คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินฉ้อฉลเจ้าหนี้ ผู้รับโอนรู้ถึงการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ขณะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ไม่มีทรัพย์สินพอจะชำระหนี้แก่โจทก์เช่นนี้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1แม้ในขณะที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2โจทก์จะยังไม่ได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และผู้ค้ำประกันชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีก็ถือว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีความสนิทสนมกันมาก จำเลยที่ 2จึงน่าจะทราบถึงฐานะการเงินของจำเลยที่ 1 ว่าขณะที่จำเลยที่ 1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ถือว่าขณะที่รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าการที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนบวชไม่ตกเป็นสมบัติของวัด แม้จดทะเบียนโอนในขณะเป็นพระ
แม้พระภิกษุช.จะได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินที่เช่าซื้อมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศก็ตาม แต่พระภิกษุ ช.ได้เช่าซื้อและชำระค่าเช่าซื้อจนครบถ้วนแล้วก่อนที่จะมาบวชเป็นพระภิกษุซึ่งหากผู้ให้เช่าซื้อไม่จดทะเบียนโอนที่ดินให้ พระภิกษุ ช.ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ให้เช่าซื้อโอนที่ดินได้อันเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่พระภิกษุ ช.มีก่อนที่จะมาบวชเป็นพระภิกษุจึงต้องถือว่าพระภิกษุ ช.ได้ที่ดินมาแล้วก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุการจดทะเบียนการได้มาในภายหลังเป็นแต่เพียงทำให้การได้มาบริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก เท่านั้นฉะนั้นเมื่อที่ดินมิใช่ทรัพย์สินที่พระภิกษุ ช.ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ตามมาตรา 1623 หากแต่เป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่บรรดาทายาทของพระภิกษุ ช.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งทรัพย์สินก่อนและหลังการบวชเป็นพระภิกษุ ผลต่อการเป็นสมบัติของวัด
การที่ ช. เช่าซื้อที่พิพาท และชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนก่อนบวชเป็นพระภิกษุแต่ผู้ให้เช่าซื้อโอนที่พิพาทให้ขณะ ช.บวชเป็นพระภิกษุนั้น ต้องถือว่า ช. ได้ที่พิพาทมาแล้วก่อนที่จะบวช เพราะการจดทะเบียนการได้มาภายหลังเป็นเพียงทำให้การได้มาสมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรกเท่านั้น แม้ ช. จะถึงแก่กรรมในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศที่พิพาทก็ไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ตามมาตรา 1623

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: ใช้ระยะเวลาตามกฎหมายอาญาเมื่อมูลเหตุเกิดจากความผิดอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. จำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส. เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์ฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายอาญาและศาลพิพากษาแล้วว่า ส. มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีจึงมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมาภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้อง ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ส. กระทำความผิดเบียดบังยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำผิดจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งของผู้ค้ำประกัน ยึดตามอายุความอาญาเมื่อมูลหนี้เกิดจากความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์ รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส.เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์จะฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์นั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำความผิดฐานยักยอกของ ส. ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองโจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมพยายามฆ่า: การปรึกษาหารือและไล่ติดตามผู้เสียหายบ่งชี้เจตนา
จำเลยที่ 2 รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนติดตัวอยู่และได้มีการปรึกษาหารือกันก่อนตั้งแต่ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ลุกขึ้นไปพูดซุบซิบกับจำเลยที่ 1 ที่หน้าร้านที่เกิดเหตุประมาณ 2-3 ครั้งและเมื่อจำเลยทั้งสองหวนกลับมายังที่เกิดเหตุอีกเป็นครั้งที่สองปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถืออาวุธปืนมาด้วย ซึ่งในขณะนั้นผู้เสียหายกับพวกยังคงยืนอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ เมื่อผู้เสียหายกับพวกเห็นเช่นนั้นจึงวิ่งหลบหนีเข้าไปในวัด จำเลยทั้งสองยังไล่ตามผู้เสียหายกับพวกไปอีกเล็กน้อย จำเลยที่ 1 ก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัดแล้วจำเลยทั้งสองวิ่งหนีไปด้วยกัน ดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นคนยิงผู้เสียหาย กรณีเช่นนี้ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวกัน-สิทธิฟ้องระงับ: การแยกฟ้องคดีรับของโจรเมื่อจำเลยรับทรัพย์ในคราวเดียวกัน
โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นสองคดี เพราะทรัพย์แต่ละคดีถูกลักคนละตอนกัน เมื่อได้ความว่าจำเลยรับทรัพย์ในทั้งสองคดีนั้นไว้ในคราวเดียวกัน และศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยฐานรับของโจรในคดีหนึ่งแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) เพราะเป็นความผิดกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจากการรังวัดเขตชลประทาน การครอบครองประโยชน์ตกเป็นของแผ่นดิน
กรมชลประทานจำเลยรังวัดกั้นเขตชลประทานไว้ตามประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ เรื่อง ขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างการทดน้ำไขน้ำบริเวณเชียงรากน้อยและบางเหี้ยพ.ศ. 2467 จำเลยยังไม่ได้จ่ายค่าทดแทนที่พิพาทในสำนวนแรกแต่หลังจากมีการรังวัดกันเขตการชลประทานแล้ว ผ.เจ้าของเดิมก็ไม่ได้ครอบครองทำกิน โดยจำเลยได้ครอบครองดูแลไม่ให้ใครมารุกล้ำตลอดมา ส่วนโจทก์เพิ่งจะเข้าทำกินในปี 2519 ถือได้ว่าผ. ได้สละการครอบครองที่พิพาทสำนวนแรกหลังจากมีการรังวัดกันเขตชลประทานเป็นต้นมา และจำเลยก็ได้ครอบครองดูแลที่ดินในแนวเขตการชลประทานซึ่งรวมถึงที่พิพาทตลอดมาจำเลยใช้ที่ดินในเขตการชลประทานซึ่งรวมถึงที่พิพาทเพื่อทิ้งดินที่ได้จากการขุดลอกคลองชลประทาน ถือได้ว่าเป็นการใช้ที่พิพาทเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะที่พิพาทสำนวนแรกจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) การที่โจทก์ในสำนวนแรก เข้าทำกินในที่พิพาทจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยส่วนที่พิพาทสำนวนหลัง ร. เจ้าของเดิมสละการครอบครองตั้งแต่เมื่อมีการรังวัดกับเขตชลประทานตั้งแต่ปี 2481 และจำเลยได้ครอบครองดูแลที่ดินในเขตการชลประทานมาตั้งแต่มีการรังวัดกันเขตโดยใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่พิพาทสำนวนหลังซึ่งอยู่ในเขตการชลประทานจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) นับแต่ที่ ร. สละการครอบครองตั้งแต่เมื่อมีการรังวัดกันเขตการชลประทานถึงแม้ ห. และ โจทก์ในสำนวนหลัง จะเข้าครอบครองและแจ้งการครอบครอง ไว้เมื่อปี 2498 ก็ไม่อาจอ้างการครอบครองขึ้นต่อสู้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ และประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องและดอกเบี้ย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ไปแล้ว การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์รวมกันมาซึ่งอุทธรณ์แต่ละข้อเป็นการกล่าวอ้างเหตุเพื่อไม่ให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามฟ้อง ดังนี้ อุทธรณ์เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มาด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้เสียและในชั้นฎีกาจำเลยที่ 2 ยังยื่นฎีการวมกันมากับจำเลยที่ 1 อีกในปัญหาเดียวกันกับในชั้นอุทธรณ์ ดังนั้นฎีกาในส่วนของจำเลยที่ 2จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงและพิมพ์นั้น เพียงเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไขให้บริบูรณ์ได้ได้ความว่า ทนายโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในฐานะโจทก์ในคำฟ้องเพียงแต่ได้พิมพ์ชื่อ อ. ทนายความในสำนักงานเดียวกันในช่องผู้เรียงและพิมพ์โดยไม่ได้ลงลายมือชื่อ ซึ่งศาลชั้นต้นตรวจสั่งรับคำฟ้องไว้แล้ว และต่อมาทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องว่า ทนายโจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าวก็ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขคำฟ้องให้บริบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชำระค่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องเพราะโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใดกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ได้หักกลบลบหนี้ที่มีอยู่กับโจทก์หมดสิ้นแล้ว ดังนี้คำให้การของจำเลยที่ 1 เป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่มีหนี้สินต่อกัน คำให้การของจำเลยที่ 1 จึงก่อให้เกิดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 หรือไม่ ส่วนที่จำเลยที่ 1ให้การว่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องมาก็คำนวณอย่างคลุมเครือเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้น ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จะยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินในช่วงระยะเวลาห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้การซื้อขายเป็นโมฆะ แม้มีการครอบครองเป็นเวลานาน
แม้จะรับฟังตามที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยแต่เมื่อขณะทำการซื้อขายที่ดินพิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนที่ดินพิพาทภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยและการที่จำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้โจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาทยังเป็นของจำเลยอยู่
of 22