คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้างหลังถูกอายัดเงิน: สิทธิของผู้ว่าจ้างในการเลิกสัญญาเพื่อป้องกันความเสียหายจากการก่อสร้างที่อาจล่าช้า
การที่ผู้คัดค้านกับจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกันภายหลัง จากที่ผู้คัดค้านได้รับหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว หาเป็นการเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะเมื่อจำเลยถูกบังคับคดีอายัดเงินค่าเงินก็ไม่มีเงินที่จะสามารถทำงานก่อสร้างในงวดต่อไปได้ตามสัญญาอาจทำให้การก่อสร้างบ้านผู้คัดค้านล่าช้าหรือไม่เสร็จดังนั้น การที่ผู้คัดค้านเลิกสัญญาจ้างกับจำเลยเพื่อไม่ให้ผู้คัดค้านต้องเสียหาย จึงเป็นสิทธิที่ผู้คัดค้านจะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมหลังทนายจำเลยมาสาย และการฟ้องขับไล่โดยอ้างกรรมสิทธิ์
การที่ทนายจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเพราะจงใจกระทำผิดกฎหมายโดยขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย และการที่ทนายจำเลยไปถึงศาลชั้นต้นช้า กว่าเวลานัดถึง40 นาที แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ศาลชั้นต้นยังอ่านรายงานกระบวนพิจารณาไม่จบก็ตาม ก็ไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบอีกต่อไป โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากเจ้าของเดิม และเจ้าของเดิม ขายให้โจทก์แล้ว เป็นการฟ้องโดยอาศัยความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาท มิใช่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่า อันจะต้องใช้สัญญาเช่าเป็นพยานหลักฐานในคดี ฉะนั้นปัญหาที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ปิดอากรแสตมป์เสียเอง โดยไม่ส่งไปให้เจ้าหน้าที่สรรพากรปรับ จึงไม่ใช่ปัญหาสำคัญ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัย-การงดสืบพยาน และผลของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอากรแสตมป์ในคดีขับไล่
เหตุสุดวิสัยหมายถึงเหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นหรือให้ผลพิบัติโดยไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ แม้ทั้งผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลนั้นในฐานะเช่นนั้น การที่ทนายจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเพราะทนายจำเลยจงใจกระทำผิดกฎหมายโดยขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย คดีฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากเจ้าของเดิมและเจ้าของเดิมขายให้โจทก์แล้ว เป็นการฟ้องโดยอาศัยความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาท มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่า มิใช่กรณีที่จะต้องใช้สัญญาเช่าเป็นพยานหลักฐานในคดี การที่สัญญาเช่าจะปิดอากรแสตมป์โดยไม่ชอบทำให้รับฟังไม่ได้หรือไม่จึงไม่ใช่สาระสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดีอย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และประเด็นการหลบหนีไม่ช่วยเหลือ
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับบาดเจ็บ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมายังที่เกิดเหตุทราบว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุ และมีผู้อื่นนำส่งผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แม้ต่อมาจำเลยหลบหนีไปก็จะถือว่าจำเลยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือตามสมควรแก่ผู้ตายและผู้บาดเจ็บกับไม่ได้แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบของผู้ขับรถประมาท การหลบหนี และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับบาดเจ็บ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมายังที่เกิดเหตุทราบว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุ และมีผู้อื่นนำส่งผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แม้ต่อมาจำเลยหลบหนีไป รูปคดีก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือตามสมควรแก่ผู้ตายและผู้บาดเจ็บ ทั้งไม่ได้แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกคำสั่งรื้อถอนอาคารเป็นของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (นายกเทศมนตรี) ไม่ใช่เทศบาล (นิติบุคคล)
นายกเทศมนตรีเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นคนละบุคคลกันกับเทศบาลซึ่งเป็นนิติบุคคล การที่ปลัดเทศบาลในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนายกเทศมนตรีจำเลย ให้โจทก์รื้อถอนอาคาร จึงเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมิใช่ของจำเลยแม้คำสั่งจะประทับตราของจำเลยและออกจากสำนักงานของจำเลย ก็หาทำให้คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งของจำเลยไม่ ดังนี้ จำเลยจึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต แม้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อรักษาผลประโยชน์ตนเอง ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ทั้งสามในคดีนี้ แต่จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์ทั้งสามเป็นคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น และขอวิธีการชั่วคราวนั้นเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามปกติส่วนจำเลยที่ 1 