คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน: ข้อขัดแย้งในคำเบิกความและบันทึกการจับกุม ทำให้เกิดความสงสัยในความผิด
ประจักษ์พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้จับกุมจำเลยเบิกความยืนยันว่าเห็นจำเลยนอนเสพฝิ่นกับ ส. แต่ในบันทึกการจับกุมและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุต่างระบุตรงกันว่า เป็นเรื่องมีฝิ่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต มิได้ระบุข้อกล่าวหาว่าจำเลยเสพฝิ่น นอกจากนี้พยานเบิกความถึงเหตุการณ์ตอนจับกุมจำเลยขัดกับที่ได้บันทึกไว้ในบันทึกการจับกุม และข้อหาฐานเสพฝิ่นพนักงานสอบสวนได้แจ้งเพิ่มเติมภายหลัง ดังนี้ พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควร ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย แม้เกินขอบเขตที่จำเลยบอกไว้
จำเลยที่ 2 ได้แต่งตั้ง ส. เป็นทนายของตน โดยระบุไว้ในใบแต่งทนายความว่าให้มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ด้วยเมื่อทนายจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยที่ 2 แม้จะฟังเป็นความจริงว่า ทนายจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยยอมรับจะผ่อนชำระเงินแต่ละงวดเกินกว่าจำนวนที่จำเลยที่ 2ได้บอกแก่ทนายจำเลยที่ 2 ไว้ก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 2กับทนายของตนจำเลยที่ 2 ไม่อาจจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้เปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาตามยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3813/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ ต่อมาโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีอาญาฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งดังกล่าว การจะพิจารณาว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวหรือไม่นั้นจะต้องปรากฏว่าความรับผิดในทางแพ่งในคดีนี้เกิดขึ้นจากผลของการกระทำผิดอาญาโดยตรง ที่จำเลยเป็นพยานเบิกความเท็จในคดีแพ่งไม่ก่อให้เกิดผลโดยตรงที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท เหตุที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในคดีแพ่งดังกล่าวเพราะศาลฟังว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญา ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่) ที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น การกำหนดภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบก่อนก็ได้การกำหนดภาระการพิสูจน์ในคดีนี้ไม่ได้ถือเอาเหตุที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์มาวินิจฉัยให้จำเลยแพ้คดี การที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์หรือไม่มีผลเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยทนายจำเลยลงชื่อทราบนัดในรายงานกระบวนพิจารณานัดสืบพยานดังกล่าว ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดรังวัดทำแผนที่พิพาทในคดีอื่นเป็นการไม่รับผิดชอบในวันนัดของตนที่ได้นัดไว้กับศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี โดยให้สืบพยานจำเลยไปโดยไม่มีทนายจำเลยซักถาม จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่มิชอบด้วยกฎหมายและผิดระเบียบ ส่วนที่ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดที่สองซึ่งนัดสืบพยานโจทก์เวลา 8.30 นาฬิกา แต่โจทก์มาศาลเมื่อเวลา11.45 นาฬิกา โดยโจทก์ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ก่อนหน้านั้นแล้วว่ารถเสียระหว่างเดินทางมาศาล การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนการสืบพยานโจทก์ดังกล่าวไปเป็นตอนบ่ายโดยไม่ยอมให้โจทก์เลื่อนคดีไปนั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยโดยชอบ มิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(1)ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(1) และ 246 ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไป ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท อันเป็นการขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3813/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์, อำนาจศาลในการพิพากษาเกินคำขอ, และผลของการเบิกความเท็จต่อกรรมสิทธิ์
ในคดีอาญาโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยขอให้ลงโทษฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทคดีนี้โดยปรปักษ์ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้มาโดยการสืบทอดทางมรดก จำเลยได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่มิชอบ เพราะจำเลยเบิกความเท็จทำให้ศาลหลงเชื่อ จึงขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทให้โจทก์ การพิจารณาว่าคดีนี้จะเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ จะต้องปรากฏว่าความรับผิดในทางแพ่งในคดีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผลของการกระทำผิดอาญาโดยตรง แต่การที่จำเลยเบิกความเท็จในการเบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งไม่เป็นผลโดยตรงที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทในคดีนี้ เหตุที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในคดีแพ่ง ก็เพราะศาลฟังว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ กรณีจึงไม่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญา จึงไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) และ 246 ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทต่อไป อันเป็นการขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ การที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครอง จำเลยย่อมเอาคำสั่งศาลไปขอจดทะเบียนให้จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์ก็เท่ากับขอให้ที่พิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดไม่ให้มีชื่อจำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนให้จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินส่วนที่พิพาทก็ควรจะพิพากษาห้ามมิให้จำเลยนำคำสั่งของศาลดังกล่าวไปจดทะเบียนลงชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3813/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายืนคำพิพากษาให้ที่ดินเป็นของโจทก์ และห้ามจำเลยเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
คดีแดงที่ 3813-3814/2534
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ ต่อมาโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีอาญาฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งดังกล่าว การจะพิจารณาว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวหรือไม่นั้นจะต้องปรากฏว่าความรับผิดในทางแพ่งในคดีนี้เกิดขึ้นจากผลของการกระทำผิดอาญาโดยตรง ที่จำเลยเป็นพยานเบิกความเท็จในคดีแพ่งไม่ก่อให้เกิดผลโดยตรงที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเหตุที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในคดีแพ่งดังกล่าวเพราะศาลฟังว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญา ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น การกำหนดภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบ ศาลชั้นต้นมีอำนาจทีจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบก่อนก็ได้ การกำหนดภาระการพิสูจน์ในคดีนี้ไม่ได้ถือเอาเหตุที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์มาวินิจฉัยให้จำเลยแพ้คดี การที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์หรือไม่มีผลเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยทนายจำเลยลงชื่อทราบนัดในรายงานกระบวนพิจารณานัดสืบพยานดังกล่าว ครั้งถึงวันนัดทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดรังวัดทำแผนที่พิพาทในคดีอื่น เป็นการไม่รับผิดชอบในวันนัดของตนที่ได้นัดไว้กับศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยให้สืบพยานจำเลยไปโดยไม่มีทนายจำเลยซักถาม จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่มิชอบด้วยกฎหมายและผิดระเบียบ ส่วนที่ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดที่สองซึ่งนัดสืบพยานโจทก์เวลา 8.30 นาฬิกา แต่โจทก์มาศาลเมื่อเวลา 11.45นาฬิกา โดยโจทก์ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ก่อนหน้านั้นแล้วว่ารถเสียระหว่างเดินทางมาศาล การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนการสืบพยานโจทก์ดังกล่าวไปเป็นตอนบ่ายโดยไม่ยอมให้โจทก์เลื่อนคดีไปนั้น เป็นการดำนินกระบวนพิจารณาที่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยโดยชอบ มิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) และ 246 ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไป ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท อันเป็นการขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราปกติของสถาบันการเงินต้องมีการนำสืบหลักฐานยืนยันอัตราที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
