พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการทำธุรกรรม การพิสูจน์การยินยอม และการประมาทเลินเล่อของธนาคาร
จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวกับจำเลย ได้แก่ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และหมายเลขบัตรเอทีเอ็มที่จำเลยเคยสมัครใช้บริการกับโจทก์ก่อนหน้านั้น ผ่านระบบแอปพลิเคชันที่โจทก์จัดไว้แก่บุคคลทั่วไปผ่านระบบอินเทอร์เน็ตสำหรับสมาชิกขอใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำธุรกรรมถอนเงิน โอนเงิน หรือชำระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อโจทก์ตรวจสอบพบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของจำเลยจริง โจทก์ส่งรหัสผ่านหรือที่เรียกว่าโอทีพีแก่จำเลยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยที่แจ้งทำธุรกรรมกับโจทก์เมื่อมีการยืนยันหมายเลขรหัสโอทีพีที่โจทก์ส่งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวส่งกลับมาถูกต้องโจทก์จึงอนุมัติให้จำเลยใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ได้ หลังจากนั้นมีผู้ส่งคำสั่งขอถอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากบัตรเครดิตของจำเลย โจทก์เชื่อว่าเป็นคำสั่งของจำเลยจริงจึงส่งรหัสโอทีพีอีกรหัสหนึ่งสำหรับธุรกรรมในการถอนเงินครั้งนี้ไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยในลักษณะเช่นเดียวกัน โจทก์ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจึงอนุมัติให้ทำรายการดังกล่าวตามคำสั่งจนเสร็จสิ้น แม้จำเลยจะอ้างว่าปัจจุบันไม่ใด้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว ทั้งไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด แต่เมื่อจำเลยรับว่าจำเลยได้รับการติดต่อจากคนร้าย และคนร้ายให้จำเลยเปิดใช้บริการบัตรเอทีเอ็ม หลังจากนั้นจึงพบว่ามีการโอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์และจากบัตรเครดิตไปยังบุคคลภายนอก การที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อปล่อยปละละเลยให้คนร้ายนำข้อมูลของจำเลยไปใช้ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบเยี่ยงผู้มีวิชาชีพ นั้น แม้โจทก์จะประกอบกิจการธนาคารอันเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงินและออกแบบธุรกรรมอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม แต่ข้อมูลที่ใช้ในการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ล้วนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของจำเลยที่เป็นข้อมูลที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยโดยเฉพาะ ยากที่บุคคลอื่นใดจะล่วงรู้ข้อมูลเหล่านั้นได้ จะถือว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยเป็นเหตุให้คนร้ายนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์หาได้ไม่ ที่จำเลยคิดว่าที่คนร้ายระบุให้จำเลยไปทำบัตรเอทีเอ็มที่ธนาคารโจทก์ อาจเป็นเพราะระบบความปลอดภัยของโจทก์ยังไม่ได้มาตรฐานเช่นของสถาบันการเงินอื่น นั้น เป็นเพียงการคิดวิเคราะห์ของจำเลย กับอ้างเพียงแต่ลอย ๆ ว่าไม่เคยได้รับหรือทราบรหัสโอทีพีที่โจทก์อ้างว่าส่งให้จำเลย ทั้งที่ยอมรับว่าเคยใช้โทรศัพท์หมายเลขที่โจทก์ใช้ในการติดต่อธุรกรรมดังกล่าว ทั้งเป็นการยากที่บุคคลอื่นจะใช้ข้อมูลของจำเลยและรหัสโอทีพีที่รับส่งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยเพื่อสมัครเข้ารับบริการและออกคำสั่งถอนเงินจากบัตรเครดิตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของโจทก์ จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีละเมิดสิทธิผู้บริโภค: เจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา 271 หมายถึง ผู้ซื้อของซึ่งหลงเชื่อการขายของโดยหลอกลวง ไม่ใช่เจ้าของรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้า และตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 39 บัญญัติให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการ... เพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล คำว่า ผู้เสียหาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 3 หมายความว่า ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ ฯลฯ เมื่อโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้า โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จึงไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมในความผิดตามมาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ มาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายอาญาและไม่มีอำนาจอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า และการจำหน่ายสินค้าปลอม โดยศาลฎีกาได้พิจารณาแก้ไขโทษและยกฟ้องบางข้อหา
ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2542 ซึ่งมาตรา 3 ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2496 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2508 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520 และฉบับที่ 5พ.ศ. 2530 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 หลังวันที่พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ใช้บังคับแล้ว 1 ปีเศษ โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมีเก็บไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไม่น่ากลัวอันตราย มีปริมาณเกินกว่า 10,000 ลิตร ไว้ในสถานที่เก็บน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474ซึ่งถูกยกเลิกไปก่อนแล้ว โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ที่บัญญัติขึ้นใช้ในภายหลัง แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยในระหว่างเวลาที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ยังมีผลใช้บังคับอยู่นั้นยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ต้องถือว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ส่วนการกระทำของจำเลยนับแต่วันที่ พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังและยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 แล้ว โจทก์ยังบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดและขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ซึ่งถูกยกเลิกไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยระหว่างวันเวลาดังกล่าวเป็นความผิดจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ต้องยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นเป็นของบริษัท ส. และบริษัท ฮ. ผู้เสียหาย โดยใช้ป้ายโฆษณาที่มีตราเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายติดที่สินค้า อันเป็นการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกันในความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม กับฐานใช้ฉลากในการขายสินค้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณของสินค้าดังกล่าว เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นเป็นของบริษัท ส. และบริษัท ฮ. ผู้เสียหาย โดยใช้ป้ายโฆษณาที่มีตราเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายติดที่สินค้า อันเป็นการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกันในความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม กับฐานใช้ฉลากในการขายสินค้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณของสินค้าดังกล่าว เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับความผิดฐานเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ล้าสมัย และการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากบทกฎหมายที่ใช้ถูกยกเลิกแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474 ซึ่งได้ถูกยกเลิกแล้วโดยไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 และกฎหมายที่ออกมาใหม่ก็ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงกำหนดการเก็บรักษาและการควบคุมอื่นใดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ขณะพิจารณาคดีนี้ยังไม่มีกฎกระทรวงออกมาจึงมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบ
ความผิดฐานเสนอสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมกับฐานร่วมกันใช้ฉลากโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นของสินค้า เป็นการกระทำที่มีเจตนาในการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิด โดยมีเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิดทั้งสองฐาน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
ความผิดฐานเสนอสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมกับฐานร่วมกันใช้ฉลากโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นของสินค้า เป็นการกระทำที่มีเจตนาในการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิด โดยมีเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิดทั้งสองฐาน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท