พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6241/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการใช้ชื่อธุรกิจด้านการเงินและการลงทุน โดยเฉพาะคำว่า "ธนกิจ" ซึ่งถูกตีความว่าเป็นธุรกิจเงินทุน
มาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 พ.ศ.2526 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 13 เป็นว่า"ห้ามมิให้ผู้ใด นอกจากบริษัทเงินทุนใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า "เงินทุน" "การเงิน" "การลงทุน""เครดิต" "ทรัสต์" "ไฟแนนซ์" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน เว้นแต่ธนาคารพาณิชย์หรือสำนักงานที่กระทำการแทนธนาคารต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์" และคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางที่ 1/2527 เรื่อง การรับจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทอธิบดีกรมทะเบียนการค้า นายทะเบียนกลางห้ามมิให้รับจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทที่ใช้ชื่อ คำหรือข้อความ คือชื่อภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวตามบัญชีท้ายคำสั่งนั้น ซึ่งรวมทั้งคำว่า "ธนกิจ" ด้วย คำสั่งดังกล่าวแม้ไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นการแสดงว่าทางราชการถือว่าคำว่า "ธนกิจ" เป็นชื่อของผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ จึงมีคำสั่งห้ามจดทะเบียนคำนี้แก่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจด้านธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์โดยใช้ชื่อธุรกิจว่า "บริษัทคลังสินค้าอาคเนย์ธนกิจ จำกัด" แสดงว่าจำเลยมีเจตนาให้หมายถึงการประกอบธุรกิจด้านคลังสินค้า ธุรกิจเงินทุน และหลักทรัพย์ด้วย เมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน จำเลยจึงต้องเลิกใช้ชื่อที่มีคำว่า "ธนกิจ" ภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกำหนด ฯ ใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ฯ พ.ศ.2522มาตรา 37 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนด ฯ หากฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 13, 72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6241/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อธุรกิจที่มีคำว่า 'ธนกิจ' โดยไม่ได้รับอนุญาตเข้าข่ายผิดกฎหมายธุรกิจเงินทุน
มาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522มาตรา 13 เป็นว่า "ห้ามมิให้ผู้ใด นอกจากบริษัทเงินทุนใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า "เงินทุน""การเงิน""การลงทุน""เครดิต""ทรัสต์""ไฟแนนซ์" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน เว้นแต่ธนาคารพาณิชย์หรือสำนักงานที่กระทำการแทนธนาคารต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์" และคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางที่ 1/2527 เรื่อง การรับจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัท อธิบดีกรมทะเบียนการค้า นายทะเบียนกลางห้ามมิให้รับจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทที่ใช้ชื่อ คำหรือข้อความ คือชื่อภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวตามบัญชีท้ายคำสั่งนั้น ซึ่งรวมทั้งคำว่า "ธนกิจ" ด้วยคำสั่งดังกล่าวแม้ไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นการแสดงว่าทางราชการถือว่าคำว่า "ธนกิจ" เป็นชื่อของผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ จึงมีคำสั่งห้ามจดทะเบียนคำนี้แก่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจด้านธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์โดยใช้ชื่อธุรกิจว่า "บริษัทคลังสินค้าอาคเนย์ธนกิจ จำกัด" แสดงว่าจำเลยมีเจตนาให้หมายถึงการประกอบธุรกิจด้านคลังสินค้า ธุรกิจเงินทุน และหลักทรัพย์ด้วยเมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน จำเลยจึงต้องเลิกใช้ชื่อที่มีคำว่า "ธนกิจ" ภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกำหนด ฯ ใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 37 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดฯหากฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 13,72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6093/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามอายัดซ้ำ
การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา254(1) มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 290 บทบัญญัติใน ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 แห่งภาค 4 ว่าด้วยการบังคับคดีมาตรา 259 ให้นำมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวนั้น หารวมถึงบทบัญญัติมาตรา 290 นี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6093/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ไม่เป็นการอายัดซ้ำ แม้มีการอายัดทรัพย์สินภายหลัง
การยึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาเป็นวิธีการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254(1) มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 บทบัญญัติใน ป.วิ.พ.ลักษณะ 2 แห่งภาค 4 ว่าด้วยการบังคับคดีที่มาตรา 259 ให้นำมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวนั้นหา รวมถึงบทบัญญัติมาตรา 290 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6093/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ในข้อห้ามอายัดซ้ำ
การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290บทบัญญัติใน ป.วิ.พ. ลักษระ 2 แห่งภาค 4 ว่าด้วยการบังคับคดีมาตรา 259 ให้นำมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวนั้น หารวมถึงบทบัญญัติมาตรา 290 นี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เกินคำขอ-ฟ้องแทนผู้เยาว์: โจทก์ฟ้องในฐานะคู่สัญญา ไม่ใช่ตัวแทน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องพิพาทเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วแจ้งให้ออกแต่จำเลยไม่ยอมออกไปการที่โจทก์ และจำเลยตกลงกันโดยจำเลยยอมชำระค่าเช่าที่ค้าง(ค่าเสียหาย) แก่โจทก์และโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าห้องต่อไปอีก 1 ปีเป็นข้อตกลง ที่ไม่ฝ่าฝืนกฎหมายและเป็นการตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดี หรือที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดีแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ตามยอมให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้าง (ค่าเสียหาย) ดังกล่าวแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเกินคำขอหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในฟ้อง และถือไม่ได้ว่าเป็นการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์ระบุชื่อโจทก์ผู้ฟ้องว่า"นางวนิดากลั่นประทุมมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายมนตรีพัธเสมาและเด็กหญิงดารณีพัธเสมา โจทก์" มีความหมายแต่เพียงว่าโจทก์มีฐานะเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาวทั้งสองยังไม่แจ้งชัดว่าเป็นการฟ้องแทนผู้เยาว์ เพราะถ้าโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เยาว์จะต้องระบุชื่อผู้เยาว์เป็นโจทก์ในคำฟ้อง เช่นระบุว่าเด็กชายมนตรี พัธเสมาและเด็กหญิงดารณีพัธเสมา โดยนางวนิดากลั่นประทุม มารดาผู้แทนโดยชอบธรรม โจทก์การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยระบุว่าเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรม ของผู้เยาว์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าโจทก์ประสงค์จะแสดงความสัมพันธ์ ของโจทก์กับผู้เยาว์ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสำเนา โฉนดท้ายฟ้องอันเป็นที่ตั้งของตึกแถวพิพาทมากกว่า คำฟ้องของโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท จำเลยได้เข้าทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาเช่าเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งตามสัญญาเช่าดังกล่าวก็ระบุ ชัดแจ้งว่านางวนิดากลั่นประทุม (โจทก์) เป็นผู้ให้เช่า ไม่มีข้อความว่าได้กระทำการแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่อย่างใดโจทก์ ฟ้องคดีขอให้ขับไล่จำเลยอันเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าที่โจทก์เป็นผู้ให้เช่า เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันก็ ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยหาได้ระบุว่าโจทก์กระทำการแทนผู้เยาว์ไม่ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวในฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่า ไม่ได้ฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้ทำการแทนผู้เยาว์กรณีไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่จากสัญญาเช่า: การฟ้องในฐานะคู่สัญญาเอง ไม่ใช่แทนผู้เยาว์ ไม่ต้องขออนุญาตศาลคดีเด็กและเยาวชน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องพิพาท เพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วแจ้งให้ออกแต่จำเลยไม่ยอมออกไป การที่โจทก์และจำเลยตกลงกันโดยจำเลยยอมชำระค่าเช่าที่ค้าง (ค่าเสียหาย) แก่โจทก์และโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าห้องต่อไปอีก 1 ปี เป็นข้อตกลงที่ไม่ฝ่าฝืนกฎหมายและเป็นการตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นใน คดีแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้าง (ค่าเสียหาย) ดังกล่าวแก่โจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเกินคำขอหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในฟ้อง และถือไม่ได้ว่าเป็นการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์ระบุชื่อโจทก์ผู้ฟ้องว่า "นางวนิดากลั่นประทุม มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายมนตรี พัธเสมา และเด็กหญิงดารณีพัธเสมา โจทก์" มีความหมายแต่เพียงว่าโจทก์มีฐานะเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสอง ยังไม่แจ้งชัดว่าเป็นการฟ้องแทนผู้เยาว์ เพราะถ้าโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เยาว์จะต้องระบุชื่อผู้เยาว์เป็นโจทก์ในคำฟ้อง เช่นระบุว่า เด็กชายมนตรีพัธเสมา และเด็กหญิงดารณี พัธเสมา โดยนางวนิดา กลั่นประทุม มารดาผู้แทนโดยชอบธรรม โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยระบุว่าเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ดังกล่าว น่าเชื่อว่าโจทก์ประสงค์จะแสดงความสัมพันธ์ของโจทก์กับผู้เยาว์ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสำเนาโฉนดท้ายฟ้องอันเป็นที่ตั้งของตึกแถวพิพาทมากกว่า คำฟ้องของโจทก์ยังอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทจำเลยได้เข้าทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาเช่าเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งตามสัญญาเช่าดังกล่าวก็ระบุชัดเแจ้งว่านางวนิดากลั่นประทุม (โจทก์) เป็นผู้ให้เช่า ไม่มีข้อความว่าได้กระทำการแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องคดีขอให้ขับไล่จำเลยอันเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าที่โจทก์เป็นผู้ให้เช่า เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันก็ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าระหว่างโจทก์กับจำเลย หาได้ระบุว่าโจทก์กระทำการแทนผู้เยาว์ไม่ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวในฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่า ไม่ได้ฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้ทำการแทนผู้เยาว์ กรณีไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง
ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์ระบุชื่อโจทก์ผู้ฟ้องว่า "นางวนิดากลั่นประทุม มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายมนตรี พัธเสมา และเด็กหญิงดารณีพัธเสมา โจทก์" มีความหมายแต่เพียงว่าโจทก์มีฐานะเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสอง ยังไม่แจ้งชัดว่าเป็นการฟ้องแทนผู้เยาว์ เพราะถ้าโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เยาว์จะต้องระบุชื่อผู้เยาว์เป็นโจทก์ในคำฟ้อง เช่นระบุว่า เด็กชายมนตรีพัธเสมา และเด็กหญิงดารณี พัธเสมา โดยนางวนิดา กลั่นประทุม มารดาผู้แทนโดยชอบธรรม โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยระบุว่าเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ดังกล่าว น่าเชื่อว่าโจทก์ประสงค์จะแสดงความสัมพันธ์ของโจทก์กับผู้เยาว์ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสำเนาโฉนดท้ายฟ้องอันเป็นที่ตั้งของตึกแถวพิพาทมากกว่า คำฟ้องของโจทก์ยังอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทจำเลยได้เข้าทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาเช่าเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งตามสัญญาเช่าดังกล่าวก็ระบุชัดเแจ้งว่านางวนิดากลั่นประทุม (โจทก์) เป็นผู้ให้เช่า ไม่มีข้อความว่าได้กระทำการแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องคดีขอให้ขับไล่จำเลยอันเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าที่โจทก์เป็นผู้ให้เช่า เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันก็ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าระหว่างโจทก์กับจำเลย หาได้ระบุว่าโจทก์กระทำการแทนผู้เยาว์ไม่ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวในฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่า ไม่ได้ฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้ทำการแทนผู้เยาว์ กรณีไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอายัดเงินค่าหุ้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของหนี้ สิทธิของบุคคลภายนอกต้องได้รับการคุ้มครอง
ตามข้อบังคับของผู้ร้องที่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2511มาตรา 14(5) กำหนดว่าเงินค่าหุ้นที่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ร้องได้ชำระให้แก่ผู้ร้องแล้วนั้น ถือว่าเป็นเงินทุนของผู้ร้องจำเลยจะถอนคืนได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นสมาชิกผู้ร้องแล้ว ฉะนั้นหนี้ของผู้ร้องที่จะต้องคืนเงินค่าหุ้นให้จำเลยจึงมีเงื่อนไขผู้ร้องจำต้องคืนให้ต่อเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องแล้ว แม้ศาลอาจออกคำสั่งอายัดให้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311วรรคสอง แต่จะกำหนดในคำสั่งอายัดให้เป็นการฝ่าฝืนข้อจำกัดหรือเงื่อนไขแห่งหนี้นั้นหาได้ไม่ เพราะอาจมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องนั้นได้ คำสั่งอายัดของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้ผู้ร้องชำระหรือส่งมอบเงินค่าหุ้นของจำเลยแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วันนับแต่วันที่จำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องจึงสอดคล้องกับเงื่อนไขแห่งหนี้ที่ผู้ร้องจะต้องชำระแก่จำเลยและถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าหุ้นสหกรณ์: สิทธิลูกหนี้มีเงื่อนไข & ผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
จำเลยเป็นสมาชิกและถือหุ้นในสหกรณ์ผู้ร้อง ซึ่งเงินค่าหุ้นที่จำเลยลงไว้ถือว่าเป็นเงินทุนของผู้ร้อง จำเลยจะถอนคืนได้ต่อเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกดังนี้ เพื่อป้องกันสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้มิให้เสียหาย ศาลอาจออกคำสั่งอายัดเงินค่าหุ้นของจำเลยได้ แต่จะกำหนดในคำสั่งอายัดให้เป็นการฝ่าฝืนข้อจำกัดหรือเงื่อนไขแห่งหนี้หาได้ไม่ เพราะจะทำให้การบังคับคดีมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ศาลชั้นต้นแก้ไขคำสั่งอายัดใหม่ให้ผู้ร้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องแทนคำสั่งเดิมที่ให้ผู้ร้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหมาย เป็นการสอดคล้องกับเงื่อนไขแห่งหนี้ที่ผู้ร้องต้องชำระแก่จำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งให้ส่งเอกสารให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อชำระบัญชี ไม่ใช่การมอบอำนาจวินิจฉัยคดี
ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ชำระบัญชี เมื่อมีเหตุขัดข้องในการชำระบัญชี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์จำเลยเสนอหลักฐานต่าง ๆต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หาใช่เป็นการมอบอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่.