คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย ตันติกุลานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ: ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องได้ ผู้สั่งจ่ายไม่สามารถต่อสู้เรื่องความสัมพันธ์กับผู้ทรงคนก่อนได้
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คจึงเป็นผู้ถือและเป็นผู้ทรงซึ่งมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนเว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบ มาตรา 989 จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ ส. เพื่อค้ำประกันโดยไม่มีมูลหนี้ จำเลยชำระหนี้ตามเช็คให้แก่ ส.แล้วแต่ส.ใช้อุบายชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คด้วยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร โจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี และไม่จำต้องสืบพยาน เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สั่งจ่าย หากไม่มีการโอนโดยฉ้อฉล
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์รับเช็คมาย่อมเป็นผู้ทรงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ส. โดยไม่มีมูลหนี้แต่เป็นการค้ำประกันในการที่จำเลยจัดตั้งบริษัทขึ้นคำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทกับ ส. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 และที่จำเลยให้การว่าจำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส. ไปแล้ว แต่ด้วยอุบายและชั้นเชิงของส. จึงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คำให้การก็ไม่ชัดแจ้งว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร การที่ ส. ฝ่ายเดียวใช้อุบายและชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ และที่จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่า โจทก์ไม่สุจริตอย่างไรคำให้การจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท คดีย่อมวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถในปั๊มน้ำมันและการไม่ถือเป็นสัญญาฝากทรัพย์ เนื่องจากผู้จอดรถยังคงครอบครองกุญแจเอง
จำเลยยินยอมให้ลูกค้านำรถยนต์มาจอดในบริเวณที่ว่างในสถานีบริการน้ำมันทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นการชั่วคราว ได้โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่ถ้านำรถยนต์ออกไปจากที่จอดหลังเวลา6 นาฬิกา จะต้องเสียเงินคันละ 10 บาท การนำรถยนต์มาจอดหรือเอาออกไปไม่ต้องบอกใคร กรณีมีการเก็บเงินพนักงานของจำเลยจะมาเก็บ เมื่อ ส. นำรถยนต์มาจอด ล็อกประตูแล้วเก็บกุญแจไว้เองมิได้ส่งมอบให้พนักงานของจำเลย การครอบครองรถยนต์ระหว่างที่จอดยังอยู่ในความครอบครองของ ส. แม้จะมีการเก็บเงินค่าจอดหรือค่าบริการก็ไม่เป็นการฝากทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสลากกินรวบต้องมีหลักฐานยืนยันการกระทำความผิด การเตรียมการยังไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่า จำเลยได้ขายสลากกินรวบ แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะจับ ศ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อสลากกินรวบมาได้ในขณะเกิดเหตุ ศ. ก็ให้การว่า ได้มาซื้อสลากกินรวบที่บ้านจำเลยมิได้ระบุว่าซื้อจากจำเลย โจทก์ไม่ได้ตัว ศ. มาสืบ คงส่งแต่บันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของ ศ. เป็นพยานต่อศาล บันทึกคำให้การดังกล่าวเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งมีน้ำหนักน้อย ไม่พอฟังว่า ศ.ซื้อสลากกินรวบจากจำเลย โพยของกลางก็ไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นผู้เขียนและขายโพยนั้น แม้จะฟังว่าจำเลยเขียนเลขสลากกินรวบไว้เพื่อขาย แต่ยังไม่ทันลงมือขายก็ถูกจับ ดังนี้ จำเลยยังไม่มีความผิดฐานพยายามขายสลากกินรวบ เป็นเพียงขั้นเตรียมการกระทำผิดเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสลากกินรวบ - พยานหลักฐานไม่เพียงพอ - ขั้นเตรียมการกระทำผิด
โจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่า จำเลยได้ขายสลากกินรวบ แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะจับ ศ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อสลากกินรวบมาได้ในขณะเกิดเหตุศ. ก็ให้การว่า ได้มาซื้อสลากกินรวบที่บ้านจำเลยมิได้ระบุว่าซื้อจากจำเลย โจทก์ไม่ได้ตัว ศ. มาสืบ คงส่งแต่บันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของ ศ. เป็นพยานต่อศาล บันทึกคำให้การดังกล่าวเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งมีน้ำหนักน้อย ไม่พอฟังว่า ศ. ซื้อสลากกินรวบจากจำเลย โพยของกลางก็ไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นผู้เขียนและขายโพยนั้น แม้จะฟังว่าจำเลยเขียนเลขสลากกินรวบไว้เพื่อขาย แต่ยังไม่ทันลงมือขายก็ถูกจับ ดังนี้ จำเลยยังไม่มีความผิดฐานพยายามขายสลากกินรวบ เป็นเพียงขั้นเตรียมการกระทำผิดเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กำลังป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ แม้ผู้ตายจะยังคงมีภยันตรายอยู่ การยิงหลายนัดหลังผู้ตายบาดเจ็บสาหัส ถือเกินกว่าเหตุ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจวิ่งไล่ตามผู้ตายซึ่งจำเลยสงสัยว่าเป็นคนร้าย ผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงมาทางจำเลย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในขณะที่ผู้ตายหันหลังให้และกำลังวิ่งหนีจำเลย แต่ไม่แน่ว่าผู้ตายจะหันกลับมายิงจำเลยอีกหรือไม่ ภยันตรายที่จะเกิดจากผู้ตายจึงยังไม่หมดไป จำเลยมีอำนาจป้องกันได้ แต่ปรากฏว่ากระสุนปืนนัดแรกที่จำเลยยิงถูกผู้ตายบริเวณโคนขาซ้ายด้านหลังจนผู้ตายต้องวิ่งหนีในลักษณะขากะเผลกอยู่ แล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะต้องใช้อาวุธปืนไล่ยิงผู้ตายต่อไปอีกหลายนัดโดยเฉพาะก่อนที่จำเลยจะยิงผู้ตายนัดสุดท้าย ผู้ตายได้รับบาดเจ็บสาหัสเพราะถูกจำเลยยิงที่โคนขาซ้ายและที่ชายโครงซ้าย แม้จะได้ความว่าผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงมาทางจำเลยอีกก็ตาม ผู้ตายก็ไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้อาวุธปืนได้อย่างคนปกติ จำเลยมีโอกาสใช้ดุลพินิจได้ว่าในสภาพของผู้ตายขณะนั้นจำเลยควรเลือกยิงผู้ตายบริเวณอวัยวะที่ไม่สำคัญได้ การที่จำเลยยิงผู้ตายอีก 1 นัด ที่บริเวณด้านหลังศีรษะจนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุและเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลัง & การเลียนแบบทำให้สาธารณชนหลงผิด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 41(1) ในปัญหานี้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 กรณีดังกล่าวไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 19 เบญจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องนุ่งห่มและเครื่องหอม ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN(นิวแมน) จำหน่ายในประเทศต่าง ๆเกือบทั่วโลกมานานประมาณ 15 ปี และยังจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2512 กับที่ประเทศอื่น ๆอีกหลายประเทศ สินค้าของโจทก์ได้ส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เรื่อยมา จำเลยเพิ่งมาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ใช้คำว่า NNEWMEN(เอ็นนิวแมน) เมื่อวันที่12 พฤษภาคม 2521 ถือว่าจำเลยกระทำการโดยไม่สุจริต และการที่จำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายที่จำเลยผลิตและจำหน่ายซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดอันเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลังแต่มีสิทธิเหนือกว่าจากความเป็นเจ้าของเดิมและการเลียนแบบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN ไว้ในประเทศต่าง ๆเกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ในปัญหานี้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 กรณีดังกล่าวย่อมไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 19 เบญจ คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ายังไม่เป็นที่สุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องนุ่งห่มและเครื่องหอม ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN กับสินค้าของโจทก์จำหน่ายในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกมานานประมาณ 15 ปีแล้วรวมทั้งในประเทศไทยด้วย โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ที่ประเทศต่าง ๆ หลายประเทศและส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเรื่อยมาก่อนที่จำเลยจะมาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN ใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ การใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยถือได้ว่าเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตทำให้สาธารณชนหลงผิดอันเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดโดยชอบ แม้บ้านปิดประตู-ไม่ปิดประกาศ ณ ที่ทรัพย์สิน
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดไปที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว แม้บ้านดังกล่าวจะปิดประตูใส่กุญแจไม่มีใครอยู่ ก็ถือว่าเป็นการส่งหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ปิดประกาศการขายทอดตลาดไว้ ณ สถานที่ที่ทรัพย์ที่จะขายตั้งอยู่ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 68 วรรคแรกก็ตาม แต่ระเบียบดังกล่าวหาได้เป็นกฎหมายไม่ เมื่อปรากฏว่าการส่งหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยได้กระทำโดยชอบแล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบวันนัดขายทอดตลาดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีฆ่าและชิงทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 และฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้คนตายตามมาตรา 339 วรรคท้าย ประกอบกับมาตรา 340 ตรี แล้วให้ลงโทษตามมาตรา 288 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะความผิดตามมาตรา 339 วรรคท้ายประกอบกับมาตรา 340 ตรี มีอัตราโทษสูงกว่าความผิดตามมาตรา 288ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียว แต่ต้องลงโทษบทหนัก ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขวางบทลงโทษให้ถูกต้องโดยไม่ลงโทษสูงกว่าเดิมได้ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 และที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปโดยผิดกฎหมายลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง,72 ทวิ วรรคสอง จำคุก 1 ปี และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371ปรับ 100 บาท นั้นก็ยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากความผิดทั้งสองฐานเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงแก่จำเลยทั้งสอง คือ พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, มาตรา 72 ทวิ วรรคสอง ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเสียด้วย และเหตุดังกล่าวข้างต้นอยู่ในส่วนลักษณะคดีให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งถอนฎีกาไปแล้วได้
of 8