พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้, อายุความ, และการฟ้องเรียกหนี้ที่มีประกันจำนอง: ประเด็นห้ามมิให้ฎีกา และผลต่อการคิดดอกเบี้ย
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าหนังสือรับสภาพหนี้ท้ายฟ้องเป็นโมฆะ จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปีไม่ได้ดอกเบี้ยส่วนที่เกินเป็นโมฆะ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าหนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยจะฎีกาว่าหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นโมฆะไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) อายุความฟ้องเรียกเงินกู้คืนไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 จำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ภายในอายุความ จึงมีผลทำให้อายุความเรียกเงินกู้สะดุดหยุดลงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดไป คือวันสิ้นกำหนดเวลาที่จำเลยสัญญาว่าจะนำเงินมาชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ภายในกำหนดอายุความ กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189ที่ห้ามโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี เพราะกรณีตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 189 ต้องเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามมูลหนี้เดิมคือหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้แต่โจทก์ยังมีสิทธิฟ้องบังคับเอาจากทรัพย์สินที่รับจำนองไว้ได้และในกรณีเช่นนี้บทกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ทำให้ อายุความสะดุดหยุด และเริ่มนับใหม่ได้ แม้หนี้เดิมไม่ขาดอายุความ
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ให้โจทก์ภายในอายุความอายุความฟ้องเรียกเงินกู้สะดุดหยุดลงต้องเริ่มนับอายุความกันใหม่ตั้งแต่วันสิ้นกำหนดเวลาที่จำเลยทำสัญญาว่า จะนำเงินมาชำระหนี้โจทก์เมื่อหนี้เงินต้นยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 5 ปีได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับใหม่ได้ แต่ดอกเบี้ยเกิน 5 ปีเป็นโมฆะ
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ให้โจทก์ภายในอายุความ อายุความฟ้องเรียกเงินกู้สะดุดหยุดลงต้องเริ่มนับอายุความกันใหม่ตั้งแต่วันสิ้นกำหนดเวลาที่จำเลยทำสัญญาว่าจะนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ เมื่อหนี้เงินต้นยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 5 ปีได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 189
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินสมรส แม้เป็นการยกให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
แม้จะเป็นการยกให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ซึ่งผู้ให้ จะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่า จำเลยที่ 3 ได้รับการยกให้โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 3 มิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้อง เสียเปรียบ เพียงแต่จำเลยที่ 2 ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว ศาลก็เพิกถอนการโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจริงของผู้เช่า แม้ไม่ระบุในสัญญาเช่า & อำนาจฟ้อง กทพ.
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้เช่าที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ถูกเวนคืนไว้ว่าเงินค่าทดแทนในการเช่านี้พึงกำหนดให้เฉพาะที่ผู้เช่าได้เสียหายจริงโดยเหตุที่ต้องออกจากที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างก่อนสัญญาเช่าระงับ การที่คณะกรรมการปรองดองซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนวางหลักเกณฑ์ว่าเงินกินเปล่าที่ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่แท้จริงจะต้องระบุไว้ในสัญญาเช่าเท่านั้น การวางหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนเท่านั้น มิได้ถือเป็นยุติ เมื่อตกลงกันไม่ได้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนส่วนที่ตนจะได้รับจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 ฉะนั้น เมื่อโจทก์เสียเงินกินเปล่าไปจริง โจทก์จึงได้รับความเสียหายจริง ย่อมมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนนี้ด้วย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 มีวัตถุประสงค์ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างทางพิเศษในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการทางพิเศษฯ และเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษฯ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมมีความหมายว่ากระทำในฐานะการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืน: สิทธิเรียกร้องของผู้เช่า แม้ไม่ได้ระบุในสัญญาเช่า และอำนาจฟ้องการทางพิเศษ
