คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย ตันติกุลานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาความผิดฐานฟ้องเท็จ: จำเลยเชื่อโดยมีเหตุผลว่าโจทก์กระทำผิด จึงไม่มีเจตนา
ความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175ต้องเป็นกรณีที่จำเลยเอาความเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดทางอาญา และจำเลยต้องมีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59โดยต้องรู้ว่าความที่นำมาฟ้องนั้นเป็นเท็จ เมื่อการกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์ถอนต้นยูคาลิปตัสของจำเลย จำเลยย่อมไม่รู้ว่าความที่นำมาฟ้องโจทก์ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์นั้นเป็นเท็จการที่จำเลยฟ้องโจทก์โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นการกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาและไม่มีมูลความผิดฐานฟ้องเท็จและการที่จำเลยฟ้องกล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่ดินของจำเลย เมื่อโจทก์ได้เข้าไปในที่ดินของจำเลยจริง ฟ้องดังกล่าวจึงไม่เป็นความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์ ต้องเป็นการแต่งตั้งโดยชัดเจนตามกฎหมาย มิฉะนั้นคำร้องไม่สมบูรณ์
การที่ ฉ. ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความในใบแต่งทนายความ2 ฉบับ ซึ่งไม่มีข้อความระบุว่า ผู้ร้องทั้งสองได้แต่งตั้งให้ฉ.เป็นทนายความแต่ระบุชื่อน.เป็นทนายความเช่นนี้ฉ.จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 คำร้องขัดทรัพย์มีลักษณะเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) จึงต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตามมาตรา 67(5)หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องแต่งตั้งตามมาตรา 62 มิฉะนั้นคำร้องดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 67(5) ศาลต้องสั่งคืนคำร้องนั้นไปให้ผู้ร้องทั้งสองแก้ไขภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควรจะกำหนดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่คำร้องขัดทรัพย์ที่ลงลายมือชื่อโดยทนายความผู้ไม่มีอำนาจ มิใช่กรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องอันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความและการลงลายมือชื่อในคำร้อง: การแต่งตั้งทนายความที่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองมี ฉ. ลงชื่อเป็นผู้ร้องและผู้เรียงพิมพ์แต่ในใบแต่งทนายความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ทั้งสองฉบับที่ระบุแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2กับมี ฉ. ทนายความผู้มีใบอนุญาต ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความไม่ใช่ น. เมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 มิได้มีเจตนาแต่งตั้งให้ ฉ.เป็นทนายความก็ต้องถือว่าฉ. ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความโดยไม่มีสิทธิ ฉ. จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 อย่างไรก็ตามคำร้องขัดทรัพย์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) ต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตาม มาตรา 67(5)หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องทั้งสองแต่งตั้งตาม มาตรา 62เมื่อคำร้องขัดทรัพย์มี ฉ. ลงลายมือชื่อโดยผู้ร้องทั้งสองมิได้แต่งตั้งให้เป็นทนายความ มิใช่เป็นกรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องตาม มาตรา 67(5) อันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองโดยไม่ต้องส่งคืนคำร้องนั้นไปให้แก้ไขมาก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้สับสนและเสียหาย: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