การที่โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2524ซึ่งให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดจากผู้กู้ยืมสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปี แต่ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประกาศให้สถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ประกาศดังกล่าวหากมีอยู่จริงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ศาลจะรับรู้เอง และมิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้ได้เอง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราตามที่โจทก์อ้าง ซึ่งเกินไปจากอัตราปกติตามที่กฎหมายกำหนด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการใช้อาวุธมีดแทงอวัยวะสำคัญจนถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้มีดปลายแหลมตัวมีดยาวประมาณ 5 นิ้ว แทงที่หน้าท้องผู้ตายอันเป็นอวัยวะสำคัญและผู้ตายได้รับบาดแผลกว้าง 2 เซนติเมตรตรงลำตัวด้านซ้ายต่ำกว่าสะดือเล็กน้อยลึกลงไปมากในช่องท้องเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากเลือดตกในช่องท้องมากแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งสัญชาติโดยสมัครใจและการไม่โต้แย้งสิทธิ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดามารดาโจทก์ทั้งหกแจ้งการเกิดของโจทก์ทั้งหกต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพด้วยความสมัครใจมิได้ถูกผู้ใดบังคับให้ไปแจ้งและบิดาพาโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ไปทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพก็โดยเข้าใจเอาเองว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นคนญวนอพยพโดยมิได้มีผู้ใดบังคับเช่นกัน ส่วนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีประกาศให้คนญวนอพยพไปแจ้งต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพนั้น ก็เป็นประกาศที่มีลักษณะเป็นการทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่คำสั่งเฉพาะเจาะจงบังคับให้โจทก์ทั้งหกไปทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ เหตุที่มีชื่อโจทก์ทั้งหกในทะเบียนบ้านญวนอพยพก็เนื่องจากบิดาของโจทก์ทั้งหกไปแจ้งต่อนายทะเบียนบ้านญวนอพยพอุบลราชธานีจำเลยที่ 3 ว่า โจทก์ทั้งหกเป็นคนญวนอพยพโดยเข้าใจเอาเองว่าโจทก์ทั้งหกเป็นคนญวนอพยพมิใช่เกิดจากการกระทำของผู้อำนวยการสำนักงาน 114 อุบลราชธานีจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ที่เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งหกในทะเบียนบ้านญวนอพยพโดยพลการ ทั้งโจทก์ทั้งหกก็ไม่เคยโต้แย้งต่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่าโจทก์ทั้งหกมิใช่คนญวนอพยพ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งหกโจทก์ทั้งหกจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งสัญชาติและการโต้แย้งสิทธิ: การที่บิดามารดาแจ้งสัญชาติด้วยความสมัครใจ และการที่โจทก์ไม่เคยโต้แย้งสิทธิ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดามารดาโจทก์ทั้งหกแจ้งการเกิดของโจทก์ทั้งหกต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพด้วยความสมัครใจมิได้ถูกผู้ใดบังคับให้ไปแจ้ง และ ง. บิดาโจทก์ทั้งหกพาโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ไปทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ ก็โดยเข้าใจเอาเองว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3เป็นคนญวนอพยพโดยมิได้มีผู้ใดบังคับเช่นกัน การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีประกาศให้คนญวนอพยพไปแจ้งต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพนั้นก็น่าจะเป็นประกาศที่มีลักษณะเป็นการประกาศทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่คำสั่งเฉพาะเจาะจงบังคับให้โจทก์ทั้งหกไปทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ เหตุที่มีชื่อโจทก์ทั้งหกในทะเบียนบ้านญวนอพยพ ก็เนื่องจากบิดาของโจทก์ทั้งหกไปแจ้งต่อจำเลยที่ 3 ว่า โจทก์ทั้งหกเป็นคนญวนอพยพ โดยเข้าใจเอาเองว่าโจทก์ทั้งหกเป็นคนญวนอพยพ มิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2และที่ 3 ที่เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งหกในทะเบียนบ้านญวนอพยพโดยพลการทั้งโจทก์ทั้งหกก็ไม่เคยโต้แย้งต่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่าโจทก์ทั้งหกมิใช่คนญวนอพยพ คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งหก โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยโดยการเกิดและการโต้แย้งสิทธิ: คดีไม่ขาดอายุความแม้ฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 10 ซึ่งบัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับด้วย
โจทก์มีสัญชาติไทยแล้วตั้งแต่เกิด แต่กลับถูกถอนสัญชาติไทยแล้วนำไปจดแจ้งไว้ในทะเบียนบ้านญวนอพยพอันเป็นสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตลอดมานับแต่ถูกถอนสัญชาติ ดังนั้นแม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่ทราบเหตุโต้แย้งสิทธิดังกล่าวคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
of 22