พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องสอบสวนและพิสูจน์ความผิดของลูกจ้างก่อน หากไม่ปรากฏความผิด การเลิกจ้างถือเป็นไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ตามระเบียบของจำเลย โจทก์ที่1 มีหน้าที่สอบถามผู้ที่ขอใช้กุญแจกลางว่าเป็นผู้เช่าที่มาพักจริงหรือไม่ การที่โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ว่าตนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบว่าผู้ที่ขอกุญแจกลางเป็นผู้เช่า จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54
จำเลยต่อสู้เรื่องความเสียหายต่อชื่อเสียงเป็นประเด็นไว้ในคำให้การแล้วแม้จำเลยจะนำสืบไม่ชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม เมื่อทรัพย์สินของผู้ที่มาพักในโรงแรมสูญหายไปเพราะความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโรงแรม จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดไว้ในเรื่องการสอบสวนว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกโจทก์ทั้งสองมาสอบถามและให้เขียนรายงานกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือได้ว่ามีการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเมื่อได้ความว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ 1 ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรง การที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ออกจากงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ศาลฎีกาสั่งให้รับฟ้องโจทก์ข้อที่กล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเพราะจำเลยมิได้สอบสวนตามระเบียบเมื่อได้ความว่าจำเลยได้สอบสวนตามระเบียบแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยไม่มีความผิด และเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2 และศาลแรงงานกลางมีอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยใช้แก่โจทก์ที่ 2 ได้
จำเลยต่อสู้เรื่องความเสียหายต่อชื่อเสียงเป็นประเด็นไว้ในคำให้การแล้วแม้จำเลยจะนำสืบไม่ชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม เมื่อทรัพย์สินของผู้ที่มาพักในโรงแรมสูญหายไปเพราะความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโรงแรม จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดไว้ในเรื่องการสอบสวนว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกโจทก์ทั้งสองมาสอบถามและให้เขียนรายงานกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือได้ว่ามีการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเมื่อได้ความว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ 1 ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรง การที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ออกจากงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ศาลฎีกาสั่งให้รับฟ้องโจทก์ข้อที่กล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเพราะจำเลยมิได้สอบสวนตามระเบียบเมื่อได้ความว่าจำเลยได้สอบสวนตามระเบียบแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยไม่มีความผิด และเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2 และศาลแรงงานกลางมีอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยใช้แก่โจทก์ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงตัดสิทธิค่าชดเชยขัดประกาศ ม.ห. และค่าน้ำมัน/ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มีผลบังคับอย่างกฎหมายและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นข้อตกลงที่ตัดสิทธิที่จะพึงได้รับค่าชดเชยของโจทก์ตามประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ
หนังสือของจำเลยที่กล่าวถึงการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎและระเบียบของจำเลยและในตอนท้ายของหนังสือได้กล่าวให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎและระเบียบของจำเลยมิฉะนั้นอาจมีการเตือนหรือปลดออกจากงาน ถือว่าเป็นคำเตือนถึงความไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตกลงไว้กับจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถให้โจทก์ตามตำแหน่งเป็นประจำทุกเดือนโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะใช้จ่ายในการนี้หรือไม่และหากโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ขายสินค้าได้มากกว่ากำหนดก็จะได้รับค่าน้ำมันรถเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานถือได้ว่าเงินค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์มีจำนวนแน่นอนและเป็นประจำทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามปกติของโจทก์เช่นเดียวกับเงินเดือนถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