กล่องสินค้าของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องสินค้าของโจทก์ทั้ง 6 ด้าน รูปร่างลักษณะของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกันสีสัน และลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน ด้านหน้ากล่องของโจทก์ใช้คำว่า "น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันกีฬา" ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นสีขาวและอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน ด้านหลังของกล่องมีอักษรโรมันของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT" ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTSOIL" เป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันมีขนาดเท่ากัน สีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากัน ฝากล่องด้านบนของโจทก์มีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้"ส่วนของจำเลยมีรูปสิงห์ 5 ตัวเหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราห้าสิงห์ เหยียบโลก" แม้จะมีลักษณะแตกต่างกันในส่วนนี้ แต่รูปและข้อความดังกล่าวมีลักษณะเล็กมากและอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบสามชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยัก ในลักษณะเหมือนกัน นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่ปี 2498 ก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยประมาณ 30 ปี จึงเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 421.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อนำเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏที่ฉลากกล่องกระดาษสำหรับใส่ขวดน้ำมันทาถูนวดของจำเลยเปรียบเทียบกับของโจทก์ปรากฏว่ากล่องของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ทั้งหกด้านรูปร่างของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกัน สีสรรและลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกันขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากันนอกจากนี้ด้านหน้าของกล่องมีตัวอักษรที่เด่นชัดเหมือนกันคือคำว่า "น้ำมัน" แม้จะมีตัวอักษรที่ต่างกันคือ ของโจทก์ใช้คำว่า"น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันกีฬา" แต่ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นตัวสีขาวและอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน โดยเฉพาะกล่องของจำเลยอยู่ในกรอบแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ด้วย สำหรับด้านหลังของกล่องซึ่งมีอักษรโรมัน แม้จะมีคำต่างกันกล่าวคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT"ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTSOIL" แต่คำทั้งสองเป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากัน สีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากัน สำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้เลย ส่วนที่ฝากล่องกระดาษของโจทก์ด้านบนมีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้"แต่ที่ฝากล่องของจำเลยด้านบนมีรูปสิงห์ 5 ตัว เหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราหน้าสิงห์เหยียบโลก" นั้น ก็มีลักษณะเล็กมาก มองในระยะห่าง 1 เมตร จะอ่านตัวอักษรดังกล่าวของทั้งโจทก์และจำเลยไม่ออก อย่างไรก็ตาม รูปและอักษรดังกล่าวอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบ 3 ชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยักในลักษณะเหมือนกัน และภาพนักมวยกำลังชกต่อยกันบนกล่องของโจทก์ซึ่งของจำเลยไม่มีก็เป็นเพียงภาพเงาและไม่เด่นชัด ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2527 ถึง 30 ปี จึงเป็นการที่จำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้แก่กันจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการโอนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2474(ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2474 ข้อ 12 ซึ่งบังคับว่าต้องใช้แบบ ค.ม.8ก. เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่จำเลยอ้างว่าโจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.ไม่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า และข้อความในเอกสารดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.แต่ระบุว่าโจทก์ให้ ท.เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้แทนโจทก์ โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตลอดมาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เต็มจำนวนนับแต่วันที่จำเลยทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นทำให้สับสนและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
