พบผลลัพธ์ทั้งหมด 933 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม การเฉลี่ยภาษีซื้อ และอำนาจศาลในการงดเบี้ยปรับ
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์นำมาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์2535เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ที่ส่วนหนึ่งจะใช้เป็นสำนักงานของโจทก์ส่วนที่เหลือจะให้เช่าเป็นสำนักงานซึ่งขอคืนภาษีซื้อไม่ได้เนื่องจากกิจการให้เช่าอาคารได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่จะใช้เป็นสำนักงานนั้นขอคืนภาษีซื้อได้แต่จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้อโดยปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่29)เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา82/6แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่9มีนาคม2535คือแจ้งจำนวนพื้นที่ที่จะใช้เป็นอาคารสำนักงานให้จำเลยที่1ทราบแต่โจทก์ก็ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่1ทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีซื้อสำหรับใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้จึงแสดงจำนวนภาษีซื้อเกินไปเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์ได้ตามมาตรา 89(4)แห่งประมวลรัษฎากรแต่เนื่องจากภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนเป็นภาษีซื้อของเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวก็เพิ่งจะประกาศในวันที่9มีนาคม2535หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อไปแล้วทั้งเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยวงอนจึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด ศาลมีอำนาจงดหรือลดเบี้ยปรับได้เพราะเมื่อบทบัญญัติมาตรา30(2)แห่งประมวลรัษฎากรให้โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลเพื่ออุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ศาลย่อมมีอำนาจในการพิจารณาว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่หากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่การฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษีอากร และการงดเบี้ยปรับเนื่องจากความสุจริตของผู้เสียภาษี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 แจ้งการประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าว จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บลงบางส่วน โจทก์เห็นว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายเพราะโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมใบกำกับภาษีไว้ถูกต้องชัดเจนแล้ว ขอให้เพิกถอนการประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์ผิดต่อมาตรา 89 (4)แห่ง ป.รัษฎากร ขอศาลงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายใด เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้ว อีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด
กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เมื่อบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามป.รัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้วการฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้ว อีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด
กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เมื่อบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามป.รัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้วการฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มและธุรกิจเฉพาะจากการเลิกกิจการและการขายทรัพย์สิน รวมถึงข้อยกเว้นสำหรับที่ดินเกษตรกรรม
ประมวลรัษฎากรมาตรา77/1(ข)(ฉ)"ขาย"หมายความว่าจำหน่ายจ่ายโอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่และให้หมายความรวมถึงมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการณวันเลิกประกอบกิจการด้วยโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เลิกประกอบกิจการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการณวันเลิกประกอบกิจการตามมาตราดังกล่าวเพราะถือว่าเป็นการขายแล้วซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการแม้กิจการของโจทก์จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา81(1)(ข)แต่ทรัพย์สินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่244)มาตรา3(5)ได้กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการแต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในการเกษตรกรรมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรการขายที่ดินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบการเกษตรกรรมซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา3(5)แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจึงย่อมได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวยกเว้นให้เฉพาะที่ดินเท่านั้นไม่รวมถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเมื่อโจทก์ขายที่ดินรวมทั้งอาคารบนที่ดินนั้นโจทก์จึงต้องนำรายรับของราคาอาคารมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะจากการเลิกกิจการและการขายทรัพย์สิน