ขอให้งดการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ไว้ก่อน โดยอ้างหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคแรกถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามปกติ ยังไม่มีเหตุที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 จงใจประวิงการบังคับคดีให้ล่าช้า และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องใหม่กับคดีเดิมเป็นคดีที่สืบเนื่องกันมิใช่เป็นการฟ้องคดีเรื่องอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคแรก ไม่เป็นการขอให้งดการบังคับคดีได้ และมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 1 นำเงินที่จะต้องชำระแก่โจทก์ในคดีนี้ไปวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อโจทก์ทั้งสามขอรับเงินที่วางจำเลยที่ 1 แถลงคัดค้านมิให้จ่ายโดยอ้างว่าหากจ่ายไปจำเลยที่ 1 ชนะคดีจะทำให้ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ได้นั้นก็ไม่มีความสำคัญในทางคดี กรณีเพียงจำเลยที่ 1 พยายามดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางรักษาผลประโยชน์ตนอย่างจริงจัง แต่ไม่ถึงขั้นที่จะถือว่าเป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา ทำให้ศาลจำหน่ายคดีจากสารบบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งในวันที่ยื่นฎีกา เมื่อตอนท้ายฎีกาเหนือลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ยื่นฎีกามีข้อความที่แสดงว่าผู้ยื่นฎีการอฟังคำสั่งอยู่ ถ้า ไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ทั้งในวันรุ่งขึ้นทนายจำเลยก็ได้มายื่นคำร้องขอส่งสำเนาฎีกาให้ทนายโจทก์แทนการส่งให้แก่ตัวโจทก์อีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ จนล่วงเลยเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้นั้น พฤติการณ์เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยทราบคำสั่ง ศาลชั้นต้น แล้วจงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฎีกา ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีจำเลยจากสารบบความของศาลฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุฟ้องขับไล่ได้ แม้มีข้อพิพาทเรื่องการครอบครองก่อนหน้า
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเอง คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 บุกรุกที่ดินตาม น.ส.3 ของโจทก์และได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในชั้นพนักงานสอบสวนว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังเวลา 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ทั้งนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงยอมความไว้กับโจทก์แล้วไม่ปฏิบัติตามยอมโดยไม่ยอมออกไปจากที่ดินของโจทก์ขอให้ขับไล่ออกไป ดังนี้ ประเด็นตามฟ้องในคดีหลังจึงมีว่าข้อตกลงยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้สิทธิโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1ออกจากที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ จึงเห็นได้ว่าประเด็นที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเป็นเหตุยกฟ้องในคดีก่อนกับที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นประเด็นให้วินิจฉัยในคดีหลังนี้แตกต่างกัน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นการขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการขอบังคับผู้อาศัยให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 เข้ามาอาศัยอยู่ ฟ้องของโจทก์ทั้งที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงมิใช่กรณีถูกแย่งการครอบครองแล้วฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง ที่บังคับให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่หลังสัญญาประนีประนอมยอมความ & การครอบครองปรปักษ์: ไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
จำเลยทั้งสองเคยถูกพนักงานอัยการฟ้องข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาทของโจทก์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงยอมความกันให้จำเลยที่ 1 อยู่ในที่ดินต่อไปจนกว่าจะเก็บพืชผลเสร็จ และผู้ดูแลที่พิพาทของโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 2 อาศัยอยู่ได้ การที่จำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินต่อมาจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่พิพาทอีก ศาลพิพากษายกฟ้องว่าโจทก์ฟ้องภายหลัง 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง โดยมิได้วินิจฉัยถึงสิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้โดยอ้างข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ประเด็นที่ศาลยกฟ้องในคดีที่สองกับประเด็นคดีนี้แตกต่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 โจทก์ฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ออกไปจากที่พิพาทโดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและให้จำเลยที่ 2 ออกไปจากที่พิพาทที่จำเลยที่ 2 อาศัยอยู่ตามที่ศาลฎีกาได้ฟังข้อเท็จจริงไว้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่กรณีถูกแย่งการครอบครองแล้วฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครอง ไม่อยู่ในบังคับให้ฟ้องภายใน 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง.
of 22