คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย ตันติกุลานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำผลงาน: การปฏิเสธงานต้องมีเหตุผลอันสมควรและข้อบกพร่องต้องเป็นสาระสำคัญ
จำเลยอ้างเหตุปฏิเสธไม่ยอมรับงานที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้สร้าง และจัดทำภาพยนต์ โฆษณาทาง โทรทัศน์ เพื่อโฆษณาถุงน่องสตรี เพราะโจทก์ผิดสัญญาในสาระสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรกเกี่ยวกับใบหน้าของนางแบบ โจทก์หานางแบบชาวต่างประเทศไม่ได้ จำเลยจึงยอมรับนางแบบคนไทยเพราะโจทก์รับรองว่าจะใช้เทคนิคในการแต่งหน้าและการถ่าย ทำให้ดู เป็นปริศนาว่าเป็นชาวต่างประเทศ และจำเลยต้องการให้เห็นหน้าเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ผลการถ่ายทำภาพยนตร์ของโจทก์เห็นใบหน้าของนางแบบชัดเจน รู้ได้ว่าเป็นคนไทย คุ้นหน้าแก่บุคคลทั่วไปเคยแสดงแบบในนิตยสารมาก่อน ประการที่สองฉากภาพยนตร์ซึ่งแสดงความสนใจที่ นายแบบมีต่อนางแบบ ภาพสะท้อนจากเลนส์ แว่นตา ของนายแบบคือช่วงขาของนางแบบซึ่งสวมถุงน่องอันเป็นสินค้าที่โฆษณา ปรากฏว่าขาของนางแบบโค้งงอ ไม่น่าดู ดังนี้ ตามธรรมดาถ้าใบหน้านางแบบสวย น่าดู เป็นผู้มีชื่อ เสียง เคยแสดงแบบในนิตยสารเป็นที่คุ้น หน้าแก่บุคคลทั่วไป ก็น่าจะทำให้การโฆษณาสินค้าของจำเลยดีกว่านางแบบที่คนไม่เคยรู้จักหน้า ทั้งจำเลยเป็นผู้เลือกนางแบบเองด้วย ไม่ปรากฏว่าการเห็นใบหน้านางแบบชัดเจนจะทำให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่สาระสำคัญ ส่วนข้อที่ว่าภาพขานางแบบโค้งงอ ไม่น่าดูปรากฏว่าฉาก ขานางแบบซึ่งปรากฏในเลนส์ แว่นตา ของนางแบบระยะเวลาสั้นมากทำให้ผู้ดู มองไม่ออกว่าขานางแบบโค้งงอ แสดงว่าโจทก์ได้จัดการแก้ไขแล้ว แม้จะเห็นในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ดีกว่าถ่าย ทำใหม่ให้เห็นในระยะเวลานานแต่สิ้นค่าใช้จ่ายสูง ถือได้ว่าเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อยเท่านั้น โจทก์มิได้ผิดสัญญาจำเลยจะปฏิเสธไม่รับงานและไม่ชำระสินจ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยสัญญาซื้อขายไม้แป้นรองมิเตอร์: การปฏิบัติตามสัญญาเป็นพ้นวิสัยต้องพิจารณาจากข้อตกลงและข้อเท็จจริง
สัญญาซื้อขายที่จำเลยทำไว้กับโจทก์มิได้มีข้อความระบุถึงเรื่องให้จำเลยต้องนำไม้ที่จะขายให้โจทก์จากในป่าซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ที่กองทัพภาคที่ 1 ประกาศปิดป่า และในประกาศของกองทัพดังกล่าวก็ระบุไว้แต่เพียงห้ามบุคคลเข้าไปหรืออยู่อาศัยในเขตพื้นที่บางจังหวัดเท่านั้น ทั้งยังประกาศใช้บังคับมาก่อนจำเลยได้เสนอและทำสัญญาขายไม้แป้นรองมิเตอร์ ให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เลิกสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์ได้จัดให้มีการประมูลใหม่ ผู้ที่ประมูลได้ก็จัดหาไม้แป้นรองมิเตอร์ ตามประเภท ชนิด และขนาดเช่นเดียวกับที่จำเลยทำสัญญาขายให้แก่โจทก์ได้ การที่จำเลยไม่สามารถหาไม้แป้นรองมิเตอร์ มาขายให้โจทก์ได้ตามสัญญา จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ประกอบกิจการในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่บุคคลทั่วไปการที่โจทก์ต้องเสียเวลาล่าช้าในการนำไม้แป้นรองมิเตอร์ ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญาไปใช้ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายแผ่นป้ายอลูมิเนียมเนื่องจากคุณภาพสินค้าไม่ตรงตามสัญญา จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญา
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้แถลงขอส่งแผ่นป้ายที่สุ่มตัวอย่างไปตรวจพิสูจน์ และฝ่ายจำเลยก็มิได้รับคำท้าพิสูจน์ของโจทก์ แต่กลับปรากฏว่าจำเลยได้แถลงโต้แย้งไว้ชัดเจนว่า แผ่นป้ายของโจทก์ได้รับการตรวจพิสูจน์จากคณะกรรมการของจำเลยแล้วว่ามีคุณภาพไม่ตรงตามสัญญา จำเลยจะขอสืบพยาน กรณีจึงไม่ใช่เรื่องจำเลยยอมรับคำท้าของโจทก์ โจทก์ยังคงมีภาระการพิสูจน์ว่าแผ่นป้ายสินค้าของโจทก์มีคุณลักษณะเฉพาะตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าแผ่นป้ายสินค้าของโจทก์ที่ส่งไปให้จำเลยไม่มีคุณลักษณะเฉพาะการงานที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายและตามข้อกำหนดอันเป็นสาระสำคัญในการทำสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายจำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยทำซ้ำ/ดัดแปลงงานมีลิขสิทธิ์โดยตรง แม้ไม่ต้องพิสูจน์ว่ารู้ว่าละเมิด
