยสาธารณะ ไม่มีทางเข้าออก และไม่มีสิ่งปลูกสร้างดังนี้ แม้ครั้งแรกโจทก์จะไม่ได้ร่วมไปตรวจสอบด้วยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้โจทก์ไปตรวจสอบว่ามีอาคารพาณิชย์ปลูกอยู่ในที่ดินของ น. จริงหรือไม่ โจทก์ก็ย่อมจะต้องตรวจเรื่องเดิมว่าที่ดินของ น. อยู่ตรงจุดใด เพื่อที่จะทราบโดยแน่ชัดว่ามีอาคารปลูกอยู่จริงหรือไม่ แต่โจทก์ไม่สนใจตรวจดูเรื่องเดิม กลับเชื่อตามที่ ว. ชี้ว่าที่ดินของผู้อื่นซึ่งมีสิ่งปลูกสร้างอยู่เป็นของ น. จึงถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
การที่โจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยหลงเชื่อว่ามีหลักทรัพย์อันเป็นประกันคืออาคารพาณิชย์ปลูกในที่ดินที่จำนองไว้เดิมจริงตามที่ น. อ้าง จำเลยจึงให้ น. กู้เงินไปอีก 200,000 บาท เพียงเท่านี้ถือได้แล้วว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าเมื่อจำเลยบังคับจำนองแล้วจะได้รับการชำระคุ้มกับหนี้หรือไม่ การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยจะพึงเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องและการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ทำให้ไม่อาจเรียกร้องค่าชดเชยได้
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นหัวหน้าคนงานได้บอกให้คนงานเก็บเครื่องมือและหยุดงานประท้วงจำเลยเพราะไม่พอใจที่จำเลยไล่ลูกจ้างบางคนออกจากงาน เมื่อการนัดหยุดงานดังกล่าวยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยจึงเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 การกระทำของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้าง ได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(2) จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์ ลักเอาใบลาและบัตรลงเวลาของโจทก์ไป แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในภายหลังหาใช่เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เอาใบลาและบัตรลงเวลาคืนไป จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์ ลักเอาใบลาและบัตรลงเวลาของโจทก์ไป แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในภายหลังหาใช่เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เอาใบลาและบัตรลงเวลาคืนไป จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การยินยอมให้เล่นการพนันในสถานที่ทำงาน ไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง
โจทก์เป็นยามมีหน้าที่เฉพาะเฝ้าดูแลโกดังมิให้เกิดความเสียหายไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่ดูแลหรือป้องกันมิให้มีการเล่นการพนันในสถานที่ของบริษัทจำเลยด้วย แม้โจทก์จะเป็นผู้ยินยอมให้มีการเล่นการพนันในตู้ยามซึ่งเป็นสถานที่ของบริษัทจำเลย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรง หรือกระทำการอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์