พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์สัญญา, การรับรองสำเนาเอกสารราชการ, และความรับผิดของทายาทในหนี้สินของเจ้ามรดก
สัญญากู้เป็นแบบพิมพ์มีสองหน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเงินกู้ซึ่งไม่มีการกรอกข้อความดังนี้การปิดอากรแสตมป์ที่แบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเป็นการปิดอากรแสตมป์สำหรับสัญญากู้ด้วย เมื่อรวมอากรแสตมป์ที่ปิดด้านหน้าและด้านหลังครบถ้วนตามที่ระบุในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้ว ย่อมอ้างสัญญากู้ดังกล่าวเป็นพยานได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และนาง ค. ในฐานะเป็นผู้ร่วมกันกู้เงินโจทก์ ชดใช้เงินกู้ และขอให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของนาง ค.รับผิดหนี้เงินกู้ที่นางค. ต้องใช้คืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้การว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 1ในสัญญากู้ปลอม ดังนี้ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะไม่ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญากู้จะปลอมหรือไม่ก็ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งต้องรับผิดในฐานะทายาทของนาง ค. ผู้กู้ร่วม พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการซึ่งปกติศาลก็รับฟังแต่มิใช่ว่าจะต้องเชื่อพยานผู้เชี่ยวชาญเสมอไป คำพยานผู้เชี่ยวชาญจะมีน้ำหนักกว่าประจักษ์พยานหรือไม่ก็ต้องพิจารณาตามรูปเรื่องและต้องอาศัยเหตุผลและพยานหลักฐานอื่นประกอบ ซึ่งผิดกับประจักษ์พยานซึ่งเป็นผู้ได้ยินกับหูเห็นด้วยตาของ ตนเองจึงน่าเชื่อว่าพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะการที่อ้างแต่เพียงรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญโดยมิได้นำตัวผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความอธิบายประกอบรายงานนั้นว่ามีความเป็นมาอย่างไรกับทั้งทำให้อีกฝ่ายไม่มีโอกาสถามค้านผู้เชี่ยวชาญด้วยดังนี้ ลำพังรายการการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างประจักษ์พยานอีกฝ่ายได้ สำเนาหนังสือราชการที่เจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง ซึ่งส่งเข้ามาในคดีตามที่คู่ความอ้างเป็นพยานไว้โดยชอบแล้ว ดังนี้คู่ความที่อ้างไม่จำต้องสืบพยานบุคคลประกอบ สำเนาหนังสือราชการดังกล่าวรับฟังได้เหมือนต้นฉบับ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93(3) โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนาง ค. เจ้ามรดกซึ่งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์อยู่และได้ถึงแก่กรรมลง ดังนี้ โจทก์มีเพียงสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้รับศาลจึงไม่จำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 3 ที่ 4รับผิดต่อโจทก์ไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกเพราะเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันในชั้นบังคับคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดในเช็คที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ผู้ทรงเช็คต้องฟ้องผู้สั่งจ่าย
ธนาคารจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คจึงฟ้องจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทตามกฎหมายเรื่องตั๋วเงินไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น ป.พ.พ. มาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น เมื่อกรณีต้องด้วยข้อยกเว้น ตาม(1) หรือ (2) หรือ (3) ของมาตรา 991 ก็ให้สิทธิแก่ธนาคารที่ จะไม่จ่ายเงินตามเช็คได้โดยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เคยค้าหรือผู้สั่งจ่ายหรือธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คนั้นก็ได้ แต่จะหักเงินจากบัญชีของผู้เคยค้าได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาจากมูลเหตุ ที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเป็นราย ๆ ไป สัญญาระหว่างธนาคารกับผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 374และมาตรา 375.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดตามเช็ค หากไม่ได้ลงลายมือชื่อ และไม่มีสัญญาเป็นประโยชน์แก่บุคคลภายนอก
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คธนาคารจำเลยโดยมี พ.เป็นผู้สั่งจ่ายแต่ธนาคารจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้ง ๆ ที่บัญชีกระแสรายวันของ พ. พอที่จะจ่ายได้ ทั้งนี้เพราะนายจ้างของ พ. มีหนังสือแจ้งมายังธนาคารจำเลยขออายัดการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท เนื่องจาก พ. ได้ฉ้อโกงเงินของนายจ้างดังนี้โจทก์ฟ้องธนาคารจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อธนาคารจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ย เอาแก่บุคคลทั้งหลายที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น บทบัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 991 นั้นถ้า จำเลยไม่ใช้เงินแก่โจทก์โดยไม่มีข้อแก้ตัวตามมาตรา 991(1) หรือ (2) หรือ (3)ธนาคารจำเลยก็จะต้องรับผิดต่อผู้เคยค้า คือ พ. ผู้สั่งจ่ายเท่านั้น เพราะเป็นคู่สัญญาของจำเลยตามสัญญาฝากเงินบัญชีกระแสรายวัน และมาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น การที่ พ. ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารจำเลยและมีข้อตกลงว่าการเบิกเงินจากบัญชีต้องใช้เช็คในการสั่งจ่ายเงินข้อสัญญาดังกล่าวระหว่างจำเลยกับ พ. ผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374,375.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดในเช็คที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ผู้ทรงเช็คต้องไล่เบี้ยผู้สั่งจ่าย
ธนาคารจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คจึงฟ้องจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทตามกฎหมายเรื่องตั๋วเงินไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น
ป.พ.พ. มาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น เมื่อกรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) ของมาตรา 991ก็ให้สิทธิแก่ธนาคารที่จะไม่จ่ายเงินตามเช็คได้โดยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เคยค้าหรือผู้สั่งจ่าย หรือธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คนั้นก็ได้ แต่จะหักเงินจากบัญชีของผู้เคยค้าได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาจากมูลเหตุที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเป็นราย ๆ ไป
สัญญาระหว่างธนาคารกับผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 374 และมาตรา 375
ป.พ.พ. มาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น เมื่อกรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) ของมาตรา 991ก็ให้สิทธิแก่ธนาคารที่จะไม่จ่ายเงินตามเช็คได้โดยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เคยค้าหรือผู้สั่งจ่าย หรือธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คนั้นก็ได้ แต่จะหักเงินจากบัญชีของผู้เคยค้าได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาจากมูลเหตุที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเป็นราย ๆ ไป
สัญญาระหว่างธนาคารกับผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 374 และมาตรา 375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่นำเงินค่าธรรมเนียมวางศาลภายในกำหนด แม้ศาลอนุญาตขยายเวลาแล้ว ถือเป็นเหตุไม่รับอุทธรณ์
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอขยายเวลาการนำเงิน ค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายเวลา แต่จำเลยไม่นำเงินมาวางศาลภายในกำหนด และได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาเข้ามาอีกซึ่งเป็นวันพ้นกำหนดยื่นอุทธรณ์และวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้ให้แก่โจทก์แล้วโดยไม่ปรากฏพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายเวลาและไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยไปศาลอุทธรณ์และเมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นชอบแล้วให้ยกคำร้อง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จำเลยคำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236จำเลยฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: ผู้ยื่นคำขอให้ยึดทรัพย์สินต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมเมื่อไม่มีการขายทอดตลาด
โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมเป็น 19 งวด งวดละเดือน และขณะโจทก์ขอหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยนั้น โจทก์ได้รับชำระหนี้แต่ละงวดตามที่ตกลงกันนั้น เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนทั้ง 19 งวด แล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีครั้งนี้มิใช่เพราะเหตุที่จำเลยได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 295 (1) จึงไม่ใช่การถอนการบังคับคดีตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่เป็นเรื่องการยึดทรัพย์จำเลยซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ตามบทบัญญัติในมาตรา 149วรรคแรก เมื่อโจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์สินของจำเลย จึงถือว่าโจทก์ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตามที่ระบุไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่มีการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ยึดไว้ โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงาน-บังคับคดี หาใช่จำเลยจะต้องเป็นผู้ชำระไม่ และกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 295 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: ผู้ยื่นคำขอให้ยึดทรัพย์สินมีหน้าที่ชำระเมื่อไม่มีการขายทอดตลาด
โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมเป็น19 งวด งวดละเดือน และขณะโจทก์ขอหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยนั้น โจทก์ได้รับชำระหนี้แต่ละงวดตามที่ตกลงกันนั้น เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนทั้ง 19 งวด แล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่ง เพิกถอนการบังคับคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับ คดีครั้งนี้มิใช่เพราะเหตุที่จำเลยได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 295(1)จึงไม่ใช่การถอนการบังคับคดีตามบทบัญญัติ ดังกล่าว แต่เป็นเรื่องการยึดทรัพย์จำเลยซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้ว ไม่มีการขายหรือจำหน่าย ตามบทบัญญัติในมาตรา 149 วรรคแรก เมื่อโจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ไปทำการยึดทรัพย์สินของจำเลย จึงถือว่าโจทก์ได้ดำเนินกระบวน พิจารณาอย่างอื่นตามที่ระบุไว้ในบทบัญญัติดังกล่าวเมื่อไม่มี การขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ยึดไว้ โจทก์จึงมีหน้าที่ จะต้อง ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี หาใช่จำเลยจะต้องเป็นผู้ชำระไม่ และกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 295 ตรี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขาย ถือเป็นกระบวนพิจารณาโจทก์ต้องชำระ
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลย ต่อมาจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วตามข้อตกลงนอกศาล ศาลจึงมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับคดี ดังนี้ ไม่ใช่เป็นการเพิกถอนการบังคับคดีเพราะจำเลยได้วางเงินอย่างหนึ่งอย่างใดต่อศาลหรือพนักงานบังคับคดีตามป.วิ.พ. มาตรา 295(1) แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์ จึงถือว่าโจทก์ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นที่ระบุไว้ในตารางท้าย ป.วิ.พ. ตามมาตรา 149 เมื่อไม่มีการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินที่ยึดไว้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดตามที่กำหนดไว้ในตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. และกรณีนี้ไม่ต้องด้วยมาตรา 295 ตรีเพราะไม่ใช่บทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดให้ฝ่ายใดรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขาย ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยต่อมาจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วตามข้อตกลงนอกศาลศาลจึงมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับคดีดังนี้ไม่ใช่เป็นการเพิกถอนการบังคับคดีเพราะจำเลยได้วางเงินอย่างหนึ่งอย่างใดต่อศาลหรือพนักงานบังคับคดีตามป.วิ.พ.มาตรา295(1)แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์จึงถือว่าโจทก์ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นที่ระบุไว้ในตารางท้ายป.วิ.พ.ตามมาตรา149เมื่อไม่มีการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินที่ยึดไว้โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ3ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดตามที่กำหนดไว้ในตาราง5ข้อ3ท้ายป.วิ.พ.และกรณีนี้ไม่ต้องด้วยมาตรา295ตรีเพราะไม่ใช่บทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดให้ฝ่ายใดรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ร่วมฟ้องคดีเรียกทรัพย์จากเจ้าหนี้ และการใช้ดุลพินิจของศาลตามมาตรา 292(2)
การงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 เป็นกรณีลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งในคราวเดียวกัน โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าหากศาลพิพากษาให้ฝ่ายลูกหนี้ชนะคดีก็ไม่ต้องมีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้โดยวิธีอื่นเพราะสามารถจะหักกลบลบกันได้ ส่วนการงดบังคับคดีตามมาตรา 292(2) นั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยมีเงื่อนไขเพียงว่า ศาลต้องใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมแก่รูปคดี การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้น และศาลพิพากษาให้โจทก์คืนข้าวเปลือกหรือใช้ราคาแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ขอให้ศาลงดการบังคับคดี ศาลย่อมใช้ดุลพินิจงดการบังคับคดีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไว้ในระหว่างที่คดีจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ยังไม่ถึงที่สุดได้ เพราะหากคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ดังกล่าวถึงที่สุดและศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็อาจจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ได้ผลก็คือจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดการบังคับคดีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไว้จนกว่าคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ ถึงที่สุดตามมาตรา 292(2).