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1(8)(ฉ) "ขาย" หมายความว่าจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และให้หมายความรวมถึงมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณวันเลิกประกอบกิจการ ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เลิกประกอบกิจการจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการตามมาตราดังกล่าวซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการการที่โจทก์ขายทรัพย์สินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการไปเป็นเงิน 305,500 บาทนั้น ถือว่าเป็นการขายตามมาตราดังกล่าวแล้ว จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ทั้งนี้แม้ว่ากิจการของโจทก์ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามป.รัษฎากร มาตรา 81(1)(ข) ก็ตาม แต่เมื่อการขายทรัพย์สินดังกล่าวของโจทก์เป็นการขายทรัพย์สินที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2(6) บัญญัติให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ.และ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3(5) ได้กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในการเกษตรกรรมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ขายไปนั้นเป็นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ดังนั้น การขายที่ดินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบการเกษตรกรรมซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 3(5) แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว จึงย่อมได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่พ.ร.ฎ.ดังกล่าวยกเว้นให้เฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเมื่อโจทก์ขายที่ดินรวมทั้งอาคารบนที่ดินนั้น การขายเช่นนี้โจทก์จึงต้องนำรายรับของราคาอาคารมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2(6) บัญญัติให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ.และ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3(5) ได้กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในการเกษตรกรรมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ขายไปนั้นเป็นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ดังนั้น การขายที่ดินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบการเกษตรกรรมซึ่งเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 3(5) แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว จึงย่อมได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่พ.ร.ฎ.ดังกล่าวยกเว้นให้เฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเมื่อโจทก์ขายที่ดินรวมทั้งอาคารบนที่ดินนั้น การขายเช่นนี้โจทก์จึงต้องนำรายรับของราคาอาคารมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีและการซื้อขายทรัพย์สินเพื่อใช้ในกิจการ มิใช่เพื่อค้ากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้และคดีหมายเลขดำที่ 13/2539ของศาลภาษีอากรกลางพร้อมกับโดยมอบอำนาจให้ อ.เป็นผู้ฟ้องคดีแทนทั้งสองเรื่อง แต่ด้วยความสับสนและผิดหลงได้ติดหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับสลับสำนวนกัน และในการยื่นคำคู่ความต่อ ๆ มา เจ้าหน้าที่ศาลก็ยังเผลอติดคำคู่ความสลับสำนวนกันอีก ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ศาลจึงอนุญาตให้นำหนังสือมอบอำนาจที่สลับสำนวนกันมาติดใหม่ให้ถูกต้อง ซึ่งหนังสือมอบอำนาจท้ายสำนวนก็ปรากฏข้อความว่า กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขได้ก็เป็นการอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงชอบที่ศาลจะอนุญาตได้ แม้บริษัทโจทก์จะจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประกอบกิจการค้าหรือหากำไรก็ตาม แต่การค้าขายโดยปกติของโจทก์เป็นการค้าปูนซิเมนต์และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆในการก่อสร้าง มิใช่เป็นการค้าขายที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโจทก์ซื้อที่ดินและอาคารมาโดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการค้า ต่อมาเมื่อหมดความจำเป็นจึงขายไปและแม้จะขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมากก็เป็นไปตามปกติของราคาที่ดินและอาคารที่สูงขึ้นตามกาลเวลาของราคาตลาด หาใช่มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไรจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขายที่ดินและอาคารตามฟ้องไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่จำต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและขอบเขตการเสียภาษีการค้าจากการขายที่ดินเพื่อใช้ในกิจการค้า
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้และคดีหมายเลขดำที่ 13/2539ของศาลภาษีอากรกลางพร้อมกันโดยมอบอำนาจให้ อ.เป็นผู้ฟ้องคดีแทนทั้งสองเรื่องแต่ด้วยความสับสนและผิดหลงได้ติดหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับสลับสำนวนกันและในการยื่นคำคู่ความต่อ ๆ มา เจ้าหน้าที่ศาลก็ยังเผลอติดคำคู่ความสลับสำนวนกันอีก ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ศาลจึงอนุญาตให้นำหนังสือมอบอำนาจที่สลับสำนวนกันมาติดใหม่ให้ถูกต้อง ซึ่งหนังสือมอบอำนาจท้ายสำนวนก็ปรากฏข้อความว่า กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง และการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขได้ก็เป็นการอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงชอบที่ศาลจะอนุญาตได้
แม้บริษัทโจทก์จะจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประกอบกิจการค้าหรือหากำไรก็ตาม แต่การค้าขายโดยปกติของโจทก์เป็นการค้าปูนซิเมนต์และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการก่อสร้าง มิใช่เป็นการค้าขายที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโจทก์ซื้อที่ดินและอาคารมาโดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการค้าต่อมาเมื่อหมดความจำเป็นจึงขายไป และแม้จะขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมาก ก็เป็นไปตามปกติของราคาที่ดินและอาคารที่สูงขึ้นตามกาลเวลาของราคาตลาด หาใช่มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไร จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขายที่ดินและอาคารตามฟ้องไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 แห่ง ป.รัษฎากร
แม้บริษัทโจทก์จะจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประกอบกิจการค้าหรือหากำไรก็ตาม แต่การค้าขายโดยปกติของโจทก์เป็นการค้าปูนซิเมนต์และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการก่อสร้าง มิใช่เป็นการค้าขายที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโจทก์ซื้อที่ดินและอาคารมาโดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการค้าต่อมาเมื่อหมดความจำเป็นจึงขายไป และแม้จะขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมาก ก็เป็นไปตามปกติของราคาที่ดินและอาคารที่สูงขึ้นตามกาลเวลาของราคาตลาด หาใช่มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไร จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขายที่ดินและอาคารตามฟ้องไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่คลาดเคลื่อน และการลดเบี้ยปรับจากความผิดพลาดในการยื่นแบบ
ในเดือนกรกฎาคม 2535 โจทก์มียอดซื้อเพียง 19,562.69 บาทและมีภาษีซื้อ 1,369.38 บาท โดยยอดซื้อดังกล่าวมียอดซื้อที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เพียง 2,144.87 บาท ขอภาษีคืนตามกฎหมายได้เพียง 150.13 บาท แต่โจทก์ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงรายการภาษีไว้ผิดพลาดไม่ถูกต้อง โดยแสดงตัวเลขยอดซื้อไว้เป็น 19,562,069 บาท ยอดภาษีซื้อ 1,369,344.83 บาท ภาษีขายไม่มี และขอภาษีคืนเป็นจำนวนเงิน 1,369,344.83 บาท ดังนั้นการยื่นแบบแสดงรายการของโจทก์จึงเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป โจทก์จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 89(4) แม้จะเป็นการกระทำไปโดยมีเจตนาหรือไม่โจทก์ก็ยังคงต้องรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ตรวจพบข้อผิดพลาดแล้วโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องทราบ และได้ให้ความร่วมมือกับจำเลยด้วยดี ทั้งข้อผิดพลาดของโจทก์ก็ยังมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยจึงสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์ลงอีกร้อยละ 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีซื้อผิดพลาดและการลดเบี้ยปรับกรณีความผิดพลาดนั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ในเดือนกรกฎาคม 2535 โจทก์มียอดซื้อเพียง 19,562.69 บาทและมีภาษีซื้อ 1,369.38 บาท โดยยอดซื้อดังกล่าวมียอดซื้อที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เพียง 2,144.87 บาท ขอภาษีคืนตามกฎหมายได้เพียง 150.13 บาท แต่โจทก์ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงรายการภาษีไว้ผิดพลาดไม่ถูกต้อง โดยแสดงตัวเลขยอดซื้อไว้เป็น 19,562,069 บาท ยอดภาษีซื้อ 1,369,344.83 บาท ภาษีขายไม่มี และขอภาษีคืนเป็นจำนวนเงิน 1,369,344.83 บาท ดังนั้น การยื่นแบบแสดงรายการของโจทก์จึงเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป โจทก์จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินตาม ป.รัษฎากร มาตรา89 (4) แม้จะเป็นการกระทำไปโดยมีเจตนาหรือไม่ โจทก์ก็ยังคงต้องรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ตรวจพบข้อผิดพลาดแล้วโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องทราบ และได้ให้ความร่วมมือกับจำเลยด้วยดี ทั้งข้อผิดพลาดของโจทก์ก็ยังมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย จึงสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์ลงอีกร้อยละ 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากความผิดพลาดในการยื่นแบบแสดงรายการ ศาลลดเบี้ยปรับเมื่อให้ความร่วมมือและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ในเดือนกรกฎาคม2535โจทก์มียอดซื้อเพียง19,562.69บาทและมีภาษีซื้อ1,369.38บาทโดยยอดซื้อดังกล่าวมียอดซื้อที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เพียง2,144.87บาทขอภาษีคืนตามกฎหมายได้เพียง150.13บาทแต่โจทก์ได้ยื่นแบบภ.พ.30แสดงรายการภาษีไว้ผิดพลาดไม่ถูกต้องโดยแสดงตัวเลขยอดซื้อไว้เป็น19,562,069บาทยอดภาษีซื้อ1,369,344.83บาทภาษีขายไม่มีและขอภาษีคืนเป็นจำนวนเงิน1,369,344.83บาทดังนั้นการยื่นแบบแสดงรายการของโจทก์จึงเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปโจทก์จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินตามประมวลรัษฎากรมาตรา89(4)แม้จะเป็นการกระทำไปโดยมีเจตนาหรือไม่โจทก์ก็ยังคงต้องรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่เมื่อโจทก์ตรวจพบข้อผิดพลาดแล้วโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องทราบและได้ให้ความร่วมมือกับจำเลยด้วยดีทั้งข้อผิดพลาดของโจทก์ก็ยังมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยจึงสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์ลงอีกร้อยละ25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบังคับจดทะเบียนเช่าไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีก่อน
ในคดีก่อนเมื่อจำเลยบังคับคดีตามฟ้องแย้งแก่ ส. และโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ขอแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ว่าโจทก์ได้สิทธิการเช่าและมิใช่บริวาร ซึ่งศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาเช่าอันเดียวกับคดีก่อนจึงเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