พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเดินทางข้าราชการ: การสั่งย้ายไปช่วยราชการชั่วคราว vs. การย้ายประจำ และผลของการสละสิทธิเบิกค่าใช้จ่าย
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง นับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. 2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พักค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้าง คนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามมาตรา 14(1)(2)(3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มาตรา 3บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใด ที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางเกินระยะเวลาข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเวลา 120 วัน เท่านั้นสำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการ ส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครู ที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับมอบงานก่อสร้างแล้ว ยึดหน่วง/หักค่าเสียหายได้ แต่ไม่มีสิทธิเบี้ยปรับหากไม่สงวนสิทธิ
โจทก์ทวงถามจำเลยให้ส่งมอบงานพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดในสัญญาและได้เข้าอยู่ในบ้านพิพาทขณะที่จำเลยขนย้ายออกจากบ้านพิพาทถือได้ว่าโจทก์รับมอบงานจากจำเลยแล้ว โจทก์มิได้กล่าวสงวนสิทธิเรียกเอาค่าปรับฐานผิดสัญญาไว้ จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลย เมื่องานก่อสร้างของจำเลยล่าช้าเกินกำหนดเวลาตามสัญญาและมีความชำรุดบกพร่อง โจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้จนกว่าจำเลยจะซ่อมแซมเสร็จแต่เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาและเข้าอยู่ในบ้านพิพาทก็ชอบที่จะหักเป็นค่าซ่อมแซมความเสียหายตามควรค่าแห่งการนั้นได้หากมีค่าสินจ้างเหลือต้องคืนให้จำเลยไม่ชอบที่โจทก์จะไม่ชำระค่าสินจ้างเสียเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สูญหาย ผู้เช่าซื้อไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อค้างชำระ แต่ต้องชดใช้ค่าเสียหายตามสมควร
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่งจึงต้องนำบทบัญญัติลักษณะเช่าทรัพย์มาใช้บังคับด้วยเมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายสัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตั้งแต่วันที่รถยนต์สูญหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 567 ผู้ให้เช่าซื้อจะฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่ตั้งแต่วันที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปหาได้ไม่ แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะกำหนดให้ผู้เช่าซื้อรับผิดชำระค่าเช่าซื้อจนครบในกรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกโจรภัยหรือสูญหายก็ตาม แต่การที่ผู้เช่าซื้อตกลงไว้เช่นนั้น ถือได้ว่าผู้เช่าซื้อได้ตกลงที่จะชำระค่าเสียหายให้ผู้เช่าซื้อในกรณีนี้ไว้ด้วย ผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดแต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยร่ำรวยผิดปกติของ ป.ป.ป. เจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิฟ้องหากยังไม่มีผลกระทบทางกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติใดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาว่าทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการใช้สิทธิทางศาลขอให้ศาลวินิจฉัยได้ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ป. ดำเนินการพิจารณาสอบสวนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีมติว่าร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจนผิดปกติ จึงไม่มีกรณีที่โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาล มติของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ดังกล่าวย่อมมีผลแต่เพียงว่าหากโจทก์ไม่สามารถชี้แจงได้ว่าทรัพย์สินได้มาโดยชอบ ต้องถือว่าโจทก์กระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518มาตรา 21 ทวิ และคณะกรรมการ ป.ป.ป. ต้องแจ้งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 21 ตรี ขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีต่อไป การได้รับผลกระทบโดยตรงจากมติดังกล่าวจึงเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่โจทก์คาดคะเนเอง กรณียังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยร่ำรวยผิดปกติของ ป.ป.ป. เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีสิทธิฟ้องร้องก่อนถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาว่า ทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการใช้สิทธิทางศาล การที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าโจทก์ร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติย่อมมีผลเพียงว่าคณะกรรมการ ป.ป.ป. จะต้องแจ้งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินแล้วเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งหรือดำเนินการให้มีการสั่งลงโทษโจทก์ ซึ่งจะมีการดำเนินการดังกล่าวหรือไม่อยู่ที่การพิจารณาของพนักงานอัยการหรือนายกรัฐมนตรีแล้วแต่กรณีอีกชั้นหนึ่ง จึงเป็นเรื่องเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งโจทก์คาดคะเนเอาเองยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการยึดถือเพื่อตนเองในที่ดินมรดก แม้การแลกเปลี่ยนที่ดินของผู้เยาว์เป็นโมฆะ
เดิมมารดาจำเลยได้ยกที่ดินมี น.ส.3 ให้โจทก์จำเลย โดยจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ต่อมาบิดาโจทก์ได้ตกลงมอบที่ดินส่วนของโจทก์ให้จำเลย ส่วนจำเลยได้ซื้อที่ดินของบุคคลอื่นมอบให้ฝ่ายโจทก์เป็นการแลกเปลี่ยนกันแล้ว แม้ขณะนั้นโจทก์อายุ 14 ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ และไม่ปรากฏว่าบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลให้แลกเปลี่ยนที่ดินของโจทก์กับจำเลยได้อันทำให้การแลกเปลี่ยนนี้เป็นโมฆะก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยซึ่งอยู่ในฐานะครอบครองที่ดินส่วนของโจทก์แทนโจทก์มาตั้งแต่ได้รับการยกให้นั้นได้ยึดถือเพื่อตนในส่วนของโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินทั้งหมด หาใช่ยังคงครอบครองแทนในส่วนของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดบังคับคดีชั่วคราว: คดีสินสมรสกระทบสิทธิบุคคลภายนอก