หนังสือของจำเลยที่กล่าวถึงการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎและระเบียบของจำเลยและในตอนท้ายของหนังสือได้กล่าวให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎและระเบียบของจำเลยมิฉะนั้นอาจมีการเตือนหรือปลดออกจากงาน ถือว่าเป็นคำเตือนถึงความไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตกลงไว้กับจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถให้โจทก์ตามตำแหน่งเป็นประจำทุกเดือนโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะใช้จ่ายในการนี้หรือไม่และหากโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ขายสินค้าได้มากกว่ากำหนดก็จะได้รับค่าน้ำมันรถเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานถือได้ว่าเงินค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์มีจำนวนแน่นอนและเป็นประจำทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามปกติของโจทก์เช่นเดียวกับเงินเดือนถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มาทำงานสาย แม้มีข้อตกลงเรื่องการตัดเงินเดือนเฉพาะวันหยุดพิเศษ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่กำหนดว่าในกรณีที่พนักงานมาทำงานในวันหยุดพิเศษ (วันหยุดตามประเพณี) นายจ้างตกลงจ่ายเงินให้ในอัตราสองเท่าของเงินเดือนและค่าบริการโดยเฉลี่ยเป็นรายวัน ส่วนการขาดงานให้ตัดเงินเดือนและค่าบริการโดยเฉลี่ยเป็นรายวันในกรณีที่พนักงานสายเกินกำหนด ซึ่งไม่ถือว่าขาดงานจะทำโทษเฉพาะตัดเงินเดือนเท่านั้น นั้น เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับระเบียบการทำงานเฉพาะในวันหยุดพิเศษ หรือวันหยุดประเพณี มิได้หมายความถึงการทำงานในวันทำงานตามปกติ ซึ่งมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยวางไว้ต่างหาก
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างได้กำหนดมาตรการในการลงโทษลูกจ้างผู้มาทำงานสายไว้เป็นลำดับซึ่งระดับโทษมีตั้งแต่ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ตัดค่าจ้าง พักงานชั่วคราวโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างที่มาทำงานสายเป็นประจำ ซึ่งนายจ้างได้ออกหนังสือเตือนหลายครั้งโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้
การที่ลูกจ้างมาทำงานสายเป็นประจำและนายจ้างได้เตือนแล้วถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การ ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างย่อมมีสิทธิที่จะไล่ออกโดยมิพักต้อง บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างได้กำหนดมาตรการในการลงโทษลูกจ้างผู้มาทำงานสายไว้เป็นลำดับซึ่งระดับโทษมีตั้งแต่ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ตัดค่าจ้าง พักงานชั่วคราวโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างที่มาทำงานสายเป็นประจำ ซึ่งนายจ้างได้ออกหนังสือเตือนหลายครั้งโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้
การที่ลูกจ้างมาทำงานสายเป็นประจำและนายจ้างได้เตือนแล้วถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การ ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างย่อมมีสิทธิที่จะไล่ออกโดยมิพักต้อง บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วินัย, การลงโทษทางวินัย, และการคุ้มครองลูกจ้าง: ข้อเรียกร้องไม่สมบูรณ์ไม่คุ้มครองการเลิกจ้าง
วินัยและโทษทางวินัยเป็นรายการที่นายจ้างต้องให้มีกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 68 ส่วนการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย แม้ไม่มีระบุไว้ในรายการของข้อ 68 แต่นายจ้างจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยก็ได้เพราะรายการในข้อ 68 เป็นเพียงรายการที่กำหนดว่าอย่างน้อยต้องมีเท่านั้น และการที่นายจ้างกำหนดวินัยและโทษทางวินัยขึ้นใช้บังคับก็หาเป็นการทำให้นายจ้างลงโทษลูกจ้างโดยปลดออกจากงานแล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่เพราะการที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อปลดออกจากงานนั้น ต้องพิจารณาว่าเป็นการปลดออกในกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ในประกาศดังกล่าวข้อ 47(1) ถึง (6) หรือไม่ 'ข้อเรียกร้อง' ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 31 หมายถึงข้อเรียกร้องที่สมบูรณ์ตามบทบัญญัติมาตราอื่น ๆ ด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นช่องทางให้ลูกจ้างผู้ไม่สุจริตหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษทางวินัยได้โดย ง่าย ดังนั้น เมื่อได้ความว่าสหภาพแรงงานมีสมาชิกไม่ถึงหนึ่งในห้า ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานที่ขอให้เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจึงไม่สมบูรณ์เป็นข้อเรียกร้องตามมาตรา 15 แม้ข้อเรียกร้องนั้นจะผ่านการไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทจนอยู่ในระหว่างการพิจารณาชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ก็ถือไม่ได้ว่ามีข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน และการที่โจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงานและเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานในการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับข้อเรียกร้องดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การที่นายจ้างปลดโจทก์ ออกจากงานระหว่างนั้นจึงไม่เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืน มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา แม้ไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างที่สมเหตุผล