เมื่อนำเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏที่ฉลากกล่องกระดาษสำหรับใส่ขวดน้ำมันทาถูนวดของจำเลยเปรียบเทียบกับของโจทก์ ปรากฏว่ากล่องของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ทั้งหกด้าน รูปร่างของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกัน สีสรรและลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน นอกจากนี้ด้านหน้าของกล่องมีตัวอักษรที่เด่นชัดเหมือนกันคือคำว่า "น้ำมัน" แม้จะมีตัวอักษรที่ต่างกันคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "มวย" ของจำเลยใช้คำว่า "กีฬา"กล่าวคือรวมแล้วของโจทก์ใช้คำว่า "น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า"น้ำมันกีฬา" แต่ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นตัวสีขาว และอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน โดยเฉพาะกล่องของจำเลยอยู่ในกรอบแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ด้วย สำหรับด้านหลังของกล่องซึ่งมีอักษรโรมัน แม้จะมีคำต่างกันกล่าวคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT" ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTOIL" ก็ตาม แต่คำทั้งสองเป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากันสีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากันสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้เลย ส่วนที่ฝากล่องกระดาษของโจทก์ด้านบนมีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้" แต่ที่ฝากล่องของจำเลยด้านบนมีรูปสิงห์ 5 ตัว เหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราห้าสิงห์เหยียบโลก" นั้น ก็มีลักษณะเล็กมากมองในระยะห่าง 1 เมตร จะอ่านตัวอักษรดังกล่าวของทั้งโจทก์และจำเลยไม่ออก อย่างไรก็ตาม รูปและอักษรดังกล่าวอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบ3 ชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยักในลักษณะเหมือนกันและภาพนักมวยกำลังชกต่อยกันบนกล่องของโจทก์ซึ่งของจำเลยไม่มีก็เป็นเพียงภาพเงาและไม่เด่นชัด ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2527 ถึง30 ปี จึงเป็นการที่จำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้แก่กันจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการโอนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2474(ฉบับที่ 1)ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2474 ข้อ 12 ซึ่งบังคับว่าต้องใช้แบบค.ม. 8 ก. เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่จำเลยอ้างว่าโจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ก. ไม่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าและข้อความในเอกสารดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.แต่ระบุว่าโจทก์ให้ท. เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้แทนโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตลอดมาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เต็มจำนวนนับแต่วันที่จำเลยทำละเมิด จำนวนเงินค่าทนายความที่ศาลกำหนดให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลที่จะกำหนดให้ โดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง โดยศาลต้องกำหนดค่าทนายความระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาขัดกับคำให้การเดิมในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จำเลยให้การว่า จำเลยและภริยาจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยตกลงแบ่งการครอบครองกับทายาทอื่นเป็นสัดส่วนและด้วยการครอบครองปรปักษ์ แต่ที่จำเลยฎีกาว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังมิได้แบ่งปันกัน ถือว่าทายาทมีสิทธิครอบครองร่วมกันและแทนกันตลอดทั้งแปลงเป็นฎีกาที่ขัดกับคำให้การซึ่งไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การยกข้อเท็จจริงขัดแย้งกับคำให้การเดิมในศาลชั้นต้น
การที่จำเลยฎีกาโดยอ้างสิทธิในที่พิพาทว่ายังเป็นทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้มีการแบ่งปันกัน ต้องถือว่า ทายาทมีสิทธิครอบครองร่วมกันและแทนกันตลอดทั้งแปลงนั้น เป็นการฎีกาโดยยกข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การของจำเลยซึ่งไม่มีประเด็นจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างสร้างภาพยนตร์โฆษณา การปฏิเสธงานต้องมีเหตุผลอันสมควร หากไม่มีความเสียหายชัดเจน ผู้รับจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง
จำเลยอ้างเหตุปฏิเสธไม่ยอมรับงานที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้สร้างและจัดทำภาพยนตร์โฆษณาทาง โทรทัศน์ เพื่อโฆษณาถุงน่องสตรีเพราะโจทก์ผิดสัญญาในสาระสำคัญ 2 ประการ คือประการแรกเกี่ยวกับใบหน้าของนางแบบ โจทก์หานางแบบชาวต่างประเทศไม่ได้ จำเลยจึงยอมรับนางแบบคนไทยเพราะโจทก์รับรองว่าจะใช้เทคนิคในการแต่งหน้าและการถ่ายทำให้ดูเป็นปริศนาว่าเป็นชาวต่างประเทศ และจำเลยต้องการให้เห็นหน้าเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ผลการถ่ายทำภาพยนตร์ของโจทก์เห็นใบหน้าของนางแบบชัดเจน รู้ได้ว่าเป็นคนไทยคุ้น หน้าแก่บุคคลทั่วไปเคยแสดงแบบในนิตยสารมาก่อน ประการที่สองฉาก ภาพยนตร์ซึ่งแสดงความสนใจที่ นาย แบบมีต่อนางแบบ ภาพสะท้อนจากเลนซ์ แว่นตา ของนายแบบคือช่วงขาของนางแบบซึ่งสวมถุงน่องอันเป็นสินค้าที่โฆษณา ปรากฏว่าขาของนางแบบโค้งงอ ไม่น่าดู ดังนี้ ตามธรรมดาถ้าใบหน้านางแบบสวย น่าดูเป็นผู้มีชื่อเสียง เคยแสดงแบบในนิตยสารเป็นที่คุ้น หน้าแก่บุคคลทั่วไป ก็น่าจะทำให้การโฆษณาสินค้าของจำเลยดีกว่านางแบบที่คนไม่เคยรู้จักหน้า ทั้งจำเลยเป็นผู้เลือกนางแบบเองด้วยไม่ปรากฏว่าการเห็นใบหน้านางแบบชัดเจนจะทำให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ ส่วนข้อที่ว่าภาพขานางแบบโค้งงอไม่น่าดู ปรากฏว่าฉาก ขานางแบบซึ่งปรากฏในเลนซ์ แว่นตา ของนายแบบระยะเวลาสั้นมาก ทำให้ผู้ดูมองไม่ออกว่าขานางแบบโค้งงอ แสดงว่าโจทก์ได้จัดการแก้ไขแล้ว แม้จะเห็นในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ดีกว่าถ่ายทำใหม่ให้เห็นในระยะเวลานานแต่สิ้นค่าใช้จ่ายสูง ถือได้ว่าเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อยเท่านั้น โจทก์มิได้ผิดสัญญา จำเลยจะปฏิเสธไม่รับงานและไม่ชำระสินจ้างไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำผลงาน ภาพยนตร์โฆษณา ความผิดสัญญา สาระสำคัญ การปฏิเสธงาน
จำเลยอ้างเหตุปฏิเสธไม่ยอมรับงานที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้สร้างและจัดทำภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อโฆษณาถุงน่องสตรีเพราะโจทก์ผิดสัญญาในสาระสำคัญ 2 ประการคือประการแรกเกี่ยวกับใบหน้าของนางแบบ โจทก์หานางแบบชาวต่างประเทศไม่ได้ จำเลยจึงยอมรับนางแบบคนไทยเพราะโจทก์รับรองว่าจะใช้เทคนิคในการแต่งหน้าและการถ่ายทำให้ดูเป็นปริศนาว่าเป็นชาวต่างประเทศ และจำเลยต้องการให้เห็นหน้าเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ผลการถ่ายทำภาพยนตร์ของโจทก์เห็นใบหน้าของนางแบบชัดเจน รู้ได้ว่าเป็นคนไทยคุ้นหน้าแก่บุคคลทั่วไป เคยแสดงแบบในนิตยสารมาก่อน ประการที่สองฉากภาพยนตร์ซึ่งแสดงความสนใจที่นายแบบมีต่อนางแบบ ภาพสะท้อนจากเลนซ์แว่นตาของนายแบบคือช่วงขาของนางแบบซึ่งสวมถุงน่องอันเป็นสินค้าที่โฆษณา ปรากฏว่าขาของนางแบบโค้งงอไม่น่าดู ดังนี้ ตามธรรมดาถ้าใบหน้านางแบบสวยน่าดู เป็นผู้มีชื่อเสียง เคยแสดงแบบในนิตยสารเป็นที่คุ้นหน้าแก่บุคคลทั่วไป ก็น่าจะทำให้การโฆษณาสินค้าของจำเลยดีกว่านางแบบที่คนไม่เคยรู้จักหน้า ทั้งจำเลยเป็นผู้เลือกนางแบบเองด้วย ไม่ปรากฏว่าการเห็นใบหน้านางแบบชัดเจนจะทำให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ ส่วนข้อที่ว่าภาพขานางแบบโค้งงอไม่น่าดู ปรากฏว่าฉากขานางแบบซึ่งปรากฏในเลนซ์แว่นตาของนายแบบระยะเวลาสั้นมาก ทำให้ผู้ดูมองไม่ออกว่าขานางแบบโค้งงอ แสดงว่าโจทก์ได้จัดการแก้ไขแล้ว แม้จะเห็นในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ดีกว่าถ่ายทำใหม่ให้เห็นในระยะเวลานานแต่สิ้นค่าใช้จ่ายสูง ถือได้ว่าเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อยเท่านั้น โจทก์มิได้ผิดสัญญา จำเลยจะปฏิเสธไม่รับงานและไม่ชำระสินจ้างไม่ได้
of 8