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มีได้ 2กรณี คือ กรณีแรกเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง ตามมาตรา 24 ได้แก่การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 24(1) หรือ (2) คือการกระทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือการนำออกโฆษณาซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 กรณีที่สองเป็นกรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 27 ได้แก่การกระทำบางอย่างที่มิใช่เป็นการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอย่างเช่น กรณีมาตรา 24 แต่เป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(1) ถึง (4) แก่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอีกต่อหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้จึงต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานนั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานหนังสือคู่มือครูคณิตศาสตร์ช่าง อุตสาหกรรม1,2 และ 3 ตามเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 จำเลยทั้งห้าได้ทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ดังกล่าว คือร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 โดยลอกเลียนจากหนังสือเอกสารหมาย จ.1ถึง จ.3 และศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานหนังสือเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 จำเลยทั้งห้าร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือเอกสารหมาย จ.5 และเฉพาะจำเลยที่ 1ที่ 2 ยังได้จัดพิมพ์หนังสือเอกสารหมาย จ.4 โดยลอกเลียนดัดแปลงจากหนังสือเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ก่อน ดังนี้เท่ากับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งห้าได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ เป็นกรณีจำเลยทั้งห้าทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยตรงตามมาตรา 24.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์ต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้ว่างานนั้นละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การกระทำโดยตรงหรือทางอ้อมก็ถือเป็นการละเมิดได้
การละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มีได้ 2 กรณี คือ กรณีที่เป็นการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงตามมาตรา 24 ซึ่งได้แก่การกระทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือการนำออกโฆษณาซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 กับกรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27ซึ่งได้แก่การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(1)ถึง (5) แต่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27จึงต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานนั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: สถานที่เกิดเหตุและความเข้าใจของจำเลย
แม้คำฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุว่าบริษัทที่เกิดเหตุตั้งอยู่ที่ใดก็ตาม แต่เมื่อตอนท้ายของคำฟ้องกล่าวไว้ว่า ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ตามหมายขังของศาลชั้นต้นในคดีหมายเลขดำที่พ.812/2533 พออนุโลมได้ว่าเป็นส่วนประกอบของคำฟ้องและปรากฏว่าในสำนวนคดีดังกล่าวพนักงานสอบสวนที่ขอฝากขังจำเลยในขณะที่เป็นผู้ต้องหาได้ระบุสถานที่เกิดเหตุที่บริษัทอยู่ที่ตำบลสำโรงใต้อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว จำเลยย่อมจะเข้าใจได้ดีว่าเหตุเกิดที่ใด ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: สถานที่เกิดเหตุที่พอสมควรต่อการเข้าใจข้อหา