แม้โจทก์จะถูกกล่าวหาว่าร่วมกับผู้อื่นค้ายาเสพติดให้โทษเฮโรอีน แต่เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหามิได้มีการฟ้องให้ศาลพิจารณาพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดดังข้อกล่าวหาและไม่มีเหตุที่จะถือว่าโจทก์ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้ โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างที่จะถือว่าไม่เป็นธรรมนั้นย่อมต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่านายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละเหตุกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งต้องพิเคราะห์ถึงว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายหรือไม่เมื่อระเบียบของจำเลยให้คำนิยามคำว่า 'เลิกจ้าง' ไว้ว่าหมายความว่า 'มาตรการลงโทษที่ใช้กับพนักงานซึ่งบริษัทไม่ไว้วางใจและไม่ประสงค์ที่จะให้อยู่ทำการกับบริษัทต่อไปหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งงาน' พฤติการณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจและให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างที่จะถือว่าไม่เป็นธรรมนั้นย่อมต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่านายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละเหตุกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งต้องพิเคราะห์ถึงว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายหรือไม่เมื่อระเบียบของจำเลยให้คำนิยามคำว่า 'เลิกจ้าง' ไว้ว่าหมายความว่า 'มาตรการลงโทษที่ใช้กับพนักงานซึ่งบริษัทไม่ไว้วางใจและไม่ประสงค์ที่จะให้อยู่ทำการกับบริษัทต่อไปหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งงาน' พฤติการณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจและให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285-3289/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดเงินเดือนและนับอายุงานหลังกลับเข้าทำงานจากการถูกไล่ออก: ข้อบังคับการรถไฟและการไม่ได้รับค่าจ้างช่วงถูกไล่ออก
เมื่อข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า ในกรณีที่มีการร้องทุกข์เพราะออกงานถ้าผู้ร้องทุกข์ได้รับการพิจารณากลับเข้าทำงานตามเดิม ผู้ได้กลับเข้าทำงานตามเดิมนั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกออกจากงานโจทก์ซึ่งเดิมถูกไล่ออกจากงานแต่ภายหลังคณะกรรมการจำเลยมีมติเปลี่ยนแปลงระดับโทษจากไล่ออกเป็นให้กลับเข้าทำงานแต่ให้ตัดเงินเดือน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างที่ถูกไล่ออก และโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้นับอายุการทำงานในระหว่างถูกไล่ออก เพราะโจทก์มิได้ทำงานและมิได้มีฐานะเป็นลูกจ้างในระหว่างนั้นประกอบกับคณะกรรมการจำเลยซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการรถไฟตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ได้มีมติว่าสำหรับการนับเวลาทำการก็ให้ตัดเวลาที่ถูกไล่ออกจากงานไป การที่จำเลยออกคำสั่งตัดเงินเดือนโจทก์โดยไม่จ่ายเงินเดือนและให้ตัดเวลาการทำงานในระหว่างที่ไล่ออกจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3284/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเพื่อซ่อมรถยนต์ของธนาคาร ไม่ถือเป็นทุจริตต่อหน้าที่หากไม่มีเจตนาส่วนตัว
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของธนาคารออมสิน จำเลย ตำแหน่งผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาพล จังหวัดขอนแก่น ได้ทำใบเบิกจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงตำรวจรักษาการณ์ธนาคารออมสินสาขาพลโดยกรอกรายการเองและสั่งอนุญาตให้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงแต่เมื่อได้ความว่า โจทก์นำเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปซ่อมรถยนต์ของธนาคารจำเลยโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาการณ์ ยอมมอบเงินให้และมีการซ่อมรถยนต์จริง จึงเป็นการขาดเจตนาทุจริต ถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีพฤติกรรมบกพร่อง และการมอบอำนาจในการดำเนินคดีที่ไม่สมบูรณ์แต่แก้ไขแล้ว
ผู้บังคับบัญชามีหนังสือแจ้งให้ลูกจ้างปรับปรุงการทำงานที่บกพร่องถึงสองครั้งหนังสือนั้นมีความด้วยว่า หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะได้รับผลตอบแทนที่เฉียบขาด แสดงว่าลูกจ้างบกพร่องในการทำงาน หนังสือนี้จึงถือได้ว่าเป็นหนังสือเตือนตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน ต่อมาผู้บังคับบัญชามีหนังสือเตือนครั้งสุดท้ายโดยให้ถือเป็นการพักงาน แต่เนื่องจากลูกจ้างมีตำแหน่งสำคัญจึงไม่สามารถให้พักงานได้ และว่าถ้าลูกจ้างยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขตนเอง และกระทำความผิดแบบเดียวกันอีก ลูกจ้างจะได้รับการทำโทษถึงขั้นปลดออกจากงานดังนี้ เมื่อลูกจ้างกระทำผิดอีก นายจ้างจึงมีเหตุผลที่จะเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นได้
แม้ใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีของบริษัทนายจ้างจะไม่ได้ประทับตราของบริษัทโดยสมบูรณ์ แต่ต่อมาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งคดีนี้ บริษัทนายจ้างได้ทำใบมอบอำนาจที่สมบูรณ์ถูกต้องขึ้นใหม่ ให้ดำเนินคดีและให้สัตยาบันของการที่ได้ทำไปแล้วในคดีนี้ ดังนี้ ถ้ามีผู้อ้างว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อศาลเห็นสมควรจะทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้นั้นก็ได้ เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้แก่ศาลโดยกว้าง หากศาลเห็นว่าผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจดังที่อ้างหรือ อำนาจบกพร่อง ศาลมีอำนาจยกฟ้องคดีนั้นเสียหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ฉะนั้น เมื่อบริษัทนายจ้างได้มีหนังสือมอบอำนาจใหม่ถูกต้อง ศาลก็มีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้(อ้างคำพิพากษาฎีกา (ประชุมใหญ่) ที่ 1184/2506)
แม้ใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีของบริษัทนายจ้างจะไม่ได้ประทับตราของบริษัทโดยสมบูรณ์ แต่ต่อมาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งคดีนี้ บริษัทนายจ้างได้ทำใบมอบอำนาจที่สมบูรณ์ถูกต้องขึ้นใหม่ ให้ดำเนินคดีและให้สัตยาบันของการที่ได้ทำไปแล้วในคดีนี้ ดังนี้ ถ้ามีผู้อ้างว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อศาลเห็นสมควรจะทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้นั้นก็ได้ เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้แก่ศาลโดยกว้าง หากศาลเห็นว่าผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจดังที่อ้างหรือ อำนาจบกพร่อง ศาลมีอำนาจยกฟ้องคดีนั้นเสียหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ฉะนั้น เมื่อบริษัทนายจ้างได้มีหนังสือมอบอำนาจใหม่ถูกต้อง ศาลก็มีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้(อ้างคำพิพากษาฎีกา (ประชุมใหญ่) ที่ 1184/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าชดเชยกรณีลูกจ้างกระทำผิดวินัย แต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นไล่ออก
ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยพนักงานกำหนดว่า พนักงานต้องสุภาพ เรียบร้อย เชื่อฟัง และไม่แสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาฯ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายระเบียบและแบบธรรมเนียมของจำเลย ห้ามมิให้ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง ในการปฏิบัติงาน ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตนเว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำและให้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนทราบในโอกาสแรก การที่โจทก์พูดกับเพื่อนร่วมงานว่า ถ้าโจทก์เป็นประธานสหภาพแรงงาน งานชิ้นแรกที่จะทำคือขับไล่ผู้อำนวยการออก ถ้าโจทก์ออกจะต้องมีคนตายนั้น เป็นการพูดไม่สุภาพ และเป็นการแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา เป็นการผิดวินัยตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว แต่ไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันจำเลยจะไล่ออก ปลดออกตามข้อบังคับของจำเลยได้ เมื่อจำเลยปลดโจทก์ออกจากงานย่อมเป็นการเลิกจ้าง กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 46,47
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม2521 โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์รับสินจ้างเป็นรายเดือน การเลิกสัญญามีผลสมบูรณ์เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521 จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้โจทก์ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 เพราะมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม2521 โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์รับสินจ้างเป็นรายเดือน การเลิกสัญญามีผลสมบูรณ์เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521 จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้โจทก์ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 เพราะมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ในกรณีที่มีการเลิกจ้างโดยการกระทำอันไม่เป็นธรรมนั้นนอกจากค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แล้ว ลูกจ้างมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ76 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ มีอำนาจตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41(4) ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง.ในกรณีนายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมเป็นอีกส่วนหนึ่ง นอกเหนือจากค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว
การเลิกจ้างในกรณีที่สัญญาจ้างมิได้กำหนดว่าจ้างนานเท่าใดจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อนายจ้างมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างจะต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นคนละส่วนกับค่าชดเชยด้วย
การเลิกจ้างในกรณีที่สัญญาจ้างมิได้กำหนดว่าจ้างนานเท่าใดจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อนายจ้างมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างจะต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นคนละส่วนกับค่าชดเชยด้วย