ระหว่างบังคับคคีตามคำพิพากษาตามยอม ปรากฏข้อเท็จจริงว่าม.ภริยาจำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยอ้างว่าที่ดินตามสัญญาซื้อขาย และสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ม. ซึ่งคดีแพ่งดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีทั้งสองถึงที่สุดให้ ม.ชนะคดี และที่ดินดังกล่าวได้โอนไปเป็นของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว ม.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะได้รับความเสียหาย ดังนี้เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมไว้ได้ โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดบังคับคดีรอผลคดีเพิกถอนสัญญาซื้อขายและประนีประนอมเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องสินสมรส
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภริยาจำเลย แต่จำเลยกลับทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลกับโจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากภริยาจำเลยก่อน ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระหว่างการบังคับคดีภริยาจำเลยฟ้องโจทก์และจำเลยให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ดังนี้ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจสั่งงดการบังคับคดีไว้ได้เพื่อรอฟังผลคดีที่ภริยาจำเลยฟ้องโจทก์และจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดบังคับคดีรอผลคดีสินสมรส: กรณีภริยาฟ้องเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินที่ทำไปแล้ว
ระหว่างบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ปรากฏข้อเท็จจริงว่าม.ภริยาจำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยอ้างว่าที่ดินตามสัญญาซื้อขาย และสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ม. ซึ่งคดีแพ่งดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีทั้งสองถึงที่สุดให้ ม. ชนะคดี และที่ดินดังกล่าวได้โอนไปเป็นของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว ม. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะได้รับความเสียหาย ดังนี้เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมไว้ได้ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการจ้างงานและการร่วมทำสัญญาขนส่ง กรณีรถออกนอกเส้นทาง
จำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขนส่งคนโดยสารมีหน้าที่จัดระเบียบการเดินรถยนต์โดยสารขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 3 อนุญาตให้รถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 ร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางสาย 1014 จากปากซอยอุดมสุขถึงปลายซอยดังกล่าว จำเลยที่ 3 ได้ประโยชน์ตอบแทนคือค่าทำสัญญาปีละ 500 บาท เมื่อรถยนต์โดยสารขนาดเล็กได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 แล้ว จะมีการประทับตราจำเลยที่ 3 ไว้ที่ตัวรถ นอกจากนั้นจำเลยที่ 3 ยังสงวนสิทธิในการหาประโยชน์จากการโฆษณาทั้งภายในและภายนอกตัวรถยนต์โดยสารขนาดเล็กที่เข้าร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 อีกทั้งลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบวินัย และคำสั่งของจำเลยที่ 3 ทุกประการด้วย ถือได้ว่ากิจการเดินรถของรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุเป็นกิจการร่วมกันระหว่างจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 จ้างจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจึงถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย
เจ้าของรถที่เข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 สามารถนำรถออกนอกเส้นทางได้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ ใช้ในราชการ ใช้ในกิจการส่วนตัว และใช้ในเรื่องสาธารณประโยชน์ แต่ต้องขออนุญาตจากจำเลยที่ 3 ก่อน หากฝ่าฝืนสัญญาข้อ 6 ก็ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิสั่งห้ามมิให้เจ้าของรถนำรถออกวิ่งรับผู้โดยสารในเส้นทางมีระยะเวลาตามที่จำเลยที่ 3 กำหนด หรือบอกเลิกสัญญาได้ แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 สามารถที่จะนำรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุไปใช้นอกเส้นทางที่กำหนดไว้ตามสัญญาได้ เพียงแต่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 3 ก่อนเท่านั้น แม้จะฝ่าฝืนสัญญาข้อนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกัน เพียงแต่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุออกนอกเส้นทาง แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ดังกล่าวโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถยนต์ที่ผู้ตายขับและผู้ตายถึงแก่ความตายจึงถือได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1
ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุรับจ้างเหมาขนส่งนักศึกษารักษาดินแดนเป็นการรับจ้างทำของ นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 นั้น แม้จำเลยที่ 3 จะยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 นำรถไปใช้นอกเส้นทางจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดโดยไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 3 ก็มิได้แก้อุทธรณ์ และยกประเด็นนี้ขึ้นว่ากล่าวไว้ในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เจ้าของรถที่เข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 สามารถนำรถออกนอกเส้นทางได้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ ใช้ในราชการ ใช้ในกิจการส่วนตัว และใช้ในเรื่องสาธารณประโยชน์ แต่ต้องขออนุญาตจากจำเลยที่ 3 ก่อน หากฝ่าฝืนสัญญาข้อ 6 ก็ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิสั่งห้ามมิให้เจ้าของรถนำรถออกวิ่งรับผู้โดยสารในเส้นทางมีระยะเวลาตามที่จำเลยที่ 3 กำหนด หรือบอกเลิกสัญญาได้ แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 สามารถที่จะนำรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุไปใช้นอกเส้นทางที่กำหนดไว้ตามสัญญาได้ เพียงแต่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 3 ก่อนเท่านั้น แม้จะฝ่าฝืนสัญญาข้อนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกัน เพียงแต่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุออกนอกเส้นทาง แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ดังกล่าวโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถยนต์ที่ผู้ตายขับและผู้ตายถึงแก่ความตายจึงถือได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1
ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุรับจ้างเหมาขนส่งนักศึกษารักษาดินแดนเป็นการรับจ้างทำของ นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 นั้น แม้จำเลยที่ 3 จะยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 นำรถไปใช้นอกเส้นทางจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดโดยไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 3 ก็มิได้แก้อุทธรณ์ และยกประเด็นนี้ขึ้นว่ากล่าวไว้ในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้