พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดทางอาญา, อำนาจฟ้อง, การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ, การตรวจค้น, เหตุสมควร
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 200 การเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้
จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงาน การตรวจค้น การหน่วงเหนี่ยวกักขัง และการแจ้งความเท็จ
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 การเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้ จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสตามกฎหมายอิสลามและลักษณะผัวเมีย การแบ่งมรดกและผลของพินัยกรรม
เจ้ามรดกได้รับที่พิพาทจากบิดาในระหว่างที่สมรสกับมารดาโจทก์ตามกฎหมายอิสลามก่อนวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ใช้บังคับ ตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่ ต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอันเป็นกฎหมายในขณะนั้นบังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรส ต่อมามารดาโจทก์ถึงแก่กรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งเจ้ามรดกและมารดาโจทก์มีสินเดิมหรือไม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของมารดาโจทก์1 ส่วนและตกเป็นของเจ้ามรดกเอง 2 ส่วน เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์นั้นต้องแบ่งแก่ทายาทตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ข้อความในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก ไม่มีผลผูกพันส่วนของมารดาโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับทั้งส่วนที่เป็นมรดกของมารดาโจทก์และส่วนของเจ้ามรดกที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯพ.ศ. 2489 มาตรา 3,4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกกรณีสมรสตามกฎหมายอิสลามและประมวลกฎหมายแพ่ง โดยพินัยกรรมผูกพันเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก
เจ้ามรดกได้รับที่พิพาทจากบิดาในระหว่างที่สมรสกับมารดาโจทก์ตามกฎหมายอิสลามก่อนวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับ ตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่ ต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอันเป็นกฎหมายในขณะนั้นบังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรส ต่อมามารดาโจทก์ถึงแก่กรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งเจ้ามรดกและมารดาโจทก์มีสินเดิมหรือไม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของมารดาโจทก์ 1 ส่วนและตกเป็นของเจ้ามรดกเอง 2 ส่วน เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์นั้นต้องแบ่งแก่ทายาทตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ข้อความในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก ไม่มีผลผูกพันส่วนของมารดาโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับทั้งส่วนที่เป็นมรดกของมารดาโจทก์และส่วนของเจ้ามรดกที่ระบุไว้ในพินัยกรรม
ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม ฯ พ.ศ.2489มาตรา 3, 4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม ฯ พ.ศ.2489มาตรา 3, 4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การให้ความยินยอมของคู่สมรสไม่ถือเป็นการรับบุตรบุญธรรม
สามีผู้ตายได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ตายให้ความยินยอมและลงชื่อท้ายบันทึกทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมว่าเป็นคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม สามีผู้ตายแต่ผู้เดียวจึงเป็นผู้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม แม้บันทึกดังกล่าวจะมีข้อความว่าผู้ตายได้รับเป็นมารดาผู้ร้องด้วย ก็ไม่เป็นการรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เมื่อผู้ตายมิได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การยินยอมของภริยาไม่ถือเป็นการรับบุตรบุญธรรม
นาย ป.สามีแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม นาง ส.ภรรยาของนาย ป.ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด บันทึกต่อท้ายทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเพียงหลักฐานที่นายทะเบียนได้ทำขึ้นเพื่อแสดงว่า นาง ส.ได้ยินยอมให้นาย ป.จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเท่านั้น แม้บันทึกดังกล่าวมีข้อความว่า นาง ส.ได้รับเป็นมารดาของผู้ร้องด้วย ก็ไม่มีผลเป็นการรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เพราะการรับบุตรบุญธรรมจะมีผลตามกฎหมายเมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อนาง ส.ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ร้องจึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของนาง ส. และไม่ใช่ทายาทของนาง ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการร้องขอถอดถอนผู้จัดการมูลนิธิ กรณีจัดการผิดพลาดฝ่าฝืนตราสาร
