คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขัดคำสั่งและขาดงาน แม้ขาดงานเพียง 1 วัน ก็มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หากเคยตักเตือนแล้ว
ประมวลการลงโทษผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ อันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจัดให้มีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้ว่า กรณีลูกจ้างขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานมีโทษให้ไล่ออกจากงาน ข้อนี้มิได้ระบุว่าต้องขาดงานกี่วันจึงจะมีความผิด ดังนั้น หากโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานแม้เพียง1 วัน ก็มีความผิดและถูกลงโทษให้ออกจากงานได้กรณีนี้เป็นเรื่องที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานฯ ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามข้อ 47(4)ฉะนั้น ประมวลการลงโทษฯ จึงหาได้ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่กำหนดว่าลูกจ้างต้องขาดงานติดต่อกัน 3 วันไม่
โจทก์เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนมาแล้ว 3 ครั้งฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบ ซึ่งตามคำสั่งลงโทษมีข้อความอันถือได้ว่าได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อโจทก์มากระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบอีก และได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ กรณีหาใช่วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนำความผิดที่ลงโทษเสร็จสิ้นไปแล้วมาลงโทษอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานกรณีค่าชดเชย ไม่สร้างผลผูกพันทางกฎหมาย นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 77ให้อำนาจพนักงานตรวจแรงงานที่จะให้คำเตือนเพื่อให้นายจ้างปฏิบัติการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่เห็นว่านายจ้างฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง คำเตือนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาด ว่านายจ้างฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดคุ้มครองแรงงาน และไม่มีผลบังคับให้นายจ้างต้องปฏิบัติตาม จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องพนักงานตรวจแรงงาน
of 15