คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อ: การรับชำระหนี้ล่าช้าโดยไม่บอกกล่าวถือมิได้เป็นการเลิกสัญญา
ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาเสียได้ตามสัญญาเช่าซื้อแต่ผู้ให้เช่าซื้อยังคงรับชำระหนี้ค่าเช่าซื้อต่อมา แสดงให้เห็นว่าผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญ และไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นเป็นการผิดสัญญาผู้ให้เช่าซื้อจะเลิกสัญญาได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ถือว่าการชำระหนี้ล่าช้าเป็นเหตุเลิกสัญญาเช่าซื้อ หากผู้ให้เช่าซื้อยังรับชำระหนี้
ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาเสียได้ตามสัญญาเช่าซื้อแต่ผู้ให้เช่าซื้อยังคงรับชำระหนี้ค่าเช่าซี้อต่อมา แสดงให้เห็นว่าผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญ และไม่ถือว่าการไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตรงตามเวลาและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นเป็นการผิดสัญญาผู้ให้เช่าซื้อจะเลิกสัญญาได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 3 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่เป็นหลักฐานการกู้ยืม และฟ้องขาดอายุความ
เอกสารไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าเป็น "ตั๋วสัญญาใช้เงิน"คงมีแต่ข้อความว่าเป็น "ตั๋ว" เอกสารดังกล่าวจึงขาดสาระสำคัญของตั๋วสัญญาใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983(1)จึงมิใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้โดยอ้างเอกสารซึ่งมีข้อความว่าจำเลยจะจ่ายเงินตามคำสั่งของโจทก์โดยไม่มีถ้อยคำชัดว่าเป็นหนี้เงินกู้หรือหนี้อย่างอื่น โจทก์ย่อมจะนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบว่าเป็นหนี้เงินกู้ได้ เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงความเป็นหนี้ลงลายมือชื่อลูกหนี้แล้วและสืบพยานประกอบอธิบายได้ว่าหนี้นั้นเป็นหนี้สินแห่งการกู้ยืมเอกสารนั้นก็เป็นหนังสืออันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมแล้ว โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามหลักฐานเอกสารนั้นมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม)ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ จำเลยมีข้อพิพาทกัน (มาตรา 193/30ที่แก้ไขใหม่) และในเรื่องอายุความนี้ มาตรา 169(เดิม)(มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติว่า อายุความให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อจำเลยไม่เคยชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2519ตามที่ระบุในเอกสาร จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดชำระเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้ใด ๆ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น และการผิดนัดดังกล่าวเอกสารนั้นระบุให้มีผลว่าตั๋วหรือเอกสารนั้นถึงกำหนดได้ทันที และจ่ายเงินโดยไม่ต้องทวงถามสุดแล้วแต่ผู้ถือจะเลือกซึ่งมีความหมายว่า โจทก์มีสิทธิเลือกให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีโดยไม่ต้องทวงถามก่อน ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม2519 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2530 นับจากวันที่ 16 มีนาคม 2519ถึงวันฟ้องเกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน ฟ้องไม่ขาดอายุความ
เอกสารซึ่งไม่มีข้อความระบุว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินคงมีแต่ข้อความว่าเป็น "ตั๋ว" จึงขาดสาระสำคัญของตั๋วสัญญาใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983(1) เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ในเอกสารจะไม่มีข้อความว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ แต่มีข้อความว่าจำเลยจะจ่ายเงินตามคำสั่งของโจทก์รวม 25,000 เหรียญสหรัฐแสดงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในจำนวนเงินดังกล่าว และจำเลยลงชื่อไว้เอกสารดังกล่าว จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164(เดิม)(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท กรณีครอบครองและจำหน่ายกัญชา ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีกัญชาจำนวน 1 ถุง หนัก 30 กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำเลยได้จำหน่ายกัญชาทั้งหมดจำนวน 1 ถุง ราคา 200 บาท อันเป็นกัญชาที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายไปทั้งการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นในวันเวลาเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีสัญญาซื้อขายที่ดิน ต้องแสดงการผิดสัญญาหรือการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลเหตุตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจำเลยทำไว้กับโจทก์ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยประพฤติหรือปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าว อันเป็นการ โต้แย้ง สิทธิหรือหน้าของโจทก์เกี่ยวกับสัญญาดังกล่าว โจทก์จึงไม่ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ศาลไม่รับ คำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3573/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีทรัพย์สินราคาต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยโต้แย้งว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมายแล้ว และฟ้องแย้งขอให้โจทก์ไปดำเนินการแบ่งแยกโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้จำเลย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาเพียง 150,000 บาท และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในทำนองเดียวกันว่าจำเลยอยู่ในที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุกรุกทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายในเวลากลางคืน ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยบุกรุกเข้าไปจับแขน ขา หน้าอก และกอดจูบผู้เสียหายซึ่งนอนอยู่ในมุ้งภายในบ้าน ถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายแล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานบุกรุกเข้าไปกระทำอนาจารผู้เสียหายโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 279 วรรคสอง,364,365 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตามมาตรา 279 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริตและเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ศาลเพิกถอนการโอนและให้ชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 มีอาชีพค้าขายที่ดินและบ้านจัดสรรมาหลายปีแล้วทั้งจำเลยที่ 2 เห็นรั้วอิฐบล็อกที่กั้นที่ดินพิพาทจากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือรวม 2 แนวซึ่งไปจดรั้วของบ้านจำเลยที่ 2 และเห็นการถมดินและอาคารซึ่งเทพื้นคอนกรีตโดยมีโครงหลังคาเหล็กก่อสร้างในที่ดินพิพาทเช่นนี้ จำเลยที่ 2 น่าจะรู้ราคาจริงของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นเงินเท่าใด และราคาซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 รับซื้อไว้จากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 900,000 กว่าบาทนั้น ต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงเพียงใดหรือไม่เพราะตามปกติราคาซื้อขายที่แท้จริงของที่ดินจะสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แต่ได้ความตามคำเบิกความของจำเลยที่ 2 เองว่าราคาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเงิน 900,000 กว่าบาท ส่วนราคาที่ดินพิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินประเมินไว้เป็นเงินถึง 1,480,000 บาทดังนั้นถ้าถือตามราคาที่ดินพิพาทที่ซื้อขายกันดังคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินมากเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับการที่จำเลยที่ 2 รู้จักกับจำเลยที่ 1 มาเป็นเวลาหลายปีและจำเลยที่ 2 มีที่ดินติดต่อกันด้วยแล้ว จึงฟังได้ว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นไปโดยไม่สุจริตโดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ หากโอนไม่ได้จึงให้ชำระค่าเสียหายนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยเอกสารปลอมและการคุ้มครองกรรมสิทธิ์เจ้าของเดิม แม้มีการจดทะเบียนโดยสุจริต
มีคนร้ายลักโฉนดที่ดินพิพาทไปจาก ส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ แล้วปลอมลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. ในหนังสือมอบอำนาจ และใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมนั้นไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินต่อกันมาเป็นทอด ๆ น.เป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทคนหลังสุด เมื่อ ส.ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททุกทอดจนในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของส.เจ้าของเดิมมาโดยตลอด
แม้จำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทจาก น.ซึ่งมิใช่เจ้าของโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ทั้งได้จดทะเบียนโดยสุจริต ก็ไม่ใช่เหตุที่จะพึงยกขึ้นกล่าวอ้างยันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงได้ เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากผู้ที่มิใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริงการจำนองก็ไม่ผูกพันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะเป็นฝ่าฝืนป.พ.พ. มาตรา 705
of 22