ฟ้องโจทก์ระบุว่าสถานที่เกิดเหตุคือบริเวณบริษัท ค. แม้มิได้ระบุว่าบริษัทดังกล่าวตั้งอยู่ที่ใดก็ตาม แต่ในตอนท้ายของคำฟ้องได้กล่าวไว้ว่า ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ตามหมายขังของศาลชั้นต้นในคดีหมายเลขดำที่ พ.812/2533 ซึ่งพออนุโลมได้ว่าเป็นส่วนประกอบของคำฟ้อง และปรากฏว่าในสำนวนคดีดังกล่าวซึ่งติดอยู่ตอนหน้าของสำนวนคดีนี้นั้นตามคำร้องของพนักงานสอบสวนที่ขอฝากขังจำเลยในขณะที่เป็นผู้ต้องหาได้ระบุสถานที่เกิดเหตุที่บริษัทดังกล่าวว่าอยู่ที่ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการและจำเลยได้รับสำเนาคำร้องฉบับนี้ไปแล้ว จำเลยย่อมจะเข้าใจได้ดีว่าเหตุคดีนี้เกิดที่ใดจึงได้ให้การรับสารภาพ ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: สถานที่เกิดเหตุและข้อเท็จจริงที่จำเลยเข้าใจ
ฟ้องโจทก์ระบุว่า สถานที่เกิดเหตุคือบริเวณบริษัท ค.แม้มิได้ระบุว่าบริษัทดังกล่าวตั้งอยู่ที่ใดก็ตาม แต่ในตอนท้ายของคำฟ้องได้กล่าวไว้ว่า ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ตามหมายขังของศาลชั้นต้นในคดีหมายเลขดำที่ พ.812/2533 ซึ่งพออนุโลมได้ว่าเป็นส่วนประกอบของคำฟ้อง และปรากฏว่าในสำนวนคดีดังกล่าวซึ่งติดอยู่ตอนหน้าของสำนวนคดีนี้นั้นตามคำร้องของพนักงานสอบสวนที่ขอฝากขังจำเลยในขณะที่เป็นผู้ต้องหาได้ระบุสถานที่เกิดเหตุที่บริษัทดังกล่าวว่า อยู่ที่ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ และจำเลยได้รับสำเนาคำร้องฉบับนี้ไปแล้วจำเลยย่อมจะเข้าใจได้ดีว่าเหตุคดีนี้เกิดที่ใดจึงได้ให้การรับสารภาพ ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมจำหน่ายยาเสพติด: พฤติการณ์สนับสนุนการกระทำความผิดตั้งแต่ต้นจนจบ
การที่จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ขับรถยนต์ ซึ่งมีเฮโรอีนและฝิ่นของกลางใส่มากับรถ แล้วเอายาเสพติดให้โทษของกลางไปซุกซ่อน ไว้ในป่าละเมาะข้างทางเพื่อรอจำเลยที่ 1 พาผู้ซื้อมาเอาไป ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 พาผู้ซื้อมาแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็พาจำเลยที่ 1เข้าไปเอาของกลางที่ซ่อน ไว้ และเดิน ไปส่งของนั้นที่รถยนต์ซึ่งผู้ซื้อรออยู่ และจำเลยที่ 2 ยังรออยู่ที่นั้นเพื่อให้จำเลยที่ 1รับเงินมาแบ่งกัน พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่า จำเลยที่ 2ได้กระทำการอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งการจำหน่ายเฮโรอีนและฝิ่นของกลางให้แก่ผู้ซื้อด้วย จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นตัวการ ตาม ป.อ.มาตรา 83. จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลดโทษโดยอ้างว่า มีบิดามารดาซึ่งป่วยเป็นอัมพาตและมีบุตรจะต้องเลี้ยงดูนั้น ก็มิใช่เหตุบรรเทาโทษตามป.อ. มาตรา 78.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาต้องอาศัยพยานหลักฐานที่เชื่อถือได้ คำเบิกความของผู้เสียหายที่ไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์จริงและพฤติการณ์แห่งคดีถือเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้
ชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การเพียงว่าจำหน้าคนร้ายได้เท่านั้นโดยไม่ได้ระบุว่าคนร้ายนั้นมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร เป็นการให้การลอย ๆ ชั้นพิจารณาผู้เสียหายเบิกความว่าจำคนร้ายไม่ได้ แม้ผู้เสียหายจะถูกดำเนินคดีฐานเบิกความเท็จ และผู้เสียหายให้การรับสารภาพ คดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม ก็จะนำมายืนยันในคดีนี้ว่าคำเบิกความของผู้เสียหายเป็นการเบิกความเท็จด้วยไม่ได้เพราะขัดต่อข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดี เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดพอที่จะให้เชื่อได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายลำพังแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยซึ่งจำเลยปฏิเสธในชั้นพิจารณา ยังไม่เพียงพอฟังลงโทษจำเลยได้
of 8