หลักเกณฑ์ของคณะกรรมการปรองดองที่กำหนดให้ค่าทดแทนสำหรับค่าเช่าและเงินกินเปล่าเพราะเหตุต้องออกจากที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างก่อนสัญญาเช่าระงับ เฉพาะค่าเช่าและเงินกินเปล่าที่ได้จดทะเบียนกับระบุไว้ในสัญญาเช่านั้น เป็นเพียงการวางหลักเกณฑ์เพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนเท่านั้น มิได้ถือเป็นยุติ เมื่อตกลงกันไม่ได้ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนส่วนที่ตนจะได้รับจากเจ้าหน้าที่เวนคืนได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 มีวัตถุประสงค์ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษให้การทางพิเศษ (กทพ.) มีอำนาจดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างทางพิเศษและในข้อ 17 ระบุว่าในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของ กทพ. และเป็นผู้กระทำแทน กทพ. เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2525กำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมมีความหมายว่ากระทำในฐานะการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โจทก์มีอำนาจฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีเช่าที่ดิน: ห้ามฎีกาข้อเท็จจริงใหม่ และประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ฎีกาของจำเลยที่ว่า สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า จำเลยมิได้นำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงและมิได้ค้างชำระค่าเช่านา รวมทั้งเรื่องค่าเสียหายเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเช่าเป็นหนังสือตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 34โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้บอกเลิกการเช่าที่ดินแก่จำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธประเด็นข้อนี้ ถือว่าจำเลยยอมรับจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ปัญหานี้แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการละเมิด: ศาลยืนตามค่าซ่อมจริง แม้จำเลยเสนอรถทดแทน และฟ้องไม่ขาดอายุความเมื่อโจทก์ทราบการละเมิดภายใน 1 ปี
โจทก์นำสืบฟังได้ว่า ต้องเสียค่าซ่อมรถจักรยานยนต์เป็นเงิน41,600 บาท ค่าซ่อมดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้ตามกฎหมาย จำเลยจะขอศาลบังคับให้โจทก์รับรถจักรยานยนต์คันอื่นแทนหากโจทก์ไม่ยอมรับ ให้รับชำระราคารถจักรยานยนต์ที่จำเลยหามาแทนโดยโจทก์ไม่ยินยอมไม่ได้ เพราะกฎหมายมิได้ให้สิทธิผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดกระทำได้เช่นนั้น ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์คืออธิบดีหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมโจทก์เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกเสนอความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2528 เห็นชอบตามที่เสนอว่าคนขับรถของจำเลยกระทำละเมิด ไม่ปรากฏว่าอธิบดีหรือรองอธิบดีกรมโจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนหน้านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยตั้งแต่วันนั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529ยังไม่พ้น 1 ปี จึงยังไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการละเมิด: ศาลยืนตามค่าซ่อมจริง, ผู้ละเมิดเสนอรถทดแทนไม่ได้, ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์นำสืบฟังได้ว่า ต้องเสียค่าซ่อมรถจักรยานยนต์เป็นเงิน 41,600 บาทค่าซ่อมดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้ตามกฎหมาย จำเลยจะขอศาลบังคับให้โจทก์รับรถจักรยานยนต์คันอื่นแทน หากโจทก์ไม่ยอมรับ ให้รับชำระราคารถจักรยานยนต์ที่จำเลยหามาแทนโดยโจทก์ไม่ยินยอมไม่ได้ เพราะกฎหมายมิได้ให้สิทธิผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดกระทำได้เช่นนั้น
ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์คืออธิบดีหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมโจทก์เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกเสนอความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 4 มีนาคม2528 เห็นชอบตามที่เสนอว่าคนขับรถของจำเลยกระทำละเมิด ไม่ปรากฏว่าอธิบดีหรือรองอธิบดีกรมโจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนหน้านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยตั้งแต่วันนั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 ยังไม่พ้น 1 ปีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์คืออธิบดีหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมโจทก์เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกเสนอความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 4 มีนาคม2528 เห็นชอบตามที่เสนอว่าคนขับรถของจำเลยกระทำละเมิด ไม่ปรากฏว่าอธิบดีหรือรองอธิบดีกรมโจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนหน้านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยตั้งแต่วันนั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 ยังไม่พ้น 1 ปีจึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการเรียกร้องค่าปรับรายวัน กรณีผู้ขายไม่ส่งมอบของตามสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายเครื่องอบด้วยความร้อนไมโครเวฟตามสัญญาข้อ 8 กำหนดว่า ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายหรือส่งมอบของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันได้ และสัญญาข้อ 9กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับด้วยก็ได้ การที่จำเลยส่งมอบของที่มีคุณลักษณะไม่ถูกต้องตามสัญญาแก่โจทก์ แล้วโจทก์ได้ส่งของคืนนั้นและแจ้งให้จำเลยส่งของที่มีคุณลักษณะถูกต้องตามสัญญาแก่โจทก์ใหม่แต่จำเลยไม่ได้ส่งของใหม่แก่โจทก์ ถือว่าจำเลยยังไม่ได้ส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์เลย เมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันที่จำเลยวางไว้แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับเป็นรายวันจากจำเลยตามสัญญาข้อ 9 ได้อีก