แม้พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอถอน พ. ออกจากการเป็นประธานกรรมการ และผู้จัดการมูลนิธิโดยมิได้แนบคำร้องของกรรมการมูลนิธิที่มีไปถึงพนักงานอัยการอันเป็นเหตุให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลแต่คำร้องดังกล่าวมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 เพราะพนักงานอัยการมีอำนาจร้องขอต่อศาลได้โดยลำพังอยู่แล้ว ส่วนปัญหาว่าคำร้องของกรรมการมูลนิธิดังกล่าวจะเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นหรือเป็นเท็จหรือไม่ ก็เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา เมื่อตามคำร้องบรรยายถึงเหตุต่าง ๆ ที่ผู้คัดค้านในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิและเป็นผู้จัดการได้จัดการมูลนิธิผิดพลาดทำให้มูลนิธิเสื่อมเสียและฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสาร โดยได้แนบสำเนาตราสารก่อตั้งมูลนิธิมาท้ายคำร้องด้วยแล้ว กับได้ขอให้ถอดถอนผู้คัดค้านออกจากตำแหน่งประธานกรรมการและขอให้แต่งตั้งผู้อื่นเป็นแทนดังนี้ สภาพแห่งคำร้องและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งคำร้องตลอดจนคำขอบังคับแจ้งชัดดีแล้ว ไม่เป็นคำร้องที่เคลือบคลุม พ. เป็นประธานกรรมการและผู้จัดการมูลนิธิไม่ยอมเรียกประชุมวิสามัญตามที่คณะกรรมการร้องขอ ทั้งที่มีเหตุต้องเลือกตั้งกรรมการอื่นทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกแทนคนเดิมซึ่งถึงแก่กรรม กับมิได้เรียกประชุมสามัญประจำปีโดยไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นการจัดการผิดพลาดและฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสารก่อตั้งมูลนิธิ พนักงานอัยการมีสิทธิร้องขอให้ถอดถอน พ. ออกจากตำแหน่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 91.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมูลนิธิผิดพลาดและการถอดถอนประธานกรรมการ กรณีไม่เรียกประชุมและละเลยหน้าที่ตามตราสาร
ผู้คัดค้านเป็นประธานกรรมการและผู้จัดการมูลนิธิ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการย้ายทรัพย์สินและที่ทำการของมูลนิธิคณะกรรมการมูลนิธิจำนวน 4 คน ได้มีหนังสือขอให้ผู้คัดค้านเรียกประชุมวิสามัญ แต่ผู้คัดค้านไม่ยอมเรียกประชุมและเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิมีหนังสือถึงนายทะเบียนมูลนิธิขอให้แจ้งผู้คัดค้านเรียกประชุมผู้คัดค้านก็ตอบ ปฏิเสธ เมื่อกรรมการและเหรัญญิกของมูลนิธิถึงแก่กรรม ผู้คัดค้านก็ไม่เรียกประชุมกรรมการเพื่อแต่งตั้งเหรัญญิกคนใหม่ ทำให้การเบิกจ่ายเงินของมูลนิธิไม่สามารถทำได้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องเรียกประชุมสามัญประจำปีผู้คัดค้านก็ไม่เรียกประชุมตามตราสารของมูลนิธิ ทำให้เกิดข้อขัดข้องในการบริหารงานของมูลนิธิ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการปฏิเสธการเรียกประชุมโดยไม่มีเหตุสมควรเป็นการจัดการผิดพลาด และเป็นการฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสารก่อตั้งมูลนิธิ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ถอด ถอนผู้คัดค้านออกจากตำแหน่งได้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 91.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าโดยปริยายและการคืนค่าเช่าเมื่อมีการแบ่งขายที่ดิน
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์เพื่อทำไร่จำนวน 430 ไร่ และได้ชำระค่าเช่าไปแล้ว ต่อมาโจทก์ได้นำที่ดินดังกล่าวส่วนหนึ่งจำนวน24 ไร่เศษ ไปขายแก่ น. ซึ่ง น. ไม่ยินยอมให้จำเลยเข้าทำไร่ในที่ดินส่วนดังกล่าว จำเลยได้ขอบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินทั้งหมดรวมทั้งขอให้โจทก์คืนค่าเช่า แต่โจทก์ต่อรองขอคืนค่าเช่าเฉพาะส่วนที่ดินที่นำไปขายแก่ น. จึงตกลงเกี่ยวกับการคืนเงินค่าเช่าไม่ได้ หลังจากนั้นจำเลยไม่เคยเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินที่เช่าอีก นอกจากนี้โจทก์ยังได้นำที่ดินที่ให้จำเลยเช่าดังกล่าวนอกจากส่วนที่ขายให้แก่ น. แล้ว ให้บุคคลอื่นอีกหลายรายเช่าทำประโยชน์ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงเลิกสัญญาเช่าโดยปริยายแล้ว เป็นผลให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์ต้องคืนค่าเช่างวดที่จำเลยยังมิได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าให้แก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวและผลบังคับใช้ แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากจำเลยผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยให้โจทก์ประกันตัว ส.ซึ่งถูกดำเนินคดีอาญาต่อศาล โดยจำเลยมีหน้าที่นำส่งตัว ส.ต่อศาลตามนัด หากผิดสัญญาไม่นำตัว ส.ส่งศาลจำเลยยินยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เพราะสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องบังคับจำเลยมิได้ปิดอากรแสตมป์นั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ สัญญาที่จำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจะนำตัว ส.ซึ่งโจทก์เป็นผู้ประกันตัวมาพบเจ้าพนักงานตามกำหนดนัดทุกครั้ง ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะต้องกระทำการตามสัญญาดังกล่าว จึงไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ เมื่อจำเลยผิดสัญญาจนศาลสั่งปรับโจทก์และมีการบังคับคดียึดทรัพย์โจทก์แล้วแม้จะยังไม่มีการนำทรัพย์ที่ยึดออกขายทอดตลาด โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องใช้สิทธิทางศาลโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง